เชิญชวนแสดงความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาตามอัธยาศัย ครับผม


ผมก็อยากเชิญชวนท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกันระดมความเห็นเข้ามาหน่อยเถอะว่าจะวางระบบพัฒนาการศึกษาตามอัธยาศัยกันอย่างไร?ถึงจะโดนใจสักที ไม่ติดกรอบรูปแบบเท่าที่มีอยู่ปัจจุบัน

การศึกษาตามอัธยาศัยนับว่ามีบทบาทมีความสำคัญต่อชีวิตจริงของผู้คนเป็นอย่างมาก มากกว่าการศึกษาในระบบและนอกระบบด้วยซ้ำ เรียกว่าตลอดช่วงชีวิตก็เรียนรู้โดยการศึกษาชนิดนี้นี่แหละครับเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ผู้ที่อยู่ในระบบและนอกระบบอยู่แล้วจะไม่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยไม่ได้เลย คนที่สมบูรณ์ทางการศึกษาจะต้องประสมประสานทั้งสามรูปแบบนี้เข้ากันอย่างลงตัว

นิยามคำว่า การศึกษาตามอัธยาศัย ตาม พรบ. กศน. เขาหมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพการเรียนรู้แต่ละบุคคล

พรบ.กศน.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ถึงกับชื่อ พรบ.ก็มีคำว่าการศึกษาตามอัธยาศัยอยู่ด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๔๔๑

สาระสำคัญของกฎหมายพูดไว้ในรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ที่สนใจ ลองหา พรบ.อ่านดูนะครับ

แต่พอเป็นชื่อย่อ เขาเอาแต่คำว่า กศน. เพราะคำว่า กศน.ติดปากเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้ว คำว่าอัธยาศัยตกไป สมาชิก สนช.บางท่านให้ความสำคัญกับการศึกษาตามอัธยาศัย เสนอให้ใช้คำย่อว่า กศนอ.คือเติม อ.= อัธยาศัย เข้าไปด้วย แต่ก็แพ้มติไป

เมื่อมีความสำคัญมากเช่นนี้ ผมก็อยากเชิญชวนท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกันระดมความเห็นเข้ามาหน่อยเถอะว่าจะวางระบบพัฒนาการศึกษาตามอัธยาศัยกันอย่างไร?ถึงจะโดนใจสักที ไม่ติดกรอบรูปแบบเท่าที่มีอยู่ปัจจุบัน

เชิญระดมความเห็นกันเข้ามานะครับ

หมายเลขบันทึก: 183054เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
  • ปัญหาสำคัญ คือ การจัดการศึกษาภาคบังคับของบ้านเรา (บังคับให้คนเข้าอยู่ในระบบโรงเรียน 9 ปี  บางโรงเรียน เด็กอยู่ในโรงเรียนโดยโดนบังคับ 6  ปีแรก จบ ป.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออก) ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง "นิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน"  เด็กไทยยังไม่ค่อยได้รับการฝึกให้ตั้งเป้าในการอ่านแต่ละวันว่า "จะอ่านวันละกี่หน้า เป็นอย่างน้อย" จะต้องติดตามข่าวสาร "วันละกี่ชั่วโมง ช่วงเวลาใดบ้าง"
  • การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย จะสำเร็จต่อเมื่อ "ต้องสร้างให้คนไทย มีนิสสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน"
  • การปฏิรูป แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อาจเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ จะต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจัง  เพื่อรองรับ "การศึกษาตามอัธยาศัย"
  • แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ อาจารย์คะ
  • ที่สำคัญ ทำอย่างไร จะปลูกฝังให้เด็กรักบ้านเกิด หวงแหนในสิ่งที่ธรรมชาติ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ยังมีคุณค่า แก่การเรียนรู้อีกมากมาย
  • แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา กับ สถาบันการศึกษา ต้องได้รับการปฏิรูป สร้างกลไก ความเชื่อมโยง และความร่วมมือให้เกิดเป็นรูปธรรม อย่างโดยด่วน นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

P

ครูนงเมืองคอน

 

การศึกษาตามอัธยาศัย น่าจะขึ้นอยู่กับความสนใจส่วนตัวของแต่ละท่านด้วย หรือสำหรับบางคนอาจมีอุปนิสัยชอบเรียนรู้ในเกือบทุกเรื่อง เช่น อาจารย์ แสง มนวิทูร

ฟังว่า ช่วงหนึ่งของชีวิต อาจารย์แสงเป็นปลัดอำเภอ ซึ่งแต่ละเดือนต้องเดินทางเข้าจังหวัดเพื่อมารับเงินเดือนไปแจกจ่ายกัน  การเดินทางสมัยก่อน ไปมายาก  จึงต้องมีวิชาการดำรงชีพในป่า  ทำให้อาจารย์แสงเริ่มสนใจพืชต่างๆ แล้วก็ค่อยๆ ค้นคว้า เช่น สิ่งนี้ ภาษากลางเรียกอย่างนี้.... เหนือ อีสานเป็นต้น เรียกอย่างนี้... หรืออังกฤษ บาลี กรีก จีนเป็นต้น เรียกอย่างนี้...

กล่าวกันว่า อาจารย์แสงรู้จักต้นไม้ทุกชนิด เคยมีบางท่่านต้องการให้ท่านได้พูดคุยเทียบความรู้กับโปรเพสเซอร์ระดับโลกด้านนี้ แต่ไม่มีโอกาส...(ทำท่าโม้นอกเรื่อง 5 5 5...)

ตามความเห็นส่วนตัว การศึกษาตามอัธยาศัย น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต.... แต่คิดว่า คงต้องสร้างค่านิยมเรื่องนี้ในสังคมไทยหรือคนใกล้ชิดก่อน เพราะสังคมไทยมีคำว่า บ้าหอบฟาง ซึ่งค่อนข้างจะมีความเห็นเชิงลบ ทำนองว่า รู้มากแต่ไร้ประโยชน์ไร้สาระ...

ขณะที่ปัจจุบันนี้ สังคมไทยยังเห่อวุฒิการศึกษา แต่มิได้ให้ความสำคัญต่อคนที่มีความรู้ที่แท้จริง กลับไปให้ความสำคัญต่อคนที่มีอำนาจหรือมีเงินมากกว่า...

ทำท่าจะบ่นต่อไปอีกไม่สิ้นสุด (5 5 5.......)

เจริญพร

หากเรายังติดที่เปลือก หรือรูปแบบ การศึกษาชาติจะไม่ไปไหน ก็คงได้แต่รูปแบบและกระดาษ

อย่างไรก็ดี กระดาษก็ยังจำเป็นเพราะสังคมยุคนี้ต้องการแบบนี้ เพื่อให้นักเรียน กศน.นำไปปรับวุฒิ โปรดอย่าละเลยเรื่อง คุณภาพ

พรบ.ฉบับนี้จะชื่ออย่างไร ขับเคลื่อนต่ออย่างไร ที่แน่ ๆ คน กศน.ก็โปรดอย่าเสียขวัญ ดูเนื้อหา พรบ.มีการกล่าวถึง พันธมิตร หรือเครือข่าย อยู่ที่เจ้าถิ่นทั้งที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาพ จะรู้จักเข้าใจใช้เป็นหรือไม่>>>>>>

สวัสดีครับครูนง...

              การศึกษาตามอัธยาศัย...มีใครไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์หรือยังครับ...ทำไปทำมาสักพัก...ก็บอกว่าของฉาน...ฉานทำได้ทำมาก่อน...เหมือนที่แล้ว ๆมาจำได้ใช่ไหมครับ...เหนื่อยท้อเวลาฟังเขาแหลงหรอย ๆ เอาคะแนน...โหมที่ทำทำแทบตาย...อิอิ

                                               โชคดีครับผม

กศน. เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ นโยบายก็เปลี่ยนไป หลักสูตรเปลี่ยนไป แต่ผู้เรียนไม่เปลี่ยนไปเพราะไม่มีอะไรที่ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงตามวิถีชีวิตของเขา

คุณ อรุโณทัย ที่รักนับถือ

การเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนและของชุมชน ผู้เรียนต้องลงมือเดินหน้านำพาตนเองเป็นประเดิมนะครับ ครู กศน.อย่างเราๆต้องขยับ.....อาจารย์ว่าต้องอย่างนี้ไม่ละครับ ส่งเสริมและเอื้อผู้เรียนให้อยากรู้อยากเรียนได้อย่างไรคือบทบาทเราใช่ไม๊ละครับ....เรียนรู้ในวิถีชีวิต เรียนรู้ตามอัยาศัย

ขอบคุณนะครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท