เรียนรู้ก่อนลงสนาม


ประสบการณ์การใช้ทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพในพื้นที่

เรียนรู้ก่อนลงสนาม

                                                                ผาสุข  แก้วเจริญตา

                ไม่น่าเชื่อก็ต้องทำใจให้เชื่อ  ว่าเส้นทางการทำงานในแต่ละชิ้นนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ  และราบเรียบไร้อุปสรรค  แต่บทเรียนนี้ก็สอนให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในองค์กร และเพื่อนร่วมงานของเรา  โดยเฉพาะความแตกต่างกันของวิธีคิดซึ่งมีหลากหลาย ที่น่าจะเก็บไว้เป็นบทเรียนที่สามารถถ่ายทอดให้กับเพื่อนๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน
เริ่มด้วยหลังจากวางแผนการเตรียมเก็บข้อมูลภาคสนาม  ประสานงานกับหัวหน้างานของนักวิจัยที่เข้าร่วมอบรม จัดทำคำสั่งออกปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นเราก็เดินทางไปปฏิบัติราชการที่กทม.2 วัน  ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็นั่งนึกวางแผนไปพลางว่าจะต้องเตรียมความพร้อมของทีมอย่างไรเพิ่มเติมอีกบ้าง  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผิดพลาดน้อยที่สุด  ก็มีเสียงโทรศัพท์ของน้องๆ รายงานเข้ามาว่า การเก็บข้อมูลภาคสนามน่าจะมีปัญหา  เพราะเกิดประเด็นวิพากษ์ถึงความไม่พึงพอใจในกระบวนการฝึกภาคสนาม  ทั้งจากการเลือก setting สำหรับออกฝึก (เป็นของหน่วยงานที่ผู้จัดปฏิบัติหน้าที่) ปัญหาของการออกเก็บข้อมูลในช่วงเวลากลางวันที่ไม่ใช่วันหยุดราชการ (ที่ต้องเลือกวันธรรมดาเพราะมีปัญหาเรื่องการคิดค่าตอบแทนให้ผู้เข้ารับการอบรม ถ้าปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุด ไม่รู้จะใช้งบฯ หมวดไหน เพราะการใช้งบประมาณในหมวดนี้ไม่ชัดเจนเกรงว่าจะเป็นปัญหาภายหลัง  ปวดหัวพอสมควร เลยตัดสินใจปรับเป็นวันธรรมดา) ซึ่งมีผู้เรียนบางส่วนที่ปฏิบัติหน้าที่เวรดึก และการที่ใช้เวลาในช่วงที่เค้าจะได้พักออกเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งกระบวนการฝึกภาคสนามนี้ใช้เวลาเตรียมการก่อนออกฝึก 2 วัน และใช้เวลาเก็บข้อมูลจริงทั้งสิ้น 4 วัน  (ซึ่งต้องขอยอมรับว่าการเลือกพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นการตัดสินใจของเราเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นพื้นที่และประเด็นการศึกษาที่สามารถเก็บข้อมูลได้สมบูรณ์มากที่สุด  และน่าจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะในการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้อธิบายให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รับรู้แล้ว  และก็ไม่มีเสียงคัดค้านแต่อย่างใด )  ปัญหาเหล่านี้ก็มีการคาดการณ์เหมือนกันว่าจะเกิดขึ้นได้  แต่ก็อาศัยการทำความเข้าใจและการปฏิบัติให้เห็นถึงความพยายามในการจัดเตรียมพื้นที่  ก็ช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ดีขึ้น 
แต่ที่เป็นปัญหาเหนือความคามหมายเป็นเรื่องที่มีผู้เรียนบางส่วน เข้าใจว่าการออกไปเก็บข้อมูลครั้งนี้ เป็นการไปทำงานให้กับหน่วยงานอื่นให้เกิดผลงาน  ทั้งๆ ที่งานของตนเองยังไม่เสร็จ  เกิดข้อวิพากษ์ ไม่อยากทำ ไม่พอใจ และอีกหลายๆ ปัญหา (โอ้โห! เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงอีกแล้วครับท่าน ) ตอบน้องที่โทรมาว่าไม่เป็นไร  เดี๋ยวจะกลับไปเคลียร์  แล้วก็กลับมานั่งงงไปอีกพักนึง  รู้สึกว่าเฮ้ย ! เกิดอะไรขึ้น  ทำไมมันเป็นอย่างนี้ไปได้  ไม่ได้เตรียมตัวรับปัญหาแบบนี้มาก่อนนะเนี่ยะ  แต่ทำงัยได้  มันคงมีข้อผิดพลาดอะไรซักอย่าง ก็เลยปลอบใจตัวเองว่า  เอาเถอะ ที่ผ่านมาเราก็อธิบายกระบวนการเรียนรู้มาพอสมควร   ครั้งนี้ถ้าจะมีปัญหา มันก็คงเป็นเรื่องที่สุดวิสัยจริงๆ  (แต่ก็ไม่ทั้งหมดหรอกนะขอยอมรับอย่างศิโรราบเลยว่า ตอนแรกโมโหจี๊ดๆ เลยล่ะ พร้อมกับนึกว่า เกิดอะไรขึ้นค(ว)ะ ) พอนึกถึงคำของอาจารย์ที่สอนเรื่อง interpretive framework ก็ช่วยให้คลายเครียดและคลายความกังวลไปเยอะ วันนี้ขอนอนหลับก่อน  ตื่นมาอีก 1 วันก็จะเป็นวันออกฝึกภาคสนามแล้ว  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลก็ประสานไว้หมดแล้ว  คนที่มีความตั้งใจจริงๆ ก็กำลังรอที่จะเรียนรู้กับเราอยู่   อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดละนะ   เราก็ศิษย์มีครูนี่นา   สู้ๆ ค่ะ   แล้วจะกลับมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังต่อนะคะ  ว่าผลจะออกมาเป็นยังงัย  (หุ  หุ ! แอบลุ้นใช่ม้า...........)

interpretive framework
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18451เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2006 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท