กรณีศึกษา: พายุ Cyclone NARGIS-08


เรื่องพายุ NARGIS-08 มีคนถามมาทันทีว่า OpenCARE ใช้ได้ไหม

ผมถามกลับไปทันทีเช่นกัน ว่าใช้กับข้อมูลอะไรในเมื่อไม่มีข้อมูลอะไรทั้งสิ้น ไม่มีทั้งทะเบียนบ้าน ไม่มีการเตรียมพร้อม อินเทอร์เน็ตมีเซ็นเซอร์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ไม่ให้ใช้ thumb drive/USB/CF การส่งรูปถูกตรวจสอบโดยรัฐ วิทยุเป็นของทหาร วิทยุสมัครเล่นเป็นสิ่งต้องห้าม ส่งข้อมูลออกมายังโลกภายนอกไม่ได้ ไม่รู้จำนวนผู้ประสบภัย ทำให้ความต้องการที่แท้จริงกับความช่วยเหลือที่จำเป็นไม่เจอกัน โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายหมด แถมยังไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกอีก (แต่ถ้าให้เป็นเงินคงเอา!)

อย่างไรก็ตาม ผมได้แนะนำ www.sahana.lk ให้ไปใช้; Sahana เป็นโปรแกรมจัดการการบรรเทาทุกข์ พวก camp management, donation management, logistics หรืออะไรทำนองนั้น เหมาะสำหรับงาน reactive แบบกรณีนี้ (เกิดเหุการณ์แล้ว ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี)

OpenCARE พยายามปิดจุดอ่อนที่เรียนรู้จากประสบการณ์สึนามิ ซึ่งหมายถึง total chaos ที่ใช้น้ำใจอย่างเดียวเปลี่ยนให้กลายเป็นปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่คนทั้งโลกยกย่อง (แต่คนในรู้ว่ามันยังต้องปรับปรุงอีกมาก)

FEMA ของกระทรวงความมั่นคงภายในของสหรัฐ Dept of Homeland Security เรียนรู้จากเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก 9-11 ด้วยความหลงว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นคำตอบ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ผิดมหันต์ พิสูจน์แล้วเมื่อคราว Hurricane Katrina/Rita ที่นิวออลีนส์ ที่โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายหมด จนระบบที่ออกแบบไว้ทำงานไม่ได้

หลายปีก่อน มีแผ่นดินไหวใหญ่ในอิหร่าน มีคนตายเป็นแสนคน ส่วนใหญ่ถูกซากปรักทับ คนแสนคนติดอยู่ใต้กองซีเมนต์สี่วัน ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ไม่มีอากาศ คงจะมีชีวิตรอดได้ยาก -- คิดเป็นอัตราการตาย 34.7 คนทุกนาทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว -- หนึ่งคนทุกสองวินาที ไปเป็นเวลาสี่วันซ้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน

ดังนั้นความช่วยเหลือที่ไปช้าเกินไป ไม่ได้เกิดประโยชน์ในแง่ที่จะกู้ชีวิตกลับคืนมาได้

การจัดการภัยพิบัติ คือการเตรียมการ บางทีก็เหมือนพวกบ้า เหมือนพวก ปสด. มองโลกในแง่ร้าย แต่ชีวิตคน ไม่ใช่ผักปลา ไม่ควรเอาชีวิตคนไปเสี่ยงไม่ว่ากรณีใดๆ เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว จะมามัวนั่งวางแผน ก็จะไม่ทันการณ์แล้ว

ระบบ Missing Persons และระบบ I am alive (ของเนคเทคทั้งคู่) เป็นระบบเสริมที่น่าจะนำไปใช้ในกรณีของ NARGIS-08 แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมาจนขนาดนี้ อาจจะไม่มีประโยชน์แล้วหรอกครับ

คู่มือการกู้ภัยของกรมกิจการพลเรือน กองทัพบก เป็นคู่มือที่น่าจะศึกษาฝึกซ้อมก่อน

สำหรับเมืองไทย

แหล่งข้อมูลสำคัญคือ

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (www.disaster.go.th)
  • ศูนยเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.ndwc.or.th)
  • กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.tmd.go.th)
  • กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม --> (www.dmr.go.th) พื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่ม
  • สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.haii.or.th)
  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.gistda.or.th)

ข้อมูลสภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝนสะสม และแนวโน้มต่างๆ ที่ไม่ใช่กรณีภาวะวิกฤติ แสดงไว้ใน GotoKnow Monitor แท็บ {เครื่องมือ}

เมียนมาร์ ล่ ม ส ล า ย

พายุไซโคลน NARGIS-08 ซัดเข้าเมียนมาร์ทั้งประเทศ ไม่เฉพาะเขตที่พายุพัดผ่านเท่านั้น เพราะเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้นทั่วประเทศ เศรษฐกิจที่อ่อนยอบแยบอยู่แล้ว พังพินาศไปหมด

ผู้ที่จากไป ก็พ้นทุกข์ในโลกนี้ไปแล้ว แต่ผู้ที่ยังอยู่ กลับได้รับผลกระทบหนัก หมดเนื้อหมดตัว หมดที่อยู่อาศัย ไม่มีอาชีพ เพาะปลูกไม่ได้ ขาดปัจจัยสี่ ขาดอาหาร และน้ำดื่ม

ที่ร้ายกว่านั้นคือโลกไม่เคยรับมือกับผู้ป่วย PTSD ล้านคนที่พูดกันไม่รู้เรื่อง อัตราการฆ่าตัวตาย อาจพุ่งสูงสุดจะคาดเดาอีกไม่นานนัก

หมายเลขบันทึก: 181365เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เสียใจที่บันทึกนี้ เป็นบทวิพากษ์ที่ไ่มทันการณ์ หวังว่าทุกประเทศจะเอาใจใส่กับความปลอดภัยของประชากรของตัว มากกว่าในปัจจุบัน แม้ดีอยู่แล้ว ก็ยังปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้ตลอดเวลา

"ที่ร้ายกว่านั้นคือโลกไม่เคยรับมือกับผู้ป่วย PTSD ล้านคนที่พูดกันไม่รู้เรื่อง อัตราการฆ่าตัวตาย อาจพุ่งสูงสุดจะคาดเดาอีกไม่นานนัก" เห็นด้วยมากๆ กับประโยคนี้ครับ

ผมคิดว่า เรื่อง PTSD ยังคงมีคนเห็นความสำคัญน้อย ไม่รู้เหมือนกันว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรใดดูแลเรื่องนี้อยู่

พึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท 

  • บ้านเรา
  • ผมมีคำถามว่า
  • หน่วยงานทั้งหมดนี้
  • มีการบูรณาการงานกันหรือไม่
  • เท่าที่ทราบ
  • อิอิอิ  ต่างคนต่างทำ
    • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (www.disaster.go.th)
    • ศูนยเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.ndwc.or.th)
    • กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.tmd.go.th)
    • กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม --> พื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่ม
    • สถาบันจัดการน้ำฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.haii.or.th)
    • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.gistda.or.th)

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

  • แอบเข้ามาเยี่ยม ๆ มอง ๆ หลายครั้งในหลายบันทึกของคุณ Conductor แต่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องที่ท่านเล่าและนำเสนอ จึงได้แต่เก็บเกี่ยวสาระไป ไม่เคยแสดงความคิดเห็นไว้ (เพราะไม่มีจึงเป็นแต่ผู้รับค่ะ)
  • ชอบความหมายนี้ค่ะ
  • Bus Conductor= คนเก็บค่าโดยสารรถเมล์ ไม่ยอมให้ใครขึ้นรถฟรี (ในการนำพาองค์กรให้รุ่งเรือง ทุกคนต้องทำงาน ไม่สามารถปล่อยให้ใครมาเกาะเป็นกาฝากกินแรงคนอื่นโดยไม่สร้างคุณค่าให้องค์กรได้)
  • ว่ากันว่า คนขับรถเมล์นั้นยังไม่สำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรเท่า Bus Conductor เลยนะคะ
  • จะพยายามมาอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ค่ะ

สวัสดีทุกท่านครับ

ความรู้ต่างๆ จะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อผู้อื่นได้นะครับ ความรู้อาจเรียนทันกันหมด แต่มีความหมายไม่เท่ากัน เพราะบางคนรู้แต่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้

ตอนนี้ผมสัมนาอยู่นอกสถานที่ -- มี "ผู้ใหญ่" อยู่เยอะซึ่งท่านกำลังแสดงความคิดเห็นกันอยู่ มีก๋วยเตี๋ยวแบบน้ำกับขลุกขลิกเยอะ ผมจึงแอบมาตอบความคิดเห็นได้ โดยไม่เสียการเสียงาน ;-)

กลับไปจะไปตรวจสอบข้อมูลและเว็บที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมครับ

  • PTSD จะเป็นปัญหาวิกฤติจริง เพราะไม่มีวิธีสร้างนักจิตวิทยาแบบบะหมี่สำเร็จรูป
  • มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลี้ภัย/แรงงานอพยพเพิ่มขึ้นมาก (โดยที่บางส่วนเป็น PTSD ด้วย)
  • หน่วยงานรัฐต่างๆ ทั้งที่ปรากฏชื่อในบันทึก และไม่ปรากฏชื่อ ต่างก็มี "อำนาจ หนั้าที่" ที่ระบุโดยกฏหมายครับ; อำนาจเป็นตัวร้าย - หน้าที่เป็นงานปกติ ซึ่งย่อมาจากประโยคที่ว่า"ทำบ้างไม่ทำบ้างเป็นปกติ" - แต่สิ่งที่หายไปคือประชาชนครับ
  • มีการประสานงากันตามปกติ เพราะต่างคนต่างใหญ่ในเรื่องของตัว; ด้วยข้อจำกัดของระบบราชการ ซึ่งเมื่อจะประสานข้ามกระทรวง ต้องวิ่งไปที่หัว ซึ่งก็ทั้งช้า ทั้งไม่เข้าใจประเด็นละเอียด เมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินแบบนี้ ไม่ทันการแล้วครับ
  • แต่ผมว่าเราปฏิเสธไม่ได้ว่าหน่วยงานเหล่านี้ ก็ทำได้ดีในสาวะปกติเช่นกัน เพียวแต่ว่าในภาวะฉุกเฉิน (เช่นสึนามิ หรือดินถล่ม) ไม่มีเวลาจะมาติดต่อตาม protocol ของราชการ -- งานหนักของ OpenCARE คือการพยายามทำลายกำแพงตรงนี้ครับ

นี่ถ้าเกิดที่บ้านเรา  ความศูนย์เสียจะน้อยกว่าไหม  การใช้สื่อทุกรูปแบบประชาสัมพันธ์น่าจะได้ผลระดับหนึ่ง  น่าเป็นห่วงมันเหมือนกับเกิดขึ้นกับบ้านติดกับบ้านผมเลย

 

ถ้าไม่เกิดได้ ก็จะดีที่สุดครับ แต่ปัจจุบันเราควบคุมสภาวะอากาศยังไม่ได้ แถมเรายังปล่อยก๊าซเรือนกระจกเร่งให้โลกร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นทำให้พายุมีความรุนแรงมากกว่าสมัยก่อน

หากจะเกิดพายุขึ้น ประชาชนก็ควรจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า จัดเตรียมคำแนะนำ มีการซักซ้อม ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่ของตนอย่างถ่องแท้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว หน่วยบรรเทาทุกข์เข้าสู่พื้นที่ด้วยความฉับไว มีระบบข้อมูลประสานกัน ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือในสิ่งที่พื้นที่ต้องการจริงๆ (ไม่ให้น้ำใจ/ความช่วยเหลือสูญเปล่า)

ไม่รู้จะช่วยอะไรได้ ความรู้ก็ไม่มี กำลังกายก็ไม่มี มีแต่กำลังใจส่งให้พร้อมคำอธิษฐาน ถึงช่วยอะไรไม่ได้เท่าไหร่แต่ก็อยากทำ และทำมาตลอดตั้งแต่พายุเข้าถล่ม พอยิ่งดูข่าวยิ่งสะท้อนใจ เลยเขียนไว้ในอนุทินแบบปลงๆ

สงสารคนพม่าจริงๆค่ะ..ไม่ทราบจะทำอย่างไร..อาจจะขอช่วยอะไรได้บ้าง บ้านอยู่ใกล้ๆ

สวัสดีค่ะ มาติตดามอ่านค่ะ กรณีศึกษา: พายุ Cyclone NARGIS-08 ฝ่ายสาธารณสุขก็กำลังพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่นะคะ  เช่น

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย รองแพทย์ ฯ จากโรงพยาบาลขอนแก่นบอกกับที่ประชุมชาว ER EMS โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในจังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลจังหวัดเขต 10 12 ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี  ว่า ขณะนี้เราต้องตระหนัก ภัยธรรมชาติ คุณหมอยังเล่าต่ออีกว่า บางเหตุการณ์ เช่น วาตภัย เราสามารถรู้ล่วงหน้าได้ด้วยระบบการเตือนภัย ภัยจะมาทางทะเล ตามแนวทางการหมุนผ่านพื้นที่บริเวณ ก่อนมีเหตุการณ์จริง 2-5 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับที่บันทึก มหันตภัย พายุไซโคลนนาร์กีส [R] ของ คุณ ปฐมา
จากโรงเรียนอนุบาลชุมพวงวิทยา สืบค้นข้อมูลมาไว้ที่นี่ค่ะ

คุณหมอ ยังกล่าวอีกว่า ถ้าหากมีแผนรองรับดี ๆ ตัวอย่างเช่น ที่เวียดนาม เขามีระบบเตือนภัย และมีแผนการอพยพคนและการบัญชาการที่ชัดเจน เขาจะอพยพคนออกจากพื้นที่ทางผ่านของลมพายุร่วมล้านคน เมื่อมีเหตุมาถึงความเสียหายต่อชีวิตจะน้อยกว่าประเทศที่ไม่ได้วางแผน เช่น ประเทศ......... จะเสียหายแต่พื้นที่บริเวณที่พายุพัดผ่าน เช่น สิ่งปลุกสร้าง ถนน อาคาร เท่านั้น ค่ะ

ดิฉันคิดว่า พวกเราคนไทย ทุกภาค ส่วนต้องบูรณาการช่วยกันนะคะ และเห็นด้วยกับความเห็นที่ 9 ของท่านค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท