เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต


ร่วมใจสร้างเครือข่าย RRU

เชิญสมาชิก Royal Road University ประเทศ Canada มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่องานไปสู่ความสำเร็จ 

วันนี้นับว่าเป็นบรรยากาศที่ดีของเหล่านักศึกษา RRU ที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน  ต่อเติมความคิด  ให้ปรากฎภาพที่ชัดขึ้นในใจของทุกคน  หวังว่าจะเป็นการจุดประกายความคิดว่าเรามิได้โดดเดี่ยว  แต่จะมีพี่ๆเพื่อนๆอีกหลายคนอยากจะ  แนะนำสิ่งที่ดีๆให้เราได้พัฒนาปรับปรุงการเรียน  กลับกลายเป็นวิถีชีวิตตามธรรมชาติ

การเรียนรู้ร่วมกันจะช่วยให้การเรียนมีการพัฒนา

จากการที่สถาบันพระปกเกล้าได้เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาการวิเคราะห์และการบริหารความขัดแย้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 และขณะนี้กำลังรับในรุ่นที่ 3 ใครสนใจสมัครได้ครับเรียนแบบออนไลน์ครับ
การเปิดหลักสูตรนี้เราร่วมกับมหาวิทยาลัย Royal Roads University(RRU) ประเทศแคนาดา
งานนี้ทางสถาบันพระปกเกล้าได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใน Consortium 7 มหาวิทยาลัย ครับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร  มหาวิทยาลัยเกษตร  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหิดล  รอบแรก ศ.ดร.สุมนต์  สกุลไชยอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธาน Consortium ทางเราสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล จะเป็นสำนักเลขาฯครับ  ปัจจุบันรศ.ดร.บุญสม  ศิริบำรุงสุข  อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นประธาน Consortium ครับ
แต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้คัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรโดยนักศึกษา  จะด้รับทุนสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ทุนรุ่นละ 10 คน 

จากการบริหารที่ผ่านมารุ่นที่ 1 มีคนเข้าศึกษา 9 คนแล้วสละสิทธิ์ 1 คนครับ มีคนเข้าศึกษาคือ

รุ่นที่ 1
ผศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล  ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ.โชคชัย  วงษ์ตานี  สถาบันสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.อภิชาติ  จันทร์แดง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  หาดใหญ่
ดร.สมหวัง  แก้วสุฟอง  ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  คณะมนุษย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.พิกุล  อิทธิหิรัญวงศ์  ภาควิชารัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.มนัสวี  อรชนะกะ  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อ.จิตราภรณ์  สมยานนทนากุล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นายศุภนัฐ  เพิ่มพูนวิวัฒน์  สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สำหรับรุ่นที่ 2 มีนักศึกษารับทุน จำนวน 9 คน  ออกทุนเรียนเอง 1 คนรวม 10 คนคือ
น.ส.นฤมล  เพ็ชรทิพย์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายธนรัตน์  ทรงสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.ส.รักชนก  ชำนาญมาก  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายจีรศักดิ์  โสะสัน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายกมเลศ  โพธิกนิษฐ  มหาวิทยาลัยนเรศวร
นางดวงหทัย  บูรณเจริญกิจ  มหาวิทยาลัยมหิดล
น.ส.อธิษฐาน์  คงทรัพย์  มหาวิทยาลัยมหิดล
น.ส.บัณฑิกา  จารุมา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
น.ส.อภิญญา  ดิสสะมาน  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทพญ.กษิรา  เทียนสองใจ  ออกทุนเอง
นอกจานั้นก็มีนักศึกษาของแคนาดาร่วมเรียนด้วย  ในระหว่างการศึกษาจะไปแคนาดา 1 เดือนทำ workshop 
ในรุ่นที่ 3 จะเปิดรับบุคคลทั่วไปด้วยจ่ายค่าการศึกษาเองประมาณ 500,000 บาท ขอย้ำว่าเป็นการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต Computer-Assisted Instruction(CAI) สนใจสมัครที่ โทร 02-527-7830-9 ต่อ 2407 ครับ
หมายเลขบันทึก: 181350เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (124)

ขอบคุณอาจารย์นะคะ ที่สร้าง blog นี้ขึ้นมาค่ะ

เมื่อวันที่ 8 พค. ที่ประชุมกันทำให้รู้สึกดีค่ะ

รู้สึกถึงความเป็นเครือข่ายมากขึ้น

วันที่ 8 ก็ลืมถามไปค่ะ ว่า

มีใครอยากได้ตัวอย่างการบ้านของ CAM530 (ภาค Hilary) บ้างหรือไม่

ถ้าไม่กริ่งเกรงเรื่องภาษาประหลาดและคะแนนที่สุดแสนจะเห่ย (ฮาๆๆ)

เมย์ยินดีจะให้ดูได้ค่ะ เผื่อว่าจะได้ดูตรงที่ Hilary เขา comments

ถ้าใครอยากได้ก็แปะอีเมล์ไว้นะคะ จะส่งไปให้จ้า

ขอบคุณอีกครั้งคะ

เมย์

ปล.กำลังสร้าง blog ของตัวเองอยู่คะ เสร็จแล้วจะเอามาแปะให้เยี่ยมชมนะคะ

สวัสดีครับเมย์ดีใจด้วยที่เข้ามาเป็นแรก  เมย์คงจะเป็นตัวแบบให้รุ่นหลังได้ศึกษาเป็นแบบอย่าง 

ในวันที่คุยกันอาจารย์คิดว่าได้ช่วยผ่อนคลายความกังวล  ของหลายๆคนไปได้พอสมควร 

เท่ากับวันนี้เราทุกคน  เป็นเพื่อน  เป็นพี่  เป็นน้อง  เป็นครูให้แก่กันและกัน  ให้ความฝันของทุกๆคนไปสู่ความสำเร็จให้จงได้

ยินดีกับทุกๆคนด้วยครับ

เรียน ผอ.เอกค่ะ

ก่อนอื่นขออนุญาตแนะนำตัวก่อนนะคะ อ้อยเป็น นศ.เรียน RRU รุ่นที่ 1 รุ่นเดียวกับอ.เมย์ค่ะ และได้รับทราบเรื่อง blog นี้จากอ.เมย์ค่ะ จึงขออนุญาตกราบสวัสดีและแนะนำตัวในโอกาสนี้เลยนะคะ เนื่องจากอ้อยไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุม หารือกับท่านอื่นๆ เท่าใดนักค่ะ เพราะไม่ได้อยู่ในเมืองไทยในช่วงปีที่ผ่านมาค่ะ จึงพลาดโอกาสการประชุมอันน่ารักๆ ไปหลายหน แต่ อ.เมย์ก็ส่งข่าวแบบย่อๆ มาให้รับทราบเป็นระยะๆ ค่ะ

ในโอกาสนี้ หากอ้อยสามารถช่วยเหลือ หรือร่วมมือทำงานได้ในทางใดทางหนึ่งก็ยินดีนะคะ สะดวกที่สุด คือ ติดต่อทางอีเมลล์ค่ะ แต่คิดว่าน้องๆ ในรุ่นที่ 2 ทุกคนได้พบกันบ้างแล้วเมื่อครั้งที่เปิดการเรียนรุ่นที่ 2 เมื่อ ตค.ปีที่แล้ว หวังว่าคงสบายดีกันทุกคนนะคะ

วันนี้ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเท่านี้ก่อนนะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ /อ้อยค่ะ

ไม่มีรูป อ้อยครับ ขอบคุณที่เข้ามาร่วมเวทีนี้
อ้อยคงจะได้ช่วยแนะนำสิ่งที่ได้จากประสบการณ์สิ่งที่ผ่านมา  แม้อ้อยจะไม่ได้มาประชุม  แต่เข้ามาร่วมในบล็อก  อ.ก็ยินดีมากเลย 
เสียดายที่เปิดเวทีนี้ช้าไป  blog นี้คงจะช่วยแต่งเติมกันในหลายๆด้าน
อ้อยสามารถช่วยเหลือ บางท่านได้  โดยเฉพาะรุ่นที่ 2   

 

 

ขอบพระคุณมากค่ะ อ.ที่กรุณาตอบอย่างรวดเร็ว ยินดีค่ะ หากน้องๆ จะสอบถามอะไร สารภาพว่าเกิดมาก็เพิ่งมานั่งเขียนอะไรใน blog นี่แหละค่ะ ฮ่าๆๆ ส่งไปครั้งแรกไม่ปรากฏข้อความของตนเองต้องถามเมย์ไปใหม่ค่ะว่าทำอย่างไร เพราะเป็นพวกโลว์เทคฯ มากค่ะ สู้พระเล่น Hi5 ไม่ได้เลยนะคะเนี่ย

ถือว่าทุกๆ คนช่วยกันหาทางทำงานร่วมกันก็แล้วกันนะคะ เวทีนี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้วค่ะ ไม่มีอะไรช้าไปค่ะ เพียงแต่เราค่อยๆ ไปกันค่ะ /อ้อยค่ะ

สวัสดีครับ ลุงเอก พี่เมย์ พี่อ้อย และชาว MACAM ทุกท่าน

ผมกมเลศ โพธิกนิษฐ หรือ อ๊อฟครับ ผมเป็น นศ.เรียน RRU รุ่นที่ 2 ขอบพระคุณลุงเอกมากครับสำหรับ blog นี้ครับผม ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างพี่น้องและพ้องเพื่อนRRU และผู้สนใจอื่นๆที่จะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

สวัสดีครับพี่เมย์ พี่เมย์ครับ ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะขอรับตัวอย่างการบ้านของ CAM530 (ภาค Hilary)โดยผมได้แปะอีเมล์มาพร้อมนี้แล้วครับ [email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ถ้า blog ของพี่เมย์

เสร็จแล้ว อย่าลืมเอามาแปะให้เยี่ยมชมนะครับ จะคอยติดตามผลงานครับผม)

สวัสดีครับพี่อ้อย พี่อ้อยสบายดีนะครับ ดีใจที่มีพี่อ้อยและพี่ๆ RRU รุ่นที่ 1 เข้ามาช่วยเหลือและแนะนำหลักและแนวทางการยังชีพใน RRU;MACAM ครับผม

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพด้วยครับ

อ๊อฟครับผม

สวัสดีค่ะอาจารย์เอกชัย พี่ๆเพื่อนๆและน้อง RRU

ก่อนอื่นขอขอบพระคุณอาจารยเอกมากนะคะ ที่กรุณาช่วยสร้างบลอกนี้ขึ้นมาให้นักศึกษาไทย RRU ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ขอบคุณเมย์มากค่ะ ที่กรุณาช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มาก

ต้องขอบคุณพี่ชัญญาและพี่น้อง (อ.พิกุล) ด้วยค่ะที่กรุณาเดินทางมาำไกล เพื่อมาร่วมประชุม ให้กำลังใจ ใ้ห้ความรู้และคำแนะนำกับรุ่นน้องในวันนั้น ขอบคุณมากๆค่ะ

การประชุมเมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา ทำให้พวกเรารู้สึกว่าต้องตื่นตัวและขยันมากขึ้นอีกหลายเท่า + อดทนสู้ต่อเพื่อให้ผ่านด่าน RRU มหาหินนี้ไปให้จงได้ (ตามที่พี่ชัญญาแนะนำ) :)

อันที่จริง จะว่าไปแล้วที่พวกรุ่นสองยังคงเหลือรอดชีวิตผ่านมาได้จนวันนี้ ส่วนหนึ่ง ี้ก็เพราะได้รับคำแนะนำดีๆมากมายจาก พี่ชัญญา พี่อ้อย พี่เล็ก เมื่อตอน Residency 1 นั่นเองค่ะ เพราะพอฟังประสบการณ์ของรุ่นพี่แล้วก็เลยทำให้รู้สึกตัวว่า จะประมาทไม่ไ้ด้เลยแม้จะเป็นหลักสูตร on-line ก็ตามค่ะ

พี่อ้อยคะ ดีใจมากค่ะที่ได้เจอพี่อ้อย (สุดสวยและใจดี) ในบลอกนี้ น้องๆยังคิดถึงพี่อ้อยเสมอนะคะ ตอนนี้พี่อ้อยคงยังอยู่ที่ดูไบใช่ไหมคะ ดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

เมย์คะ พี่เป็นอีกคนที่ยินดีอย่างยิ่งที่จะขอรับตัวอย่าง CAM530 version Hilary จากเมย์ด้วยเหมือนกันค่ะ ถ้าจะกรุณาขอให้ช่วยส่งมาได้ที่อีเมล [email protected] เพราะตอนนี้สถานการณ์น่าเป็นห่วงมาก หลายๆคนเริ่มปาดเหงื่อกันใหญ่แล้ัวค่ะ เพราะว่าวิชานี้ไม่ง่ายเลย นักเรียนไทยรุ่น 2 กำลังงงๆกันใหญ่ว่า SSM มันคืออะไรกันแน่ ต้องยอมรับว่าอาจารย์ Hilary เ่ก่งมากๆ แต่ก็หินมากด้วยค่ะ(ให้คะแนนน่าหวาดเสียวมาก ว่าจะผ่านกันหรือไม่) คือได้เรียนรู้เยอะมากแต่ก็กดดันกันไม่น้อย ถึงอย่างไรก็คงต้องสู้กันต่อไปค่ะ ตอนนี้รุ่น 2 กำลังเตรียมผนึกกำลังกันเพื่อรับมือวิชานี้กันใหญ่เลยค่ะ

ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งสำหรับความช่วยเหลือและน้ำใจไมตรีที่ได้มอบให้นะคะ

เปิ้ล RRU รุ่น 2

ดีใจที่ทุกๆคนใน RRU เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

สวัสดีค่ะ อ.เอก น้องอ๊อฟ น้องเปิ้ล และอีกหลายๆ น้องคงจะตามมานะคะ

1.ดีใจค่ะที่ยังไม่ลืมกัน พี่ยังประจำการอยู่ดูไบค่ะ แต่ก็ไปๆ มาๆ เพื่อเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ค่ะ ซึ่งเดี๋ยวน้องๆ ก็คงจะได้เริ่มทำกันแล้ว และต้องเป็น action research เท่านั้น ตามที่แคนาดาบังคับไว้ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยมาก พี่จึงเดินทางไปๆ มาๆ ค่ะ แต่ก็อยู่ได้ทีละไม่นาน เลยไม่เสร็จซักที เรียนรอน้องๆ อ่ะนะ พี่จึงไม่มีโอกาสได้พบใครมากนัก นอกจาก อ.ชัญญา และเมย์เพื่อเมาท์และรับประทานอาหารกันค่ะ

2. คุณน้องเปิ้ลขา ชมถูกใจเดี๋ยวกลับไปงวดนี้ เลี้ยงข้าวฟรีมื้อนึงโทษฐานชมว่าสวยซึ่งไม่ค่อยมีใครชมอ่ะนะคะ ฮ่าๆๆ

3. ส่วนเรื่อง SSM ไม่ต้องตกใจค่ะ มันอาจแลดูเข้าใจยาก แต่คิดว่าไม่เกินความพยายามค่ะ เพราะพี่ก็นั่งเทียนพรรษาเดานานพอควรกว่าจะเข้าใจได้และเข้าใจว่าคนสอนก็เปลี่ยนคนด้วยนะคะ พี่คงอธิบายตามสิ่งที่พี่เข้าใจสั้นๆ ได้ ดังนี้ค่ะ

SSM คือ ระบบการคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ในองค์กร เพื่อเราจะได้วิเคราะห์ปัญหาถูก และที่สุดจะนำไปสู่การหาทางแก้ไข เพื่อทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น มันจึงมีขั้นตอนในการบอกให้เราคิดว่า ขั้นแรกให้ดูอะไร ต่อไปทำอะไรจนครบขั้นตอนที่ 7 (take action to improve situation) และในนั้นก็จะมีการอธิบายวิธีการจำลองเหตุการณ์ออกมาเป็นภาพ เช่น rich picture ซึ่งพี่เครียดไปหลายวันในตอนที่ทำการบ้านส่ง เพราะว่าเป็นพวก โลว์เทคฯ และต้องนั่งวาดรูปโดยคอมพิวเตอร์ ส่ง อ.เรียกว่ากว่าจะปั้นได้รูปนึงก็เหงื่อแตก แต่พอทำเสร็จ แหม ภูมิใจ เออ ก็ทำได้อ่ะ ฮ่าๆๆ

และหากเราย้อนกลับไปอ่านจุดเริ่มต้นของการนำ SSM มาใช้วิเคราะห์ระบบ จะพบว่าเป็นระบบที่คิดขึ้น เพื่อใช้ในภาคการบริหารองค์กรค่อนข้างมาก (Org. management)และเน้นเรื่องการมองไปที่ perception, interests ของคนที่เกี่ยวข้อง พูดง่ายๆ มองไปที่ human being มากขึ้น คนที่คิดขึ้นจึงเรียก ระบบนี้ว่า soft system ในขณะที่การจัดการองค์กรในอดีตมักมองที่ระบบกลไกการผลิต hard system (อันนี้ พี่อธิบายจากสิ่งที่พอจำได้นะ หากใครคิดว่าพี่อธิบายเพี้ยนไป แก้ไขได้นะคะ)พี่ว่าคนที่เรียน management น่าจะอธิบายได้ดีกว่าพี่นะ

ต่อมา พี่จึงมาผูกโยงเอาเองว่า เค้าสอนเราทำไม ซึ่งพี่ก็พอเดาคำตอบได้ว่า เพื่อให้เรานำไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ หรือวิเคราะห์ความขัดแย้งในองค์กร ดังนั้น SSM จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราหยิบมาใช้ได้ในการวิเคราะห์ คล้ายๆ กับวิชาที่สอนให้เราคิดแบบ system thinking น่ะ คิดอะไรให้ครบวงรอบ มองอะไรรอบๆ หา leverage point ให้ได้ เพราะชื่อสาขาที่เราเรียน คือ conflict analysis and management การวิเคราะห์จึงสำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่บอกว่า ใครคือ ผู้มีส่วนได้เสีย แต่ภายใต้คนที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ยังมีปมอะไรที่ซ่อนอยู่ พี่สังเกตเอาจากเท่าที่เรียนมา เค้าพยายามสอนให้เราคิดแบบเชิงลึก และมองทั้งระบบ ไม่ควรมองอะไรแบบผิวๆ หลักการเดียวกับเรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งอ่ะ

มิฉะนั้น เราจะบริหารจัดการอะไร หรือแก้ปัญหาอะไรแบบ "ลิงแก้แห" (หวังว่าพี่คงใช้สุภาษิตถูกเนอะ) หมายถึง แก้ไขอันนึงไปสร้างปัญหาอีกอัน หรือกระทบระบบพาลพังไปทั่วน่ะ

หากใครมีความเห็นเพิ่มเติมหรือบอกว่าพี่เข้าใจผิด บอกมาได้เลยนะ ไม่โกรธเลยจ๊ะ เพราะรอการแลกเปลี่ยนความรู้เช่นกันค่ะ เพราะการเรียน ออนไำลน์สำหรับพี่ พี่ว่าบางครั้งมันเหมือนคิดเองจนเริ่มไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกับที่เค้าต้องการสื่อหรือไม่ จนบางครั้งถามเมย์ไปบ่อยๆ ก็เลยพาเมย์งงตามไปด้วยก็หลายหน ฮ่าๆๆ

วันนี้ตอบยาวหน่อยนะคะ เพราะเข้าใจมากๆ ค่ะ ความรู้สึกตอนเรียนเป็นอย่างไร ขอให้กำลังใจทุกคนค่ะ สู้ๆ ไม่มีอะไรยากเกินความพยายามค่ะ เชื่อว่าทุกคนทำได้ แล้วคุยกันใหม่นะคะ

ขอบคุณ อ.เอกผู้สร้าง blog อีกครั้งค่ะ /พี่อ้อยจ้า

สวัสดีครับอาจารย์เอกชัย และสมาชิก RRU ทุกท่าน

ขอขอบพระคุณอาจารย์เอกมากนะครับที่ปิดโอกาสให้พวกเราชาว RRU ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความประสบการณ์และช่วยเหลือกันผ่านทาง blog ที่ทรงคุณค่าแห่งนี้ ผมถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ระหว่างกัน เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่ดีต่อไป

ในโอกาสนี้ก็ขอขอบคุณรุ่นพี่ RRU 1 ที่ได้ให้คำแนะนำสำหรับการเรียนและการดำรงชีพในแคนาดา และขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับรุ่นพี่ของเราที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 1 ท่าน ซึ่งนับว่าเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พวกเรามีความพยายามในการตั้งใจศึกษาต่อไป (ถึงคะแนน2วิชาล่าสุดจะไม่ค่อยดี ถ้าพี่ๆ มีคำแนะนำหรือแนวทางก็ช่วยโพสผ่านทาง blog นี้ได้นะครับ)

พูดถึงเรื่องเรียนตอนนี้ 530 รู้สึกว่าจะออกฤทธิ์แล้วครับ(มึน ๆแต่ไม่เคลิ้ม)ไม่รู้ว่าจะคงสภาพการออกฤทธิ์อีกนานเท่าไหร่ โดยเฉพาะ SSM ดังนั้นหากใครมีข้อแนะนำดี ๆ ก็อย่าลังเลที่จะชี้แจงให้เข้าใจด้วยนะครับ(ได้อ่านคำแนะนำจากพี่อ้อยบอกว่าเกี่ยวกับ Human Being เลยทึกทักเอาเองว่าน่าจะเข้าทางจิตวิทยาที่ตัวเองถนัด แต่อย่างไรก็คงต้องขอคำแนะนำเพิ่มเติมอีกมาก ๆ ด้วยครับ)

ครับวันนี้ก็ถือว่ามาทักทายกันก่อน ถ้ามีอะไรที่น่าสนใจจะแจ้งหรือขอความชี้แนะ ผมสัญญาว่าจะกลับมาบอกกล่าวให้ทราบทันทีครับ

ขอขอบคุณและยินดีที่ได้เป็นสมาชิกครับ

โซล่า

สวัสดีค่ะโซล่า

1. เรื่อง SSM ค่อยๆ อ่านค่ะ ไล่ตามไปทีละ step ว่าในแต่ละขั้นนั้น เราต้องทำอะไรบ้าง เค้าจะบอกว่าขั้นนี้เราต้องมองอะไร วัตถุประสงค์มันคืออะไร จับเนื้อหาตรงนี้ให้ได้ก่อน

2. วิธีทำงานของพี่คือ หากเอกสารที่ อ.ให้มา อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ซึ่งตอนนั้นพี่อ่านสิ่งที่เค้าให้มาไม่เข้าใจ และไม่เข้าใจว่าจะให้พี่ทำอะไร ถาม อ.ไปแล้วก็ยังงงเรื่องการบ้่านสุดๆ

ในที่สุดพี่จึงหาอ่านเองจากเน็ต ดูเปรียบเทียบเคสที่คนอื่นเคยทำ แต่สิ่งที่คนอื่นทำมักไม่ใช่เรื่องความขัดแย้ง เช่น พี่เคยอ่านเจอเรื่องหมอใช้เครื่องมือ SSM มาวิเคราะห์หาความเหมาะสมว่าจะเพิ่มตัวช่วยอะไรหรือเครื่องมืออะไรสักอย่างในทางการแพทย์ พี่ก็เอามานั่งเทียบกันทีละขั้น จนพอจะเข้าใจ จากนั้น เราก็เอาเคสตัวเองมาเทียบเคียงแล้วเขียนออกมาเป็นการบ้านค่ะ แต่พี่คิดว่าการเรียนวิชานี้ในรุ่นนี้ ชิ้นงานคงต่างกันแล้ว ลองดูนะคะ อันนี้เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการขยายความรู้เรา พูดง่ายๆ คือ เครื่องมือเดียวกัน แต่คนเอามาใช้ในเรื่องต่างบริบทกัน

ส่วนอ่านจากเว็ปไหนบ้าง ก็ตอบไมไ่ด้แล้วค่ะ เพราะนานมาก และตอนนั้นอยู่ระหว่างการตะลุยทำการบ้านคงค้างแบบหน้ามืดตาลายอยู่จ๊ะ

โชคดีค่ะ /พี่อ้อย

สวัสดีค่ะ อ.เอกชัย พี่ๆ รุ่น 1 และเพื่อนๆรุ่น 2 ค่ะ

ขอบพระคุณอ.เอกชัยที่ช่วยสร้างโอกาสให้เราได้สื่อสารกันค่ะ

เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมาไม่ได้เข้าร่วมประชุม หวังว่าคงจะมีโอกาสต่อไปให้แก้ตัวนะคะ

ขอบคุณพี่อ้อยมากค่ะที่ช่วยอธิบายคอนเซ็ปต์ให้ ทำให้ชัดเจนขึ้นมากเลยทีเดียว ตุ่นเองเท่าที่อ่านจากเอกสารการเรียน รู้สึกงงมาก เพราะไม่รู้ว่าทำไมต้องเรียน SSM แล้ว SSM จะเอาไปทำอะไร เป้าหมายของผลลัพธ์จาก SSM จะตอบอะไร

และด้วยหนังสือที่เค้าให้มาก็ดูเหมือนต้องการจะให้ balance ทางความคิดระหว่างการคิดภายใต้ระบบกับการคิดค้นนอกเหนือจากระบบตามโครงสร้างเดิมๆ ไม่ทราบพี่ๆ รุ่น 1 ได้หนังสือประกอบการเรียนอย่าง cracking creativity และ system thinking ไม๊คะ แต่พอทำ assignment กลับเน้นน้ำหนักเฉพาะ SSM ตอนนี้เลยมีอาการการเรียนแบบไม่เข้าใจ แต่ทำๆ ไปตามคำสั่งจับจุดใดจุดนึงมากเอาตัวรอด ส่วนภาพรวมตอบไม่ได้

ตุ่นอยากจะขอแลกเปลี่ยนความเห็นและขอคำแนะนำทั้งจากพี่ๆ และเพื่อนๆ ค่ะ ว่า SSM เมื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิง social management แล้วควรจะมีtools ตัวอื่นๆ มาเสริมช่วยอีกหรือไม่ แล้ว ssm นอกเหนือบทเรียนก็ได้ เพราะตอนนี้ปัญหาอีกอย่างนึง คือเมื่อพยายามนำมา apply กับเคสในสถานการณ์จริงๆซึ่งอยู่ภายใต้ตัวแปรที่มองไม่เห็นอีกเยอะแยะมากมาย ไม่เหมือนกับการจัดการภายในองค์กรแล้ว..งงมากค่ะ

รบกวนขอคำชี้แนะด้วยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

ตุ่น

ปล. พี่เมย์ รบกวนพี่เมย์ช่วยส่งให้ตุ่นได้ไม๊คะ ที่ [email protected] ขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะตุ่น

1. เรื่องหนังสือทั้งสองเล่ม รุ่นที่ 1ก็ได้รับเช่นกันค่ะ

พี่สรุปสั้นๆ ดังนี้ค่ะ

ทั้งสองเล่ม มีเป้าหมาย คือ สอนวิธีการคิดค่ะ

... เล่ม cracking..จะอธิบายว่าการคิดอย่างสร้างสรรค์ทำอย่างไร มียุทธวิธี หรือเทคนิคอย่างไร มองเรื่องต่าง ๆในมุมต่างๆ แบบต่างๆ เช่น มีการอธิบายวิธีการจัดกลุ่มความคิดแบบใช้ mind map เป็นต้น

.. ส่วนเล่ม system .. ก็อธิบายวิธีคิดแบบเชิงระบบ โดยยกตัวอย่างระบบต่างๆ loop แต่ละอัน ซึ่งหากเราสังเกตจากชีวิตประจำวันจะพบว่าจริงๆ คนเรามีกระบวนการคิดแบบนี้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้มานั่งแยกแยะว่า เรื่องนี้ เป็นระบบแบบเสริมแรง ตาม loop ไหน เช่น ในหนังสือยกตัวอย่างเรื่อง ร่างกายหิวน้ำ หรือการฝากเงินประจำในธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ย เป็นต้น

2. สองเล่มนี้ มาโยงกับ SSM อย่างไร พี่คิดว่า ภายใต้การวิเคราะห์เคสต่างๆ ตามแนวทาง SSM เราคงต้องอาศัยทักษะการคิดในหลายๆ วิธีการนั่นเองค่ะ จริงๆ คนเรามีทักษะการคิดตั้งแต่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สารพัดอยู่แล้ว พี่เลยเหมาเอารวมๆ ว่า มันช่วยเรา empower the way of thinking ค่ะ

ทั้งนี้ พีไ่ด้ copy ข้อความบางอันที่อาจช่วยเสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ ตามข้างล่างนี้ลองอ่านดูนะคะ

Systems and the application of systems thinking has been grouped into three categories based on the techniques used to tackle a system:

Hard systems — involving simulations, often using computers and the techniques of operations research. Useful for problems that can justifiably be quantified. However it cannot easily take into account unquantifiable variables (opinions, culture, politics, etc), and may treat people as being passive, rather than having complex motivations.

• Soft systems — For systems that cannot easily be quantified, especially those involving people holding multiple and conflicting frames of reference. Useful for understanding motivations, viewpoints, and interactions and addressing qualitative as well as quantitative dimensions of problem situations. Soft systems are a field that utilizes foundation methodological work developed by Peter Checkland, Brian Wilson and their colleagues at Lancaster University. Morphological analysis is a complementary method for structuring and analysing non-quantifiable problem complexes.

* Evolutionary systems — Bela H. Banathy developed a methodology that is applicable to the design of complex social systems. This technique integrates critical systems inquiry with soft systems methodologies. Evolutionary systems, similar to dynamic systems are understood as open, complex systems, but with the capacity to evolve over time. Banathy uniquely integrated the interdisciplinary perspectives of systems research (including chaos, complexity, cybernetics), cultural anthropology, evolutionary theory, and others.

พี่อ้อยค่ะ

ชัดเจนมากทีเดียว ขอบคุณพี่อ้อยเป็นอย่างสูงเลยค่ะ

ถ้ามีคำถามอาจจะรบกวนพี่ๆ และเพื่อนๆ อีกนะคะ

ตุ่น

ดีมากเลยครับ เราช่วยแก้ปมที่สงสัย  ที่ติดขัดให้ขยายกลายเป็นความคิด  บางทีนั่งคิดคนเดียวมันตีบตัน  ช่วยกันนะครับ  ลดความทุกข์  แบ่งปันความสุขครับ

ด้วยความยินดีค่ะตุ่น ช่วยๆ กันค่ะ ค่อยๆ ทำไปค่ะ

พี่อ้อยค่ะ

สวัสดีจ้า

1. ขอโทษที่ตอบช้านะจ้ะ เพิ่งกลับจากนิเทศนิสิตมาค่ะ

2. พี่ upload การบ้านไว้ที่ link ข้างล้างนี้แล้วนะคะ

http://www.2shared.com/file/3291572/45e0b4a5/group_6_graded_assignment_1.html

http://www.2shared.com/file/3291573/32e78433/jsomyanontanakul_graded2.html

http://www.2shared.com/file/3291574/ac831190/May_graded_3.html

3. มีทั้งหมด 3 การบ้านนะคะ

4. การบ้านที่สองเป็นการบ้านที่ไม่ผ่านนะคะ ส่วนการบ้านที่สามเป็น version ที่แก้แล้ว

5. เอาที่ไม่ผ่านมาให้ดูเพราะจะได้ไม่ซ้ำรอยเดิมจ้า

สู้ๆ น้า

เมย์

ปล. เข้าใจว่าหนังสือที่ Hilary ให้อ่านจะมีอยู่เล่มหนึ่งที่ไม่เหมือนกับที่รุ่นหนึ่งอ่าน ถ้าจำไม่ผิดเล่มนั้นจะออกแนวเล่าเรื่องมากกว่า ส่วนมากพี่จะอ่าน Reading ที่เขาให้อ่านทางอินเตอร์เนตมากกว่า (เล่มที่พี่อ้อยพูดถึงหรือเล่มที่ รุ่นหนึ่งเรียนชือ The art of systems thinking โดย Joseph O'connor and Ian Mcdermott (1997) มีแปลเป็นภาษาไทยแล้วค่ะ)

อ้อใช่จ้ะ มีหนังสือภาษาไทยเล่มหนึ่งจะแนะนำจ้า เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ System Thinking: วิธีการคิดกระบวนการ โดย ปิยะนาถ ประยูร (2548) (ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ บก.)ถ้าสนใจลองถามไปที่ศูนย์หนังสือจุฬาดูนะคะ แม้ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่เหมือนที่ hilary สอนแต่ว่าก็น่าจะให้ภาพรวมได้บ้างจ้า

ตุ่นคะ

พี่อยากแลกเปลี่ยนความคิดค่ะ

ข้อที่1 ด้วยหนังสือที่เค้าให้มาก็ดูเหมือนต้องการจะให้ balance ทางความคิดระหว่างการคิดภายใต้ระบบกับการคิดค้นนอกเหนือจากระบบตามโครงสร้างเดิมๆ ไม่ทราบพี่ๆ รุ่น 1 ได้หนังสือประกอบการเรียนอย่าง cracking creativity และ system thinking ไม๊คะ แต่พอทำ assignment กลับเน้นน้ำหนักเฉพาะ SSM ตอนนี้เลยมีอาการการเรียนแบบไม่เข้าใจ แต่ทำๆ ไปตามคำสั่งจับจุดใดจุดนึงมากเอาตัวรอด ส่วนภาพรวมตอบไม่ได้

เข้าใจว่าทาง RRU ต้องการให้เน้น SSM ค่ะ เพราะว่าเป็นวิธีการคิดเชิงปฏิบัติที่มีระบบขั้นตอนชัดเจน และเหมาะกับทางสังคมศาสตร์ที่ต้องมีการพิจารณาประเด็นทางด้าน culture ด้วยค่ะ ดังนั้น การบ้านจึงต้องเน้นไปทางการที่เราต้องแสดงให้เห็นว่า มีความเข้าใจในเรื่องนี้จริงๆ ส่วนหนังสือที่ให้อ่านนั้นเมย์เข้าใจว่า เล่มหนึ่งจะเป็นการอธิบายเรื่อง systems thinking ส่วนอีกเล่มจะเป็นคล้ายๆ กับการสอนเราให้คิดน่ะคะ

ข้อที่ 2 SSM เมื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิง social management แล้วควรจะมีtools ตัวอื่นๆ มาเสริมช่วยอีกหรือไม่ แล้ว ssm นอกเหนือบทเรียนก็ได้ เพราะตอนนี้ปัญหาอีกอย่างนึง คือเมื่อพยายามนำมา apply กับเคสในสถานการณ์จริงๆซึ่งอยู่ภายใต้ตัวแปรที่มองไม่เห็นอีกเยอะแยะมากมาย ไม่เหมือนกับการจัดการภายในองค์กรแล้ว

เห็นด้วยค้า เมย์คิดว่า SSM เป็นการพยายามทำให้เรามองภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภาพรวมที่ปรากฏอยู่ใน SSM มันก็คือ ภาพที่เราได้ "ตัด" ปัจจัยอื่นๆ ไปมากมายแล้ว เพราะ "กระดาษมันมีจำกัดค่ะ" (ฮาๆๆ) เมย์รู้สึกว่า SSM เป็นความพยายามที่จะทำให้เรื่องราวที่ดูสับสน ซับซ้อน เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แต่ไม่ได้บอกว่าเราจะสามารถ "จัดการ" ความขัดแย้งได้อย่างไร หมายความว่า ตามความเข้าใจของเมย์แล้ว SSM เป็นการให้ระเบียบของความสลับซับซ้อนค่ะ และพยายามป้องกันไม่ให้เรามัวเมากับอคติของเรามากนัก รวมทั้งพยายามทำให้เราไม่ไปตัดสินกับสิ่งที่เรามองเห็นจนกว่าเราจะสามารถวิเคราะห์และเข้าใจสิ่งนั้นๆ ส่วนเราจะทำอย่างไรกับความซับซ้อนอันนั้นก็ขึ้นอยู่กับ "จริต" และ สิ่งที่เราพยายามดัดจริตของเราเองค้า

คิดเช่นนี้แลค่ะ

เมย์

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงเอกจ๋า

โห!! อ่านแล้วววววว แต่ละท่าน วิชาการล้วนๆๆๆๆๆๆ อิอิ คิดถึงงงงงงงงง รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---->น้องจิ ^_^

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ขอบคุณพี่อ้อยและเมย์มากค่ะที่ช่วยอธิบาย+ไขปัญหาเรื่อง SSM ให้อย่างดียิ่ง ทำให้หายงงไปได้เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณเมย์มากนะคะที่กรุณาไปโพสต์การบ้านไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง ช่วยได้มากเลยค่ะ เพราะเมย์เขียนได้ละเอียดมาก มีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบดีจริงๆค่ะ

ตอนนี้นักเรียนรุ่น 2 กำลังเรียนมาถึงขั้นการสร้าง Conceptual Model ค่ะ ก็กำลังงมๆกันอยู่ว่าจะสร้างอย่างไร ได้ดูตัวอย่างเิพิ่มเติมจากเมย์ก็ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นเยอะเลยค่ะ

บลอกนี้มีประโยชน์มากจริงๆ ขอบคุณ อ.เอกชัยอีกครั้งนะคะที่เปิดบลอกให้ ขอบคุณพี่ๆและน้องๆทุกคนที่ช่วยกันเข้ามาโพสต์คำถาม-คำตอบกันอย่างเต็มที่

เปิ้ลค่ะ

พี่ๆ น้องๆ คะ

มีข่าวแจ้งว่า พรุ่งนี้ 17 พค. เป็นวันเกิดของเมย์นะคะ พี่อ้อยขออวยพรเป็นคนแรกเลยละกันค่ะ

As you make all your Birthday wishes....

... I wish they all come true...

" Happy Birthday" on this 17 May 2008

From P'Aoy ja.

ขอให้มีความสุขสุดๆ ไปเลยค่ะ

Happy Birthday ย้อนหลังค่ะพี่เมย์..

ขอบคุณพี่เมย์ด้วยที่ช่วยเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับ SSM และ System Thinking

ขอให้บุญกุศลครั้งนี้จงบันดาลให้พี่เมย์สวยขึ้นๆๆๆๆๆ รวยๆๆๆๆๆ มีความสุขๆๆๆๆๆ นะคะ

ตุ่น

พี่ว่าเราหารือเรื่องวิชาการหนักหน่วงจริงๆ ค่ะ ลองอ่านบทความเรื่องอาหารที่ช่วยปรับอารมณ์ดีกว่าค่ะ ท่าทางแต่ละคนจะใช้พลังสมองมากกันอยู่ คิดการบ้านไม่ออก ทานกล้วยก่อนเลยค่ะ แล้วทุกอย่างจะกล้วยๆ ฮ่าๆๆ

งานวิจัยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พบว่า กรดโอเมก้า 3 ในปลาทะเลน้ำลึก ทำหน้าที่เสมือนยาแก้อาการซึมเศร้า ช่วยให้ประสาทสงบและเพิ่มการหลั่งของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น สำหรับปลาทะเลน้ำลึก ได้แก่ แซลมอน เฮอร์ริ่ง แม็กเคอเรล ทูน่า ฯลฯ

"กล้วย" ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหลายคนรู้สึกดีขึ้นเมื่อกินกล้วย เพราะกล้วยมีส่วนประกอบทริปโตฟาน (Tryptophan) โปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายจะเปลี่ยนให้เป็น เซโรโทนิน นอกจากนี้ กล้วยยังมีส่วนประกอบของวิตามินบี 6 ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ซึ่งมีผลไปถึงอารมณ์ ผู้หญิงที่มีอาการ PMS (Premenstrual Syndrome) หรือช่วงอารมณ์ไม่ดีก่อนมีประจำเดือนควรกินกล้วยจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

"องุ่น" อุดมด้วยวิตามินซี ช่วยปรับปรุงระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย ช่วยให้ความหนาแน่นของเซลล์เม็ดเลือดแดงคงที่ กินแล้วช่วยคลายเครียดยิ่งไปกว่านั้นวิตามินซียังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างโดปามีน (dopamine) และอะดรีนาลิน (adrenalin) ซึ่งสารเคมีทั้งสองตัวช่วยในการกระตุ้นความกระฉับกระเฉงตื่นตัว

ขนมปัง ขนมปังและข้าวทุกชนิด คือแหล่งคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งช่วยให้เกิดความสงบ งานวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์ สหรัฐ อเมริกา แนะนำให้กินขนมปังเพื่อต่อต้านอาการซึมเศร้า

ผักโขม อุดมด้วยกรดโฟลิก (Folic acid) กรดดังกล่าวช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยให้เซลล์ใหม่แข็งแรงสมบูรณ์ สำคัญมากต่อหญิงตั้งครรภ์ ที่สำคัญการขาดโฟลิกนำไปสู่การลดการหลั่งของฮอร์โมนเซโรโทนินโดยตรงซึ่งก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า

เชอร์รี่ แพทย์ตะวันตกเรียกเชอร์รี่ว่าเป็น "แอสไพรินธรรมชาติ" เนื่องจากผลไม้ชนิดนี้มีสารที่ชื่อว่า แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีในเชอร์รี่ ทำให้เชอร์รี่มีสีสันสวยสดใส แต่สรรพคุณสำคัญ คือ ทำให้คนกินมีความสุข งานวิจัยมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ชี้ว่า การกินเชอร์รี่ 20 ผล ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้มากกว่าการกินยาเสียอีก

กระเทียม อุดมด้วยสารเซเลเนียม (Selenium) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น คนเราควรได้รับเซเลเนียมอย่างน้อยวันละ 50 ไมโครกรัม แต่เซเลเนียมในกระเทียมนั้นปริมาณไม่แน่นอน กระเทียมหนัก 1 ขีด อาจมีเซเลเนียมตั้งแต่ 3-25 ไมโครกรัม นักวิจัยเยอรมันแนะว่า การกินกระเทียมวันละ 2 กลีบน่าจะเหมาะสม นอกจากนี้ กระเทียมยังมีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันในเลือดและรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วย.

มากราบสวัสดีประจำวันเจ้าค่ะ

ขอบคุณค้า

พี่อ้อยคะ แค่อ่านก็รู้สึกสุขภาพดีแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอสุขสันต์วันเกิดเมย์ย้อนหลังด้วยคนนะคะ มิน่าถึงชื่อเล่นว่า เมย์ เพราะเกิดเดือน May นี่เอง (เรามีเพื่อนชื่อจูน Juneกับ แจน Jan มีที่มาแบบเดียวกันกับเมย์เลยล่ะ อิิๆ)

พี่อ้อยคะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลด้านสุขภาพนะะคะ อ่านแล้วรู้สึกว่าน่ากินจัง หิวเลยค่ะ 555 (ถึงว่าทำไมพี่อ้อยยังสวยปิ๊งอยู่เสมอ เพราะดูแลสุขภาพดีนี่เอง) -- ขอชมอีกรอบ เผื่อพี่อ้อยจะหลวมตัวเลี้ยงข้าวอีกสักสองจาน 555 :)

เปิ้ล

ด้วยความยินดีค่ะ หากมีบทความดีๆ เช่นนี้อีกจะหามาโพสต์ให้อ่านกันอีกนะคะ และขอบน้องเปิ้ลนะคะที่ชมเพื่อหวังข้าวอีกแล้วววววววว แต่พี่ว่าตอนนี้ ศก.ไม่ดี ตัวใครตัวมันก่อนนะคะ ฮ่าๆๆๆ และหากเรายังชื่นชมความสวยงามกันต่อไป พี่คิดว่าจะทำให้คำนิยามของคำว่าสวย! เกิดมาตรฐานเบี่ยงเบนแน่ๆ เลยค่ะ เพราะพี่จัดเข้าข่าย beauty and the beast ค่ะ 55555.

วะมาทักทายก่อนค่ะยินดีที่ได้เข้ามาร่วมแบ่งปันกัน

มีใครเคยโหลด APA style Manual ฉบับเต็มๆ ได้บ้างคะ แบบของฟรี ไม่เสียตังค์นะคะ เปิดเจอลิงค์แต่ดูเหมือนจะต้อง order พี่อาจหาไม่เก่งก็ได้นะคะ แต่ลองสอบถามดูเผื่อมีน้องๆ สามารถโหลดมาได้แล้ว ส่วนที่ rru เอามาสรุปให้ใน APA help guide ก็ช่วยได้ดีค่ะ แต่เค้าสรุปย่อมาอีกที อยากได้ทั้งเล่มค่ะ

ขอบคุณนะคะ พี่อ้อย

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค้า

พี่อ้อยคะ

ลองดูที่ link อันนี้นะคะ

http://apastyle.apa.org/

เมย์ค้า

ขอบคุณมากนะคะเมย์ จะลองดูค่ะ พี่ว่าเว็บนี้พี่ไปหาดูมาแล้วนา แต่เดี๋ยวดูใหม่ค่ะ

เจ้าโชคดีนี่เป็นน้องเหมียวที่หูสวยและขนสวยมากๆ เลยนะเมย์ ท่าทางจะแฟนตรึม เออ แต่พอพี่เห็นแมวของเมย์ทีไร พี่อยากทานปลาทูทู๊กกกกกกกทีเลย เป็นไรไม่รู้ ..เอ ว่าแต่ว่าบล๊อกนี้เค้าห้ามคุยเล่นกันป่าวอ่ะ งั้นไปก่อนดีกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

งั้นลองดูเวปนี้นะคะ

http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/560/01/

หรือ

http://www.calstatela.edu/library/guides/3apa.pdf

พี่อ้อยคะ

โชคดี เป็นแมวไม่มีแฟนและมีไม่ได้คะ เพราะว่าโดนจับทำหมันตั้งแต่แตกเนื้อสาว

เวลาเมย์เห็นแมวตัวเองทีไรจะคิดถึงผักกาดขาวคะ ฮาๆๆๆ

เมย์ค่ะ

ขอบคุณค่ะเมย์ perdue link นี่ ก็ดีค่ะ

โถๆๆๆ โชคดี เลยกลายเป็นน้องเหมียวไฮโซไปซะละ เพราะเท้าไม่ติดดิน แต่ไปติด

คานแทน...โดนห้ามมีแฟนอีกแหนะ ... แต่ไม่เป็นไรจ๊ะ ให้เจ้าโชคดีท่องคาถาสวย

เลือกได้แทน..พวกเราแลดูไร้สาระไปป่าวเนี่ย ท่าทางน้องๆ คนอื่นๆ คงเครียดดดดดด

กันน่าดูเลยเนอะ

ใครยังหายไปให้ช่วยมาแอบดูกันหน่อยครับ  หากดูดีก็มีความคิดเห็นได้ครับ  ช่วยไปตามๆกันมาด้วย

พี่อ้อยแนะนำให้อ่านคะ

เมย์เลยเอามาโพสท์ต่อ

โดยส่วนตัวนั้น เมย์เห็นด้วยกับความคิดของของ อ.เอกชัยค่ะ

http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/185732?page=1

อ้อ...วันศุกร์ที่ 30 พค. - จันทร์ที่ 2 มิย.ที่ผ่านมาเมย์ได้มีโอกาสไปอบรมคอร์ส "คลี่คลายความขัดแย้งด้วยใจกรุณา" ของเสมสิกขามาค่ะ

เดี๋ยวถ้าได้เอกสารสรุปการอบรมเมื่อไรจะ เอามาโพสท์นะคะ

จะมีคอร์ส...จำชื่อไม่ได้...เกี่ยวกับการเป็นคนกลางนี่แหละคะ จัดโดยเสมสิกขาเหมือนกันแต่จะเน้นเรื่องการสื่อสารอย่างสันติคะ จัดประมาณเดือน พย.คะ เอาไว้ใกล้ๆ แล้วจะมาบอกนะคะ

สู้ๆนะคะ

ลืมไปอีกเรื่องคะ

อยากถาม อ.เอกและเพื่อนๆ RRU ค่ะ

ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้าไป "จัดการ" กับความขัดแย้ง คืออะไรคะ

http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/185732?page=1#682186

ลองดูกรณีนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของส่วนลึกของประเด็นปัญหา  และกลุ่มที่เกิดปัญหา

ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการจัดการเพราะระหว่างเข้าไปดำเนินการต้องมองอาการให้ออก  พร้อมที่จะใส่น้ำเย็นให้ไฟสงบ หรือเติมน้ำร้อนให้เกิดจุดประกายความคิด

จุดอ่อนการจัดการมุ่งแต่ยึดกระบวนการ  หรือพยายามทำตามตำรา  ไม่รู้จักสังเกตุอาการ  บางครั้งไปปล่อยให้ไฟลุกแล้วไม่รู้ว่าจะดับอย่างไร  พลาดพลั้งกลายเป็นตัวร่วมสร้างปัญหาฝ่ายที่ 3

แอบมาเปิดดูตามที่ อ.เอกแนะนำค่ะ เพราะห่างไปหลายวัน

ส่วนเรื่องบล๊อคดังกล่าวนั้น พี่บังเอิญคลิกหาอะไรอ่านไปเรื่อยๆ เลยได้อ่าน และลองบอกเมย์ไปน่ะค่ะ

สำหรับหลักสูตรอบรมของเมย์น่าสนใจดีนะคะ จะรออ่านค่ะ แต่พี่ว่า หากจัดอบรมในหัวข้อ "คลี่คลายความขัดแย้งด้วยพรหมวิหาร" เลยน่าจะครบกว่านะคะ ฮ่าๆๆ คนเราแค่ใจกรุณาอย่างเดียวไม่พอค่ะ (อันนี้ เป็นความเชื่อส่วนตัวนะคะ)

หากชอบแนวธรรมะขอแนะนำ หนังสือหนึ่งเล่มที่อ่านแล้วสมชื่อค่ะ คือ คู่มือมนุษย์และธรรมนูญชีวิต (Handbook for Mankind and A Constitution for Living) ของท่านุทธทาส และท่านป.อ.ปยุตโต รวมกัน เล่มปกแข็ง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกันค่ะ

ส่วนคำถามของเมย์นั้น พี่ไม่แน่ใจว่าพี่เข้าใจถูกต้อง หรือไม่นะคะ พี่ขออนุญาตถามเพิ่มเติมก่อนค่ะ

1) คำว่า เข้าไป "จัดการ" ในที่นี้ คือ intervention หรือคะ

2) เมย์ถามว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการเข้าไปจัดการ ตามความเข้าใจของพี่ คำว่าสำคัญที่สุด มักหมายถึง มีอย่างเดียวหรือจุดเดียว หรือเปล่าคะ

อือม์ แต่บางทีพี่กำลังคิดว่า ในการจัดการความขัดแย้ง อาจมีสิ่งสำคัญๆ ที่ต้องมองพร้อมๆ กันหลายอันหรือเปล่าคะ และทุกอันมีความสำคัญไล่เลี่ยกัน จนประกอบเข้าเป็นเนื้อหาเดียวกัน จนถึงจุดที่พร้อมจะถูกเข้าไปจัดการ เอ่อ พี่ว่าขอไปนอนคิดต่อก่อนนะคะ

สำหรับคำแนะนำของ อ.เอก โดยเฉพาะย่อหน้าสุดท้าย คนที่จัดการปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะเชื่อในสมมติฐาน One size fits all ก็เป็นได้นะคะ ซึ่งในความเห็นส่วนตัวนะคะ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการสร้างโมเดล แล้วนำเข้าสู่กระบวนการโคลนนิ่งในทุกๆ ที่หรือเปล่าคะ ที่สุดปัญหาจึงยังอยู่เหมือนเดิม และอาจลุกลามไปกว่าเดิม อย่างที่ อ.ว่าไว้

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ อ.เอกและพี่อ้อยคะ

พี่อ้อยคะ คำถามแรกของพี่เป็นคำถามที่กระตุกใจเมย์เลยคะ มันทำให้คิดว่า เอ...เวลาที่เราพูดถึง การจัดการความขัดแย้งนี่เรากำลังหมายความว่าอะไรกันแน่ ขอบคุณค่ะ

เมย์ยังไม่ตอบคำถามของเมย์นะคะ

รอคนคุยเยอะๆ ก่อน

นั่นน่ะซิคะ หากหนึ่งยังงงอยู่ พี่ก็เลยไปตอบข้อสองต่อไม่ได้อ่ะค่ะ พี่คงเป็นมนุษย์ร้อยแปดคำถามอีกตามเคย

จะรอเฉลยของเมย์ค่ะ

สวัสดีครับ

ไม่ได้เข้ามาซะนานเลยครับเพราะช่วงนี้เพื่อน ๆ คงกำลังวุ่นเรื่องงานที่ต้องส่ง วิชา 530 ครับ ก็อาศัยการ discuss ผ่านทาง โปรแกรม Skype นี่แหล่ะครับ ยิ่งช่วงใกล้ส่งงานเนี่ยยิ่งออนกันบ่อย ก็เป็นการเรียนรู้ที่ดีอย่างนึงแต่อาจจะไม่เข้มข้นเหมือนมานั่งโต๊ะถกประเด้นกันเลยแต่ก็พอได้ไอเดียไปพัฒนางานได้บ้างครับ

ขอบคุณพี่ ๆ ทุกคนที่ให้คำแนะนำเรื่องการเรียนโดยเฉพาะเรื่อง SSM เนี่ย ต้องอาศัยการเรียนรู้จากความคิดในหลาย ๆ มุมมองเลยครับ ลำพังอ่านทำความเข้าใจเองคงท่าจะแย่หน่อย แต่ก็ใกล้จะจบตัวนี้แล้วล่ะครับ อีกแค่ 2 week ก็น่าจะจบจากนั้นก็มานั่งลุ้นเกรดกันอีกที

หวังว่าทุกท่านคงสบายดีนะครับ

จุดอ่อนคนไทยคือไม่ชอบแสดงความคิดเห็นในที่แจ้งจะกล้าๆกลัวๆโดยเฉพาะกลัวผิด

หากไม่ยอมผิดแล้วเมื่อไรจะถูก  การแสดงความคิดเห็นตามภูมิปัญญาเรา  แลกเปลี่ยนกันจะเกิดความคิดต่อยอด 

อีกอย่างลุงเอกสอนมาเจ็ดย่านน้ำทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็กไม่ค่อยถาม  เมื่อไม่ถามก็ไม่พูด  ไม่พูดก็ไม่คิด  ไม่คิดก็ไม่มีคำตอบ

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคนที่กำลังหมกมุ่นต่อการเรียนครับ

สวัสดีค้า

เมย์คิดว่า โดยปกติเวลาพูดถึงการจัดการความขัดแย้งมักจะคิดถึง intervention ค่ะ ซึ่งแต่ก่อนเมย์ก็คิดแบบนั้น ประมาณว่ามีแต่ความปรารถนาดีเต็มดวงใจค่ะ ฮาๆ

แต่ตอนนี้ สิ่งที่เมย์คิด คือ ก่อนที่เราจะเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งของคนอื่น เราน่าจะต้องมีการเสริมสร้างตัวเองให้พร้อมก่อนน่ะคะ

หมายความว่าในความคิดของเมย์นั้น ก่อนที่เราจะเข้าไป intervention กับความขัดแย้ง นอกจากเราจะต้องวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างถี่ถ้วนแล้ว เรายังจะต้องเตรียมใจตัวเองด้วยคะ หมายความว่า ต้องพก "สติ" ติดตัวตลอดเวลาค่ะ

เพราะว่าเมย์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีอีโก้ของตัวเอง ดังนั้น ถ้าเราไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง เมย์คิดว่า เราก็จะ...อืม...ปิดหู ปิดตา ปิดใจของตัวเองได้ง่ายคะ

นอกจากนี้ เมย์ยังคิดว่า การที่คนคนหนึ่งมุ่งมั่นหรือผูกติดกับกระบวนการบางอย่าง มันอาจจะเป็นเครื่องแสดงว่า เขามีอีโก้บางอย่างอยู่น่ะคะ

แหะๆ เมย์คิดแบบนี้น่ะคะ

เมย์

สวัสดีครับ ลุงเอก

ผมเห็นด้วยนะครับลุงเอกว่า ..คนไทยเราไม่ค่อยชอบ และไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ส่วนหนึ่งในภาพลักษณ์ของคนอีสานก็เคยถูกนิยามในทำนอง ..โง่ จน เจ็บ

ขณะที่ผมโตขึ้นก็เริ่มรู้สไตล์ของใครหลาย ๆ คนในทำนองว่า "จักแหล่ว  แล้วแต่หมู่ ...  กูว่าแล้ว .."

ขอบคุณค่ะเมย์ พี่เข้าใจสิ่งที่เมย์ถามแล้วค่ะ แปลว่าสิ่งที่เข้าใจตรงกับเมย์ค่ะ แต่เดี๋ยวพี่จะมาแสดงความเห็นเพิ่มค่ะ จริงๆ เมื่อกี้พิมพ์ไปตั้งเยอะแล้วค่ะ แต่มือไปกดโดนอะไรไม่ทราบ ข้อความหายไปหมด เซ็งเป็ดเลยค่ะ ตอนนี้ขี้เกียจพิมพ์ใหม่แล้วค่ะ อ.เอก อย่าเพิ่งต่อว่านะคะ ความคิดเห็นมีค่ะ แต่ตอนนี้ง่วงจริงๆ กราบสวัสดีก่อนค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะคุณพนัส นึกว่าใคร มิน่าหน้าคุ้นๆ วันหลังจะเข้าไปรบกวนสัมภาษณ์นะคะ ตอนนี้อยู่ดูไบ กลับยังมิได้ค่ะ เรื่องภาพลักษณ์ที่ใครเค้าว่า อย่าไปสนใจรับเอามาเลยค่ะ นานาจิตตังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ข้อความที่ 47 ของอ้อยนะคะ รีบมากค่ะเลยลืมแสดงตน เดี๋ยวจะงงว่าใครคุยกับใคร

อ้อยค่ะ

อันที่จริงการที่ อ.เมย์บอกว่าต้องสร้างตัวเองให้พร้อมก่อนนั้นเห็นด้วยอย่างยิ่ง

อันที่จริงเรื่องนี้ไม่ง่ายหรอกครับที่จะเตรียมใจตัวเอง  หลายๆคนแม้แต่สอนเรื่องความขัดแย้ง  แต่ใจไม่เปิด  ดูได้จากคนใน g2k หลายคนเป็นอาจารย์สอนเรื่องนี้มีให้เห็น

โดยเฉพาะคนที่มีอีโก้มักมาจากการเลี้ยงดู  แถมด้วยตามอาชีพคน  ก็สอนให้อีโก้หนักด้วย

คนนั้นหนีตัวตนไปไม่ได้ไกล  ขาดสมาธิก็สติแตกกลับไปเป็นไอ้บ้าคนเดิม

อันที่จริงต้องเตรียมใจตั้งแต่เริ่มมาเรียนเรื่องความขัดแย้ง  ลุงเอกว่ามันเป็นพื้นฐานเลยแหละ  ถ้าใจไม่เปิดมาเรียนวิชานี้ไร้ประโยชน์  ลุงเอกเห็นบางคนสอนเรื่องความขัดแย้งแต่ทะเลาะและเข้ากับคนอื่นไม่ได้เลย  อย่างนี้ก็ไม่ควรมาเรียน  ไม่ควรมาสอนยิ่งสร้างปัญหาให้สังคมหนักไปอีก  แต่ถ้าบางคนบอกว่าหนูเอาแค่ใบปริญญา  ก็ว่าไป

เมื่อไม่นานมานี้ทางสวนป่าร่วมกับวงน้ำชาของเชียงรายเปิดอบรมเรื่องพรรณอย่างที่เมย์ว่า  บางคนนั่งร้องไห้  เพิ่งเข้าใจใจตนเอง

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/186785

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/185375

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/185378

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/185515

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/186676

http://gotoknow.org/blog/krabihosp/186772

พอจบแล้วแม้ไม่เคยเห็นกันมาก่อนก็เป็นอย่างนี้

อ.เมย์เปิดประเด็นโยนคำถามใหม่อีกน่าสนใจดี  เรื่องอย่างนี้ไม่ต้องไปกลัวผิด  ถ้ากลัวผิดก็สอบไม่ผ่าน  เพราะไม่มีสูตรมาตราฐานในการตอบ  ขึ้นอยู่กับเหตุและผล

วปอ.ออสเตเลียเปิดรุ่น 1และ2คนไทยไปเรียน  สัปดาห์แรกไม่มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น  สัปดาห์ที่ 2 ก็นั่งนิ่งอีก  สัปดาห์ต่อมาเขาส่งกลับเมืองไทยเลยไร้ประโยชน์สำหรับเขาครับ

สุดท้ายมาจบที่ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการความขัดแย้ง  ที่ไม่ควรใช้ตำราหรือสูตรมาตราฐานอันเดียวครับ  ลุงเอกกำลังเขียนบล็อดเรื่องนี้ที่จริงเขียนมานานแล้วแต่กลับไปดูไม่ค่อยเรียบร้อยเลยมาเรียบเรียงใหม่ครับ

สวัสดีคะ

เมย์ชอบบล็อกที่อ.เอกโพสท์มากเลยคะ ขอบคุณค่ะ

พี่อ้อยคะ สู้ๆ ค่ะ

เมย์ค่อนข้างเห็นด้วยนะคะ ที่หลักสูตรเกี่ยวกับความขัดแย้งควรจะมีหลากหลายคะ เพราะแต่ละพื้นที่ แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน แต่คิดอีกที บางเรื่องที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง ก็อาจจะมีร่วมกันในหลักสูตรได้นะคะ เช่น การพัฒนาสติ อืม..เมย์ยังคิดไม่กระจ่างในประเด็นนี้คะ

ตอนนี้เมย์กำลังสนใจด้านการพัฒนาจิตวิญญาณอยู่คะ เพราะว่าพอเรียนด้านความขัดแย้งไปเรื่อยๆ แล้วเมย์รู้สึกว่า บางครั้งเรื่องราวบางเรื่องที่เมย์พยายามเข้าไปจัดการมันดูวุ่นวายมากกว่าเดิม พอกลับมานั่งทบทวนตัวเองดูก็คิดไม่ออก

แต่พอไปอบรมหลักสูตรคลี่คลายความขัดแย้งด้วยใจกรุณาของเสมสิกขา (ที่เคยบอกเอาไว้น่ะคะ)อบรมไป 4 วันก็เลยกระตุกขึ้นมาว่า เฮ้ย เป็นเพราะตัวเมย์เองนี่แหละที่ไม่พร้อม คือ ใจยังไม่เปิด สติไม่อยู่กับตัว

ตอนนี้เมย์ก็เลยถอยกลับมาใหม่ มาตั้งสติใหม่คะ

เมย์คิดว่า เหตุใหญ่ที่เมย์ไม่พร้อมก็น่าจะเป็นเพราะเมย์มีความคาดหวังมากเกินไปค่ะ สายพิณมันตึงเกินไปน่ะคะ มันเลยขาดง่าย

ตอนนี้กลับมาตั้งสายใหม่ค่ะ

เมย์ค่ะ

ปล. อ.เอกคะ ถ้าอ.จัดอบรมหรือมีการอบรมแบบที่เมย์เห็นในบล็อกที่อ.โพสท์ (ที่เราสามารถเข้าร่วมได้)ถ้าไม่เป็นการรบกวนนัก อาจารย์กรุณาประกาศให้พวกเราได้รู้ได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างสูงคะ เมย์ต้องรบกวนจริงๆ คะ เพราะเมย์เป็นมือใหม่ในวงการนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะทุกคน

ตอนนี้ มีสติพร้อมตอบเมย์แล้วค่ะ

1. เรื่องการเข้าไปจัดการความขัดแย้ง

1.1 ตามความเห็นพี่มองว่า คือ ภาวะที่เราเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้นๆ ค่ะ เราอาจจะเลือกใช้ทั้งคำว่า deal with, manage or intervene และลักษณะการเข้าไปจัดการ หรือเกี่ยวข้องนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าไปในฐานะอะไร นอกจากนี้ การตีความหมายหรือความเข้าใจต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งก็มีผลต่อการจัดการ

เพราะความขัดแย้งสามารถมองได้ในสองมุม คือ

ผลทางลบ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย

ผลทางบวก คือ ผลที่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้ การจัดการจึงสำคัญ ความขัดแย้งบางอย่างเป็นเรื่องดีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หากคนรู้จักใช้กระบวนการที่ขัดแย้งกันนำไปสู่สิ่งที่สร้างสรรค์

1.2 เมย์ถามว่าอะไรสำคัญที่สุดในการเข้าไปจัดการ

หากการจัดการ หมายถึง ความหมายที่พี่เข้าใจตามข้อ 1.1 พี่จะมองว่าไม่ว่าเราจะเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งอะไรก็ตาม พื้นฐานอันแรก คือ คำตอบจาก อ.เอก ความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อสถานการณ์ เพราะจะนำไปสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ และการหาทางออก

แต่หากเรามองการเข้าไปจัดการ คือ จังหวะการ intervention ตามที่พี่ถามเมย์ไปครั้งแรก คำตอบพี่จะเปลี่ยนค่ะ ว่าสิ่งสำคัญตอนเข้าไป intervene คือ ripenessค่ะ

2. สำหรับเรื่องสติ และอีโก้ นั้น

2.1 สติ สิ่งที่เมย์หยิบยกเป็นเรื่องสำคัญและเห็นด้วยค่ะ ซึ่งพี่มองว่าจริงๆ ไม่ว่าจะทำอะไร สติควรเป็นเครื่องกำกับเราอยู่แล้ว และพี่ก็เห็นว่า แนวทางของพุทธศาสนา ได้กำหนดวิธีการคิด และวิธีการวางใจ ของคนอยู่แล้ว หาอ่านได้ทั่วไปค่ะ เข้าใจไม่ยาก แต่ทำยากค่ะ ฮ่าๆๆ จึงขาดสติบ่อยๆ ฮ่าๆๆๆ

2.2 อีโก้ พี่ก็มองว่า มันก็คือ อัตตา ของแต่ละคน ที่เราไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตน และวิธีคลายอีโก้ พี่ก้ยังชอบแนวทางพุทธศาสนาอยู่ดี ลดการยึดมั่นถือมั่นลงซะ จะเคยเป้นอะไร จะเคยมีอะไร เป็นอีกเรื่อง แต่ปัจจุบันเราอยู่ในสถานการณ์ไหนมากกว่า การปรับตัวในบริบทน่าจะเหมาะสมกว่า พี่ว่าตอนนี้ พวกเราเข้าสู่ยุค global nomad แล้ว เราจะเคลื่อนย้ายกันไปเรื่อยๆ นอกชุมชนเดิมของเรา ดังนั้น ความขัดแย้งจะเพิ่มมากขึ้น หากเราไม่พยายามเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของคน การทำความเข้าใจในแนวคิดนี้ เป็นเรื่องแรกที่คุณครูของ รร.ลูกพี่ พยายามทำให้ผู้ปกครองนานาชาติเข้าใจหลักการนี้นะค่ะ ซึ่งพี่ก็เห็นว่าจริง

3. เรื่องการยึดในกระบวนการมากเกินไป

การมีกระบวนการ พี่เห็นว่าเป็นเรื่องดี เพราะเป็นกรอบในการดำเนินการ แต่ไม่ควรยึดถือจนปรับเปลี่ยนไม่ได้ การจัดการอะไรก็ตาม พี่เห็นว่า บริบท เนื้อหา วัฒนธรรมของแต่ละที่สำคัญ (อันนี้ เห็นด้วยอย่างแรง) จากประสบการณ์ตรงที่ต้องเร่ร่อนติดตามคู่สมรสไปในที่ต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ค้นพบ คือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและกระบวนการขัดเกลาทางสังคม มีผลต่อกระบวนการคิดและหล่อหลอมมนุษย์อย่างมาก และย่อมส่งผลต่อวิธีการคิด และการจัดการความขัดแย้งต่างกันด้วย ซึ่งอันนี้ คงไปเกี่ยวโยงกับที่ อ.เอกกล่าวไว้ในเรื่องการแสดงความคิดเห็นของคนไทยค่ะ เราทำจนเป็นความเคยชินค่ะ

วันนี้ ตอบยาวมากเลยค่ะ

ขอบพระคุณนะคะ อ.เอก สำหรับบล๊อกที่แนบมาให้อ่านข้างต้นค่ะ

อ้อย

อีกบล็อกลุงเอกเพิ่งเขียนเสร็จหมาดๆครับ

http://gotoknow.org/blog/ekk-km/186864

น่าสนใจมากค่ะหลักสูตรนี้ น้องๆ คนไหนว่างน่าไปเข้าร่วมนะคะ

แต่ก็น่าเสียดายค่ะที่อ้อยคงไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมอีกตามเคย เฮ้อออออออ ขอบคุณค่ะที่ อ.เอก นำมาโพสต์ให้เสียดายเล่น ฮ่าๆๆ

หวัดดีค่ะพี่ๆ

หายไปนาน เพราะยุ่งเหลือเกินช่วงนี้..ตุ่นชอบประเด็นที่พี่ลุงเอกมาโพสต์จังเลยค่ะ ตอนนี้สิ่งที่ตุ่นมองเห็นสำหรับสาขาการจัดการความขัดแย้งในบ้านเรา คือ ทุกคนพยายามจะจัดการ จัดการและจัดการ process ต่างๆ ถุกคิดค้นในลักษณะ how to จนลืมปรัชญาเบื้องหลังที่แท้จริงของการเกิดกระบวนการนั้นๆ และเมื่อไปจัดการ เราก็มักจะจัดการตาม "ตัวตน" ของตัวเอง จนกลายเป็น import และพยายามเปลี่ยน แต่ก็นันแหละค่ะ เรามักจะมีความปรารถนาดีอย่างที่พี่เมย์บอก..ตุ่นเลยเคยสงสัยว่า นี่รึป่าวน้าที่เค้าว่ากันว่า คนดีมักจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็ปรารถนาดีด้วยคุณค่าที่ตัวเองตีความ ยึดมั่น และศรัทธา

สำหรับตุ่น..ถ้ายังต้องอยู่ในวงการนี้ต่อไป สิ่งที่ตั้งใจได้ขณะนี้ คือ เติมเต็มในสิ่งที่เค้าขาดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เค้าต้องการ..แต่ก็อย่างว่านะคะ..ไอความต้องการเนี่ย บางทีมันก็ไม่ได้ควบคู่กับความดีงามและศีลธรรมเสมอไป พูดไปก็วนกลับมาที่เดิม ...นีแหละหนอ "คน" เนอะพี่เนอะ

พี่เมย์ พี่อ้อยไม่ทราบเคยอ่านหนังสือ "จิตว่าง" ไม๊คะ ตุ่นว่าเอามาประยุกต์กับการจัดการความขัดแย้ไงได้ดีที่เดียว การทำตัวเป็นแก้วเปล่าก่อนเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น..เป็นหลักเบื้องต้นที่คิดได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้สำหรับตุ่นค่ะ

ว่างๆ จะแวบเข้ามาใหม่นะคะ

ขอรอยยิ้มจงเกิดขึ้นทุกวันนะคะ

ตุ่น

รุ่น 2

ขอบคุณค่ะตุ่นที่แนะนำหนังสือดีๆ อีกเล่ม ประเด็นสำคัญ คือ การปฏิบัติตามนี่ซิคะ

ยากยิ่งนัก หากทำได้ตามหลักการต่างๆ ที่ทุกคนกล่าวถึง จิตต้องเป็นประภัสสรแน่ๆ ค่ะ (เห็นมั๊ยคะ ภาษาเริ่มเข้าทางแล้ว อิอิ)

เราก็ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดก็แล้วกันนะคะ การเริ่มต้นด้วยความปรารถนาดี จิตใจก็เป็นกุศลแล้วล่ะค่ะ เอ ... พี่เป็นไรไม่รู้พักนี้จะไปแนวเข้าวัดอยู่เรื่อยเลย...ยิ่งเรียน ยิ่งปลง งงตัวเองจริงๆ ฮ่าๆๆ

สวัสดีครับ อ.เอกชัย และทุกๆ คน

ขอเป็นน้องใหม่ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ อยากบอกเพื่อนๆ น้องๆว่าเพิ่งจะทำการบ้านชิ้นที่ 3 system thinking เสร็จ อดนอนมาหลายคืนแล้ว สุดๆ เลย

แล้วจะแวะเข้ามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่ครับ

ยินดีต้อนรับน้องใหม่ค่ะ สู้ต่อไป จุงโคจิกะ (ไม่แน่ใจว่าน้องๆ จะเกิดทันดูเรื่องนี้หรือเปล่านะคะ)ถ้าไม่ทันก็ไม่ต้องบอกก็ได้นะคะ เพราะจะทำให้พี่ทราบทันทีว่าพี่แก่มั๊กๆๆ ค่ะ สู้ๆ ค่ะ

รุ่นตุ่น เป็นสู้ต่อไป..จีบันค่ะ อิอิ

จ๊ากกกกก พี่ไม่รู้จักจีบันแล้วค่ะตุ่น

เพราะตอนนี้หันมาฟังเทศน์ธรรมะวันอาทิตย์เช้าๆ แทนแล้วค่ะ เจริญพรสาธุชนทั้งหลาย!!!

หวัดดีค่ะ...ลุงเอกและชาวคณะRRUทุกท่าน

วันนี้ฤกษ์งามยามดี..ได้มาพบปะสังสรรค์กับท่านจอมวิทยายุทธ์ด้านความขัดแย้งและสันติศึกษาทุกท่าน....ดีใจหลาย

หวังว่าการประทะสังสรรค์นี้คงจะทำให้เราได้ก้าวผ่านวิกฤตการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง..ให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืนร่วมกัน

โอ่ง

อาจารย์เอกคะ ตอนนี้อาจารย์ชัญญา เป็น รศ.ดร.ค่ะ ตอนนี้เมย์เพิ่งเปิดเทอมคะ เลยอาจจะไม่ค่อยได้เข้ามาทักทายสักเท่าไรนะคะ

เมย์ได้แปะลิงค์เอกสารที่เมย์ไปอบรมมานะคะ http://www.4shared.com/file/51345250/855483d2/1_online.html?dirPwdVerified=858bfb43 เมย์ค่ะ

ขอบคุณค่ะเมย์ ช่วงนี้พี่ก็วุ่นๆ เช่นกันค่ะ แถมคอมพิวเตอร์พัง ข้อมูลทุกอย่างหายเรียบ กู้คืนไม่ได้อีกต่างหาก ป่วนไปเลย

พี่อ้อยค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.เอก และพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ชาวคณะ RRU

นุชได้ลองปรึกษากับเพื่อนๆ รุ่น 2 บางคน เรื่องการดูแลนักเรียนรุ่น 3 เพราะจากประสบการณ์ของรุ่น 1-2 หลายคนรุ้สึกเหนื่อยกับการเรียน และหลายคนก็ได้กำลังใจและความรู้จากความช่วยเหลือของเพื่อนๆ และพี่ๆ จึงคิดถึงการจัดทำระบบพี่เลี้ยง (Mentor system) หรือที่เราอาจคุ้นเคยกันในมหาวิทยาลัย ว่าเป็นระบบพี่-น้องรหัส เพื่อที่จะดูแลช่วยเหลือและให้กำลังใจรุ่น 3 ต่อไปค่ะ เพราะเชื่อว่าคนไทยนั้นมีความฉลาดและเก่งไม่แพ้ใครอยู่แล้ว หากเราร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นอาจทำให้รุ่นต่อๆ ไป เรียนรู้ได้มากขึ้นค่ะ

หากเห็นอย่างอื่นใดก็ยินดีรับคำชี้แนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ

นุช

ระบบพี่-น้องรหัสก็ดีครับ  แต่ถ้าเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น  หลายๆคนคงต่อสู้กับชีวิตในช่วงที่ผ่านมา

ลุงเอกเพิ่งเปิดหลักสูตรใหม่การเสริมสร้างสังคมสันติสุข  มีคนสนใจมาเรียนมากมายตามรายชื่อนี้

ได้เปิดการปฐมนิเทศน์แล้วเมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา  อยากให้ทุกคนได้ฟังอาจารย์ศรีศักดิ์และอ.นิธิ บรรยายเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์  ชาติพันธ์ กับความขัดแย้ง  แถมกลางคืนมีดนตรีเพื่อสันติอีกครับhttp://gotoknow.org/blog/ekk-km/191128

เรียน อ.เอกและนุชค่ะ

นุชคะพี่ขอทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะหรือรูปแบบที่นุชคิดไว้ในใจได้หรือไม่คะว่านุชจะจัดระบบ mentor อย่างไรคะ และดูเหมือนว่าวันเวลาผ่านไปเร็วมากเลยนะคะ จะไปรุ่น 3 กันแล้ว เดี๋ยวรุ่นนุชก็ต้องไปแคนาดากันแล้วซิคะ เวลาผ่านไปเร็วจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ อ.เอกสำหรับบล๊อคที่แนะนำ หากพวกเราได้ดูวีดิโอกิจกรรมทั้งหมดก็น่าจะเป็น ปย.นะคะ /อ้อยค่ะ

ลองอ่านบันทึกนี้ที่บรรยายโดย อ.นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์http://gotoknow.org/blog/islandpk/191687

ขอบคุณค่ะ อ. อ่านจบแล้วเรียบร้อยแล้วค่ะ จะรออ่านตอนต่อไปค่ะ ได้ความรู้แบบฮาๆ ดีค่ะ แต่ละท่านขยันเขียนจริงๆ ค่ะ (รู้สึกว่า อ.ชัญญาจะเข้ากล้องทุกฉากเล้ยยย รับตำแหน่งขวัญใจช่างภาพตลอด)

และจากบล็อคที่สรุปคำอธิบายของ อ.นิธิฯ ที่กล่าวถึงว่าการเข้าใจแก่น ปวศ.คนในการศึกษาความขัดแย้งนั้น บางส่วนก็คล้ายๆ กับ Morton Deutch นักจิตวิทยาสังคมศ. อเมริกัน ซึ่งมีมุมมองว่า กลุ่มคนที่มีปวศ.ที่ชอบใช้ความรุนแรง/สร้างความขัดแย้ง ก็มีแนวโน้มที่จะสร้างหรือก้าวเข้าสู่การสร้างความขัดแย้งในอนาคต เพราะคนกลุ่มนี้จะมีทัศนคติ หรือค่านิยมเรื่องการใช้ ปย.จากความขัดแย้งในการจัดการกับสิ่งที่เค้ามองว่าเมื่อกลุ่มต่างๆ มีเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกันหรือไปด้วยกันไม่ได้ พฤติกรรมสร้างความขัดแย้งจะถูกนำออกมาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหา

ขอบคุณค่ะ อ.เอก /อ้อยค่ะ

อ.เอกคะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้

(อ.เอก ต้องการแรงงานเพิ่มไหมคะ เมย์ขอสมัครค่ะ ฮาๆๆ)

นุชคะ

เป็นความคิดที่ดีมากมายเลยค่ะ เห็นด้วยค่ะ

เมย์เลยคิดอีกว่า ถ้าเราทำคลังเก็บการบ้านไว้ในblog นี้ดีไหมคะ รวมทั้งเอกสารการสอนต่างๆ นอกจากจะเป็นการแบ่งปันระหว่างพวกเราเองแล้ว ยังจะเป็นการแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ ที่อาจจะผ่านมาเจอด้วย ดีไหมคะ

อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะต้องขออนุญาต RRU ก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ เพราะว่าเป็นลิขสิทธิ์

เมย์ค่ะ

  • ขออนุญาตพี่เอกชัยนะครับ
  • ทำเลยครับ
  • ผมจะได้มาอ่าน ฮ่าๆๆๆ
  • 71. เมย์คะ
    เมื่อ พ. 02 ก.ค. 2551 @ 15:25
    725572 [ลบ]

    อ.เอกคะ

    ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้

    (อ.เอก ต้องการแรงงานเพิ่มไหมคะ เมย์ขอสมัครค่ะ ฮาๆๆ)

    นุชคะ

    เป็นความคิดที่ดีมากมายเลยค่ะ เห็นด้วยค่ะ

    เมย์เลยคิดอีกว่า ถ้าเราทำคลังเก็บการบ้านไว้ในblog นี้ดีไหมคะ รวมทั้งเอกสารการสอนต่างๆ นอกจากจะเป็นการแบ่งปันระหว่างพวกเราเองแล้ว ยังจะเป็นการแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ ที่อาจจะผ่านมาเจอด้วย ดีไหมคะ

    อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะต้องขออนุญาต RRU ก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ เพราะว่าเป็นลิขสิทธิ์

    เมย์ค่ะ

  • ถ้ามีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์
  • ให้ปรับที่พี่เอกชัยครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆ

สนับสนุนให้เมย์เป็นแรงงานเสริมค่ะ ส่วนพี่ขอใช้โทรจิตช่วยก่อนนะจ๊ะ เมื่อไหร่ได้กลับไปจะไปช่วยจริงๆ จังๆ ค่ะ /พี่อ้อยค่ะ

อ้อยครับ มีมาให้อ่านอีกแล้ว  ตามที่บอกจะรออ่านตอนต่อไป ได้ความรู้แบบฮาๆ แล้วเอาความรู้แบบเครียดๆบ้างครับ  อ.ชัญญาเข้ามาเรียนก็แฮปปี้ดีมากครับ  

ที่นำมาฝากคราวนี้ลองอ่านบันทึกนี้ดูอันนี้เป้นความขัดแย้งใหญ่ของไทยที่ต้องหาคำอธิบาย  จะแก้ปัญหาอย่างไรก็ยังไม่จบ  อย่างที่อ้อยว่ามีแต่จะสร้างหรือก้าวเข้าสู่การสร้างความขัดแย้งในอนาคต เพราะทัศนคติ หรือค่านิยม  ที่มีเป้าหมายไม่สอดคล้องกัน

เมย์ครับเอารูปหน้าสวยๆของเมย์มาลงบล็อกก็ได้นะครับ 
ลุงเอกอยากได้แรงงานเหมือนกันยินดีรับครับเมย์
เห็นด้วยกับทำคลังเก็บการบ้าน  งานวิชาการไว้ในblog หรือจะฝากลุงเอกไปลงที่นี่ก็ได้ เป็นฐานข้อมูลการเมืองการปกครองฯสถาบันพระปกเกล้า  อยากให้แบ่งปันกับคนอื่นด้วย

ลุงเอกจะบอกดีน RRU เอง

ขอบคุณค่ะอ.น่าสนใจดีค่ะ แต่ยังไม่ถึงกับเครียดมากค่ะ แต่หาก อ.ถามว่าช่วยคิดหน่อยว่าจะแก้ไขอย่างไรในปัญหานี้ อันนี้คงเครียดสุดค่ะ ฮ่าๆๆ

ปัญหาภาคใต้รายละเอียดเยอะค่ะ ในฐานะผู้ไม่ทราบข้อมูลเบื้องลึก และยังด้อยความรู้และ ปสก.คงยากที่จะนำเสนอความเห็น แต่สิ่งที่ตัวเองสังเกตเอาเองจากการอ่านข่าว เวลามีการก่อเหตุรุนแรงทั้งหลาย เคยมีผู้ออกมาประกาศความรับผิดชอบชัดเจนแบบ ตปท.หรือเปล่าคะ อย่างกรณีอังกฤษ ไออาร์เอจะแสดงตนชัดเจน หรือในหลาย ๆแห่งจะมีหัวขบวนชัดเจน อ้อยเลยสงสัยนิดๆ ค่ะว่า ตรงนี้ คือ ภาครัฐกำลังแก้ปัญหากับใครคะแล้วคนกลุ่มนั้นบอกแล้วหรือคะว่าต้องการสิ่งใด หรือเราคิดเอาเองว่าเค้าทำแบบนี้ เพราะต้องการสิ่งนั้น หรือ จริงๆ เรารู้แล้วแต่ยังขอไม่รู้ก่อน ฮ่าๆๆ

ในหลาย ปท.เมื่อมีกลุ่มที่แสดงตนชัดเจน ฝ่ายรัฐก็สามารถแสดงประเด็นที่ชัดเจนได้ว่าจะจัดการอย่างไร และประเด็นที่ชัดเจนเหล่านี้ก็จะถูกถ่ายทอดสู่สาธารณชนซึ่งก็จะมีการประเมินได้ว่า ข้อเสนอนั้นได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างไร อันนี้ก็คงไปลงที่คำว่า ประชามติ ที่ อ.เอกกล่าวถึง จริงๆ คนวงในอาจทราบข้อมูลดีแต่มักบอกว่าเป็นความลับทางราชการตอบไม่ได้ อ้อยก็ตั้งความสงสัยแบบคนวงนอกอ่ะค่ะ ฮ่าๆๆ แล้วจะติดตามบทความที่ อ.แปะมาเรื่อยๆ ต่อไปค่ะ

ส่วนการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมมุสลิมนั้น ขอแลกเปลี่ยนข้อมูลค่ะ 2 ปีในสังคมมุสลิมที่อ้อยประสบมานะคะ หลักการที่ใช้ ก็คือ เคารพในความเชื่อของเค้า สอบถามวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อของเค้า และการปฏิบัติตนตามธรรมเนียมของสังคมใหญ่ที่ตนสังกัด เช่น ในช่วงเวลาที่ถือศีลอด เราก็เคารพธรรมเนียมดังกล่าว ที่สำคัญไม่ละเมิดความเชื่อเด็ดขาดค่ะ แต่ละศาสนามีความเชื่อต่างกัน เช่น ช่วงถือศีลอด อ้อยจะไม่ดื่มน้ำในที่สาธารณะ หรือในรถส่วนตัวเลยเพราะมองเห็นได้ จะเดินถือขวดน้ำที่แอบใส่กระเป๋าเข้าไปดื่มในห้องน้ำ(ส้วมเลยค่ะ)พร้อมกลิ่น อร่อยไปอีกแบบฮ่าๆๆ เพราะเราไม่สามารถอ้างว่าเราเป็นต่างชาติ การกระทำดังกล่าวจะไปท้าทายคนที่อดอาหารอยู่ และหากเราทำอะไรที่ไม่เหมาะสม จะมีตำรวจศาสนาจับเราได้ค่ะ และมีต่างชาติโดนไปหลายราย แต่ส่วนใหญ่จะเตือนก่อน เพราะถือว่าอาจไม่คุ้นเคยวัฒนธรรมของกันและกัน เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามค่ะ ไม่ได้รู้สึกอึดอัดอะไรเลยค่ะ มันปรับไปได้ตามสภาพ

รู้ว่าเราแตกต่างแต่ไม่ค่อยรู้สึกแปลกแยกแถมได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ด้วยค่ะ วันนี้ ขอแลกเปลี่ยนความเห็นเท่านี้ก่อนนะคะ จะรอ อ.แนบอะไรใหม่ๆ มาให้อ่านต่อไปค่ะ/ ขอบคุณค่ะ อ้อย

ไม่มีรูป อยากเห็นรูปอ.อ้อย จังเลยช่วยขึ้นด้วยไม่ยากครับ  อ่านของ อ.แล้วอย่าเครียด  เอาไว้ไปเครียดของ RRU ก็พอแล้ว  ประเด็นของอาจารย์มันหนักหนาสาหัส  ปรมาจารย์ยังแก้ไม่ได้

ปัญหาภาคใต้มีความสลับซับซ้อนมาก  ยิ่งกว่านิยายน้ำเน่าไทย  ที่เดาได้  อ่านข่าวก็ได้แต่ข่าวลวงครับ  ของไทยไม่มีการแสดงตนหรอกครับ  

การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมมุสลิมนั้นสำคัญยิ่ง  ต้องยอมรับในอัตตลักษณ์ของเขาเพราะเป็นมาหลายร้อยปี  อย่าคิดไปเปลี่ยนเขา  สังคมเขามีสิ่งน่าเรียนรู้อีกมากครับ

ไม่เครียดหรอกค่ะ อ. เพราะความเครียดเกินระดับจนดีดกลับมาใหม่ได้แล้วค่ะ ฮ่าๆๆ

ส่วนรูปได้พยายามแล้วค่ะ แต่ไม่สำเร็จ นานมากค่ะ สงสัยรูปจะน่ากลัวเกินไป ระบบฯ เลยไม่ยอมรับซะเลย อีกทั้งรูปที่ใกล้เคียงอายุจริงๆ ไม่ค่อยเหลือแล้วค่ะ คอมฯ ติดเอดส์ ทุกอย่างหายเรียบ ครั้นจะเอารูปสมัยยังสาว ก็เกรงว่าจะโดนฟ้อง สคบ. ฐานหลอกลวงผู้บริโภค แล้วจะพยายามโหลดใหม่นะคะ /อ้อยค่ะ

การเอารูปขึ้น

เข้าระบบ

คลิ๊กที่ สมาชิก

เลื่อนไปที่ไฟล์อัลบั้ม

นำไฟล์ขึ้น

ไปที่ Brawser

หารูปตัวเองที่สวยสุดๆ

คลิ๊กเข้าไปนำขึ้น

ไปที่เมนูของตัวเองใหม่

ไปที่ประวัติ

ไปที่จัดการรูปถ่ายประจำตัวคุณ

Brawser นำรูปขึ้น จบ

สุดสวยจะไปประดิษฐานอยู่หน้าบล็อกครับ

 

 

 

อ.คะ อธิบายซะชาวบ้านเค้าทราบกันหมดเลยค่ะว่าหนูทำไม่เป็น ก็ได้ทำตามที่ อ.บอกไว้ทุกประการแล้วค่ะ แต่โหลดนานไป เลยกดปุ่มยกเลิกไปซะก่อนค่ะ เดี๋ยวสุดสวยจะพยายามต่อไปค่ะ

ในที่สุดก็ประดิษฐานตนเองได้แล้วค่ะตามคำชี้แนะของท่าน อ.มีแต่รูปสวยระยะไกลทั้งนั้นเลยค่ะ รูปหายากจริงๆ ค่ะ อิอิ

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงเอกจ๋าๆๆๆๆๆ

คิดถึงงงงงงงงงง งานเยอะหรือเปล่าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะลุงจ๋า หลานหน้าตาดีเป็นห่วง คิคิ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

P อ้อยครับ  เป็นลูกศิษย์ที่ดีมากขอชมเชยครับ
อ.ไม่ได้ประจานอ้อยนะครับ  แต่คนอื่นๆจะได้เอารูปสวยๆของตัวเองมาลงด้วย  ยกเว้น นศ.ชายนะครับไม่ขอรับรูปสวยครับ 

อ.คะ อธิบายซะชาวบ้านเค้าทราบกันหมดเลยค่ะว่าหนูทำไม่เป็น ก็ได้ทำตามที่ อ.บอกไว้ทุกประการแล้วค่ะ แต่โหลดนานไป เลยกดปุ่มยกเลิกไปซะก่อนค่ะ เดี๋ยวสุดสวยจะพยายามต่อไปค่ะ

  • คารวะอาจารย์เอก
  • ไม่ได้เป็นนักศึกษา ขออนุญาตอ่านบันทึกด้วยนะคะ
  •  ขอบคุณค่ะ

ไม่เป็นอะไรค่ะ อ.เอก แค่ขำๆ /อ้อยค่ะ

P ยินดีครับเอื้องแซะมาออกความคิดเห็นก็ได้ครับ  หรือจะสมัครเรียนก็ได้ครับ

อ.เอกและทุกท่านคะ

ขอโทษนะคะที่ไม่ได้เข้ามาเสียนานคะ ตอนนี้เป็นช่วงที่ต้องทำข้อสอบกลางภาคค่ะ แล้วก็เร่งสอนด้วยค่ะ เลยหมดแรง

ขอบพระคุณค่ะ ที่อาจารย์จะให้เป็นแรงงาน

ว่าแต่...จะเป็นแรงงานนี่ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

ส่วนเรื่องการบ้านต่างๆ และเอกสารต่างๆ ของ RRU นั้น ขอเวลาจัดเรียงเอกสารก่อนนะคะ เพราะเมย์เก็บกระจัดกระจายค่ะ นอกจากนั้นยังโหลดเอกสารไม่ครบ ไม่เกินปลายเดือนนี้เมย์จะส่งข้อมูลให้อาจารย์เอกนะคะ

แจ้งข่าวค่ะ วันที่ 16 กค.จะเป็นวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการเมืองการปกครองค่ะ

หลังวันงานเมย์จะเอาข้อมูลมาขึ้น blog ขอตัวเองนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เมย์

(ป.ล.เมย์เอารูปขึ้นแล้วนะคะ แต่เป็นรูปแมวสุดที่รักค่ะ ส่วนรูปของเมย์นั้น ขอเมย์ถ่ายรูปก่อนนะคะ )

มาเยี่ยม..เป็นกำลังใจ..ในการทำงานใหญ่เพื่อการศึกษา..และเพื่อความสงบสุขของสังคมครับลุงเอก...อยากเรียนด้วยจัง..แต่สุขภาพ..ไม่อำนวย..ครับ..ยังต้องบำรุงอีกเยอะครับ

อ้อ...เอาลิ้งค์ดูทีวีย้อนหลังมาฝากค่ะ

http://www.me.in.th/live/

เมย์คะมีอะไรให้ช่วยได้บ้างบอกมานะคะ ยินดีค่ะ /พี่อ้อย

น้องๆ ค่ะ ยังสบายกันดีบ่คะ แลดูแผ่วหายไปนี๊ดดดดดด มั๊ยคะ แชร์ความเครียดกันได้นะคะ

พี่อ้อยค่ะ

ช่วงนี้กำลังทำเอกสารเตรียมตัวไปแคนาดากัน

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ต้องขออภัยด้วยนะคะที่เงียบหายไปค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนวิชากฎหมายกันอยู่แล้วก็เริ่มมีการบ้านภายใน ๑๐ วันแรก ทำให้แต่ละคนกระจัดกระเจิงพอสมควร มันเหมือนกระโดดมาอีกโลกหนึ่งเลยคะ ยังปรับตัวให้เข้ากับวิชานี้ไม่ได้เนียนนักค่ะ แต่ก็พยายามๆ อยู่ ไม่ทราบว่ารุ่น ๑ เรียนวิชานี้แล้วเป็นไงกันบ้างคะ มีเทคนิคอะไรจะแนะนำก็โปรดกรุณาด้วยนะคะ อย่างครั้งที่แล้วที่พี่อ้อย และเมย์ข่วยแบ่งปันประสบการณ์ เทคนิคและตัวอย่างงานของวิชา systems ให้ดูนั้น เป็นประโยชน์มากๆ เลย ยังรู้สึกประทับใจและรู้สึกขอบคุณไม่หาย ซาบซึ้งๆ *_*

อันนี้แหละค่ะ ที่นุชนึกถึงระบบ mentor ซึ่งอาจทำกันเป็นระบบมากขึ้นโดยแบ่งชื่อน้องและพี่กันเลย (โหดไปไหมเนี่ย) เช่น นุชกับพี่อ้อย หรือ เปิ้ลกับพี่ชัญญา หรือตุ่นกับเปิ้ล ฯลฯ ดูแลน้อง ๑ คน ซึ่งอาจมีพี่ๆ สัก ๒ คนเป็นอย่างน้อยในการประกบดูน้อง หรือแบบ ๑:๑ ก็ได้ หากจำนวนพี่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ก็อยากให้เป็นไปโดยสมัครใจค่ะ

หรือจะดูแลแบบเหมารวมผ่านทางบล็อคนี้ก็ได้ แต่อาจต้องเชิญชวนให้พี่ๆ และน้องๆ เข้ามากันมากกว่านี้ เพื่อการดูแลและถูกดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่มีใครน้อยใจว่ามากน้อยต่างกัน

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่จะขอความกรุณาอาจารย์เอกก็คือ อยากขอสอบถามเรื่องความคืบหน้าเกี่ยวกับการ รับรอง กพ. น่ะค่ะ ทราบว่านู๋ตุ่น มีปัญหาว่าทาง กจ. ของ มอ. ติดขัดเรื่องการลาเรียนไปเรสซิเด้นท์ที่ ๒ ที่ RRU เพราะว่าไปเรียนในหลักสูตรที่ กพ. ไม่รับรอง (แต่นู๋ตุ่นได้ชี้แจงว่าปีที่แล้วรุ่นแรกไปได้ แต่ทาง กจ. บอกว่าตอนนั้นเป็นเพราะไม่รู้ระเบียบค่ะ) นอกจากนี้นุชเองก็ห่วงใยสถานภาพตนเองในอนาคตเช่นกันค่ะ เพราะว่าถ้า กพ. ไม่รับรอง คงบรรจุตำแหน่งอาจารย์ไม่ได้แน่ๆ จึงเรียนมาเพื่อขอความกรุณาจากอาจารย์เอกในเรื่องนี้ด้วยค่ะ

ด้วยความเคารพและขอขอบคุณค่ะ

นุช

ป.ล. ขอขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึก อ.นิธิ ได้รับประโยชน์มากเลยค่ะ ตอนนี้หากท่านใดสนใจบทความด้านสันติวิธี ทางศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล ก็มีเว็บไซต์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์นะคะ เชิญเข้าเยี่ยมชมได้ที่ www.peace.mahidol.ac.th ค่ะ

สวัสดีค่ะ

1. เรื่อง mentor นั้น พี่มีความเห็นว่าทำได้ทั้งสองแบบคู่ขนานนะคะ คือ ทำตามที่ อ.เอก.แนะนำก็ดีนะคะ มีอะไรก็หารือผ่านบล๊อคนี้ได้ ทุกคนเข้ามาอ่านได้ แชร์ข้อมูลได้ และข้อดีของบล๊อค คือ แต่ละคนจะมีสไตล์ของตัวเอง แนวคิดของตัวเอง เมื่อแสดงข้อคิดเห็น ข้อแนะนำเข้ามา ใครถนัดหรือชอบแนวทางของคนไหน ก็หยิบฉวยเอาไปใช้ตามสะดวก

หรือ หากต้องการคุยรายละเอียดมากๆ สนใจหรือสะดวกใจที่จะหารือกับใครเป็นพิเศษก็สามารถถามผ่านไปที่อีเมลล์ส่วนตัวก็ได้ ซึ่งอันนี้ ก็อาจจะเข้าข่ายข้อเสนอของนุชได้ พี่คิดว่าทุกคนยินดีที่จะช่วยเหลือกันนะคะ ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่กับความสะดวกของทั้งฝ่ายผู้เรียนเก่า และผู้เรียนใหม่ ด้วย

2. วิชา กม. นั้น พี่คิดว่าคงขึ้นอยู่ที่เนื้อหาของรุ่นนี้นะคะ เพราะรุ่น 1 ในช่วงเริ่มต้น วิชาอ. ถามไปในแนวการเปรียบเทียบ กม.แคนาดากับไทยในการบ้านตอนต้น ซึ่งทำให้ยากพอควร เพราะแปลว่าเราต้องเข้าใจที่มาของ กม.ไทยก่อน จึงจะไปเทียบกับ กม.แคนาดาได้ (เรื่องนี้แตะแค่นิดเดียวตอนต้น) จากนั้น การบ้าน ก็หันมาแนว กม.ระหว่างประเทศบ้าง ส่วนการบ้านชิ้นสุดท้ายรู้สึกว่าจะมีคำถามมาหลายคำถาม ให้เราเลือกตอบตามถนัดว่าเราจะตอบอันไหน รุ่น 1เป็นแบบนั้นนะคะ

และสำหรับงานกลุ่มนั้น เท่าที่จำได้ อ.มีปรับรูปแบบการบ้านเพราะการบ้านกลุ่มไม่เวิร์คค่ะ ฮ่าๆๆ เรียกว่าบอร์ด discussion `ผีหลอกอ่ะค่ะ ดังนั้น หากรุ่นนี้ มีการบ้านกลุ่ม

พี่อยากแนะนำว่าให้เข้าไปทำ เพราะการเข้าไปหารืองานกลุ่มจะช่วยให้เรากระจ่างชัดในสิ่งที่เราคิด โพสต์ตอบไปเลย ไม่ต้องกลัวผิด หากเราเป๋ๆ อ.จะเข้ามาแทรกแซงและอธิบายเองว่าเราเข้าใจคลาดเคลื่อน อันนี้ จะช่วยตัวเราเองให้เราเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง และที่สำคัญงานกลุ่มเหมือนลงเรือลำเดียวกัน หากสองคนหายไปไม่มาทำงานกลุ่ม อีกสองคนก็พายหนักขึ้น กลุ่มก็เหนื่อยนะคะ เราควรช่วยๆ กันค่ะ ทั้งนี้ เป้าหมายของงานกลุ่มคงมิใช่เพื่อคะแนนอย่างเดียว งานกลุ่มสะท้อนการคำนึงถึงคนอื่นด้วยนะคะ

ดังนั้น สำหรับวิชานี้ เทคนิคคงไม่มีอะไรมาก ก็คือ คำถามเขาถามอะไร เราก็หาคำตอบไปตามนั้นน่ะค่ะ ตอบแบบกำปั้นทุบดินดีมั๊ยจ๊ะ ฮ่าๆๆ ค่อยๆ ทำไปค่ะ แล้วก็จะผ่านไปเอง

พี่อ้อยค่ะ

เรียนทุกท่านค่ะ

ขอขอบคุณพี่อ้อยค่ะสำหรับคำแนะนำ

นุชได้รับทราบจากทางนู๋ตุ่นว่าได้เดินเรื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ที่เข้าใจผิดไป เพราะเรื่องการเดินทางนั้นไม่ได้ติดเงื่อนไขเกี่ยวกับ กพ.เลยค่ะ

นุช

สวัสดีครับ ทุกคน

ดีใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในบล็อกครับ

ช่วงนี้ทุกคนคงจะยังสนุกและตื่นเต้นในฐานะนักเรียน RRU นะครับ

และที่สำคัญเรายังต้องมีอะไรที่ตื่นเต้นและน่าติดตามอยู่ตลอดครับ

อิมรอน โสะสัน

ม.ขอนแก่น

ขอบคุณพี่นุชค่ะสำหรับคำแนะนำและเรื่องบัดดี้เรียนหนังสือก็ดียินดีค่ะ

แล้วก็ขอความเข้าใจผิดสักเล็กน้อยนะคะ

เรื่องลาเรียนไม่เกี่ยวกับเรื่องกพ.โดยตรงค่ะ เพียงแต่ประเด็นกพ.เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่เค้าระมัดระวังมากขึ้นในขั้นตอนการทำเอกสาร ซึ่งตอนนี้เรียบร้อยแล้วค่ะ เพียงแต่กว่าจะผ่านมาได้ก็แทบแย่เหมือนกัน เพราะต้องทำเรื่องและขั้นตอนเยอะแยะมากมาย ประเด็นสำคัญคือ ปีนี้ค่อนข้างต้องทำเรื่องด้วยตัวเองเยอะค่ะ ทำให้ต้องชี้แจงเยอะ

สำหรับเรื่องกพ.นั้น ทางมหาวิทยาลัยแนะนำมาเพราะเป็นห่วงเรื่องการใช้ในการทำงานต่ออนาคตค่ะ ซึ่งได้ให้ข้อแนะนำมาเรียบร้อยแล้วสามข้อดังที่อีเมล์บอกเพื่อนๆทุกคนไป เพราะฉะนั้นตอนนี้ ปัญหาที่เกิดเฉพาะหน้าทุกอย่างเคลียร์เรียบร้อยด้วยดีแล้วค่ะ

ในส่วนวิชากฎหมาย กลุ่มตุ่นก็ผีหลอกเหมือนกันค่ะ ...ท่าทางจะซ้ำรอยประวัติศาสตร์กลุ่มพี่อ้อยรึป่าวนะ ฮ่าฮ่าฮ่า

ลองดูของ อ.แหวว นศ.การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ครับhttp://learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/83282

รายนี้ท่ายอัยการน่าจะเป็นนักศึกษาดีเด่น  สรุปการเรียนได้ดีมาก  เชิญหลานๆ RRU มาดูได้ครับhttp://gotoknow.org/portal/islandpk

สวัสดีครับ

ขออภัยนะครับที่หายไปนาน ช่วงนี้ก็กำลังวุ่น ๆ เรื่องที่เตรียมตัวไปแคนานดาอยู่ทุกคนเลยครับ ก็ยอมรับนะครับว่าก็มีปัญหาต่าง ๆ บ้างระหว่างเรียนแต่ก็ถือว่าโชคดีที่มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ คอยช่วยเหลืออยู่เสมอ ๆ การเรียนหลักสูตรนี้ teamwork สำคัญที่สุดครับ เพราะการเรียนทุกวิชาต้องมีการทำงานกันเป็นทีมหมด ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สอนกันเลยก็ว่าได้ ใคร specialist ด้านไหนก็เอาความรู้ความถนัดมาถกกันในมุมมองของแต่ละคน แต่ละวิชาชีพ ในการมองและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ทำให้สามารถมองมุมมองของปัญหาต่าง ๆ ได้กว้างขึ้น

ตอนนี้วิชากฎหมาย ส่วนตัวผมว่าหินเอาการเพราะผมไม่ค่อยมีพื้นด้านนี้มาก่อน(ที่จริงก็ไม่มีพื้นด้านอื่นด้วยเหมือนกันครับ ฮา...)เคสตัวอย่าง ถ้อยคำทางกฎหมายค่อนข้างยาก ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย แถมปลายเดือนมีส่งงาน practicum อีก สาหัสพอสมควรครับ แต่ก็หวังว่าจะผ่านไปได้ด้วย(คะแนน)ดี ๆ เพราะวิชาที่ผ่านมาเล่นเอาอ่วมอรทัยไปตาม ๆ กัน

ท้ายนี้ผมอาจยังไม่มีสาระ ความรู้กรือข้อคิดดี ๆ มาแลกเปลี่ยน หรือเล่าสู่กันฟังเท่าไหร่นะครับ เนื่องด้วยยังอ่อนต่อโลกค่อนข้างมาก ก็ถือว่ามาแจ้งข่าว รายงานตัวกับชาวคณะแล้วกันนะครับ (อ้าว..กลายเป็นตลกไปแว้ว..) หวังว่าทุกท่านคงจะมีความสุขในช่วงพรรษานี้นะครับ โดยเฉพาะลุงเอกหวังว่าลุงเอกคงสบายดีแลมีสุขภาพแข็งแรงนะครับ

โซล่าครับ

ใครมีปัญหาด้านกฏหมายมี อ.แหวว จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ให้คำปรึกษาได้กำลังเรียนกับ ลุงเอก ไปเยี่ยมชมได้ครับ

http://gotoknow.org/portal/archanwell

ด้วยความยินดีค่ะนุช และสำหรับทุกคนนะคะหากมีอะไรที่พอช่วยได้ พี่ยินดีค่ะ

พี่อ้อย

พี่แปะบทความดีๆ มาให้ลองอ่านคลายเครียดกันค่ะ

ถ้าเราจะใช้ชีวิตให้เป็นสุข ต้องรู้จักขจัดความเครียดในนิตยสาร "Secret" ฉบับปฐมฤกษ์เดือนก.ค. "ว.วชิรเมธี" แนะนำวิธีลดหรือขจัดความเครียดในระดับสัมมาทิฐิดังต่อไปนี้

1.เวลาเครียดอย่าเพิ่งตีโพยตีพาย ให้หันกลับมาสังเกตลมหายใจตัวเอง หายใจเข้ายาวๆ หายใจออกยาวๆ ช้าๆ ไม่ต้องรีบ สัก 10-15 นาที จิต สมอง กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ความเครียดจะค่อยๆ เจือจางลงโดยลำดับ

2.เมื่อสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลายแล้ว สังเกตความคิดตัวเองว่ากำลังคิดเรื่องใด แต่อย่าพยายามตัดสิน ความฟุ้งซ่านจะหายไป จิตจะเกิดความสว่างคลี่คลาย

3.หากเครียดมาก ถ้าเทียบตัวเองกับคนที่สูงกว่าเราจะรู้สึกแย่ แต่ถ้าเทียบกับคนที่ต่ำกว่าเราจะรู้สึกลำพองอหังการ ขณะเดียวกัน ถ้าเทียบกับคนทั่วๆ ไปจะพบว่า จริงๆ แล้ว เรายังคงมีเพื่อนร่วมทุกข์อีกมากมายในโลกใบนี้

4.เวลาเครียดมากๆ หาวิธีระบายออก ด้วยการพูด ทำงาน เดินออกจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้เครียด หรือเลือกทำงานอดิเรก จิตใจจะได้พักผ่อน

5.หากเครียดเรื่องเศรษฐกิจ ลองเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต หันมาอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงให้มากขึ้น เช่น ลดความอยาก บริโภคตามความจำเป็น ลดรายจ่ายที่เป็น "ส่วนเกิน" ของชีวิตลงให้มากที่สุด

6.หากความเครียดมาจากปัญหาการเมือง ควรมองอย่างเข้าใจ ว่าระบอบประชาธิปไตยในประเทศพัฒนาแล้วต้องใช้เวลากว่า 100-150 ปีกว่าจะเข้าที่เข้าทาง แต่เมืองไทยเพิ่งเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเพียง 70 กว่าปี เป็นธรรมดาที่ยังจะต้องพบปัญหาความขัดแย้ง

7.ควรมองโลกในแง่ดีว่า เราโชคดีแล้วที่ได้พบเห็นปัญหาต่างๆ มากมาย ได้เรียนรู้วิธีสู้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ

8.ไม่ว่าจะเครียดแค่ไหนก็ตาม ควรจะเตือนตัวเองอย่างหนึ่งว่า เราจะต้องหยัดยืนสู้ต่อไปให้ได้ สู้ตรงๆ ไม่ได้ก็ต้องสู้แบบอ้อม ที่สำคัญต้องไม่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวเพียงเพื่อหนีความ เครียด

9.สรรพสิ่งในโลกล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" หรือ "ไม่แน่ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์" ความเครียดก็เช่นกัน เมื่อเกิดได้ ไม่ช้าไม่เร็วก็ต้องดับไป เพราะไม่มีอะไรเที่ยงแท้

วันนี้เราเครียดแทบตาย แต่วันพรุ่งนี้อาจเป็นวันดีที่สุดของชีวิตก็ได้

ดังที่ปราชญ์ท่านหนึ่งว่าไว้

"เวลาที่มืดมิดที่สุดนั้นเป็นสัญลักษณ์เตือนอยู่ในตัวว่า อีกไม่นานก็จะสว่างแล้ว!"

ข้อมูลข่าวโดยข่าวสดออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2551

Posted by STY Staff/Bungon Jitrungsri/Sirirut Phu-eiumSrithanya Hospital Library

ขอโทษที่หายไปนานมากกก ค้า

เอาการบ้านมาแปะให้ดูคะ

ชิ้นที่แรก (มีการแก้มาค่ะ)

http://www.4shared.com/file/57587573/f15455c2/jsomyanontanakul2.html

ชิ้นที่สอง (อาจารย์ไม่ได้ตอบกลับมา แต่เท่าที่คุย ก็ผ่านแล้วนะคะ)

http://www.4shared.com/file/57587572/86536554/Law_has_little_role_until_the_smoke_clears_jitraporn.html

อาจารย์เอกคะ

เรื่องเอกสารของ RRU

เมย์ขอเวลาให้พ้นผ่านเดือนนี้ (สิงหา) ไปก่อนนะคะ

ขอโทษจริงๆ ค่ะ

เมย์เพิ่งคิดเรื่องวิทยานิพนธ์ตกปลายเดือนค่ะ

ตอนนี้เลยต้องเร่ง

เมย์ค่ะ

หวัดดีค่าลุงเอก พี่RRU1 และเพื่อนRRU2

รายงานตัวค่า....หลังจากหายไปเลยขอบคุณสำหรับfileพี่อ้อย พี่เมย์และกำลังใจนะคะ...วิชาสุดท้ายปวดหัวเล็กน้อยเพราะโอ่งไม่มีพื้นด้านกฎหมายเลยค่ะ....จยทางอักษรมาเลยงงๆกับการทำการบ้านประมาณว่ามืดมนเล็กน้อย...แต่ความพยามยามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่นใช่ไหมค่ะ

เดือนหน้ารุ่นน้องRRU2จะเดินทางไปเรียนที่แคนนาดาแล้วค่า....พี่ๆมีไรแนะนำไหมคะ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนและการใช้ชีวิต( ให้อยู่รอดปลอดภัย)

โอ่ง

สวัสดีค่ะ

1. ยินดีด้วยนะคะที่เดือนหน้าจะเดินทางกันแล้ว ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ แล้วโอ่งอยากทราบเรื่องอะไรเป็นการเฉพาะหรือเปล่าค่ะ เพราะจริงๆ ฝ่ายแคนาดาเป็นระบบชัดเจนอยู่แล้วค่ะ เราแค่เอาตัวเราไปวางในระบบเขาเท่านั้นค่ะ

2. เรื่องเรียน อ.ก็จะ orientation มีแฟ้มให้ ตารางเวลาการเรียน การวัดผล การบ้านส่งตอนไหน จะบอกหมดค่ะ

3. เรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ธรรมดาๆ ค่ะ เหมือนเป็น นักเรียนทั่วไป เพราะเรียนทั้งวัน ว่างแค่กลางคืน ซึ่งต้องทำการบ้านส่ง หอพักจัดให้ตามมาตรฐานทั่วไป (หากแคนาดาจัดให้อยู่ที่เดิม)มีช่องให้เสียบสายเน็ตในห้องพัก พกสาย extension ไปก็ดี ปลั๊กไฟจำไม่ค่อยได้ว่าใช้แบบไหน แต่พี่จะมี adapter ติดไป อุปกรณ์ไฟฟ้าที่หอพักมีให้ทั้งไมโครเวฟ กาต้มนำร้อน ตู้เย็น เตารีด พร้อม บอร์ดรองรีด จานชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม

4. อาหารการกิน ในมหาวิทยาลัยมีไม่มาก ด้านหน้ามหาวิทยาลัยมีร้านขายสเต็ก อาหารตามสั่งนิดหน่อย 1-2 ร้าน(พอทานได้ อย่าคาดหวัง )

นอกมหาวิทยาลัยมี supermart ที่สามารหาซื้ออาหารสำเร็จรูป และผักผลไม้สดได้ (เดินไปได้ แต่เหนื่อยหน่อยต้องแบกของเอง) มีร้านขายยาที่พอหาซื้อยาได้ แต่หากมีโรคประจำตัวควรนำยาไปเอง โดยเฉพาะพวกยาแก้อักเสบ (amoxiline) หากเจ็บคอบ่อย เนื่องจากบางประเทศ จะไม่ขายยาแก้อักเสบให้หากเราไม่มีใบสั่งยาจากหมอ

เมืองนี้เล็กมาก สงบๆ ช่วงเวลาที่ไป อากาศน่าจะกำลังสบายๆ นะคะ ลองตรวจสอบอากาศจาก CNN web หรือไม่ก็อีเมลล์ถาม อ.เกรก จะได้เตรียมเสื้อผ้าไปถูก

นอกนั้น พี่ก็ว่าไม่มีอะไรนะคะ ธรรมดาๆค่ะ หากโอ่งมีอะไรจะถามเฉพาะ ก็ลิสต์เป็นคำถามมาได้นะคะ พี่ยินดีค่ะ

พี่อ้อย

ทุกคนเตรียมกายเตรียมใจพร้อมแล้วนะครับ  ใครมีครอบครัวเตรียมระบบการสื่อสารให้ดี  จะได้ไม่ทุกข์ใจเวลาไปที่โน่น

พี่ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะคะ

1. เรื่องการเดินทาง เพื่อความสะดวกในการออกกระเป๋า ขอให้สายการบินเช็คไปเป็นกลุ่มเพื่อที่สัมภาระจะได้ออกมาในเวลาใกล้ๆ กัน นน.กระเป๋า เฉลี่ยกันได้ และจะเป็นการดีหากเราหาเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ โบว์หรือ tag สีเดียวกันเพื่อ identify สัมภาระของกลุ่ม เพราะจะได้ช่วยๆ กันดูของนะคะ

2. ให้ถ่ายเอกสาร invitaion letter ของมหาวิทยาลัยติดตัวไว้เพื่อแสดงให้กับ จนท.ตม.ที่แคนาดาดู จะสะดวกในตอนเข้าเมือง ไม่ต้องโดนซักถามมาก

3. เนื่องจาก ขณะนี้ บางปท.ค่อนข้างเข้มงวดกับการใช้กระเป๋าแบรนด์เนมของเลียนแบบ (ของปลอม)ซึ่งบางทีเรามักซื้อมาใช้เล่นๆ เพื่อความปลอดภัยอย่านำไปใช้จะดีที่สุดนะคะ เพราะที่สนามบินบางแห่งจะมี จนท.ตรวจจับและปรับแล้ว นอกจากจะอายแล้วยังเสียเงินค่าปรับอีก แต่เชื่อว่าน้องๆ เราใช้ของจริงแน่นอน อิอิ

Bon Voyage naka!

ถ่ายพาสปอร์ตติดตัวไว้ด้วยเผื่อหายไง

เอาเวปไซค์มาฝากค่ะ

http://www.nps.gov/phso/rtcatoolbox/dec_issues.htm

สำหรับคนที่จะสอนวิชาเกี่ยวกับความขัดแย้งนะคะ

ลองเข้าไปดูใน e-brary นะคะ

ค้นหาหนังสือชื่อ

Conflict and Communication : A Guide Through the Labyrinth of Conflict Management

เขียนโดย Daniel Shapiro(2004)

เมย์ค่ะ

ขอบคุณค่ะเมย์ ตอนนี้ ขออ่านธรรมะ delivery Happy 24 ชม.แทนก่อนละกันน้า เรื่องเรียนเก็บไว้ก่อน อิอิ

สวัสดีค้า

ไหนๆ เราก็เรียนกันเรื่อง "ความขัดแย้ง"

เมย์เลยสงสัยว่า ทุกคน

1.จะวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2551 อย่างไรค่ะ

2.ถ้าได้รับมอบหมายให้เป็นคนกลางในการจัดการกับเรื่องนี้ คิดว่าควรจะเริ่มอย่างไรคะ

เมย์ค่ะ

หัวข้อที่เมย์ถามให้ปรมาจารย์ตอบละกันนะจ๊ะ แค่ฟังข่าวยังมึนเลย ฮ่าๆๆ

โอกาสนี้ ทราบจากโอ่งคนสวยว่า น้องๆ กำลังจะไปแคนาดากันแล้ว ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ เรียนให้สนุกสนาน รับรองสนุกแน่ๆ ค่ะ

พี่อ้อย

อ.เอกคะ ขอขำเด็กจิ๋วสองคนนี้ค่ะ

copy มาให้อ่านค่ะ โดยฟังเพลงประจำบล็อคของ อ.เอกคลอๆ ไป หลับสบายยยยยย อิอิ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ได้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตด้วย พรปีใหม่ที่อยากจะมอบให้แก่ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ที่มีด้วยกัน 3 ข้อที่อยากจะให้ยึดถือและปฏิบัติตาม คือ “มองลึก นึกไกล ใจกว้าง” โดยสามารถขยายความได้ว่า...

มองลึก คือ เมื่อมองไปที่สิ่งไหนก็ตามต้องมองไปที่สาระ แก่นที่แท้จริงของสิ่งๆ นั้น เช่น หากมองการเมือง โดยแก่นแท้คือการสร้างผลประโยชน์ที่จะต้องอยู่กับประเทศชาติ และประชาชน ไม่ใช่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หากมองการศึกษา แก่นแท้คือเส้นทางของการเกิดปัญญา ไม่ใช่มองแค่ว่าการมีอำนาจ หน้าที่โดยอาศัยเพียงแค่ปริญญาบัตร

นึกไกล คือ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม อย่าเอาแต่ความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง ควรนึกอยู่เสมอว่า ในขณะที่ตัวเองนั้นได้อะไร แล้วคนอื่นได้รับอะไร... หรือการถามว่า “ฉันควรจะได้อะไร” มากกว่า การถามว่า “ฉันได้อะไร”

ใจกว้าง คือ ควรพร้อมในการใช้ชีวิตร่วมกับความแตกต่างหลากหลาย ทั้งความคิด ความเชื่อ ศาสนา ผิวพรรณ วัฒนธรรม และเพศ ขอให้คิดว่าเป็นเสน่ห์ของการใช้ชีวิตอยู่บนโลกแห่งนี้ พร้อมทั้งให้ตระหนักเสมอว่า “ยอมรับจุดต่าง แสวงหาจุดร่วม” คือให้ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาว่าคนเรามีความแตกต่างกันเป็นพื้นฐาน จึงไม่ควรนำความแตกต่างมาใช้เพื่อให้แตกความสามัคคีกัน อีกทั้งการแสวงหาจุดร่วมอันเดียวกัน คือการใช้ชีวิตด้วยท่าทีแห่งเมตตาและไมตรีต่อคนทั้งโลก หากตระหนักได้ถึงจุดนี้ได้เมื่อไร คนไทยก็จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากขึ้น

สุดท้าย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ยังฝากถึงข้อควรระวังสำหรับประชาชนคนไทยในการดำเนินชีวิตในปีใหม่นี้ไว้อีกว่า สิ่งที่อยากจะฝากเตือนเพื่อให้คนไทยได้ระวังนั้นมีอยู่ 6 ข้อ อันได้แก่ 1.ระวังอย่าให้การเมืองนำไปสู่ความรุนแรง 2.ระวังอย่าใช้จ่ายเกินตัว 3.ระวังอย่าให้เกิดความเกลียดชังของคนในชาติด้วยกันเอง 4.ระวังอย่าทำร้ายตัวเองเมื่อต้องประสบกับมรสุมชีวิต เช่น การตกงาน 5.ระวังอย่าให้ตนเองตกเป็นทาสของผลประโยชน์ จนถูกชักชวนให้เป็นแนวร่วมของคนที่ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศชาติ และสุดท้าย 6.ระวังอย่าตื่นตกใจกับกระแสหมอดู “คอนเฟิร์ม” เพราะการกระทำของคนที่ได้ชื่อว่า “หมอดู” ต้องไม่ผิดจรรยาบรรณ โดยการทำนายทายทักผู้อื่นซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ร้องขอ เป็นการทำให้สังคมเกิดความปั่นป่วน ทั้งนี้ หากประชาชนสามารถระวังในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้เชื่อว่าการดำเนินชีวิตรับปีใหม่นี้จะราบรื่นและเกิดสันติสุขได้...เจริญพร

ขอบคุณที่ฟังเพลงประจำบล็อคของ อ.เอกคลอๆ ไปแล้วหลับสบาย  ขอบคุณที่เอาแนวทางการดำเนินชีวิตและพรปีใหม่ จากท่าน ว.วชิรเมธี มามอบให้

คือว่า สนใจอยากเขาศึกษาเรียนร้ด้วย ทำไงดีค่ะ

สนใจเรียนโปรแกรมนี้ค่ะ

แต่อยากทราบสิ่งที่เคยเป็นหรือเป็นอุปสรรคของการศึกษาจากศิษย์เก่าหรือนักศึกษาปัจจุบันหลังจากที่เข้าศึกษาโปรแกรมนี้หน่อยค่ะ

รบกวนช่วยเข้ามาตอบด้วยนะคะ เพราะอยากทราบเพื่อการตัดสินใจค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

30คุณเภาซียะห์ สาอี และคุณ30Mayday ถ้าสนใจเรียนโปรแกรมนี้ติดต่อที่ 02-527-7830-9 ครับ

อุปสรรคของการศึกษาจากศิษย์เก่าหรือนักศึกษาปัจจุบัน ต้องมีเวลาในการเข้าเน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูล รุ่นที่ 1 จะมีปัญหา พอรุ่น 2 อาจารย์สร้างบล็อกนี้ให้เขาแลกเปลี่ยนกันได้ผลมาก เพราะทุกคนผ่านหมด จนถึงทำเอกสารวิจัย ขณะนี้ส่งจบแล้ว 2 คนในรุ่นที่ 2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท