มุมมองที่แตกต่าง การเรียนภาษาอังกฤษของเด็ก


มุมมองที่แตกต่าง การเรียนภาษาอังกฤษของเด็ก

มุมมองที่แตกต่าง การเรียนภาษาอังกฤษของเด็ก

เกือบหนึ่งปีแล้วที่ผู้เขียนและครอบครัวย้ายมาอยู่ที่เมืองเล็ก ๆชื่อ เมืองอาฮิฮิก ประเทศเม็กซิโก ประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของอเมริกา ลูกสาววัยแปดขวบจึงมีโอกาสได้เรียนภาษาสเปนเพิ่มเติมอีกหนึ่งภาษา

โรงเรียนที่ลูกสาวเข้าเรียน ทำการสอนประเภท Dual Immersion คือครึ่งวันสอนด้วยภาษาอังกฤษและอีกครึ่งวันสอนด้วยภาษาสเปน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กเม็กซิกันที่พูดภาษาสเปนที่บ้าน แต่พ่อแม่ต้องการให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ เหมือนพ่อแม่คนไทยนั่นแหล่ะค่ะ

 

 

เคยอ่านเจอบทความ การจัดแบ่งประเภทการเรียนภาษาต่างประเทศ ในโรงเรียนระดับประถมในประเทศอเมริกา เขาแบ่งเป็นสามประเภทด้วยกันคือ

1. Traditional Foreign Language Programs in the Elementary School  คือ เรียนภาษาต่างประเทศเป็นวิชาหนึ่ง เหมือนที่นักเรียนไทยส่วนใหญ่เรียนวิชาภาษาอังกฤษกันอยู่นั่นเอง การเรียนประเภทนี้จะประสบความสำเร็จแค่ไหน นอกจากปัจจัยสำคัญคือตัวเด็กเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ

  • มีชั่วโมงเรียนบ่อยแค่ไหน

  • นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการใช้ภาษาหรือไม่ และบ่อยแค่ไหน

  • การออกเสียงของครูผู้สอน ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาหรือไม่

2. Foreign Language Exploratory Programs   เป็นการเรียนกว้าง ๆ ถึงภาพรวมโครงสร้างลักษณะของภาษา และวัฒนธรรมการใช้ภาษา การเรียนแบบนี้พ่อแม่ไม่สามารถคาดหวังความเป็นเลิศด้านการสื่อสารได้ แค่เป็นการแนะนำให้เด็กรู้จักภาษา ถ้าเด็กสนใจ ก็สามารถเลือกเรียนให้ลึกซึ้งต่อไปในอนาคต

3. Language Immersion Program เด็กเรียนทุกวิชาโดยใช้ภาษาต่างประเทศ การเรียนแบบ Immersion นี้แบ่งออกเป็น ประเภท Full, (เรียนแบบโรงเรียนอินเตอร์ ) partial และ dual (โรงเรียนสองภาษา)

การเรียนแบบ dual หรือเรียกอีกอย่างว่า two-way  immersion ก็คืออย่างที่ลูกสาวเรียนอยู่ คือเรียนรายวิชาต่าง ๆ ครึ่งวันหนึ่งภาษา(สเปน) และอีกครึ่งวันก็อีกภาษาหนึ่ง(อังกฤษ)

ซึ่งแน่นอนการเรียนภาษาต่างประเทศให้ได้ผลเร็วที่สุด ก็คือการเรียนประเภทที่สามคือ Immersion นั่นเอง

Jenschool

สองเทอมแรก ลูกสาวบ่นทุกวันว่าไม่อยากไปโรงเรียน เพราะไม่ชอบครึ่งวันที่ต้องเรียนทุกอย่างเป็นภาษาสเปน เขาเครียดมากเพราะฟังครู และเพื่อนไม่เข้าใจ ผู้เขียนเองก็เครียด สงสารลูก หลายครั้งที่เกือบท้อ และคิดจะพาลูกกลับไปเรียนที่แคนาดาอย่างเดิม

ผู้ใหญ่อย่างเรารู้ดีว่า การพยายามเรียนภาษาต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องเครียด เด็ก ๆ ก็คงไม่ต่างไปจากเรา

ไปอ่านเจอรายงานเรื่อง  "Myths and Misconceptions About Second Language Learning" by Barry McLaughlin Barry McLaughlin

 เขากล่าวถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ผู้ใหญ่มีต่อการเรียนภาษาที่สองของเด็ก เป็นการมองที่ต่างออกไปจากที่เคยได้ยินมา บางข้อผู้เขียนเห็นด้วย โดยเปรียบเทียบจากประสบการณ์การเรียนภาษาของตนเองและเด็ก ๆ ในครอบครัว ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ปลอบใจตัวเองได้เมื่อตอนเครียด ๆ ในเรื่องการเรียนภาษาของลูก แต่บางข้อก็ยังฟังหูไว้หูเพราะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตอนเอง ขอแปลแบบสรุปมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

 

ความเชื่อผิด ข้อที่ ๑. เด็กเรียนภาษาที่สองได้รวดเร็วและไม่ยาก

Children learn second languages quickly and easily

มีการวิจัยเปรียบเทียบการเรียนภาษาที่สองของผู้ใหญ่และเด็ก ผลการวิจัยของ  Snow & Hoefnagel-Hoehle, 1978 มีออกมาว่าผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ดีกว่า ยกเว้นเรื่องเดียวที่เด็กทำได้ดีกว่าคือเรื่องการออกเสียง

 

ถึงผลการวิจัยจะออกมาให้เห็นอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถลบล้างความเชื่อที่ว่าเด็กเรียนได้รวดเร็วกว่าผู้ใหญ่ไปได้ ซึ่งคงเป็นเพราะว่าเนื้อหาที่เด็กเรียนนั้นง่ายกว่าผู้ใหญ๋ ประโยคของเด็กสั้นกว่าและง่ายกว่า คำศัพท์ก็ง่ายกว่าด้วย   

คุณครูและพ่อแม่จึงไม่ควรคาดหวังว่า เด็กจะสามารถเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนได้อย่างรวดเร็ว และควรตระหนักด้วยว่า การเรียนภาษาที่สองตั้งแต่ยังเด็กอาจจะเป็นเรื่องยากด้วยซ้ำ เพราะเด็กยังไม่รู้จักใช้เทคนิคการช่วยจำ และกลยุทธ์อื่น ๆที่ผู้ใหญ่ใช้มาช่วยในการเรียนคำศัพท์และไวยากรณ์ อีกทั้งมักมีการเข้าใจที่ผิดด้วยว่าเด็กมีความอายน้อยกว่าผู้ใหญ่เมื่อพวกเขาใช้ภาษาผิด จริง ๆ แล้วเด็กมีความอายมากกว่าพวกผู้ใหญ่ด้วยซ้ำถ้าเขาใช้ภาษาผิดต่อหน้าเพื่อนๆ ( เห็นด้วย เห็นด้วย เพราะลูกสาวจะอายมาก เมื่อใช้ภาษาผิด ๆ)

 

ความเชื่อผิด ๆ ข้อที่ ๒. เด็กยิ่งอายุน้อยเท่าไร ก็ยิ่งมีทักษะในการซึมซับรับรู้ภาษาที่สองมากขึ้นเท่านั้น

The younger the child, the more skilled in acquiring an L2

ในรายงานฉบับนี้ได้มีการพูดถึงผลการวิจัยมากมายหลายสำนัก ที่ออกมาสนับสนุนว่า เด็กทีเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ได้มีผลการสอบวิชาภาษาอังกฤษดีกว่าเด็กที่มาเรียนเอาเมื่ออายุมากแล้ว เช่น ที่แคนาดาจะมีการเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง เด็กจะเลือกได้ว่าจะเริ่มเรียนตั้งแต่เกรดหนึ่ง หรือเกรดเจ็ด มีผลการวิจัยของ Genesee, 1987 ออกมาว่าเด็กที่เริ่มเรียนเมื่อเกรดเจ็ดสามารถทำคะแนนได้ดีเท่าหรือดีกว่าเด็กที่เรียนภาษาฝรั่งเศสมาตั้งแต่เกรดหนึ่งด้วยซ้ำ การได้เรียนตั้งแต่เกรดหนึ่งทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสภาษาได้มากกว่า แต่การได้สัมผัสมากกว่า ไม่ได้เป็นการยืนยันการซึมซับรับรู้ภาษา

 

ความเชื่อผิด ๆ ข้อที่ ๓. นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรายวิชา เป็นภาษาที่สองมากเท่าไร พวกเขาสามารถเรียนภาษานั้นได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

The more time students spend in a second language context, the quicker they learn the language

มีนักการศึกษาจำนวนมากที่เชื่อว่า เด็กจะเรียนภาษาที่สองได้ดีเมื่อเมื่อเขามีโอกาสเรียนเนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่ใช้ภาษาที่สองในการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าการเรียนแบบนี้เป็นการได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการสัมผัสภาษา แต่อย่างไรก็ตามมีผลการวิจัยออกมาว่าการได้ใช้เวลากับภาษามากมายเพียงใดนั้นไม่ได้ทำให้การซึมซับรับรู้รวดเร็วขึ้น

 

 นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับภาษาที่หนึ่งของตน สามารถซึมซับรับรู้ภาษาอังกฤษได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่เรียนทุกวิชาโดยการใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลา (Cummins, 1981; Ramirez, Yuen, & Ramey, 1991)

 

ความเชื่อผิด ๆ ข้อที่ ๔. เด็กซึมซับรับรู้ภาษาที่สองได้ ทันที่ที่เขาสามารถพูดภาษานั้นได้  Children have acquired an L2 once they can speak it  

หลายคนเข้าใจว่า เมื่อเด็กสามารถพูดจาสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ถือได้ว่าเด็กมีความสามารถในการใช้ภาษาแล้ว  แต่ความจริงแล้ว เด็กวัยเรียนที่สามารถพูดจาโต้ตอบสื่อสารในชิวิตประจำวันได้ ไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีประสิทธิภาพในการใช้ภาษาที่สลับซับซ้อนเพื่อร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้

 

เด็กที่มีโอกาสได้เรียนประเภท Immersion อาจใช้เวลาหนึ่งถึงสองปีในการสื่อสารกับเพื่อนในเรื่องง่ายๆได้ และอาจใช้เวลาสี่ถึงหกปีในการใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพในห้องเรียนเหมือนเด็กเจ้าของภาษา Cummins (1980)

 

ความเชื่อผิด ๆ  ข้อที่ ๕. เด็กทุกคนเรียนภาษาที่สองด้วยวิธีการที่เหมือนกัน

All children learn an L2 in the same way

ข้อนี้จะค่อนข้างเห็นได้ชัดว่าไม่จริง เพราะเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน มาจากครอบครัว สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน วิธีการเรียนภาษาที่สองย่อมไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เด็กที่ชอบแสดงออก ไม่หวั่นไหวต่อการพูดผิดพูดถูกก็จะเรียนรู้จากใช้ความรู้ทีมีอยู่ของตนแสดงออกไป เด็กที่ขี้อาย และไม่ค่อยพูด ก็จะเรียนจากการฟัง และการดู

แต่อย่างไรก็ตาม มีผลการวิจัยออกมาว่า เด็กทั้งสองประเภทสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สองได้ไม่ต่างกัน

ข้อนี้ผู้เขียนเห็นจริงด้วยตนเองค่ะ เพราะลูกสาวเป็นเด็กขี้อายแต่เขาก็เริ่มมีพัฒนาการให้เห็นแล้ว เขาเลิกบ่นที่จะต้องไปโรงเรียน  เริ่มเข้าใจเพื่อน เข้าใจครูผู้สอน และเริ่มรักการไปโรงเรียน เฮ้อ..รอมานานกว่าจะมีวันนี้ค่ะ

ท้ายนี้ขอฝากถึงคุณครู คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังรอรุ้นเห็นความก้าวหน้าในการเรียนภาษาอังกฤษของลูก ๆ ว่าให้อดทนนะคะ การเรียนภาษาต้องใช้เวลาค่ะ....และ.....น...า...น....ด้วย 

 

 

 

 

 

 

My Music - Clair De Lune

 

 

 

My Music - Clair De Lune
หมายเลขบันทึก: 183196เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (91)

ดีจังเลยครับ มีข้อมูลที่แตกต่างออกไปต่างจากความเชื่อของเรา พี่อักษรสบายดีไหมครับ

มาร่วมเรียนรู้ด้วยคนค่ะ พี่อักษร

มื้อเช้าที่นู่น มีงี๊ป่าวคะพี่ อิอิ

แต่ใจยังคิดว่า เด็กอาจสามารถใช้ ภาษาที่สองที่สามได้อย่างธรรมชาติ โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักการไวยกรณ์ ทำให้เค้าปลดภาระความเครียดต่างจากผู้ใหญ่ การพูดได้ ไม่ใช่ ตำตอบว่า เด็กจะเก่งในการเรียนและสอบภาษานั้น แต่ เค้าใชข้มันได้แน่นอนครับ..เหมือนภาษาไทยไงครับ ยาขมหม้อใหญ่ของเด็กไทย

  • P  สวัสดึค่ะ อาจารย์ขจิตคนขยัน คนดีที่พี่อักษรคิดถึงอยู่เสมอ ยังอบรมวิทยากรอยู่ที่สวนป่าหรือเปล่าคะเนี่ย มีเวลาใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างอบรมด้วยเหรอคะ

P สวัสดีจ้าน้องครูปูผู้อ่อนโยน เปิดเทอมแล้วคิดว่าจะไม่ค่อยได้เห็นน้องปูแล้ว ดีจังค่ะที่ยังแวะมาทักทายกันเสมอ ที่นี่ไม่มีอาหารไทยให้ทานเลย ฝีมือทำอาหารของพี่อักษรก็ไม่ได้เรื่อง อยากเป็นหลานคุณยายของน้องปูจังเลย

  • พี่อักษรยังไม่รู้เลยว่าปีนี้น้องปูสอนชั้นไหนคะ จำได้แต่ว่า ครูสุ สอนประถมสี่
  • พี่อักษรคะ น้องครูปู สอนระดับ ปวช. ปวส.ค่ะ  ก็เทียบกับ ม.ปลาย และ อนุปริญญาหน่ะค่ะ
  • อยู่กับนักเรียนวัยรุ่น เลยมีเรื่องให้วุ่นใจ
  • ต้องตีกรอบ ต้องตะล่อมใจเด็กอยู่ตลอดเวลา
  • พ่อแม่บางคนก็ไม่เข้มแข็ง  สังคมก็เปราะบาง  ถ้าครูไม่เข้มแข็งอีก วัยรุ่นเรา รอดยาก ค่ะ
  • พี่อักษรรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
  • ระลึกถึงพี่อักษร พี่สาวที่แสนน่ารักเสมอค่ะ
  • P สวัสดีค่ะคุณคนโรงงาน ดีใจค่ะที่เข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง
  • จริง ๆ แล้วอักษรเองก็เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะว่าเด็กเรียนภาษาตามธรรมชาติ ไม่ต้องสนใจไวยากรณ์
  • แต่มาสังเกตว่าลูกสาวเครียดในการเรียนภาษาที่เขาไม่เข้าใจ ก็เลยพยายามหาคำตอบให้ตัวเองน่ะค่ะ แต่ก็แน่นอนว่าอาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่นด้วย เช่นครูดุ ครูสอนไม่สนุก ครูไม่อดทนใจเย็น และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนใหม่ด้วย ไม่เหมือนเด็กเรียนภาษาที่หนึ่งจากที่บ้านอันอบอุ่น จากพ่อแม่ที่สอนลูกด้วยความรักด้วยความอดทน
  • ขอบคุณอีกครั้งนะคะที่แวะมาเยี่ยม แล้วพี่อักษรจะแวะไปทักทายนะคะ
  • P  สอนเด็กโตก็ดีนะคะ ทำให้ครูได้ใช้ทักษะภาษาในระดับแอดวานซ์ ได้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา
  • วันหลังน้องครูปู เขียนเกี่ยวกับปัญหา และกลวิธีในการสอนเด็กโต ๆ ในบล็อกบ้างนะคะ พี่อักษรอยากรู้จริง ๆ ค่ะ

พี่อักษรค่ะ

เพื่อนคนไทยที่อเมริกา ก็ไม่สอนภาษาอังกฤษให้ลูกเองค่ะ จะให้ลูกเรียนจากโรงเรียนเท่านั้น เพราะเด็กจะสับสนและเลียนเสียงผิดพลาดค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับงานวิจัยดีๆ

มาบอกพี่อีกรอบว่า เป็นคนรายงานเหตุการณ์เลยได้รับอนุญาตให้ใช้ คอมพิวเตอร์ได้ครับ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมค่ะ ดีใจจังที่ได้เจอพี่น้อง "ทับแก้ว"
  • ความเชื่อจะผิดหรือถูกก็แล้วแต่มุมมองค่ะ
  • แต่เชื่อแน่ๆ  หากไม่ได้ใช้ภาษาก็จะลืมไปหมด
  • เคยเรียนทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน
  • สำหรับตอนนี้  เอกภาษาถิ่นค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  จากอักษร รุ่น ๘
  • P สวัสดีค่ะอาจารย์จัน ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ
  • เห็นด้วยกับเพื่อนอาจารย์ค่ะ เพราะเกิดขึ้นกับตัวเองแล้วค่ะ มาอยู่เม็กซิโกเกือบหนึ่งปี สังเกตว่าการใช้ภาษาอังกฤษของน้องเจนเริ่มเพื้ยนเล็กน้อยค่ะ แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง คงด้วยอิทธิพลสำนวนอังกฤษเพื้ยน ๆ จากคุณแม่ สำเนียงเพี้ยน ๆ ของคุณครูภาษาอังกฤษชาวเม็กซิโก และเพือน ๆ ชาวเม็กซิกัน
  • เพิ่งมาได้คิดเร็ว ๆ นี้เองค่ะ ว่าพี่อักษรไม่ควรพูดภาษาอังกฤษกับลูก ควรจะพูดไทยอย่างเดียว แต่คุณพ่อก็คอมเพนท์ว่าถ้าทำอย่างนั้น ภาษาอังกฤษคุณแม่ก็จะแย่ลงทุกวัน เพราะพูดภาษาไทยกับลูกตลอด
  • ขอบคุณอีกครั้งนะคะที่แวะเข้ามา และขอให้น้องต้นไม้เลี้ยงง่าย ๆ โตวันโตคืน นะคะ

  

  • P ขอบคุณจ้า ที่แวะเข้ามาไขข้อข้องใจ อย่าลืมเอาพี่อักษรใส่บล็อกครูสอนภาษาอังกฤษนะคะ ( ถ้าลืมจะคอยตามเตือนอยู่เรื่อย ๆ.... )
  • P  สวัสดีค่ะ พีแจ่มใส ดีใจจริง ๆ ค่ะที่ได้เจอเพื่อนร่วมสถาบันจนได้
  • ตุ้มคงเป็นรุ่นน้องพี่แจ่มใสค่ะ รหัส 27 คงเป็นรุ่นสิบห้า หรือสิบหก ไม่แน่ใจค่ะ เพื่อนที่จบมาด้วยกัน ยังติดต่อเป็นเพื่อนรักกันอยู่จนทุกวันนี้เลยค่ะ กลับเมืองไทยทีไรก็แวะไปหา ไปเที่ยวด้วยกันเป็นกลุ่มอยู่เสมอ มีแต่ความทรงจำที่งดงามที่ทับแก้วค่ะ
  • แล้วจะแวะไปเยี่ยมที่บล็อกนะคะ ดีใจจริง ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

พอดีมีประสบการณ์อยู่บ้างค่ะ

เมื่อลูกเล็กๆ เรียนภาษอังกฤษ มาตั้งแต่อนุบาล และยังมีครูพิเศษอีก แต่เป็นการเรียนปนเล่น ไม่เครียด ชอบด้วยซ้ำ แต่ที่บ้าน ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษกับเขา และเคยพาเขาไปอเมริกาด้วย ตอนอายุ 8 ขวบ ตอนนั้น  และจะเป็นช่วงที่พุดภาษาอังกฤษคล่อง ตั้งแต่นั้นมา คือจะเหมือนที่คุณอักษรบอกว่า ...

ตอนสอบโทเฟิ่ล สอบได้ 630 จาก 670

ปัจจุบัน เวลาอยู่ที่ทำงานพูดภาษาอังกฤษตลอด กลับบ้านจึงพูดไทย..

จะขอสรุปว่า...การเรียนภาษาต้องใช้เวลานานมากกกก.....และต้องมีโอกาสพูดอ่านเขียนตลอด  จึงจะคล่องแคล่ว

 

  • P ขอบคุณคุณพี่ศศินันท์มากค่ะ ที่แวะเข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์ค่ะ
  • ไม่ทราบว่าครูพิเศษที่มาสอนเป็นคนไทยหรือต่างชาติคะ เคยอ่านเจอคำแนะนำว่า ถ้าไม่สามารถให้เด็กไปเรียนต่างประเทศได้ จ้างครูต่างชาติมาสอนเป็นประจำ  เด็กก็สามารถเรียนภาษานั้นได้ดีไม่แพ้ไปเรียนต่างประเทศ
  • ไม่ทราบตอนนี้วางโครงการ การเรียนภาษาของหลานชายวัยกำลังน่ารักน่าฟัดไว้อย่างไรบ้างคะ
  • จริง ๆ นะคะ เหมือนที่พี่ศศินันท์ และ พี่แจ่มใส ว่าการเรียนภาษาต้องมีโอกาสพูดอ่านเขียนตลอด หากไม่ได้ใช้ก็จะลืมหมด

 

 

  • ห้าทุ่มกว่าแล้ว พีอักษรขอตัวไป hit the hay ( ไปนอน) ก่อนนะคะ ขอให้ทุกคนที่เมืองไทย ทำงานกันให้สนุกนะคะ
  • กูดไนท์ค่ะ

มาเยี่ยมชมครับผม,

สวัสดีครับพี่อักษร

อ่านแล้วได้ความรู้มากมายจังเลย แต่แล้วก็ไม่อยากเชื่อ 100 %  แต่ยังไง เด็กก็คงเรียนได้ดีกว่าผู้ใหญ่ครับ เพราะสมองกำลังใส ไม่ตีบตันเหมือนกับผู้ใหญ่ (ข้อมูลเยอะ) ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่อักษร

แวะเข้ามาทักทายค่ะ และอยากจะมาให้กำลังใจพี่อักษรและลูกค่ะ

น้องชื่ออะไรคะ เกิดและโตที่แคนาดาหรือเปล่าคะ? เลยสงสัยว่าน้องจะต้องปรับตัวมากหรือเปล่าคะที่ทำให้เค๊าเครียดใน ตอนแรก เพราะตอนนี้กลายเป็น 3 ภาษา รวมไทยด้วย

น้องอายุพอๆกับหลานชายที่เกิดและโตอเมริกาค่ะ เวลาอยู่ที่บ้าน ทุกคนพูดไทยกับเค๊า ตอนนี้หลานชายก็บอกกับใครๆว่า เริ่มพูดและฟังไทยไม่ค่อยเข้าใจแล้วค่ะ เวลาพ่อเค๊าคุยไทยด้วย จะว่ายาก...ฟังแล้วก็ตลกดีค่ะ อาจเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่โรงเรียนด้วย

เพื่อนๆที่ฮาวายที่เป็นครูก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กๆที่ใช้ภาษาอื่นเป็นภาษาแรก ก็ต้องปรับตัวมากหน่อยในช่วงแรก แต่ต่อไปเมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะเก่งเองตามธรรมชาติค่ะ

  • P สวัสดีค่ะคุณฮอส ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • พี่อักษรแวะไปเยี่ยมหน้าประวัติมาค่ะ จัดรูปถ่ายได้เป็นระบบ น่าอ่านมากค่ะ ดูครอบครัวอบอุ่นจังเลย คุณพ่อคุณแม่คงดีใจนะคะมีลูกชายมีความรับผิดชอบ เป็นเด็กเรียนดีได้รางวัลด้วย 
  • แล้วพี่อักษรจะเข้าไปหาความรู้เรื่องสุขภาพที่บล็อกนะคะ
  • สวัสดีค่ะ ครูน้องสุ  พี่อักษรกะไว้แล้วว่าวันนี่ จะไปตามน้องครูสุที่โรงเรียนให้มาเยี่ยม แต่ไวกว่ามาก่อน ขอบคุณนะคะ
  • ชอบการ์ตูนกูดไนท์ น่ารักดีค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่อักษร

หิ้วภาพต้นสาระ มาฝากในวันพระใหญ่ วันนี้ค่ะ

  • P สวัสดีค่ะ คุณอุ๊ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจเจนนิตากับอักษรค่ะ
  • กำลังคิดถึงคุณอุ๊อยู่พอดีค่ะ เพราะวันก่อนอ่านเจอ list of U.S. state flowers  พบว่าดอกคามิเลีย เป็นดอกไม้ประจำรัฐ Alabama และที่ฮาวายก็คือดอกพู่ระหงของเรานี่เอง ตอนเป็นเด็กคุ้นเคยกับพู่ระหงและชบามากค่ะ ชอบเอามาหั่นเล่นขายของอยู่เสมอ
  • น้องเจน เกิดและโตที่แคนาดาค่ะ คุณพ่อแท้ ๆ เป็นคนไทยค่ะ แกก็โตมาที่บ้านที่มีคุณน้า คุณป้าที่อยู่แคนาดาด้วยกัน พูดไทยกันในบ้านตลอด จนสามขวบน่ะค่ะ ถึงได้ย้ายมาอยู่กับคุณพ่อเลี้ยงกัน จากนั้นมาอักษรก็พูดไทยบ้าง อังกฤษบ้างกับเขา จนตอนนี้ภาษาไทยก็เริ่มเสียงเพี้ยน ๆ เหมือนกันค่ะ แต่พอฟังเข้าใจ ซัมเมอร์นี้วางแผนจะไปเมืองไทยกันค่ะ คงได้ภาษาไทยกลับมาเยอะ
  • ขอบคุณที่เล่าเรื่องหลานชายให้ฟังค่ะ จริง ๆ นะคะฟังเด็กพวกนี้ (รวมหลานชายวัยสิบสามของอักษรที่ยังอยู่ที่แคนาดาด้วยค่ะ) พูดไทยสำเนียงเพี้ยน ๆ แล้วตลกจังเลย
  • P ขอบคุณค่ะน้องปู ถ้าไม่เฉลยว่าต้นสาระ พี่อักษรทายอย่างไรก็ไม่ถูก คิดว่าลำใยยักษ์ค่ะ
  • วันหยุดนี่เองน้องปูเลยได้เล่นคอมอีก
  • สุขสันต์วันวิสาขบูชาค่ะ
  • อ้อ...เกือบลืมค่ะ เมื่อเช้าก่อนไปโรงเรียนพี่อักษรโชว์บล็อกใหม่ของพี่ให้น้องเจนดู เขาอ่านภาษาไทยในบล็อกไม่ได้หรอกค่ะเพราะยากไป แต่เห็นมีรูปเขาก็เลยให้เขาดู เขาไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ติดใจแต่รูปปาท่องโก๋ของน้องปู อย่างเดียว

 

สวัสดีค่ะพี่อักษร

กลับมาอ่านอีกทีค่ะ อย่างนี้น้องเจนอีกหน่อยต้องเก่งทั้งอังกฤษและสเปนแน่เลยค่ะ ดีจังค่ะ พี่อักษรคิดการณ์ไกล..

ที่ตลกคือบิลหลานชายเค๊าบอกกับน้องอิ๊บอายุเท่ากัน ที่โตมาด้วยกันเป็นญาติกันว่า ทำไงดีบิลพูดไทยจะไม่ได้แล้ว  ลืมหมดแล้ว น้องอิ๊บก็เลยตอบบิลว่า ไม่เห็นยากเลยบิล ก็พูดสวัสดีค่ะไง ง่ายจะตาย ไม่ลืมหรอก จริงๆแล้วบิลบอกพ่อเค๊าว่า ป่าป๊าพูดไทยอะไรยากจัง บิลฟังไม่เข้าใจ..อาจเป็นเพราะคำไทยบางคำที่ไม่เคยใช้ด้วย

  • สวัสดีค่ะคุณอุ๊ น้องอิ๊บน่ารักน่าเอ็นดู รู้จักตอบ อักษรอ่านแล้วขำกลื่งเลยค่ะ   
  • มีเรื่องขำจะเล่าให้ฟังเหมือนกันค่ะ คือเจ้าหลานชายวัยสิบสามค่ะ เริ่มเป็นวัยรุ่น ก็เริ่มดื้อ วันหนึ่งน้าสาวอีกคน มาเจอเข้า การบ้านไม่ยอมทำ บ้านช่องไม่ยอมเก็บ น้าสาวก็บ่นเป็นชุด พอน้าสาวกลับไปแล้ว พี่อักษรก็กล่าวชมเขาว่า "ดีแล้วที่เวลาน้าเขาว่า ให้เราฟังเฉย ๆ ไม่ต้องเถียงไปเถียงเขา" เจ้าหลานชายตัวดีบอกว่า "จะเถียงได้ยังไงฟังไม่รู้เรื่องเลย มาเป็นชุด"
  • ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนนะคะ

ขอบคุณครับ พี่อักษร ที่แวะไปทักทาย..

สวัสดีค่ะ พี่อักษร

  • ก่อนอื่นต้องขอประทานโทษนะคะ น้องครูปู พิมพ์ผิดค่ะ ที่ถูกต้องเป็นต้น  สาละ  ค่ะ คุณไม้ใบย้อนแสงแอบกระซิบมาค่ะ  :)
  • พี่อักษร และ ท่านอาจารย์ทนัน พูดเรื่องเดียวกันเลยค่ะ
  • คือเมื่อเวลานั้นมาถึง เรามักตั้งสติไม่อยู่ค่ะ
  • น้องครูปู ก็กลัวอย่างนั้นหล่ะค่ะ
  • ระหว่างที่ยังไม่เกิดขึ้น เลยต้องตั้งแบบฝึกหัดทดสอบสมรรถนะสติของตนเองไว้ก่อนค่ะ
  • ซึ่งไม่แน่ว่า ไอ่ที่ว่าเราก็พอทำใจได้คิดได้ เตรียมความรู้สึกไว้แล้ว  เจอกับสถานการณ์จริงจะหมู่หรือจ่า ไม่ทราบได้เลยค่ะพี่
  • ขอบพระคุณสำหรับคำชี้แนะอันมีค่า ถ้อยคำที่แสนจะจริงใจ  และการตามไปให้กำลังใจในทุก ๆ บันทึกของน้องครูปูนะคะ
  • P You are very welcome ค่ะ คุณน้องคนโรงงาน
  • ลูกสาวใครเนี่ย อูย.....น่ารักจังเลย

สวัสดีค่ะพี่อักษร

แวะมาทักทายพี่อักษรค่ะ

ช่วงนี้งานมาจ่อรอมาก ยังไม่มีเวลาอ่านจริงจัง

ขออนุญาตแวะมาทักทายก่อนนะคะ

  • P  Good Morning จ้า น้องครูปู อุตส่าห์เข้ามาชี้แจงแก้ไขข้อมูล สมเป็นครูเลยค่ะ
  • ขอให้ทำงานให้สนุกนะคะ 
  • สวัสดีค่ะ น้องแจ๋วคนดี พี่อักษรคิดถึงน้องแจ๋วอยู่ตลอดเวลาค่ะ แต่เห็นว่าน้องแจ๋วยังไม่มีเจ้าตัวเล็ก ๆ ที่บ้านที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษ ก็เลยไม่ได้ไปตามที่บ้านน่ะค่ะ บล็อกหน้าพี่อักษรว่าจะเขียนเกี่ยวกับดอกไม้ ตั้งใจไว้แล้วว่าจะวิ่งไปเคาะประตูบ้านน้องแจ๋วคนแรกเลย
  • ขอให้ทำงานให้สนุกนะคะ

พี่อักษรคะ แจ๋วอยากปลอมตัวกลับไปเป็นแจ๋วตัวเล็กๆ ซะเองค่ะ

จะได้เรียนภาษาอังกฤษใหม่ พื้นฐานที่มีอยู่ตอนนี้...มันเหมือนไม่มีเลยค่ะ เศร้าใจจริงๆ ช่วงนี้มีงานเข้ามาหลายอย่าง และถูกบีบด้วยเวลา อาจแวะมาคุยไม่ได้นาน แต่ถ้ามีเวลาก็จะแวะมาตามเก็บอ่านอีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  •  
    • P
    • ค่อย ๆ ทำไปนะคะคุณแจ๋ว พยายามอย่าเครียดนะคะ ช่วงนี้พี่อักษรรับงานแปลน้อยลง เพราะอยากให้เวลากับครอบครัวมากกว่า ( และจะได้มีเวลาท่องเน็ตด้วยค่ะ ) 
    • แค่มาทักทายพี่อักษรก็ดีใจแล้วค่ะ
    • ส่วนภาษาอังกฤษค่อย ๆ กลับมาทบทวนใหม่ได้ค่ะ ไม่มีอะไรสายเกินไป ตอนนี้พี่อักษรยังเริ่มเตาะแตะเรียนภาษาสเปนอยู่เลย

สวัสดีคะ

ครูทัศน์ขอแวะมาทักทายนะคะและนำดอกกล้วยไม้มาฝากด้วยคะ

 เห็นบอกว่าจะเขียนเรื่องของดอกไม้ใช่ไหมคะ

  • P พี่ทัศน์ขา เปิดมาเจอภาพนี้หัวใจพองโตเลยค่ะ สวยบาดใจจริง ๆ  หลากสีด้วย อย่างนี้นั่งมองได้ทั้งวัน ขอบคุณมากนะคะ 

มาทักทายพี่สาวก่อน ที่ต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้างครับ

สวัสดีค่ะพี่อักษร

  • วันนี้วันหยุดที่คนไม่มีรากต้องทำงานค่ะ...^_^
  • จัดประชุมย่อยของที่ทำงานเพื่อเตรียมการประชุมใหญ่ แต่คงเสร็จเที่ยงค่ะ
  • ดีใจที่ได้คุยกับพี่อีกครั้ง ช่วงนี้เริ่มมีเวลาน้อยลงค่ะ ต้องเริ่มเรียนและทำงานตามได้รับมอบหมายมาจากอาจารย์แล้ว
  • ระลึกถึงพี่นะคะ...^_^

P อาจารย์ขจิตขา พี่อักษรกำลังหัดทำลิงค์ไปยังบล็อกอื่น ก่อนหน้านี้เคยทำได้ แต่ตอนนี้จำไม่ได้แล้วค่ะ อาจารย์ทราบไหมคะ ว่าเราสามารถทำลิงค์โกทูโนว์ ไปที่ learner ได้ไหม พอดีลูกสาวทำบล็อกใหม่ที่ learner พี่อักษรต้องการทำลิงค์จากบล็อกเขาให้มาขึ้นที่บล็อกของพี่ในโกทูโนว์น่ะค่ะ

  • P สวัสดีค่ะ คุณน้องคนไม่มีราก พี่อักษรคิดอยู่เหมือนกันว่าเปิดเทอมแล้ว น้องคนไม่มีราก ต้องเรียนหนักและคงหาย ๆ ไปบ้าง แต่ดีใจค่ะที่ยังเข้ามาอยู่
  • ห้ามหายไปเลยก็แล้วกัน ไม่งั้นคิดถึงแย่เลย น้องคนไม่มีรากเป็นชีวิตชีวาของโกทูโนว์นะคะ รู้ตัวไหม พี่อักษรเห็นน้องคนไม่มีรากทีไรแล้วชื่นใจ จริง ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ พี่อักษร

วันนี้ดูข่าวเช้า มีข่าวชาวแม๊กซิดกถูกฉลามทำร้าย...

คิดถึงพี่อักษรเลยค่ะ...เพราะได้ยินคำว่า แม๊กซิโก

รอบันทึกดอกไม้อยู่ค่ะ :)

แม๊กซิโก ค่ะ พิมพ์เป็นแม๊กซิดก เพราะกดshift แล้วปล่อยเร็วไป

  • พี่อักษรคะ
  • ดีใจจังค่ะ ที่ได้รับคำชมว่าเป็น ชีวิตชีวาของโกทูโนว์ มันเป็นยังไงคะ
  • บางทียังเกรงใจว่า...เราจะเป็นตัวป่วนมากไปหรือเปล่า เที่ยวไปอ่านของคนนี้คนนั้นแล้วก็คอมเม้นท์ไปเรื่อย ๆ เลยค่ะ
  • แต่ปลื้มใจค่ะที่พี่อักษรชม...และเพื่อแสดงความขอบคุณ
  • ต้องนี่เลยค่ะ..น่าจะชื่อ ดอกกันภ้ยมหิดล ค่ะ

 

พี่อักษรคะ

พี่อักษรรับงานแปลประเภทไหนคะ

แจ๋วเคยคุยกับน้องที่รู้จักกัน

เราอยากให้มีคนแปลหนังสือจำพวก museum management มาขายในไทยบ้างค่ะ

ตอนนี้มีหนังสือด้านนี้น้อยจัง

  • กลับมาอ่านอีกทีค่ะ
  • เมื่อสักครู่เห็นพี่อักษรถามเรื่องการทำลิงค์ไปยังบล็อกที่เราต้องการ
  • น้องจะพยายามอธิบายนะคะ ไม่ทราบว่าจะทำให้พี่เข้าใจหรือเปล่าค่ะ
  • ขั้นแรก เปิดไปยังบล็อกที่เราต้องการทำลิงค์ไปค่ะ(บล็อก Learner) แล้วดูที่ URL code ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุดของ Tab Menu (เช่นของบันทึกนี้คือhttp://gotoknow.org/blog/pronunciation/183196) ซึ่งจะอยู่บนสุดของบันทึกค่ะ
  • ต่อมาก็ทำการ copy URL code ของบล็อก Learner ที่ต้องการลิงค์เอาไว้
  • ขั้นที่ 3 มาเปิดบันทึกที่ Gotoknow ซึ่งคงต้องเป็นบันทึกใดบันทึกหนึ่งที่จะแสดงสัญลักษณ์ให้ลิงค์ไปยัง บล็อก Learner ได้ ในขั้นนี้อย่าลืมเรียก เมนูการจัดการข้อความ (ที่เราใช้ในช่องพิมพ์ข้อความที่จะคอมเม้นท์น่ะค่ะ) ขึ้นมาก่อนนะคะ จะได้ ทำการ copy ลิงค์ได้ค่ะ
  • ขั้นที่ 4 พิมพ์คำว่า Learner จะทำการเลือก ตัวอักษร Learner โดยการคลุมต้วดำ แล้วไปกด สัญลักษณ์การทำลิงค์ ที่เมนู การจัดการข้อความที่เราเปิดไว้ในข้นตอนที่ 3 นะคะ (เป็นรูปโซ่ค่ะ เป็นช่องที่ 9 จากขวามือค่ะ)
  • ขั้นที่ 5 จะมีช่องให้เราใส่ชื่อ URLของลิงค์ที่เราต้องการเชื่อมต่อ เราก็ใช้วิธีคลิ๊กขวาแล้วก็ Paste ตัว URLของลิงค์ที่เราต้องการลงไปในช่องนั้น
  • ขั้นที่ 6 กดคำว่า insert  ในช่องด้านล่างนั้น ตัวอักษร Learner จะกลายเป็นสีนำเงินค่ะ แสดงว่าใช้ได้แล้ว
  • ขั้นที่ 6 เราต้องกดบันทึกอีกครั้ง ก็ใช้ได้ค่ะ
  • และขั้นสุดท้าย เมื่อบันทึกแล้วควรกลับมาดูอีกครั้งและลองกดลิงค์ดูว่าใช้ได้หรือเปล่าค่ะ
  • ลองพยายามนะคะ ไม่ยากมากนักค่ะ แต่อาจจะยังอธิบายไม่ชัดเจนค่ะ เอาใจช่วยพี่อักษรค่ะ
  • P
  • สวัสดีค่ะน้องแจ๋วคนดีที่หนึ่ง เมื่อคึนพี่อักษรเข้านอนเร็วเลยไม่ได้ตอบน้องแจ๋ว คืนนี้ก็คงไม่ได้ใช้คอมอีกเพราะต้องออกไปดินเนอร์นอกบ้านกับเพื่อน ๆ คุณบ็อบ จริง ๆ ไม่อยากออกไปเลย อยากเข้ามาใช้โกทูโนว์มากกว่า
  • พี่อักษรแปลเอกสารที่เอเจนซี่ส่งมาให้อีกทีค่ะ มีบริษัทแปลรายใหญ่สองบริษัทคอยส่งงานมาให้ รายหนึ่งอยู่แวนคูเวอร์ อีกรายอยู่โตรอนโต ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องทั่วไปค่ะ อย่างที่เพิ่งเสร็จไปก็แปลเว็บไซต์การเล่นโป๊กเกอร์ออนไลน์ และอีกชิ้นหนึ่งเป็นกฎเกณฑ์ข้อปฎิบัติของพนักงาน ของบริษัทลูลูเลมอน
  • ถ้าเป็นไปได้พี่อักษรอยากกลับไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่เมืองไทยมากกว่าค่ะ
  • ตอนนี้ตีสี่ครึ่ง ขอให้นอนหลับฝันดีนะคะ 
  • P น้องคนไม่มีรากขา ขอบคุณมากเลยค่ะที่ช่วยอธิบายวิธีการทำลิงค์ให้อย่างละเอียด พี่อักษรทำได้แล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ
  • ไม่ยักทราบว่าไปออสเตรเลียมา เอามาเขียนเล่าในบล็อกบ้างสิคะ
  • นอนหลับฝันดีนะคะ

พี่อักษร

  • สวัสดีค่ะ
  • ไม่เป็นไรค่ะพี่อักษร...เมื่อไหร่ที่สะดวกเราก็พบกันใน G2K นะคะ
  • ที่แจ๋วคุยเรื่องงานแปลเพราะคิดว่า เรื่องนั้นเป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจ  แต่หาหนังสืออ่านยากมากๆ ในไทย  แม้แต่เป็นหนังสือต่างประเทศ ก็ต้องสั่งซื้อมาอีกที  แทบจะไม่มีร้านของไทยนำเข้ามาเองค่ะ  แล้วแจ๋วเองไม่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษมากนัก  อีกส่วนหนึ่งจะรอให้สำนักพิมพ์ต่างๆ ของไทยเห็นความสำคัญก็ไม่รู้เมื่อไหร่  เพราะเป็นแนวที่ไม่ตลาด  แปลมาแล้วไม่รู้จะมีคนซื้อขนาดไหนอีกด้วยค่ะ  แต่ถ้ามีคนสนใจจะดีมากๆ นะคะ  เพราะแนวนี้ไม่มีคนแปลเลยจริงๆ
  • แล้วพี่อักษรมีโครงการจะกลับมาใช้ชีวิตที่ไทยมั้ยคะ  มีน้องคนนึงที่แจ๋วรู้จักตอนนี้อยู่สวิสฯ เขาก็วางแผนว่าอีกราวๆ 6 ปี ก็จะกลับมาใช้ชีวิตที่ไทยค่ะ
  • แล้วคุยกันอีกนะคะ  :)

สวัสดีรอบเย็นค่ะพี่อักษร

วันนี้เอาภาพดอกลั่นทม จากอีกต้นนึงมาฝากพี่อักษรนะคะ

ที่บ้านแจ๋วตอนนี้มีทั้งหมด 4 ต้น สีไม่เหมือนกันเลยค่ะ

ต้นไหนออกดอกแจ๋วก็ชื่นชมยินดีตลอดค่ะ 

มุมภาพธรรมดาๆ นะคะ  เพราะไม่มีที่ให้ถอยหน้าถอยหลังถ่ายภาพค่ะ^_^

 

 

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทายและมาอ่านบันทึกครับ
  • มาเรียนภาษาอังกฤษด้วยคนครับผม
  •  
    • สวัสดีค่ะ ครูโย่ง P  พี่อักษรเป็นปลื้มจังที่มีคนเก่ง เป็นทั้งครู ทั้งนักดนตรี แวะมาเยี่ยม เด็ก ๆ คงภูมิใจกับคุณครูคนเก่งคนนี้มากนะคะ
    • พี่อักษรเคยเข้าไปอ่านเรื่องดนตรีโมสาร์ทแต่ไม่ได้แสดงตัวค่ะ ตอนนี้รู้จักกันแล้ว ต่อไปต้องแสดงตัวแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อักษรที่ระลึกถึง

  • แวะมาอีกครั้งค่ะด้วยความคิดถึงพี่
  • มาชวนไปเที่ยวมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกค่ะ
  • นาลันทา ค่ะ
  • P สวัสดีค่ะน้องแจ๋วที่คิดถึง ขอบคุณสำหรับดอกลั่นทมนะคะ น้องแจ๋วทำให้พี่อักษรหลงรักดอกลั่นทมซะแล้วค่ะ พี่อักษรเข้าไปค้นจนได้ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า ดอก Plumeria และปรากฏว่าแถวเม็กซิโกก็มีเยอะเหมือนที่เมืองไทยเลยค่ะ ปลูกกันทั่วไปตามบ้านด้วย แต่ก่อนพี่อักษรไม่ได้ใส่ใจ จนกระทั่งมาเห็นรูปสวย ๆ จากน้องแจ๋วนี่เอง
  •  ต้องไปหามาปลูกที่บ้านบ้างแล้วค่ะ
  • P สวัสดีค่ะ คุณน้องคนไม่มีราก จะตามไปเดี๋ยวนี้ล่ะค่ะ ขอบคุณนะคะที่เอาของดี ๆ มาฝากกัน

ตามมาทักทายพี่เรา สบายดีนะครับ กำลังจะได้กลับไปเกษตรศาสตร์แล้วดีใจๆๆๆ

สวัสดีครับ พี่อักษร

  • ตามมาขอบคุณ
  • และแวะมาเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณที่ไปร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
  • มาดูการเรียนการสอนของลูกพี่อักษรแล้วดีจริงๆ นะครับ
  • โชคดีมาก ๆ
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ
  • ให้มีพลังในการต่อสู้ ต่อไปข้างหน้า ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่อักษร

  • ช่วงนี้ครูสุไม่ได้มาเยี่ยมพี่อักษรซักเท่าไหร่เลย
  • งานหนัก เหนื่อยกับเด็ก สอนทุกคาบเลย
  • สบายดีนะครับ
  • ลูกสาวไปโรงเรียนตอนนี้เป็นยังไงบ้างครับ
  • เหมือนโรงเรียนในเมืองไทยเราไหมครับ
  • P  พี่อักษรสบายดีค่ะ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม คิดถึงครูสุอยู่เสมอ
  • พี่อักษรเห็นน้องเจนชอบเขียนบันทึก เลยแนะนำให้เขาเขียนลงบล็อกค่ะ ว่าง ๆ ลองเปิดดูนะคะ ที่นี่ค่ะ
  • P ขอบคุณครูโย่งที่แวะมาอีกครั้งค่ะ คงได้คุยกันบ่อย ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ พี่อักษร

  • พาพรรคพวกมาเล่น เป็นเพื่อนน้องหน่ะค่ะ ว่าแต่ลูกสาวคนสวยของพี่อักษร ชื่ออะไรแล้วน๊า..
  • น้องครูปู ยุ่งมาก ๆ เลยค่ะ เลยหายหน้าหายตาไป
  • แต่ยังไงจะพยายามไม่ทิ้งช่วงนานนะคะ
  • เพราะ คิดถึง มากมายก่ายกอง ค่ะ อิอิ
  • ขอให้พี่อักษรและครอบครัว มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ

มาถามพี่ว่า เพื่อนที่สามร้อยยอดชื่ออะไรเหมือนรู้จัก ไปทำค่ายให้สามร้อยยอดมา แต่นานแล้ว

สวัสดีค่ะ พี่อักษร

  • ติดตามมาอ่านและก็ดูผลงานเพลงในบันทึกค่ะ
  • พี่สบายดีนะคะ

พี่อักษร แวะมาเยี่ยมครับ

ที่โน้น อากาศหนาวไหมครับ

สบายดีไหมครับ

รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

  • สวัสดีค่ะ อ.ขจิต P  น้องไก่ P และครูโย่ง P 
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายอยู่เสมอ อย่างนี้รักกันจริงค่ะ

สวัสดีครับ เห็นจากบล็อกอาจารย์ขจิตว่าคุณอักษรกำลังเรียนภาษาสเปนอยู่ (เหมือนผมเลย) ก็เลยอยากแนะนำบันทึกของผมเกี่ยวกับของเล่นใหม่ที่ผมใช้เรียนภาษาสเปนอยู่ครับ ลิงค์นี้ครับ

  • P สวัสดีค่ะ คุณแว้บ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแนะนำบล็อกเรื่อง การเรียนภาษาต่างประเทศ อยู่ในความสนใจอยู่แล้วค่ะ จะตามไปดูเดี๋ยวนี้ละคะ ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะพี่อักษร ลูกสาวน่ารักจัง คงเก่งภาษามาก อยากให้ลูกสาวที่บ้านเก่งและชอบภาษาอังกฤษแบบนี้จัง ทำยังไงดีคะ  และขอบคุณที่พี่ไปอ่านผลงานของน้องมือใหม่หัดทำคนนี้ค่ะ ยินดีรับฟังความคิดเห็นและจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ

  • พี่อักษร
  • มาเมืองไทยเมื่อไร
  • ส่งข่าวได้
  • อยากพบๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • แงๆๆๆๆๆๆ
  • พี่อักษร
  • ไปนานมากๆๆๆๆๆ
  • น้องๆๆคิดถึง
  • ฮือๆๆๆ
  • กลับมาได้แล้วครับ

คิดถึงพี่อักษรจังค่ะ

  • คิดถึงพี่อักษร
  • หายไปนานมากๆๆ
  • สบายดีไหมครับ
  • งง ตัวเองผ่านศิลปากร
  • จะคิดถึงพี่อักษร
  • แงๆๆๆๆๆๆๆ

ตามอาจารย์ขจิตมาเข้าชมรมคนคิดถึงพี่อักษรค่ะ หายไปไหนหรือคะ สบายดีหรือเปล่า

คิดถึงมากมายค่ะ

  • พี่อักษรหายไปนานจริง ๆ ด้วย ขอโทษทุกคนที่ทำให้เป็นห่วง แต่คิดถึงทุก ๆ คนเสมอเลยนะคะ โดยเฉพาะ น้องแจ๋วP อาจารย์ขจิต P  น้องอ้วน P  ครูปู Pครูสุ ครูสุP  คุณอุ๊ ครูโย่ง น้องปู น้องไก่ น้องมะปรางเปรี้ยว น้องคนไม่มีราก ชาวโกทูโนว์ทุกท่านเลยค่ะ

P

ตามอ.ขจิตมา รู้จักพี่อักษร ด้วยคนค่ะ

ดีใจมากที่ได้อ่านบล็อกนี้

โชคดีที่รอลูกกลับจากคลื่น..จึงได้อ่านบล็อกที่มีประโยชน์ต่อตัวเองมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ krutoi P ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ แล้วจะเข้าไปเยี่ยมที่บล็อกนะคะ

  • เอารูปมาฝาก
  • ให้พี่อักษร
  • คิดถึงเมืองไทย
  • ลอยกระทง
  • ทั่วเมืองไทย
  • อิอิๆๆๆๆๆ

พี่อักษรครับ ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง บ้านเราอากาศเริ่มหนาวอีกแล้วครับ...

ขอบคุณอาจารย์ขจิตที่แวะมาทักทายค่ะ  P เมื่อวานพี่อักษรก็ไปเยี่ยมบันทึกอาจารย์มาแต่ไม่ได้คอมเม้นท์ เพราะมัวแต่ไปอ่านเรื่อง Dialogue ที่อาจารย์ลิงค์ไว้ให้ เป็นความรู้ใหม่ค่ะ

  • ตามมาขอบคุณพี่
  • หลานเป็นอย่างไรบ้างครับ
  • มาทักทาย
  • คิดถึงๆๆๆๆ
  • พี่อักษร
  • เป็นอย่างไรบ้าง
  • เอารูปใครมาฝาก
  • ให้ทายว่าใคร
  • อิอิๆๆๆ

ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์

เคยสอนพี่อักษรด้วยละ ดูสิยี่สิบปีผ่านไป อาจารย์ยังดูสาวเหมือนเดิมเลย ขอบคุณที่เอารูปมาฝากค่ะ ตื้นตันในความมีน้ำใจของอาจารย์ขจิตค่ะ

  • มาทักทายพี่แต่เช้า
  • ดีใจที่พบพี่
  • แต่งง งงว่าที่แคนาดากี่โมงแล้ว
  • เข้าใจว่าพี่อักษร
  • มาแคนาดา

สวัสดียามเช้าค่ะ ขอให้มีความสุขค่ะ

  • มาสวัสดีปีใหม่ครับ
  • ในภาพคือ
  • พี่ ศน add และพี่ครูวรางภรณ์
  • แต่ภาพนี้
  • พี่ครูตึ๋ง พี่ครู maew เสื้อขาว พี่ ศน add ครับ
  • ภาพสุดท้าย
  • ข้างบนน้องชมพู่ ข้างล่างน้องนิดจากข้าวขวัญครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท