ปฏิรูปการเรียนรู้ไทย : การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ


 

      บ่ายวันที่ ๔ พ.ค. ๕๑ ผมกลับจากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการของสถาบันคลังสมองของชาติ โดยมีเรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานโดยการปลดปล่อยครู" คุกรุ่นอยู่ในใจ


      ใกล้ค่ำหยิบหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์มาอ่าน    พบเรื่อง "การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ" เขียนโดยนิธิ เอียวศรีวงศ์  รู้สึกโดนใจเสียจนต้องเขียนบันทึกนี้


     นักการศึกษาและครูทุกคนควรได้อ่านบทความนี้    อยู่ใน์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ ๒ - ๘ พ.ค. ๒๕๕๑ หน้า ๙๑ - ๙๒   เราจะเห็นว่าปัจจุบันมีการตีความหลักการสอนวิจารณญาณผิด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบวิจารณญาณด้วยคำถามแบบมีคำตอบให้เลือก 

  
     นี่คือประเด็นเชิงหลักการใหญ่มากของการเรียนรู้ที่จัดให้แก่เด็กไยในปัจจุบัน ที่ต้องมีการแก้ไขโดยด่วน

 

 

วิจารณ์ พานิช
๔ พ.ค. ๕๑

              

หมายเลขบันทึก: 181918เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ผมจะต้องไปหาอ่านให้ได้ ขอบคุณครับ์

กราบเรียนท่าน อาจารย์ หมอวิจารณ์ ที่เคารพ

  • ททท = ทำทันที
  • พอดีอยู่ที่ห้องสมุด คณะเภสัชศาสตร์ อบรมผู้ประเมินคุณภาพภายใน ของ สกอ
  • น่าจะถ่ายทอดให้กับทีมงานได้ทราบครับ
  • ดีมากมากเลยครับ เพราะการอ่าน SAR แล้ว จับประเด็นหลัก และ ประเด็นแฝง ผู้ประเมิน จะต้องอ่านให้ใช้ความคิดวิเคราะห์ตาม แถมยังต้องมีปฏิกริยากับสิ่งที่อ่าน ทำให้วิญญาณของการเรียนรู้เกิดขึ้นครับ

อ่านบทความเรื่องนี้เหมือนกันครับ โดนใจด้วยเช่นกัน

โดยส่วนตัว ผมคิดว่า เป็นลักษณะหรือกรอบแนวความคิดแบบไทยๆ ที่ไม่นิยมการวิจารณแต่นิยมนินทา ไม่นิยมการสื่อสารโดยการเขียนแต่นิยมสื่อสารด้วยข่าวลือ

ปล. ย้อนกลับเข้ามาที่นี่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากลืมไปพักหนึ่งครับ

เป็นเรื่องที่ดี มีประโยชน์ ให้แง่คิดในการจัดการเรียนการสอนดีมาก ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท