ควบคุมบุหรี่และยาสูบ


สร้างกระแสให้เกิดการลดละเลิกบุหรี่ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของกลุ่มหน่วยงานนั้นๆ โดยไม่ขึ้นอยู่กับแหล่งเงินทุน
       
       ในวันที่ 9 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ผศ. ดร. ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้จัดการและทีมงานศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.) [Tobacco Control Research and Knowledge Management  Center : TRC] ได้เข้าพบ ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช และทีม สคส. เพื่อหารือในการใช้ KM ในการขับเคลื่อนการทำงานและมีเป้าหมายที่จะควบคุมการบริโภคบุหรี่และยาสูบ  มีความต้องการรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่และสร้างองค์ความรู้ใหม่ จัดทำระบบฐานข้อมูล  โดยเน้น 2 เรื่องแรกคือ คลินิกอดบุหรี่ และโรงเรียนปลอดบุหรี่
       ศ.นพ.วิจารณ์  พานิชได้แนะนำในการจัดทำมี 2 ยุทธศาสตร์ที่ทีม ศจย. ต้องกลับไปพิจารณาว่าเหมาะจะดำเนินการแบบใด นั่นคือ
   ยุทธศาสตร์แรก – มีการเชื่อมเครือข่ายโดยมีศจย. เป็นศูนย์กลาง รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนด้วย ซึ่งสามารถทำได้ทันทีในเรื่องโรงเรียนปลอดบุหรี่เนื่องจากมีโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายอยู่แล้ว 18 แห่ง
   ยุทธศาสตร์ที่ 2 – มีการใช้ KM ในการขับเคลื่อนโดยสมาชิกจะมีความคิดเป็นอิสระ และจะมีการสร้างเครือข่ายในลักษณะติดต่อและเกิดการแลกเปลี่ยนกันเอง  ไม่มีเงินทุนให้ แต่เกิดจากการมีแรงบันดาลใจที่จะทำ KM และได้เสริมอีกว่า ทีมศจย. อาจจะเข้าไปขับเคลื่อน KM ในการให้การสนับสนุนในส่วนของการช่วยคิด จับภาพ ข้อมูลความรู้ต่างๆ และติดตามการสร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
      ซึ่งทั้ง 2 ยุทธศาสตร์มีวิธีคิดและการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่าจะพิจารณาที่ Content ของศจย.หรือที่เครือข่าย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิชได้เสริมอีกว่า สคส. เองก็ดำเนินงานในลักษณะยุทธศาสตร์ที่ 2  “เราขับเคลื่อน KM โดยไม่ได้เป็นศูนย์กลาง” ในแบบขับเคลื่อนเครือข่ายแบบ independence เกิดประโยชน์ร่วมกันบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด และมีการเชื่อมโยงซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของแต่ละองค์กรที่ลงมือปฏิบัติจริง
     และเครือข่ายเภสัชกรรมที่เป็นหนึ่งในทีม ศจย. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีกลุ่มที่เป็น Best practice อยู่แล้วแต่ขาด Network และจะต้องดำเนินการมาตรการเชิงรุกมากขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมสูบบุหรี่ เพื่อหาทางให้ลดโรคที่เกิดจากบุหรี่ด้วย ซึ่งในเครือข่ายเองจะมีการประชุมเพียงปีละครั้ง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน internet กัน พร้อมทั้งส่งจดหมายข่าวให้กันภายในเครือข่าย ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนที่ช้า
     ดร. ลักขณา เติมศิริกุลชัย แจ้งว่าคาดการณ์ว่าจะจัดทำ KM ในลักษณะยุทธศาสตร์ 1 และ 2 รวมกัน โดยอาจเริ่มใช้ยุทธศาสตร์แรกก่อนได้ระยะหนึ่งและเปลี่ยนมาใช้ยุทธศาสตร์ 2 และจะเริ่มที่เรื่องโรงเรียนปลอดบุหรี่ เนื่องจากการที่มีกลุ่มนี้อยู่แต่มี 2 ลักษณะ คือกลุ่มที่ต้องพึ่งแหล่งเงินทุนของ ศจย.และกลุ่มที่พึ่งตนเอง ศ.นพ.วิจารณ์  พานิชได้เสริมอีกว่า ควรยกย่องกลุ่มพึ่งตนเองและชักชวนกลุ่มพึ่งแหล่งเงินทุนของ ศจย. ให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มพึ่งตนเองเพื่อพัฒนาให้เป็นกลุ่มพึ่งตนเองต่อไป การเกิดแรงบันดาลใจที่ไม่พึ่งใครและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่นคือ "Reward"  และต้อง Create Reward เพื่อขับเคลื่อน KM ในการทำงาน โดยสร้างความภาคภูมิใจ และสจย. สามารถสนับสนุนด้านอื่น โดยการสร้างช่องทางที่จะเติบโตในชีวิตการเป็นอยู่ใน โรงเรียน พัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน สร้างกระแสให้เกิดการลดละเลิกบุหรี่ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของกลุ่มหน่วยงานนั้นๆ โดยไม่ขึ้นอยู่กับแหล่งเงินทุน  ซึ่งในการจัดการความรู้นี้จะเป็นบันไดสู่การสร้างองค์ความรู้รวมของประเทศไทยที่เฉพาะด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม
       ดิฉันเห็นด้วยกับโครงการดีๆ เช่นนี้ ให้ประชาชนเริ่มมีจิตสำนึกในเรื่องเหล่านี้ด้วย การลดบุหรี่ในที่สาธารณะควรจะเป็นเรื่องที่ต้องสร้างให้ตนเองมีวินัยได้ ดิฉันคิดว่าในโรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ ไม่ควรจะสูบบุหรี่เลย ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงระลึกไว้อย่างมาก เราควรจะรณรงค์ให้ลด ละ เลิก บุหรี่และยาสูบ ทั้งนี้นอกจากสุขภาพของผู้สูบเองแล้วยังมีเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้าง ครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของประเทศด้วย ที่ไม่ต้องเสียดุลจากต่างประเทศด้วยคะ
คำสำคัญ (Tags): #เรื่องใกล้ตัว
หมายเลขบันทึก: 18252เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2006 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยนะกับการแก้ปัญหาโดยแบ่งกลุมออกเป็น 2 โดยที่กลุ่มแรกมีองค๋กรสนับสนุน กับอีกกลุ่มหนึ่งใช้ KM เป็นหลักในการดำเนินงาน

อาจเป็นไปได้ที่กลุ่มแรกจะปรสบความสำเร็จน้อยกว่าเพราะแรงขับเคลื่อนของการควบคุม หรือ ลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไม่ได้มาจากความต้องการที่แท้จริงของผู้ร่วมโครงการ เป็นเพียงแค่โครงการหนึ่งที่มีเงินทุน มีคนที่เป็นแกนนำอยู่เพียงจำนวนหนึ่งที่พยายามพลักดันให้เกิดโครงการขึ้น เพราะฉนั้นโดยส่วนมากงานทุกอย่างจะทำไปตามคำสั่ง และแผนการที่กำหนดไว้แล้ว

กับอีกลุ่มหนึ่งที่ใช้ KM เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นกลุ่มคนที่มีความคิดเดียวกันเช่นการเห็นว่าควรเลิกสูบบุหรี่ได้ทำงาน โดยการทำงานนี้มีอิสระทางความคิด ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความสร้างสรรค์และความร่วมมือร่วมใจอย่างแท้จริง

เพราะฉนั้นแล้วการกระจายอำนาจในองค์กร การเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นของบุคคลากรในระดับบริหาร หรือการใช้หลัก KM จะช่วยให้ผู้ร่วมงานมีพลังขับเคลื่อนที่เกิดจากตัวเอง ในรูปแบบของความร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

 

อยากให้หาวิธีหรือเทคนิคในการเลิกบุหรี่มาลงบ้างอ่ะคะ...จากการทำ KM เป็นวิทยาธารได้ดีคะสำหรับคนที่จะเลิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท