การกระจายอำนาจ : มุมมองการถ่ายโอนอำนาจสถานีอนามัย สู่ อบต.ปากพูน ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย


สุขภาพเป็นเรื่องของคนทุกคน ที่ต้องช่วยกันดูแล ปัญหาของชุมชน ย่อมไม่มีใครรู้ดีเท่าชุมชน

ช่วงสัปดาห์นี้ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ องค์กรการบริหารส่วนตำบลปากพูน และมีโอกาสได้ศึกษาการภาระกิจการถ่ายโอนอำนาจ จึงได้เรียนรู้แนวคิดและมุมมองการถ่ายโอนอำนาจสถานีอนามัยสู่ อบต ปากพูน ของเจ้าหน้าที่อนามัย มาเล่าสู่กันฟังคะ

 

มุมมองการถ่ายโอนอำนาจสถานีอนามัย  สู่ อบต.ปากพูน ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย

 

หัวหน้าสถานีอนามัยบางปู และ สถานีอนามัย ปากพูน มองว่าการถ่ายโอนอำนาจสู่ อบต. เป็นเรื่องดี เนื่องจาก  สุขภาพเป็นเรื่องของคนทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแล  ปัญหาของชุมชน ย่อมไม่มีใครรู้ดีเท่าชุมชนนอกจากนี้ ยังได้เพื่อนร่วมงานในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเดิมนั้นก็ทำงานร่วมกับ อบต.อยู่แล้ว แต่เป็นการทำงานแบบประสาน ความเป็นเจ้าของยังมีน้อย  เมื่อมีการถ่ายโอนอำนาจความเป็นเจ้าของที่จะร่วมกัน คิดแก้ไขปัญหา มีมากขึ้น มีภาคีเครือข่ายในการ ทำงานที่เข้มแข็งขึ้น  

สาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจในการถ่ายโอนอำนาจ เนื่องจากหัวหน้าสถานีอนามัย มีความอาวุโส ทางด้านวัยวุฒิและ คุณวุฒิจึงอยากนำร่องในการถ่ายโอนอำนาจ เพื่อ ที่จะได้ศึกษารูปแบบการถ่ายโอนอำนาจ ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแก้ไข ปัญหาให้เรียบร้อย ทำเป็นรูปแบบการทำงานไว้ให้น้องๆ ส่วนสถานีอนามัย ปากพูนเห็นว่าเมื่อ พรบ. ออกมาแล้ว เราจะไปทางไหน ก็ต้องถ่ายโอนอยู่ดี ไม่ช้าก็เร็ว

ส่วนสำคัญ ในการช่วยตัดสินใจ ของเจ้าหน้าที่อนามัย คือ แนวคิด ของนายกบริหารส่วนตำบล  แนวทางการพัฒนาของอบต. เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย ทั้ง 2 แห่งบอกว่า หากไม่ใช่นายกอบต. ท่านนี้ ก็ไม่แน่ใจว่า จะได้เช่นนี้หรือไม่ 

มุมมองของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต่อนายก

1.      ท่านเป็นคนให้โอกาสคนทำงาน คิดได้เท่าไหร่ ทำได้เลย  คนทำงานมาอยู่กับท่านจะสบาย แต่หากใครไม่ทำงานมาอยู่กับท่านจะลำบากสักหน่อย

2.      เต็มที่ในการทำงาน แม้แต่ระยะที่ยังไม่มีการถ่ายโอนท่านก็ให้การสนับสนุน และ เต็มใจที่จะช่วยเหลือ อย่างเช่นเมื่อครั้ง สถานีอนามัยปากพูน จะส่งประกวดสถานีอนานัย ท่าน ลงมาช่วยดูเรื่องภูมิทัศน์  และลงมือทำเอง เพราะท่านถือว่า เมื่อจะแข่งกับเพื่อนเราต้องเต็มที่ในการทำงาน

3.      เป็นคนเอาจริง และ เฉียบขาด

 

การทำงานทั้ง 2 สถานีอนามัยมองว่าทำได้เร็วขึ้นเนื่องจาก ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์มากนัก วิธีการควบคุมกำกับจะเป็นวิธีการกำกับหลัง คือ เสนอเรื่องขึ้นไป เมื่อเห็นชอบ และเป็นสิ่งที่ดี ทำได้เลย แต่ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ภายหลัง แต่ปริมาณงานจะมากขึ้น การรายงานที่ต้องรายงาน ต่อ รพ. สาธารณสุขอำเภอ และ สปสช ยังคงเหมือเดิม และ เป็นสายการประสานงาน การดูแลเรื่องคุณภาพยังคงเหมือนเดิม และต้องรายงานเพิ่มมายัง อบต.

ส่วนปัญหาอุปสรรคในการทำงานหลังถ่ายโอนคือ

1.      กฎระเบียบในการทำงาน เช่นการเบิกจ่ายเงิน ยังไม่มีระเบียบที่ชัดเจน โชคดีที่ท่านนายกธนาวุฒิ ถาวรพราหม์ ท่านเป็นคนที่กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะทำ หากไม่มีข้อห้าม ขอเพียงให้เรามีความโปร่งใส มีหลักฐานในการตรวจสอบ หรือ ที่เค้าเรียกกันว่า การกำกับหลัง

2.      ภาระงานมีมากขึ้น

ข้อคิดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ต่อการถ่ายโอนอำนาจ

อยากเอา อบต นำร่องทั้ง 22 แห่งมาคุยกันเรื่องกฎระเบียบให้ชัดเจน หารูปแบบการกำหนดกฏระเบียบให้ชัดเจน

 

ส่วนตัวผู้เขียนเองมีความคิดว่าเป็นเรื่องดี ในการถ่ายโอนภาระกิจ สาธารณสุขสู่ อบต. เนื่องจากเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของคนทุกคน และขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละท้องถิ่น และแต่ละท้องถิ่นเอง ก็มีภูมิความรู้เป็นของตัวเอง การจัดการ ก็ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือ เพื่อน G2Know เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 182030เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2008 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • จากคำบอกกล่าว ขอชื่นชม นายก อบต.ท่านนี้จริงๆ ที่สนใจในเรื่องสุขภาพอนามัยของประชาชน
  • สำหรับผม ผมเชื่อว่า แนวโน้มในอนาคต นายก อบต.จะหันมาให้ความสนใจกับเรื่อง สุขภาพอนามัย และการศึกษาของประชาชน มากขึ้นอย่างแน่นอน   ถ้าใครไม่สนใจ ในอนาคต ไม่น่าจะได้รับการเลือกตั้ง
  • ผมคิดว่า การตัดสินใจโอนไปอยู่กับ อบต. น่าจะเป้นการตัดสินใจที่ถูกต้อง "ไม่มีใคร ร่วมดูแลบ้านเรา ได้ดีเท่ากับ พวกเราเอง" 

สวัสดีค่ะ

* ดีใจด้วยนะคะที่ อบต. ปากพูนได้นายกดี

ท่านเป็นคนให้โอกาสคนทำงาน คิดได้เท่าไหร่ ทำได้เลย คนทำงานมาอยู่กับท่านจะสบาย แต่หากใครไม่ทำงานมาอยู่กับท่านจะลำบากสักหน่อย

เต็มที่ในการทำงาน แม้แต่ระยะที่ยังไม่มีการถ่ายโอนท่านก็ให้การสนับสนุน และ เต็มใจที่จะช่วยเหลือ อย่างเช่นเมื่อครั้ง สถานีอนามัยปากพูน จะส่งประกวดสถานีอนานัย ท่าน ลงมาช่วยดูเรื่องภูมิทัศน์ และลงมือทำเอง เพราะท่านถือว่า เมื่อจะแข่งกับเพื่อนเราต้องเต็มที่ในการทำงาน

เป็นคนเอาจริง และ เฉียบขาด

* ขอให้ท่านคงอยู่ตลอดไป

  • อ่านแล้วรู้สึกดีมาก ๆ ที่ท้องถิ่นสนใจเอาจริงเรื่องที่เป็น "ความจำเป็นที่ยังไม่รับรู้หรือรับรู้น้อย" แทนประชาชนแบบนี้
  • เป็นห่วงแต่ว่ายังขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หากไม่ใช่ท่านล๊ะ หมายถึงที่อื่น ๆ จะเกิดบ้างได้ไหม
  • ยังไม่มีหรือยังไม่พบกลไกอื่นบ้างเหรอครับที่ไม่ขึ้นกับผู้บริหารในการเริ่มต้น อยากเห็นท้องถิ่นอื่นซึ่งมีอีกมากและกระจายอยู่เต็มพื้นที่ทั่วบ้านทั่วเมือง
  • การนำที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับผู้บริหารเท่านั้น แต่เป็นการนำขององค์กร โดยผู้บริหารเป็นกลไกในการเอื้ออำนวยและตัดสินใจ ภายใต้ธงขององค์กรเป็นสำคัญ

ได้เจอกับทีมปากพูนหลายงาน

เห็นเขาตั้งใจ มุ่งมั่น หมั่นมาประชุม

ก็คิดว่าการกระจายอำนาจ คงไปด้วยดี

ท. ปากพะยูนขอเอาใจช่วย(เราชื่อคล้ายกัน)

ขอชื่นชมและยินดีด้วยค่ะ

สวัสดีคะ

อาจารย์ ดร.สุพักตร์ ขอบคุณมากคะท่านที่มาเยี่ยมเยียนแสดงความคิดเห็น ก็ชื่นใจแทน ชาวปากพูนเช่นเดียวกันคะ ที่ได้รับโอกาสดีๆ เช่นนี้

อาจารย์ นายประจักษ์

คุณ พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)  ท่านคงต้องทำให้ระบบ สามารถ หมุนงานได้ต่อไป 

คุณนายทอง  เป็นเรื่องดีมากคะ ที่ท้องถิ่น มาให้ความสำคัญ กับเรื่องการศึกษา และ เรื่องสุขภาพ เพราะเป็นพื้นฐาน ในการดำเนินชึวิต การศึกษาที่ว่านี้เราไม่ได้หมายถึงการศึกษาในระบบอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ

ยังรวมถึงการศึกษานอกระบบ ตามบริบทในพื้นที่ เพราะยังมีความรู้ในพื้นที่อีกมากมาย ที่เราทิ้งไป ทำให้ความสัมพันธ์ของคนลดลงไปด้วยเช่นกัน 

ส่วนกลไกอื่นของการกระจายอำนาจ  ทำอย่างไรถึงจะเกิดขึ้นในท้องถิ่นอื่น เหมือนที่เคยบันทึกไว้ว่า กลไกทำให้เกิดการพัฒนา ในชุมชน ตามหลักไตรภาคี ของคุณชายขอบที่ได้ศึกษาไว้ขอเพียงเราจับมือกันให้ได้สัก 2 ภาคี อีกภาคี นีงก็จะตามเรามาเองคะ   ขอบคุณคะ

บังหีม สวัสดีคะ หายป่วยเหรอยังคะ ส่งใจ เป็นกำลังใจให้ หายเร็วๆ นะคะ

คุณ ใบบุญ  ปูไป เห็น แล้วยังเหนื่้อย แทนเลยคะ  ก็ขอให้เรา ส่งกำลังใจให้คนดี ทำงานดีๆ ตลอดไปคะ

 

 

  • ดีครับ เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่ผมทิ้งประเด็นไว้คือพบเงื่อนไขอื่นบ้าไหมครับที่จะทำให้ท้องถิ่น หรืออาจจะภาคส่วนอื่นคิดแบบนี้โดยไม่ติดกับเฉพาะผู้บริหาร
  • อ่านดูเหมือนจะบอกว่าแนวคิดไตรภาคี ยังไงเหรอครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท