Salary Model


2 ขั้น ได้ไม่ยากอย่างที่คิด
ผมมีรูปแบบการนำเสนอผลงานเพื่อให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ มาให้ช่วยพิจารณา 2 รูปแบบครับ กรุณาช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ ยินดีรับฟัง หากเห็นว่าดี นำไปใช้ได้เลยนะครับ
1.ครูต้อง - มาสอนทุกวัน - ขยันผลิตสื่อ - ถือโล่รางวัลดีเด่น - บำเพ็ญตนเพื่อส่วนรวม - ท่วมท้นคนสรรเสริญ = 2 ขั้น/1.5 ขั้น
2.ครูต้อง - มาโรงเรียนบ่อย ๆ - คอยรับใช้ใกล้ชิด - ตีสนิทหลังบ้านนาย - หลากหลายของกำนัล - จัดสรรผลประโยชน์=2 ขั้น/1.5 ขั้น ช่วยดูนะครับ แบบไหนทำง่าย และดีกว่ากัน
หมายเลขบันทึก: 181865เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โปรดช่วยกันแสดงความเห็นด้วยนะครับ จะนำเหตุผล ความคิดเห็น ไปประกอบการทำงานวิจัยครับ ขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้าเลยครับ

แบบหลังทำง่ายกว่านะครับ ตัวเองเป็นครูเหมือนกัน พยายามที่จะทำในข้อ 1 แต่ในการพิจารณาเลื่อนขั้น มันมีหลายอย่างที่ทำให้คนในข้อ 2 ได้ เช่น อิทธิพลของครูบางคน หรือ ผอ.เอง หรือการล๊อบบี้ของกลุ่มกรรมการพิจารณา มีน้อยที่พิจารณาผลงาน ก็รู้ ๆ กันอยู่นะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • เรื่อง 2 ขั้น ไม่มีที่สิ้นสุด
  • ขอฝาก เรื่องนี้ มาแจม นะคะ เผื่อจะผนวกเข้าด้วยกันได้ และเป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรจะพิจารณาเอง อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

http://gotoknow.org/blog/resaerch/180498

ณัฐิกานต์ บุญวัฒนพงศ์

แบบที่หนึ่ง เป็นธรรมดี และทำดี แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้หวังผลที่โล่หละคะ อยู่ในประเด็นหรือไม่ ผู้บริหารจะลำเอียงไหม

แบบที่สอง คนสนิท มีของฝาก "มากของฟรี" ดูจะได้ผลมากกว่าละมังคะ

แต่จะแบบไหน อยู่ที่เราผู้บริหาร คณะกรรมการพิจารณา งานไม่ได้สำเร็จเพราะใครคนเดียว โปรดแบ่งปันกันไป ข้าแผ่นดินกันทุกคน คณะกรรมการต้องเป็นธรรม อย่าทำเอาเอง ที่สำคัญคือ "ผู้บริหาร" ถึงจะแอบตัดสินใจแบบไหน ควรฟังเสียงคณะกรรมการ แล้วคุณจะได้ใจคนทำงาน เรื่องจริง...จะบอกให้

ขอบคุณ คุณณัฐิกานต์ บุญวัฒนพงศ์ ที่ให้ความเห็นที่ดีครับ

บางทีคณะกรรมการ คือ ตรายางของผู้บริหารครับ

ใกล้ถึงฤดูกาลแล้ว กลับมาทบทวนกันหน่อยนะครับ กับ salary model

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท