ช่วงวันที่ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ดำเนินการตามแผนที่วางไว้คือ ผมเป็นคนหนึ่งในคณะทำงานติดตามโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือว่าจะเป็นโครงการอะไร ภายใต้งบประมาณใด ๆ ก็ตาม ล้วนมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันทั้งนั้นคือ "ชุมชนเข้มแข็ง" แต่กว่าจะเข็มแข็งได้ก็มีหลายปัจจัยกว่าจะก้าวถึงจุดเป้าหมายแห่งหวังอันสำคัญนั้นแต่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้นับหนึ่ง การออกติดตามในความรู้สึกของผมเองไม่คิดว่าไปทำตามตัวอักษรหรอก แต่ได้มีโอกาสพูดคุยฟังเรื่องเล่าและถือโอกาสเอาประสบการณ์ที่เราเคยทำ เคยเจอ เคยเห็นไปแลกกับชุมชน ประสบการณ์จากที่เคยทำงานกับชุมชนมาตลอดในช่วงทำงานที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สอนให้ผมเป็นคนเข้าใจในศักยภาพชุมชนทั้งในที่เขามี และนอกที่เข้าไปกระทบเพราะฉะนั้นผมไม่ถือว่าติดตามหรือตรวจแต่ไปถามสารทุกข์สุกดิบมากกว่า
ประมาณ 10 ปี ย้อนหลังช่วงนั้นผมเริ่มเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชนกับผู้มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้ในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับชุมชน จากทั้งเรียนรู้เพิ่มจากการปฏิบัติงานกับผู้รู้และจากประสบการณ์การทำงานของตนเองที่อยู่กับพื้นที่ในชุมชนตลอด ทำให้รู้ว่าเป็นเรื่องไม่ใช่ง่ายและละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความสามารถของผู้ที่จะเข้าไปขับเคลื่อนในหลาย ๆ ด้าน กว่าที่จะเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะตัวเจ้าหน้าที่เอง องค์กรเอกชนต่าง ๆ ผู้นำชุมชน ปราญช์ชาวบ้าน วิถีชีวิต ธรรมชาติ ทั้งเรื่องภายใน เรื่องภายนอก ค่านิยม สื่อ ประเพณี และที่เป็นตัวแปรคือของใหม่สมัยนิยม ผมเล่าอย่างนี้มันเหมือนยากเสียมากมายแต่ก็ขอบอกว่าใช่จริง ๆ ถ้าท่านไม่เชื่อผมให้โจทย์คำถามเรื่องเดียวง่าย ๆ คือ ถ้าต้องมีจิตที่เสียสละจริง ๆ ไม่ใช่ทำเพื่อหน้าที่ แต่ทำเพื่อชุมชนด้วยใจเสียสละและบริสุทธิ์ วิเคราห์โจทย์นี้ให้ละเอียดและบอกวิธีทำกับตัวเองให้เรียบร้อยเพื่อให้ผ่านโจทย์นี้เถอะครับ เป็นโจทย์ที่ยากมาก แล้วชุมชนก็จะเดินไปพร้อมกับท่าน แต่ถ้าท่านพลาดพาเขาตกสะพานท่านไม่สิทธิ์แก้ตัวใหม่ นี่คือคำตอบที่ออกด้านลบ แต่ถ้าท่านทำสำเร็จท่านคือผู้ที่ชุมชนให้การยกย่องแบบไม่มีวันลืม(จะเรียกว่าเขาบูชาท่านดูจะมากเกินไปแต่ก็เป็นอย่างนั้น) นี่คือคำตอบด้านบวก
ช่วง 10 ปีที่ว่านั้นได้ทำงานเรียนรู้กับมูลนิธิหมู่บ้าน ในโครงการการส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน คำหลังของโครงการที่สำคัญและเน้นก็คืดคำว่า "ยั่งยืน" ในกระบวนการการทำงานร่วมกันได้เรียนรู้กับ "ท่านประยงค์ รณรงค์" (ผมเรียกท่านว่าน้ายงค์) ในช่วงนั้นท่านก็ยังไม่ด้รับรางวัลแมกไซไซเลย แต่ท่านก็เรียนรู้ชุมชนตนเองไปจนบรรลุแล้ว ร่วมถึง ผอ.วิชิต นันทสุวรรณ ผอ.มูลนิธิหมู่บ้านและอีกหลาย ๆ ท่าน แรก ๆ ก็ยังไม่เข้าใจในเป้าหมายคำว่าชุมชนเข้มแข็งเท่าใดนัก ทำไปด้วยความมึนงง แต่ผ่านไปสักพักงานเป็นผู้สอนเราเองเมื่อเริ่มเข้าใจมองภาพออกก็เห็นภาพลาง ๆ ยังไม่ค่อยชัดคิดว่าอย่างนั้นนะครับว่าเข้มแข็งได้อย่างไร เพราะในชุมชนมีอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้าใจยาก แต่ก็เมื่อได้เรียนรู้ในครั้งนั้นแล้วรู้ว่าชุมชนจะเข้มแข็งได้อย่างไร พึ่งตนเองนั้นคืออะไร ในช่วงนั้นเริ่มมองเห็นโครงสร้างเป็นพื้นฐานแล้วล่ะว่าเป็นอย่างไร แต่จะขับเคลื่อนนำพาชุมชนไปตามโครงสร้างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายปัจจัยทั้งแรงต้าน นักพูดของชุมชนที่พูดเพื่อมันปากในที่ประชุมเวที คำถามที่ประกอบมาด้วยความหมายการปฏิเสธ เป็นสิ่งที่ทำความลำบากไม่น้อย เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับชุมชน เขาเคยฟังแต่การบรรยายกลับมาต้องพูด ดูเปลี่ยนเขาเร็วเกินไปเพราะบางคนไม่กล้าพูดส่วนคนที่พูดเก่งก็จะพูดอยู่ คนสองคน และดูจะนำพาชุมชนไปลงเหว นี่เป็นตัวอย่างเบา ๆ ในเรื่องประสบการณ์นำชุมชนสู่ความเข็มแข็ง
ภาพโอ่งที่วาดไว้ในกระดาษนำขึ้นปิดข้างฝาใน(หนำ) โรงนาเก่า ๆ เป็นตนตอแห่งจุดเริ่มต้นเพื่อให้คนหัวไวในชุมชนเข้าใจ ในภาพนั้นมีการเติมน้ำในโอ่งตลอดแต่ด้านข้างรอบ ๆ ตัวของโอ่งมีรูหลายรูเมื่อเติมน้ำน้ำก็ไหลออกมา ภาพนี้ปิดไว้ตั้งแต่เช้าก่อนเริ่มเวทีประชุมดูแล้วน่าสงสัยทุกคนมองภาพสงสัยว่าปิดทำไมดูแล้วก็ผ่านไป
แม้จะยากก็จำเป็นจะต้องทำให้ คนและชุมชนเข้มแข็งให้ได้
ไม่เช่นนั้นคงอยู่กับที่หรืออาจถอยหลังแน่แท้
จากการที่ได้มีโอกาสทำงานกับชุมชนเห็นด้วยกับคุณชาญวิทย์ บางประเด็น อยากให้ค่อยๆ เข้าไปหาชุมชน ลองดูว่าผุ้ที่ชุมชนส่วนมากเชื่อถือเป็นใครบ้าง และที่สำคัญเราควรให้ประชาชนได้ตระหนักถึงสิ่งดีที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการตระหนักเป็นสิ่งสำคัญมากๆ จะส่งกำลังใจไปให้จ้า
สวัสดีครับ TAFS
ใช่ครับแม้นจะยากก็จำเป็นต้องทำต้องอดทน ชุมชนเขาจะรู้ได้ทันทีว่าเราจริงใจครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะครับ
สวัสดีครับ คุณท้องฟ้า
ผมมักได้ทำงานร่วมกับทีมสาธารณสุขบ่อย ๆ โดยเขาเชิญไปร่วมแลกเปลี่ยน พยาบาลและทีมสาธารณสุขต้อนนี้ทำงานร่วมกับชุมชน และมีกลยุทธ์ที่น่าชื่นชมครับ เช่น อาสาสมัครชุมชนช่วยดูแลผู้ป่วยในชุมชน ที่ได้ทราบเพราะได้ไปร่วมถอดองค์ความรู้ครับ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะครับ
สวัสดีคะคุณชาญวิทย์
มาร่วมเรียนรู้ด้วยนะค่ะ
สวัสดีครับ อ.หมู
เคยไปกับเกษตรกรเพื่อดูงานที่สุพรรณบุรี ผ่านในตัวเมืองน่าทึ่งครับ บึงฉวากเป็นความเพลิดเพลินที่เกษตรกรเขาชอบครับ มีเรื่องเกี่ยวกับทำงานในชุมชนมาแลกบ้างนะครับ
ขอบคุณ อ.นายทองครับ
ที่กรุณามาแลกเปลี่ยน เป็นอย่างที่ อ.ว่าในหลายพื้นที่ แต่บางครั้งก็ไม่มีใครกล้าเอ่ยกล้าทัก แต่ความเป็นจริงก็ต้องเป็นจริงอยู่วันยังค่ำครับ ชาวบ้านในชุมชนเขาจะรู้ว่าใครมาทำเพื่อตนเองหรือทำเพื่อชุมชน ในเรื่องของการวิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนที่อาจารย์บอกเป็นการทำร้าย ตัวชี้วัดบางครั้งเป็นเรื่องของวิชาการเกินไป เพราะคนเป็นผู้คิดและกำหนดมัวแต่ไปยุ่งกับตัวชี้วัด กลายเป็นทำลายบางอย่างในชุมชนไปโดยไม่ตั้งใจ แต่ถ้าตัวชี้วัดดี ๆ คืออย่าให้ชุมชนปรับตัวเพื่อตัวชี้วัดจะดีที่สุด แต่ความเป็นจริงไม่มีใครเปลี่ยนแปลงมันได้ ไม่วิจัย ไม่ชี้วัด ชุมชนก็เข้มแข็งได้ เพราะบางชุมชนเข้มแข็งมาก่อนนานมากแล้วครับ
สวัสดีครับ
น้องบ่าว หนุ่มร้อยเกาะ
ก็โชคดี เช่นกันนะครับ ที่เมื่อปี 42-43 กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร เพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน และมาช่วงปี 47-49 ต่อด้วยโครงการความหลากหลายทางชีวภาพในพืนทีเกษตร ทั้ง 2 โครงการถือว่าเป็นครูจริง ๆ ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนกันในหลาย ๆ ด้าน และซึมลึกว่าชุมชนเข้มแข็งนั้นไม่ยากไม่ง่าย แต่หลูมหลาม(รีบร้อนเอาแต่ได้) ไม่ได้ จะกลายเป็นทำร้ายเขาโดยไม่รู้ตัว ครับ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ
พักหลังเดินคนละเส้นคนละงาน ไม่แน่ใจเมื่อไรได้เจอบ้าง คิดถึงอยู่ครับ