มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ (๙)


โครงการพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ

ประชุมภาคีเครือข่าย ๗ มหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนรู้ ครั้งที่ ๒

โครงการพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ

เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑

ณ  โรงแรมตักสิลา  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม

นายวีระชน พรหมสะวัน (นิสิตต้นแบบ รุ่นที่ ๒) / นางสาวพัชรินทร์ ดอนกระสินธุ์

พิธีกรดำเนินการประชุม

ผศ.ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต  ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

วันพฤหัสบดีที่  ๑๕  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๑

             ๑.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน   มีดังนี้

                   มหาวิทยาลัยแม่โจ้

                         รองศาสตราจารย์อาคม  กาญจนประโชติ  กล่าว  ขอบคุณโครงการนี้  และได้เล่าว่า  หลังจากที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ไปประชุมที่มหาวิทยาลัยบูรพา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก็ได้จัดดำเนินการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย  เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการนี้  โดยมองประเด็นเดียวคือจัดอย่างไรให้เกิดการออกกำลัง  แต่หลังจากได้รับฟังการบรรยายจากคุณหมอและอาจารย์สุรินทร์ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่า  เราต้องทำให้เขาฝังเข้าไปในสายเลือดและจิตใจ  ไม่ใช่เพียงการออกมาเต้นหรือวิ่ง  และดึงคนที่ไม่เคยออกกำลังกายให้เขาออกมาออกกำลังกาย

                          โครงการพัฒนาขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพถือเป็นโครงการนำร่องจริงๆ  ซึ่งหลังจากที่ได้รับฟังยุทธศาสตร์จากท่านอาจารย์สุรินทร์  และการบรรยายจาก นายแพทย์มานิตย์  ประพันธ์ศิลป์  ทำให้ทราบแนวทางการทำงานดังนี้

                               ๑)  การทำงานไม่ควรมอบบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  โดยทุกคนภายในมหาวิทยาลัย  เริ่มตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง  ก็คือตั้งแต่สภามหาวิทยาลัย  อธิการบดี  รองอธิการบดี  คณบดี  บุคลากรทุกระดับชั้น  และนักศึกษา  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด  แล้วทำการสร้างเครือข่าย  ซึ่งวิธีการสร้างเครือข่าย  โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะประกาศว่า  เราเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ  โดย  สสส  แล้วแจ้งให้สภาทราบ  สภาแจ้งให้อธิการบดี  อธิการบดีแจ้งให้คณบดี  คณบดีแจ้งให้หัวหน้าภาควิชา  หัวหน้าภาควิชาแจ้งให้บุคลากรในภาคต่าง ๆ รับทราบว่า  ต่อไปมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกแห่งจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม  ให้พูดคำว่า  เป็นมหาวิทยาลัยเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรมาสู่กอง

                                ๒)  ทำให้สังคมเกิดการยอมรับ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดทำกิจกรรมขึ้นมา  ๖  กิจกรรม  โดยแบ่งเป็นประเด็นหลัก ๓ ประเด็น  และกิจกรรมเสริมอีก  ๓  ด้าน  ประเด็นหลัก  ได้แก่  ๑)  เรื่องอุบัติเหตุ  ๒)  เรื่องยาเสพติด  ๓)  เรื่องการอยู่ก่อนแต่ง  การไม่รู้จักป้องกันตนเอง  โรคติดต่อ  การมีเพศสัมพันธ์จนทำให้เกิดการมีบุตร  ซึ่งทำให้บั่นทอนการเรียนการสอน  ส่วนกิจกรรมเสริม  ได้แก่  ๑)  ด้านการออกกำลังกาย  โดยส่งเสริมให้ทุกคนออกกำลัง  ๒) ด้านจิตใจ  เน้นสุนทรียการทำงานร่วมกัน  เน้นสุนทรียการสัมมนา  เป็นต้น  ๓)  ด้านสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้พยายามทำให้สังคมและทุกคนยอมรับ  โดยทำการผลักดันให้เป็นแบรนด์ของมหาวิทยาลัย  ด้วยการมีโลโก้ด้านสุขภาพ  เมื่อเห็นโลโก้นี้แล้วทำให้ทุกคนรู้หมดว่าเป็นใคร  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังมีการเขียนไว้ในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอีกด้วยว่า  เป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ  และสร้างเครือข่ายให้เป็นที่ยอมรับ

                                ในการประชุมครั้งนี้รู้สึกดีใจมากที่ทุกมหาวิทยาลัยเดินทางไปตาม  ไม่รู้จะถูกหรือไม่  แต่ที่ได้คุยกับ  นายแพทย์มานิตย์  ประพันธ์ศิลป์  แล้วรู้ว่าทุกมหาวิทยาลัยค่อนข้างจะเดินมาถูกทางแล้ว

 

                   มหาวิทยาลัยทักษิณ

                          ผศ.ดร.เรวดี  กระโหมวงค์  ได้กล่าวถึงปัญหาที่มหาวิทยาลัยทักษิณพบ  ได้แก่

                                ๑.  การสร้างความเข้าใจ  ช่วงแรกมีปัญหาอยู่บ้าง  โดยมีบ้างบางหน่วยงานที่จะของบ

เพื่อไปจัดกิจกรรม  แต่ผู้รับผิดชอบโครงการได้ขอให้หน่วยงานที่จะของบส่งบุคคลเพื่อมาจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันก่อน  แล้วแผนรวมมหาวิทยาลัยออกมารูปแบบไหนค่อยมาร่วมกันทำ  ซึ่งการของบเพื่อไปทำในส่วนของหน่วยงานตนเอง  ถือเป็นวิธีการคิดแบบแยกส่วน  เอาไปทำเฉพาะในส่วนที่หน่วยงานรับผิดชอบ  และเป็นการกระจาย  งานที่ออกมาจะไม่เป็นภาพรวม  และจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ

                                ๒.  ระบบการเงิน  มีปัญหาว่าจะต้องทำตามระเบียบของ สตง. หรือเปล่า  จำเป็นต้องมีระเบียบเคร่งครัดว่า  จะมีหน่วยงานจาก  สสส.  มาตรวจด้วยหรือไม่  แก้ปัญหาโดยโทรสอบถามโดยตรง  แล้วนำไปประชุมใหญ่  ซึ่งปัญหาครั้งนี้ทำให้เป็นประสบการณ์ว่าควรเดินทางต่อไปอย่างไร

                          ในส่วนที่มหาวิทยาลัยดำเนินการ  ในคณะกรรมการดำเนินการของมหาวิทยาลัยคือ  เป็นครั้งแรกที่ได้รับเสียงตอบว่า  เป็นคณะกรรมการที่มีสมาชิกจำนวนมากที่สุด  แต่สมาชิกที่เข้าร่วมมาจาก

การสมัครใจ  เพราะว่าหลังจากที่ได้ทำการ  work  shop  แล้วได้  ๗  ประเด็นปัญหา  ก็ได้หาแกนนำใน  ๗  ประเด็น  ด้วยเทคนิคการเลือกคนว่าคนไหนที่มีเครือข่ายหรือมีเพื่อนที่จะมาช่วยกันทำงานด้วยความสมัครใจ  และ  ๗  คนนี้  จะมีทีมของตัวเอง  ทั้ง  กลุ่ม  จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนกันประมาณเดือนครึ่งหรือ  ๒  เดือน  โดยเป็นการประชุมสมาชิกทั้งหมด  แต่ประธานและเลขานุการกลุ่มจะแลกเปลี่ยนกันประมาณ  ๒-๓  อาทิตย์สักครั้งหนึ่ง

                          หลังจากได้มาประชุมครั้งนี้ก็ทำให้ทั้ง  มหาวิทยาลัยได้พบกัน  ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  อย่างเช่น  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีการเตรียมการรับน้อง  และเครื่องจับตรวจไขมันของอาจารย์แป้นเราขอนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพเด็ก  ประโยชน์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัยคือหลังจากการแลกเปลี่ยนกันทำให้รู้ว่าทางมหาวิทยาลัยไม่มีข้อมูลประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของนักศึกษาเลย  สิ่งนี้จะทำให้ได้ในปี  ๒๕๕๒  และมีหลายที่ที่มีสิ่งที่ดีอย่างของ ม.นเรศวรก็มีทูตสุขภาพ  ม.ฟาร์อิสเทอร์น  ก็ดีเยอะ  เช่น  เรื่องของฐานข้อมูล  การบอกผลสมรรถภาพทางกาย  ส่วนมหาวิทยาลัยมหาสารคามชื่นชอบสื่อ  ที่มียมทูต  การประชุมครั้งนี้นับเป็นสิ่งที่ดีทำให้  ๗  มหาวิทยาลัยได้มาเจอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

                   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

                         นายพีระ  จูน้อยสุวรรณ  ได้ชื่นชมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีความเด็ดขาด  และกล่าวถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาว่า  ยังมีปัญหาอยู่หลายเรื่อง  โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับโครงการนี้ยังน้อย  เพราะทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับด้านอื่น  แต่ผู้รับผิดชอบโครงการก็มีความพยายามที่จะทำโครงการนี้ให้ประสบผลสำเร็จ  สิ่งที่เป็นปัญหาอีกเรื่องคือ  เรื่องบัญชี  ที่มีความล่าช้า  เพราะกองคลังของมหาวิทยาลัยที่ได้เข้ามาร่วมทำงานด้วยยังไม่ยอมให้ผ่าน  หลักฐานการเบิกจ่ายมีจะต้องให้เป็นไปตามระเบียบ  แต่พอฝ่ายการเงินของมหาวิทยาลัยได้โทรไปปรึกษากับหน่วยงาน  สสส  ก็บอกว่าไม่ต้องเอาไปเข้าคลังและไม่ต้องยุ่งยากขนาดนั้น  จึงทำให้เรื่องโอนกลับมากับทีมงานที่ทำ  แล้วจึงได้นำมาเขียนรายงานผลต่อ  สสส  ได้

                         จากการเข้าประชุมครั้งนี้มีสื่อหลายสื่อที่มหาวิทยาลัยชอบมาก  ขออนุญาตนำสื่อไปใช้  ขอขอบคุณที่ให้ได้เชิญมา  และจะพยายามทำให้ได้

 

                   มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น

                          อาจารย์กิตติพงษ์  แดงเสริมศิริ  ได้ขอชื่นชม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำแผนการพัฒนานิสิตอุดมคติไทย  เป็นที่แรกที่มีการเอาจริงเอาจังมาก  วางกรอบไว้ชัดเจน 

                         มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น  ได้ให้ข้อเสนอแนะในการจัดดำเนินงานโครงการ  ดังนี้

                                ๑.  เราควรมีการปรับกลยุทธ์การมีส่วนร่วม  โดยปรับที่โครงสร้างให้ทุกคนยอมรับ  และให้มีส่วนร่วม  และทำห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนสุขภาพ  เช่น  ก่อนเรียนให้อาจารย์มีการนำเสนอเรื่องสุขภาพ สัก  ๑๕  นาที  เป็นต้น  นอกจากนี้ควรมี  out  put  view board  เช่น  แสดงสถิติการเกิด-ลดอุบัติเหตุ  เป็นต้น  ซึ่งเมื่อเราเห็นตัวเลขจะทำให้รู้สึกว่าเรามีส่วนร่วมที่ทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย  กำลังมองเป็นเรื่องกลยุทธ์  กลับไปแล้วมหาวิทยาลัยจะไปทำ

                               ๒.  ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้สื่อ  สื่อสำหรับวัยรุ่นต้องเป็นสื่อที่กระตุ้นให้เขาแรงๆ ทำแล้วให้เขาสามารถจำง่าย    โดยควรทำสื่อง่าย ๆ ชัด ๆ แต่ให้จำได้  มีการนำสื่อมาใช้ซ้ำ  จัดทำสื่อในรูปของภาพยนตร์  และควรมีศูนย์สื่อกลาง  ที่เป็นสื่อเฉพาะทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น  โดยทุกคนสามารถหยิบนำไปใช้ได้เลย   

                               ๓.  แกนนำเยาวชน  มีแนวคิดว่าทำอย่างไรให้นักศึกษาที่เป็นแกนนำมีความซาบซึ้งกับเรื่องนี้มาก ๆ  และทำอย่างไรให้แกนนำเยาวชนมีความตระหนักเรื่องสุขภาพ  และทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมเรื่องสุขภาพ 

 

                   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                          รองศาสตราจารย์สุรชา  อมรพันธุ์  ได้กล่าวว่า  สิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ทำให้ได้ข้อคิดและแนวคิดต่าง ๆ  มากมาย  และสิ่งสำคัญที่ได้ครั้งนี้คือเรื่องสื่อ  สื่อต่าง ๆ ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์  สามารถนำไปปรับและประยุกต์ใช้ได้  แต่ขอให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย  เพื่อให้เกียรติสถาบันที่เป็นต้นคิด  ขอยอมรับว่าสื่อพวกยมทูตนั้นได้  Idea  จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ซึ่งต้องขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยแม่โจ้  และควรนำเผยแพร่ใน  Internet  และเห็นด้วยถ้าจะมีศูนย์กลางของสื่อต่าง ๆ  ประโยชน์ที่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้คงทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้งานดีขึ้นมาอีก  และ

อยากให้โครงนี้อยู่คู่กับมหาวิทยาลัยไปเรื่อย ๆ

 

                   มหาวิทยาลัยนเรศวร

                         อาจารย์พรธิดา  จันทร์ที  ได้กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำหลายอย่าง  แต่สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำนั้นได้ไตร่ตรอง  และมีความตั้งใจทำทุกอย่าง  สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำช่วงปิดเทอมคือ  ดึงบุคลากรเข้ามามีส่วนร่วม  และจัดกิจกรรมขึ้น  โดยทำเกี่ยวกับฑูตสุขภาพ  ส่วนนิสิตจะทำในช่วงเปิดเทอม  สำหรับเรื่องการมีส่วนร่วม  มหาวิทยาลัยยังมีน้อย  เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเน้นงานกีฬาจึงทำให้ยังไม่ได้ลงมือเท่าที่ควร

 

                   มหาวิทยาลัยบูรพา

                          อาจารย์นุชนาถ  แก้วมาตร  ได้กล่าวว่า  หลังจากประชุมที่ ม.แม่โจ้  ก็ได้มาปรับทิศทางและแผนการดำเนินงานโครงการใหม่  โดยไม่มุ่งเน้นการอบรม  หรือเฉพาะเรื่องทางกาย  หรือมุ่งเพียงทักษะชีวิตเท่านั้น  แต่จะเน้นถึงว่า  ทำอย่างไรเมื่อเราเป็นภาคี  ๗  เครือข่ายมหาวิทยาลัยแล้ว  จะทำให้ประชาคมมหาวิทยาลัยบูรพา  ได้รับรู้ว่า มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ  โดย  ทำให้ประชาคมมหาวิทยาลัยบูรพาเข้ามามีส่วนร่วม  ได้ร่วมคิด  ร่วมทำ  จากการประชุมครั้งนี้ทำให้ได้มาเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และขอชื่นชมทุกมหาวิทยาลัย  ซึ่งทำให้เป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยบูรพามาก  และจะนำประสบการณ์ทุกอย่างไปเผยแพร่  ทำงานให้เกิดความชัดเจน 

การประชุมดังกล่าวเสร็จสิ้นไปด้วยความเรียบร้อย และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจ

......ขอนอกเรื่องตามใจผึ้งบ้างนะคะ  กว่าจะลงรูปได้ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงมาก เพราะเป็นใจร้อนไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ แต่ก็ต้องมาเจอจนได้ คือ โหลดรูปไม่ครบวันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะคะ ไว้พรุ่งนี้จะมาลงใหม่ (เหนื่อยแล้ว) เพราะนั่งทำรายงานตั้งแต่เช้า (รายงานรูปเล่ม) เพิ่งจะมาเสร็จตอนประมาณ ๖ โมงเย็น รู้สึกปวดตา...

หมายเลขบันทึก: 184326เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาดูงาน  และร่วมเรียนรู้  รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนในระดับหนึ่ง  ก็นำพาให้ตนเองได้เห็นแนวคิดอันหลากหลายและกว้างไกลอย่างน่าชื่นชม  และสิ่งเหล่านั้นก็เป็นต้นทุนที่ดีในการปรับแต่เนื้องานของตนเองให้มีรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่ให้โอกาสพี่และทีมงานได้แสดงถึง "หัวใจ"  ที่มีต่อมหาวิทยาลัยอย่างไม่อิดออด

มาเยี่ยมยามท่านผึ้ง มา ลปรร ที่นี่เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท