การปฏิบัติเมื่อสมัครGAP


เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติเมื่อเข้าสู่ระบบ

โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2551ได้แบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เกษตรกรที่สมัคร เข้าระบบ GAP

2. เกษตรกรที่เตรียมความพร้อมสู่ปี 2552

เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติเพื่อจะเข้าสู่ระบบ GAPว่ามีอย่างไรบ้าง  ตำบลท่าเรือก็เช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีการจัดอบรมให้เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมจำนวน16แปลง จากเกษตรกร 13 ราย จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 25 เมษายน และ 13 พฤษภาคม ก็สรุปได้ดังนี้

ข้อกำหนด

เกณฑ์การปฏิบัติ

1.แหล่งน้ำ

- เกษตรกรจะต้องตรวจสอบว่าแหล่งน้ำที่นำมาใช้ในแปลงนั้นนำมาจากแหล่งใดมีโอกาสปนเปื้อนสารพิษหรือโลหะหนักตกค้างหรือไม่  ถ้ามีความเสี่ยงให้นำตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบก่อน

2.พื้นที่ปลูก

- เกษตรกรต้องประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูกและพื้นที่ใกล้เคียงว่ามีประวัติการใช้พื้นที่ว่ามีโอกาสปนเปื้อนสารพิษและโลหะหนักหรือไม่ถ้ามีความเสี่ยงให้นำตัวอย่างดินไปตรวจสอบก่อน

3.การใช้วัตถุอันตราย

ทางการเกษตร

 

- ให้ใช้สารเคมีที่มีการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า  (ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุไว้ในทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามใช้

4. การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง

- สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาดอากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม  วัตถุอันตราย  และสัตว์พาหะนำโรค (อุปกรณ์และพาหนะในการขนย้ายต้องสะอาด  ปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค

- ต้องขนย้ายผลผลิตอย่างระมัดระวัง

5.การบันทึกข้อมูล

- ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติจริง เช่น การใช้สารเคมี ปริมาณที่ใช้ การสำรวจและป้องกันกำจัดศัตรูพืช  การปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตที่มีความสำคัญ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยในกระบวนการผลิตตามแบบบันทึก

6.การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช

-สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืชและป้องกันกำจัดเมื่อสำรวจพบความเสียหาย

-ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีศัตรูพืชติดอยู่ถ้าพบต้องคัดแยกไว้ต่างหาก

7.การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ

- การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต

- คัดแยกผลิตผลด้อยคุณภาพไว้ต่างหาก

8.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวผลในระยะที่เหมาะสมตามเกณฑ์ในแผนควบคุมการผลิต

- อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุ และวิธีการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพของผลและปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค

 

คำสำคัญ (Tags): #ผลิตสินค้า
หมายเลขบันทึก: 182547เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ชัดเจนดีครับ
  • คงจะเป็นตัวเลือกในการทำ การจัดการความนรู้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยนะ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท