Role of the trauma nurse coordinator in Thailand


พยาบาลผู้ประสานงาน ผู้ป่่วยอุบัติเหตุ การบริหารจัดการเรื่องคุณภาพการักษาพยาบาล

พยาบาลผู้ประสานงานการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ หรือที่เรียกว่า Trauma Coordinator นับว่าเป็นความพยายามของการพัฒนาบทบาทของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ เพิ่มมากขึ้น เป้าหมาย คือ การบริหารจัดการเรื่องคุณภาพการรักษาพยาบาล

งานที่ต้องอาศัยทีม ซึ่งมีหลายบุคคล หลายหน่วยงาน อาจทั้งภายนอกและภายในองค์กรนั้น ข้อดีคือ การช่วยเหลือกัน ผ่อนแรงกัน ช่วยกันทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยอุบัติเหตุ จะมีชีวิตรอด ลดความพิการ

ข้อด้อย คือ การสื่อสาร ข้อมูลไม่ต่อเนื่อง ขาดความเชื่อมโยง การทำงานต่างคนต่างทำงานในหน้าที่ของตน  การมองภาพอาจขาดหายไป หรือการปฏิบัติการดูแลไม่ได้รับการกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐาน ผู้ป่วยสมควรรอดอาจไม่เป็นไปตามเกณฑ์

ดังนั้น การมีผู้ประสานงานการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ หรือที่เรียกว่า Trauma Coordinator จึงเริ่มขึ้น ในต่างประเทศนั้นก็มีมานาน เช่น อเมริกา อิสราเอล ฮ่องกง เป็นต้น เอาเป็นว่าประเทศที่ค่อนข้างพัฒนาก่อน

ตัวอย่าง Role of the trauma nurse coordinator in Hon Kong ในบทความวิจัยของ Janice Hiu-Hung Yeung และคณะ.2006

การอุบัติเหตุนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตในช่วงทุกวัย ในปี 2003 เริ่มตั้งโรงพยาบาลเป็นศูนย์อุบัติเหตุและทั้ง5ศูนย์นี้จะจ้างพยาบาลผู้ประสานงานอุบัติเหตุ ทำหน้าที่ Facillitate multidiscilinary care and coordinator all aspect of quality
improvment for injuries patients.พูดง่ายคือ ประสานงานให้ ผู้ป่วยอุบัติเหตุให้ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ เหมือนกับเ็ป็นผู้จัดการของผู้ป่
วย

งานวิจัยนี้ ส่งแบบสอบถาม Trauma coordinatorทุกคน

ผลการวิจัย Truama coordinator อายุระหว่าง 30-40 ปี เพศหญิง 4 คน ชาย1คน ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย14ปี จบพยาบาลวิชาชีพ ระดับปริญญาโท มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ สถานที่ทำงาน แผนก AED ,ICU,OR,Surgery,Medicine

ผ่านการอบรม Basic Cardiac Life Support,Trauma nursing core course ,Abbreviated injury scale coding,computorized data management,Trauma nurse coordinator course

หน้าที่ 4 ข้อ

1.Clinical activity พยาบาลและช่วยเหลืออยู่ในทีมกู้ชีวิต(resuscitation) ติดตามคุณภาพการพยาบาลในคลินิกในรูปแบบการสอนข้างเตียง (Nursing Round) นิเทศงานพยาบาล ช่วยสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติเข้าใจแผนการรักษาพยาบาล

2.Quality assurance เป็นผู้ช่วยพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีม และนำสู่การปฏิบัติ จัดให้มีการประชุมทีมผู้ดูแลมาช่วยกันปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ดำเนินการทำกรณีศึกษา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมผู้ร่วมดูแล ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการดูแล (Trauma audit)นำข้อมูลมาสะท้อนกลับในการพัฒนางาน

3.Trauma registry  รับผิดชอบจัดการลงทะเบียบผู้ป่วย สร้างฐานข้อมูลผู้ป่วย นำผลมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลการบาดเจ็บ การรักษา การพยาบาล ระยะเวลาการตอบสนอง คำนวนคะแนนโอกาสรอด จัดทำรายงานประจำปี

4.Education and Research วิเคราะห์ความต้องการความรู้ขั้นสูงในการรักาาพยาบาลผู้ป่วย  จัดการสอนพยาบาล ดำเนินการวิจัยและประสานงานทีมแพทย์ โดยการสะท้อนข้อมูลของงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพบริการ

สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็มีการเริ่มคิดกันมาโดยชมรมพยาบาลศัลยกรรมแห่งประเทศไทย ได้เปิดการอบรมพยาบาลให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ โดยเชิญ วิทยากร จากประเทศอิสราเอล มาบรรยาย ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม ลักษณะที่แตกต่างกันคือโรงพยาบาลของเขาเ็ป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง 800 เตียงก็เป็น Trauma Center มีตำแหน่ง Truma Coordinator 3 คน ทำงานกัน 24ชั่วโมง หน้าที่คล้ายกับฮ่อองกง แต่อิสราเอลขอบเขตของงานจะครอบคลุม การพยาบาลณจุดเกิดเหตุ ในห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยหนัก

ประเด็นของประเทศเราคือ โรงพยาบาลบริการทั่วไป ไม่มีตำแหน่ง

การประยุกต์ความรู้ ณ ปัจจุบัน คือนำเอาบทบาทหน้าที่เพิ่มให้กับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยต่างๆเพื่อให้ได้งานตามเกณฑ์

อาจจะเหมาะสมในช่วงแรกๆ เพราะได้งาน แต่ยังขาดความต่อเนื่อง และคนทำงานเหนื่อย การจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบเหมาจ่าย แต่ละโรงพยาบาลรับผิดชอบเอง ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน

สรุปว่า เป็นการเริ่มต้น ลองผิดลองถูกกันอยู่ เราต้องคอยติดตามกันไปต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็นกันดีกว่าว่า......

1.ควรมีTrama coordinatorในบ้านเราหรือไม่ (เป็นไปได้หรือไม)่

2.Trauma coordinatorแบบไทยๆควรทำอย่างไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์

 

หมายเลขบันทึก: 183046เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

1.ควรมี Trama coordinatorในบ้านเราหรือไม่

ควรมีแน่นอนค่ะ เพราะน้องๆพยาบาลที่ทำงานใน routine อาจมองภาพได้ไม่ครบ

พี่มองเหมือนธนาคาร  ที่เขามีคนหนึ่งคอยเดินดูปัญหา คอยแก้ไขปัญหาให้กับทุกคน

2.Trauma coordinatorแบบไทยๆควรทำอย่างไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์

 

ถ้ามี Trama coordinator ควร เป็นพยาบาลชำนาญการ หรือ APN ที่คอยเป็น Care manager จึงจะลดภาวะเสี่ยงจากความไม่พอใจ

ไปเที่ยวเกาะเกร็ดมา พี่นำขนมไทยมาฝากค่ะ อร่อยมาก

ทอดมันหน่อกะลาก็อร่อย

ข้าวแช่ด้วย

ทานให้อร่อยนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • มาเอาความรู้ ด้านการพยาบาลค่ะ
  • วิชาชีพพยาบาล สำคัญยิ่งนัก ควรทำชุดความรู้ สร้างเครือข่าย ขยายผล ต่อยอดองค์ความรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • อิอิ..

เรียนท่านพี่แขก นำอาหารกลางวันมาฝากทาง Blog ครับ

 

Good afternoon Kaa A.JJ

ปลาหมึกย่างของโปรดคะ่ ขอบคุณคะ โดยเฉพาะมีไข่

ต้องจัดโปรแกรมให้พยาบาลห้องฉุกเฉินไปแถวๆทะเลน่าจะWork

ดีใจจัง เห็นความก้าวหน้าของพยาบาล ER (-o-)ขอติดตามอ่าน blog ด้ายคนค่ะ

สวัสดีคะ่คุณAEWAEW

งานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เป็นงานที่ท้าทายพยาบาล อย่างที่เรารู้กันอยู่สำหรับคนERหรือAE

เราอยากให้งานราบรื่น เป็นระบบ เราต้องทำเอง

้คงต้องเหนื่อยระยะหนึ่ง เพราะดิฉันอยู่AEมา25ปี

ได้รับสิ่งดีๆมาก็มาก ก็ถึงเวลาแห่งการให้

ถ่ายทอดประสบการณ์การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินให้พยาบาลรุ่นน้อง เตรียมตัวสอบAPN ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอบคุณคะ่ที่มาเยี่ยมBlog

สวัสดีคะ

วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากพี่พนอ มีแรงทำงานขึ้นอีกเยอะ

แต่ก็ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนของตัวเอง

คงต้องศึกษาจากพี่อีกเยอะเลยคะ

ขอบคุณมาก ๆ สำหรับกำลังใจคะ

แหม่ม เชียงราย

สวัสดีคะ น้องSopit

อยากให้กำลังใจน้องๆคะ เพราะรู้ว่าพยาบาลพันธ์นี้หายาก อยากรักษาและให้กำลังใจ เรามีแรงใจที่เข้มแข็งจะส่งผลให้พลังกายที่สมบูรณ์ เรื่องของวิชาชีพพยาบาลก็เป็นเรื่องของพยาบาลทุกคนที่จะช่วยพัฒนา

เมื่อเราพัฒนาวิชาชีพ ตัวเราเองนั่นแหละก็พัฒนา ก็ย่อมได้รับผลการพัฒนานั้นคะ

โครงการ Trauma Audit ที่น้องทำ มาถูกทางแล้วคะ

ต่อจากนั้นเราก็นำ บทบาทหน้าที่ของพยาบาลบูรณาการเข้าไป เช่น การMonitoring ต่างๆ (การวัดสัญญาณชีพ การวัดระบบประสาท )การพยาบาลบำบัดต่างๆ(การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มการรับรู้ข้อมูล หรือลดความเครียด การแจ้งข่าวร้าย เพื่อลดความสะเทือนใจ)ซึ่งเป็นงานที่ทำโดยพยาบาล เอาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Truama  Caring Guideline แบบนี้ เราสามารถทำได้ ลองทำดูนะคะ

สวัสดีค่ะ

เข้ามาเห็น blog นี้แล้วรู้สึกมีกำลังใจในการเรียนและการทำงานเพิ่มมากขึ้นค่ะ ได้เห็นแบบอย่างที่ดีแล้วอยากจะเก่งเหมือนพี่ๆค่ะ ...Fighting

สวัสดีคะ่ คุณJarujah

การคิดและการกระทำนั้นใดๆมี2ด้าน ก็จะสร้างสมดุลย์ในธรรมชาติ โดยปกติก็ต้องมีทั้งบวกและลบ

การมองเห็นอะไรเป็นอุปสรรค"เชิงลบ" ทำให้ท้อแท้ เหนื่อย ไม่ต้องการ ไม่อยาก.. แต่ก็ทำให้เราระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

ถ้ามองอะไรเป็นเรื่องสวยงาม "เชิงบวก" ทำให้มีแรง เกิดกำลังใจ ร่าเริงสดใส...แต่ก็อาจทำให้หลงได้

แต่สำหรับการกระทำ พี่เชื่อว่าทำดีแล้วต้องได้ดี

ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับหัวข้อพูดคุยหรือไม่........

 

 

กำลังคิดว่าจะเล่าเรื่องที่เคยไปประชุมอบรมมา เกี่ยวกับ truma ก็เลยค้นหาดู พอพบ apn of truma รู้สึกดีใจจัง ที่ truma ได้รับความสนใจและเผยแพร่สู่สังคมไทย .....ความรู้สึกผิดที่ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง เริ่มจางหายไป ..... ขอบคุณน่ะค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง และควรจัดตั้งเป็นศูนย์ ที่มีศักยภาพสูงในการดูแล รักษา คนไข้จากอุบัติเหตุทุกแขนง พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพขั้นสูง

กำลังคิดว่าจะเล่าเรื่องที่เคยไปประชุมอบรมมา เกี่ยวกับ truma ก็เลยค้นหาดู พอพบ apn of truma รู้สึกดีใจจัง ที่ truma ได้รับความสนใจและเผยแพร่สู่สังคมไทย .....ความรู้สึกผิดที่ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง เริ่มจางหายไป ..... ขอบคุณน่ะค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง และควรจัดตั้งเป็นศูนย์ ที่มีศักยภาพสูงในการดูแล รักษา คนไข้จากอุบัติเหตุทุกแขนง พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพขั้นสูง

สวัสดีคะ คุณSunanpra

ขอบคุณมากคะ ที่เป็นหนึ่งเสียงเชียร์ ที่อยากเห็นการพัฒนาการดูแลให้คนไข้อุบัติเหตุ ทำให้คนทำงานมีกำลังใจมากเลย

ปัจจุบัน มีการสนับสนุน ด้านครุภัณฑ์ ด้านพัฒนาบุคลากร ก็ได้มีการเคลื่อนไหวในวิชาชีพแพทย์และพยาบาล ที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการสร้างเสริมความตระหนักรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุ เพราะเชื่อว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ>50%นั้นเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ ก็เกิดโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น โครงการเครือข่ายพัฒนาการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน (เจ้าภาพ สำนักการพยาบาล) โครงการเครือข่ายป้องกันอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัย ที่จัดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบ ซึ่ง เป็นความร่วมมือของบุคคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับนักศึกษา คะ(เจ้าภาพ คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับสนับสนุนจากส่วนกลาง และปัจจุบัน ได้มีการขยายาวิธีคิดไปที่ม.อื่นๆด้วยคะ)

โครงการเช่นนี้ APN of Trauma ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทำงานด้วนคะเพราะถือว่าเป็นงานด้านหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบคะ

เราไม่ใช่จะทำงานเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น

รู้สึกดีใจมากคะที่ได้อ่านโพลสนี้

ทำให้มีกำลังใจทำงานมากขึ้นคะ

บางครั้งคิดท้อในการมงาน ER

แต่ตอนนี้ไม่แล้วคะ

จะสู้ๆ

และจะพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดคะ

เพื่อวิชาชีพและหน่วยงานของเรา

อยากอบรมและเรียนเพิ่มเกี่ยวกับ trauma คะ

และอยากได้ข้อมูลมากคะ

โครงการ Trauma Audit

สวัสดีค่ะ คุณKapam

ยินดีมากค่ะที่ได้รู้จักคนสายพันธุ์อีอาร์ สู้ๆๆ

มีข่าวจากมอขอค่ะตอนนี้ ศูนย์ตติยภูมิอุบัติเหตุ รพ ศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลภูมิพล มีโครงการความร่วมมือ "อบรมการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ สำหรับพยาบาล " ระหว่าง 22-26 สิงหาคม2552 รุ่นที่ 2

คนที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก คือ พยาบาลอีอาร์อย่างเราๆๆค่ะ ก็เป็นเวทีหนึ่งที่เราได้พบกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สำหรับงานวิจัย Trauma audit สามารถสืบค้นบทคัดย่อได้จากฐานข้อมูลคณะแพทย์ศาสตร์คะ

 

เป็นคนหนึ่งที่ทำงาน ER แต่จบ โทการพยาบาลเด็ก กำลังเตรียมสอบ APN ปีนี้ แต่กำลังสับสนงานของตัวเองใครมีไอเดียแนะนำบ้างคะ

สวัสดีค่ะ คุณจิรารัชต์

ยินดีที่ได้รู้จักคนหนึ่งที่ทำงาน ER

ในERโรงพยาบาลนี้มีผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการที่เพียงพอหรือไม่และกลุ่มเด็กที่มาด้วยภาวะยุ่งยากซับซ้อนที่ต้องการการดูแลจากAPN หรือมีระบบ fast tract ในกลุ่มโรคเด็กหรือไม่ ถ้ามีตรงนี้เราก็สามารถ

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคมคม 2552 ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เราจัดติวให้พยาบาลที่จะไปสอบAPNs ซึ่งจะมีAPNsสาขาเด็ก คุณเกศินี บุญยวัฒนางกุล มาบรรยาย ด้วยค่ะ เชิญเข้ามาร่วมฟังการบรรยาย โดยไม่มีค่าลงทะเบียน จ่ายค่าอาหารเล็กน้อยค่ะ

เมื่อตั้งใจที่จะเป็นAPN ก็คงไม่เกินความสามารถค่ะ การเตรียมตัวจะเพิ่มความมั่นใจ ศึกษาบทบาทหน้าที่ของAPNs จากweb สภาการพยาบาล www.tnc.or.th ขอให้โชคดีค่ะ เป็นกำลังใจ

มีข่าวครวเรื่องการอบรม emergency nurse ช่วยบอก ส่งข่างด้วยนะคะ รพ.ขากแคลนมาก ขอบคุณคะ [email protected]

สวัสดีค่ะ คุณ....

ยินดีค่ะสำหรับควาสนใจในการพัฒนาสมรรถนะEmergency Nurses กรณีที่อยู่ภาคอีสาน จะอยู่ใกล้ ไม่ทราบว่าจะสดวกหรือไม่ ระหว่าง22-26 สิงหาคม 2552 มีหลักสูตรอบรม "Trauma for Nurses " ลองเข้าไปที่ WWW.nurse.kku.ac.th

เรียนพี่แข

ปัจจุบันนี้ภาระงานของ TNC  มีภาระงานมากจนคล้ายกับการจัดการ เจ้าของศูนย์อุบัติเหตุ  ซึ่งชื่อ TNC เลยดูไม่ค่อยสอดคล้องกับชื่อตำแหน่งเลยคะ เพราะงานทั้ง 4 ด้านที่พี่แขสรุปมา มีรายละเอียดปลีกย่อยให้พวกเราทำกันมาก ซึ่งโรงพยาบาลในประเทศไทยบางแห่งไม่มี career path  ให้กับคนกลุ่มเหล่านี้ 


ปัจจุบัน Trauma center บางแห่งในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนตำแหน่งและเพิ่มบทบาทของ พยาบาลผู้ประสานงานด้านอุบัติเหตุ (Trauma Nurse Coordinator) เนื่องจากมีภาระงานมากคล้ายผู้ปฏิบัติและผู้บริหารศูนย์อุบัติเหตุ  ให้เป็น ผู้จัดการงานด้านอุบัติเหตุ (Trauma Program Manager)  ซึ่งเพิ่มบทบาทในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต และภาระงานที่ต้องตอบสนองต่อองค์กร การพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ การประสานงาน และพัฒนาคุณภาพงาน ร่วมกับหน่วยงานอื่นให้เกิดมาตรฐานในระดับชาติอีกด้วย และได้มีการกระจายงานของ TNC โดยเพิ่มบุคลากรในตำแหน่งต่าง ๆ ขึ้นในสำนักงานของศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma sevices)   โดยคัดเลือกพยาบาลที่มีคุณสมบัติ มีความรู้ด้านอุบัติเหตุ  เป็นผู้ช่วยทำงานร่วมกับTrauma Program Manager ได้แก่  

1.  Trauma program improvement (PI)

2.  Trauma registrar 

3.  Clinical nurse specialist 

4.  Assistant Clinical Manager  ได้แก่ Trauma ICU, Critical care transport, Trauma resuscitation (ER)

5.  Burn Clinical Manager

6.  เลขานุการสำนักงาน 

ซึ่งเหมาะกับการบริหารงาน Trauma level 1-2  ในประเทศไทยค่ะ ทางทบวงฯ น่าจะทำได้มากกว่าร.พ.ทางสาธารณสุขค่ะ  


น้องจ๋าเลิดสิน ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท