หัวหน้าพยาบาล กับการบริหารการพยาบาล


หัวหน้าพยาบาล

หลังจากที่ได้รับรู้ถึงภาระงาน ของหัวหน้าพยาบาล ภาระงานที่ไม่ใช่งานหลัก

.... ความมากมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

จึงเกิดเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ  แล้วจะมีหัวหน้าพยาบาล ที่แสดงถึงความเป็นผู้บริหาร

ทางการพยาบาลที่แท้จรืงได้อย่างไร  ท่ามกลางภาระงานมากมายเหล่านั้น 

เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ไม่ง่ายนักในหลายพื้นที่

เพราะเวลาที่เหลือจากเรื่องราวมากมายที่กล่าวมาทั้งหมด

ดูเหมือนจะไม่เพียงพอ  สำหรับเส้นทางเดินที่ควรเป็น

ความยากที่ไม่ง่ายของหัวหน้าพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน  อยู่ตรงที่ว่า 

เราจะสามารถจัดการเรื่องราวที่เป็นภาระงานที่ไม่ใช่ภาระงานหลักให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างไร

โดยที่เรามีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นองค์กรแห่งหนึ่งขึ้นมาภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด 

 แล้วเรายังมีเวลาสำหรับการเป็นผู้บริหารการพยาบาลอย่างสง่างาม 

และสมศักดิ์ศรี ของผู้บริหารการพยาบาลสูงสุด ขององค์กรแห่งนั้น 

ความยากที่ไม่ง่าย จึงเป็นความท้าทาย ของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ที่น่าสนใจ 

และน่าติดตาม 

ถ้าพุดถึง หัวหน้าพยาบาล ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาล

คงต้องเริ่มต้นด้วยเรื่องของการจัดการบุคลากรพยาบาล 

การบริหารอัตรากำลังให้เพียงพอต่องานบริการพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบตลอด  24 ช.ม

....ซึ่งทุกช.ม ทุกนาที่ ล้วนคือความเป็น และความตาย ของทุกชีวิตที่ผ่านเข้ามาในงานบริการ

ของพวกเรา  

เหล่านี้ ... จึงเป้นคำถามที่ไม่ต้องรอคอยคำตอบ ว่าทำไม เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดอัตรา

กำลังพยาบาลที่เพียงพอต่อภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ ตลอด  24  ช. ม

....การจัดอัตรากำลังที่เพียงพอใม่ใช่ความยาก 

แต่การจัดอัตรากำลังที่เพียงพอ และเหมาะสม  คือความยากยิ่งกว่า

ผู้บริหารการพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถในการจัดการอัตรากำลังภายใต้ ความเพียงพอ

และเหมาะสมกับภาระงาน  ซึ่งภาระงานของการปฏิบัติการพยาบาล ไม่ได้เป็นภาระงานที่สามารถ

กำหนดความเป็น หรือความตายของผู้ที่มารับบริการในแต่ละ ช่วง นาที่ , ช่วงช.ม ได้

เป้นภาระงานที่ไม่สามารถกำหนดปริมาณ และความยุ่งยาก

เป็นภาระงานที่ต้องมีความรู้ ความสามารถ  และมีไหวพริบ ในการตัดสินใจที่รวดเร็ว

ถ้าจะบอกว่าวิชาชีพใดมีความฉลาด  เราคงต้องบอกว่า วิชาชีพพยาบาล ของเรา ต้องมีความเฉลียว 

สามารถประเมินสภาพผู้ป่วย  วิเคราะหืปัญหา และให้การปฏิบัติการพยาบาลเพิ่อช่วยชีวิตผู้ป่วย

ได้ทันท่วงที่  เราจึงได้มีโอกาสเห็นการจัดอัตรากำลังพยาบาลในรูปแบบต่าง ๆ

เพื่อความเพียงพอและเหมะสม  ตั้งแต่การแบ่งระดับผู้ป่วย เพื่อกำหนด ช. ม การพยาบาล

การจัดอัตรากำลังที่มอบหมายเป็นแบบทีม เป้นรายกรณี  การจัดอัตราสำรองในกรณีที่มีปริมาณ

ผู้ป่วยมาก หรือมีผู้ป่วยที่มีระดับความรูนแรง การจัดอัตรากำลังสำรองในกรณีที่ภาวะฉุกเฉิน

เฉกเช่นสถานการณ์ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ การจัดอัตรากำลังบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

ที่ผสมผสานทั้งผุ้เชี่ยวชาญและผู้ที่ต้องอยุ่ในความดูแลของพยาบาลผุ้เชี่ยวชาญ   ฯลฯ

ด้วยความมากมายหลากหลาย ที่ได้กล่าวมา ล้วนเป็นความรู้ ความสามารถของผุ้บริหารการพยาล

ที่ต้องมี ....  

 .....นอกเหนือจากนี้ หัวหน้าพยาบาลยังต้องมีระบบการนิเทศงานที่สามารถค้นหาความเสี่ยง 

 ในการจัดการความเสี่ยงในบริบทของพยาบาล

 .....ความสามารถในการจัดการที่สื่อให้เห็น ถึงสมรรถนะเฉพาะทางของพยาบาล

แต่ละหน่วยบริการย่อย  ระบบการประเมินสมรรถนะเพื่อนำสู่การพัฒนาบุคลากรพยาบาล  

.....ความสามารถ ในการวางระบบ การเสริมพลังอำนาจให้กับทีมปฏิบัติการพยาบาล 

ในจัดการระบบปฏิบัติการพยาบาลที่สามารถสื่อให้เห็นถึงการใช้กระบวนการพยาบาล

ในการปฏิบัติการ

.....ความสามารถในการผู้นำทางด้านวิชาการ การนำงานประจำสุ่งานวิจัย

และนำผลการวิจัยสู๋การพัฒนาระบบ   และสุดท้ายคือการนำองค์กรวิชาชีพพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #หัวหน้าพยาบาล
หมายเลขบันทึก: 181786เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เอามาฝาก ให้ยิ้มๆครับ

 

ได้อ่านบทความของคุณจิตตมา ท่านหัวหน้าพยาบาล รพ.หนองจิก

เรารับรู้ได้ว่าภาระแสนหนักอึ้งแท้ๆ แต่เชื่อแน่ว่าคุณต้องสามารถผ่านตรงนี้ได้คะ่

เพราะแนวคิดและหลักของคุณนั้น ดีมากคะ่้เหลือแต่ต้องการปฏิบัติให้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลา

ขอเป้นกำลังใจให้ นะคะ่ท่านหัวหน้าฯ

ขอบคุณทุกกำลังใจคะ ( พูดเมือนนักการเมือง เลย ) เป็นอาชีพเดียวที่ทำได้ เป็นวิชาชีพเดียวที่ภูมิใจ

R2R ที่นครฯ 12 -13 กค.นี้ ดร.กะปุ่ม กับน้องอุ้มบุญ บล๊อกเกอร์ เขามา ชวนผมไว้แล้วครับ

ขยันจังเลย คุณลุงวอญ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท