เปรียบเทียบ พรบ.ลูกเสือ กับ พรบ.การศึกษา ๒๕๔๒


แนวคิดหลักการของพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2528 มาตราที่ 7 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 และ มาตรา 7 เห็นความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายการพัฒนาเยาวชนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ชาติต้องการ

แนวคิดหลักการของพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.. 2528 มาตราที่ 7 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 มาตรา 6 และ มาตรา 7 เห็นความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายการพัฒนาเยาวชนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ชาติต้องการดังนี้

อุดมการณ์วัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ตาม พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.. 2528

ความมุ่งหมายและหลักการ การจัดการศึกษา

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542

มาตราที่ 7

คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อ

พัฒนาลูกเสือทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ ตามแนวทางดังต่อไปนี้

1.        ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง

2.        ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

3.        ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์

4.        ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนให้ทำกิจกรรม

       ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

5.        ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี

วัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ

        ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใด ๆ 

 

มาตรา 6

การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

มาตรา 7

ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

รู้จักรักษาส่งเสริมสิทธิ หน้าที่เสรีภาพ     ความเคารพกฏหมาย  ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ  รวมทั้งส่งเสริมศาสนา  ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ  การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทย  และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการประกอบอาชีพ  รู้จักพึ่งตนเอง  มีความริเริ่มสร้างสรรค์  ใฝ่รู้  และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

                   จากพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ  ถึงแม้จะเกิดขึ้นต่างสมัย จะเห็นความสอดคล้องในเป้าหมายของการพัฒนา คือ สร้างเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทยให้มั่นคงแข็งแรง  แสดงให้เห็นการมองกาลไกลเห็นอนาคตที่สอดคล้องกับวิกฤตของสังคม ว่าการสร้างชาติ สร้างสังคมและสร้างความมั่นคง สิ่งสำคัญคือการปลูกฝังเยาวชนให้เป็นคนดีที่มีคุณธรรมก่อนแล้วจึงสร้างความเก่งความเชี่ยวชาญให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างฉลาด สังคมจึงจะอยู่ได้อย่างมีความสุข  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงต้องหันมาพิจารณา ค้นหาวิธีการ และใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการกล่อมเกลาเยาวชนให้ได้คุณลักษณะที่สังคมต้องการ

คำสำคัญ (Tags): #scousting for boy
หมายเลขบันทึก: 182543เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อาจารย์

  • แสดงว่าเราให้ความสนใจในเรื่อง ความมีวินัย  การมีจิตสาธารณะ  การช่วยเหลือผู้อื่น ๆฯลฯ มาอย่างต่อเนื่อง ถึงกับมีกฏหมายแม่บทเป็นระยะ ๆ
  • แต่ไม่น่าเชื่อว่า ผ่านมา ร่วม 30 ปี เรายังไม่สามารถปลูกฝังคุณลักษณะเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง  สาเหตุอาจเป็นเพราะ 1) เรายังไม่ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทุกฝ่าย  หรือ 2) เราอาจจะยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด  หรือวิธีการที่เราใช้มาในอดีต ชักจะไม่ได้ผล  หรือ 3) คนร่างกฏหมาย ร่างเพียงเพื่อเล่น ๆ ไม่มีการเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฏหมาย  ฯลฯ
  • ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใด "ในเรื่องความมีวินัย คุณธรรม ฯลฯ" เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องให้ความสนใจ อาจเป็นอีก 1 ทางเลือก สำหรับการอยู่รอดของประเทศไทย

 

  • ครูอ้อย สนใจ เรื่องคุณธรรม หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์มากๆ  กำลังทำวิจัยในชั้นเรียน  กำลังทำดุษฎีนิพนธ์ เรื่องนี้อยู่ค่ะ
  • การที่อาจารย์ได้เปรียบเทียบให้ดูนี้  หมายความว่า  เอกสาร  เรามีครบครันในการที่จะพัฒนา ปลูกฝังให้เยาวชนคนไทย  แต่เราไม่มีการติดตามผล  ในการปฏิบัติอย่างชัดเจน  เราไม่ได้เน้นเรื่องวินัย  จิตสาธารณะ  และคุณธรรมพื้นฐาน 
  • ในการจัดการเรียนรู้  ครูอ้อย  ติดตามคนใกล้ชิด เฝ้าดู  และสังเกต  บางคนก็สอนความรู้  สอนหนังสือ  แต่ไม่ได้มองไปถึงนักเรียน  ว่า  เขาต้องการอะไร  มีพื้นฐานชีวิตอย่างไร 
  • ความร่วมมือร่วมใจ  ความเสียสละ  อะไรหลายๆอย่าง  ต้องผนึกกัน  ก่อนที่เราจะเสียความเป็นไทยไป

เป็นกำลังใจให้กันค่ะ  จะเข้ามาอ่านบ่อยๆค่ะ

เป็นข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์มาก ทั้งท่าน ดร.สุพักตร์ และครูอ้อย

ลูกเสือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ครูนำไปพัฒนาผู้เรียนได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับถ้านำไปใช้สอนจริงตามกระบวนการ ทั้งนี้ขึ้นอย่กับการบริหารจัดการของโรงเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท