ฝึก “คุณลิขิต” ในแบบ สคส. (๑/๒)


Buddy จะคอยตรวจและให้คำแนะนำการจดบันทึกประชุมแต่ละครั้ง และบางครั้ง อ.วิจารณ์ ก็จะช่วยตรวจและให้คำแนะนำอีกทางหนึ่งด้วย

วันนึ้ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน  ไหนๆ ดิฉันก็กำลังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเป็น "คุณลิขิต" อยู่..  ก็เลยคิดว่าน่าจะเอาลงบล๊อกน่าจะดี.. เพราะรู้ตัวว่าห่างหายเสียนาน 

         คนของ สคส. ทุกคนจะถูกฝึกให้เป็น “คุณลิขิต” เป็นอันดับแรก   โดย สคส. น้องใหม่ทุกคนจะได้รับหน้าที่ที่ท้าทายและสำคัญคือให้เป็นผู้บันทึกรายงานการประชุมประจำสัปดาห์ของ สคส. ที่เราเรียกกันว่า weekly meeting  ประชุมตั้งแต่เวลา 08.30 – 12.00 น. (บางครั้งการประชุมก็ติดลมถึง 12.30 น.)  สมาชิก สคส. ทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมนี้   weekly meeting ส่วนใหญ่แล้ววาระหลักๆ ก็จะเป็นการเล่าเรื่องงานของแต่ละคนที่เพิ่งทำผ่านมาในสัปดาห์ก่อนหน้าทั้งการอบรม การสัมมนา หรือการได้เข้าร่วมงานต่างๆ  โดยจะเล่าความคาดหวัง  สิ่งที่ได้เกินคาด น้อยกว่าคาด ความประทับ และสิ่งที่จะนำไปใช้ต่อหรือข้อเสนอแนะ (หรือที่เราเรียกกันว่า AAR : After Action Review)   นอกจากวาระ AAR แล้วก็จะมีวาระ BAR (Before Action Review) เป็นการหารือเพื่อต่อยอด  เพื่อเตรียมการ  หรือ บอกความคาดหวัง/เป้าหมาย  ก่อนที่จะเกิดงานนั้นขึ้นในไม่ช้า    AAR และ BAR ถือเป็นวาระหลักแต่ในบางช่วงเราก็จะมีการ review และ ตีความหนังสือต่างๆ เพื่อเสริมสร้างมุมมองที่หลากหลายและแนวคิดของคน สคส. ด้วย    การประชุมแต่ละครั้งเรามักจะมีวาระอื่นๆ แทรกเข้ามาด้วยเสมอและการดำเนินการประชุมบางครั้งก็ไม่ได้ดำเนินตามวาระอาจจะสลับก่อน-หลัง ได้ตามความสนใจของพวกเราเอง

           ผู้บันทึก weekly meeting นั้น  มิใช่มีหน้าที่จดบันทึกอย่างเดียวเท่านั้น  แต่หน้าที่ที่ต้องทำนอกจากการบันทึกก็คือ  เตรียมวาระการประชุมแบบไม่เป็นทางการ (ใช้การสอบถามโดยตรงหรือ e-mail สอบถามจากสมาชิก สคส. คนอื่นว่าในการประชุมต้องการเสนอวาระอะไรในที่ประชุมบ้าง แล้วพิมพ์วาระออกมาในกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้าแต่ยังมีหน้าว่างอีก 1 หน้าเพื่อเป็นการประหยัด)  ซึ่งการเตรียมวาระก็รวมไปถึง file ต่างๆ ที่เจ้าของวาระต้องการนำเสนอด้วยเพื่อนำข้อมูลไป save ไว้ใน Computer Notebook  ผู้บันทึกการประชุมแต่ละคนจะมีรูปแบบการเตรียมวาระการประชุมที่แตกต่างกัน  ตามแต่ความถนัดของแต่ละคน นอกจากเตรียมวาระการประชุมแล้ว สิ่งที่ผู้บันทึกฯ ต้องจัดการอีกก็คือ การจัดเตรียม/จัดหาห้องประชุม  เซต LCD และ Computer Notebook    และสิ่งที่ ผู้บันทึก weekly meeting ของ สคส. จะขาดไม่ได้ ก็คือ "เครื่องอัดเสียง"  (อัดเสียงแล้วจะฟังหรือไม่ฟัง ก็อัดไว้ก่อน.. เผื่อได้เอาไปใช้ประโยชน์)

            หน้าที่ของ ผู้บันทึก weekly meeting ของ สคส. ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  ในช่วงแรกหน้าที่เหล่านี้ต้องทำให้ได้ภายในคน “คนเดียว”      สำหรับการบันทึกการประชุมนั้น ผู้บันทึก จะรู้ดีว่าควรทำบันทึกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะถึง weekly meeting ถัดไป เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นดินพอกหน้าหมู.. ที่หนักเอาการ    ในช่วงแรกๆ ผู้บันทึก weekly meeting นั้น สคส. เราจะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล (เราใช้คำว่า Buddy )  Buddy จะคอยตรวจและให้คำแนะนำการจดบันทึกประชุมแต่ละครั้ง  และบางครั้ง อ.วิจารณ์ ก็จะช่วยตรวจและให้คำแนะนำอีกทางหนึ่งด้วย 

ติอตามอ่านต่อบันทึกต่อไปนะคะ 

 uraiMan

หมายเลขบันทึก: 184093เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท