ยุทธการขยับ CAR...2) การเก็บตัวอย่างเลือดหลังการวิเคราะห์


แก้ไขตามคำแนะนำ โดยเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต้องทำเช่นนั้น

จำได้ว่า ในวันที่ผู้ตรวจประเมิน (รศ. นฤดี) เดินเข้าในห้องฮีมาโตนั้น  แว้บแรกที่อาจารย์ปราดสายตามอง ก็เห็นว่าเราจัดเก็บตัวอย่างเลือดที่วิเคราะห์เรียบร้อยแล้ววางไว้ที่ใต้เคาน์เตอร์ของอ่างล้างมือ

เราชี้แจงว่า วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บตัวอย่างเลือดที่วิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้วเก็บไว้อีก 3 วัน ก็เพื่อการทวนสอบในกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับผลการทดสอบ  เราก็จะมาหาตัวอย่างเลือดเดิมนี้เพื่อดูว่าชื่อผู้ป่วย กับหมายเลขหลอดนั้นถูกต้องกับรายงานผลหรือไม่  แต่เราไม่เน้นที่จะนำตัวอย่างมาทำการทดสอบซ้ำเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์   อาจารย์จึงแนะนำว่าไหนๆก็เก็บไว้แล้ว  น่าจะเก็บให้สามารถทำการทดสอบซ้ำได้ด้วย  นั่นก็คือควรจัดเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาจะดีที่สุด

จึงเป็นที่มาของ CAR ที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อ 5.4.14 ว่า ตัวอย่างเลือดหลังวิเคราะห์เพื่อใช้ทวนสอบที่หน่วยโลหิตวิทยาเก็บที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม

ยุ่งแล้วสิเรา  ตู้เย็นที่มีอยู่ในห้องแล็บตอนนั้นก็มีที่ว่างไม่เพียงพอสำหรับจัดเก็บ  น้องปุกก็แสนดี ลองจัดที่จัดทางเพื่อให้เก็บเลือดไว้ในตู้เย็นได้แต่ก็ไม่เป็นผล  พี่เม่ยจึงรีบไปปรึกษากับพี่กัญญ์สิริ (หน่วยจ่ายกลาง) ว่าถ้าเราต้องการตู้แช่เพิ่มอีกสักหนึ่งตู้ จะต้องทำอย่างไร  พีกัญญ์ก็น่ารักมากๆบอกให้ลองมาดูตัวอย่างตู้แช่ที่หน่วยจ่ายกลางซิว่าใช้ได้ไหม  พอขึ้นไปดูปุ๊บ...โอ้โห!...ใช่เลย นี่คือสิ่งที่เราต้องการ  ทำไงดีจะได้ของมาเร็วๆ พี่กัญญ์ก็ช่วยอีกเช่นเคยโดยการสั่งซื้อให้เป็นการด่วน  เราเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.หลังจากที่ได้รับ CAR ตอนนั้นพี่กัญญ์บอกว่า สักเดือนกว่าๆ  ก็คงได้ของ

แล้วตู้แช่ใหม่ก็มาถึงหน่วยงานเราในช่วงต้นเดือน พ.ค. นี้เอง  หลังจากลองเปิดใช้งาน 1 คืน ก็เห็นว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร  น้องปุกก็จัดแจงย้ายเลือดหลังวิเคราะห์มาจัดเก็บในตู้แช่นี้ 

พร้อมกับจัดทำสมุดบันทึกการทำลายตัวอย่างตรวจไว้ให้เรียบร้อย

ในสมุดบันทึกก็มีรายการตัวอย่างที่ทำลายไปในแต่ละวัน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ทำลายตัวอย่าง ฮั่นแน่!  ทุกสัปดาห์ก็มีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งด้วยว่าได้มีการทำลายตัวอย่างไปเรียบร้อยตามที่ได้กำหนดไว้หรือเปล่า

ยังค่ะ  ยังไม่พอ น้องออง กับน้องยอด ช่วยติดเทอร์โมมิเตอร์และแบบบันทึกอุณหภูมิตู้แช่ไว้ให้สำหรับลงบันทึกอุณหภูมิทุกวัน  หากอุณหภูมิคงที่อยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ เราวางแผนว่าจะย้ายน้ำยาจากตู้เย็นตัวเก่า ที่อุณหภูมิมักจะเกินช่วงค่าที่กำหนดไว้บ่อยๆ มาเก็บไว้ที่นี่ด้วย.....

ตอนนี้ขาดอยู่อย่างเดียวก็คือเรายังไม่ได้ใส่รหัสสมุดบันทึกนี้ไว้เป็นบันทึกคุณภาพ ซึ่งต้องไปลงไว้ในบัญชีเอกสารคุณภาพของหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง

เป็นอันว่าเราจัดการแก้ไข CAR ไปได้หนึ่งเรื่อง ตามคำแนะนำของผู้ตรวจประเมิน...เฮ้!...ซู่ ซู่ ต่อไปนะพี่เม่ย
คำสำคัญ (Tags): #iso15189#experience
หมายเลขบันทึก: 182226เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขยัย CAR ใช้ นำมัน เติมน้ำใจ นิ ท่านพี่

กำลังคิดถึงอยู่เลยพี่เม่ย เป็นพี่ที่ทำงานละเอียดมากๆๆๆ เห็นการจัดเลือดไว้แล้วเป็นระเบียบมากๆๆ ขอชื่นชม ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท