โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ทิศทางของระบบปฐมภูมิแม่สอด-เราจะเดินต่อไปอย่างไร


โดยธรรมชาติขององค์กรที่จะอยู่ได้ต้องเติบโต ถ้าไม่โตแต่อยู่เฉยก็มักจะหมดความสำคัญ และตายไปในที่สุด ผมเห็นถึงความเสี่ยงข้อนี้ดี จึงกลับมาดูองค์กรที่ผมรับผิดชอบว่าจะไปในทิศทางใด

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของการทำงานที่ อำเภอแม่สอด จ. ตาก องค์กรปฐมภูมิได้เติบโตอย่างช้า ๆ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ+รับผลกระทบเชิงนโยบายมากพอสมควร ผมกับคุณหมอวัสนา ร่วมกันทำงานโดยแบ่งพื้นที่บริการเป็น 3 PCU หลัก กับอีก 3 PCU เครือข่าย

คุณหมอวัสนารับผิดชอบ PCU หลัก 1 แห่ง ปัจจุบันปรับเป็น CMU tract A และเป็นแม่ข่ายให้ PCU รอง 1 ที่คือ ห้วยไม้แป้น ส่วนผมรับผิดชอบ PCU แม่สอดเป็น PCU รพ.รับให้บริการเขตเมืองประมาณ 30,000 คน(ถือว่าใหญ่เกินกว่าจะดูแลไหว)ที่มีเครือข่ายเป็น PCU เขตเมืองอีก 1 แห่ง คือ ท่าสายลวด +ต้องดู PCU แม่กึ้ดหลวง(tract B) +PCU ปางส้านออกทุกวันศุกร์(ไกลมากอยู่ในป่า)

จากตัวงานที่ต้องมีพื้นที่ให้บริการกว้างหมอ 2 คน+พยาบาล 14 คน โดยส่วนตัวของผมเองก็มองทิศทางที่ไปว่ายังลำบาก เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับ PCU/สอ. ที่ทิศทางการทำงานไม่เป็นเอกภาพ ส่วน PCU เขตเมืองที่มีความเข้าถึงยาก และ ยังต้องดู PCU ลูกข่ายที่ไม่สามารถจะปิดบริการได้ เราจะทำอย่างไรกันดี

โดยธรรมชาติขององค์กรที่จะอยู่ได้ต้องเติบโต ถ้าไม่โตแต่อยู่เฉยก็มักจะหมดความสำคัญ และตายไปในที่สุด ผมเห็นถึงความเสี่ยงข้อนี้ดี จึงกลับมาดูองค์กรที่ผมรับผิดชอบว่าจะไปในทิศทางใด

PCU แม่สอด

เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองรับผิดชอบประชากร 30,000 คน เปิด OPD 3 วัน ลงชุมชนทุกวัน+วันอังคารทำงาน palliative care และ รับผิดชอบงาน home health care +งานศูนย์ข้อมูล ให้กับ ทุก PCU (รับผิดชอบข้อมูล refer กลับ) มีพยาบาล 8 คน ขณะนี้ชมรมผู้สูงอายุ run ได้ด้วยตนเองแล้วโดยมีพยาบาลเป็นที่ปรึกษา(คิดตามหัวประชากร เรามีทรัพยากรที่พอจะดูแลชุมชนเพียง 15,000 คนเท่านั้น)

วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ที่มีผลต่อการทำงานที่สำคัญตอนนี้คือ การเมืองท้องถิ่นที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นโดยงบประมาณบางส่วนที่ใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชนถูกถ่ายโอนไปยังเทศบาลแล้ว (กองทุนสุขภาพตำบล) เราเข้าไปร่วมบ้างแต่ในปีนี้พบอุปสรรคบางประการจึงไม่สามารถรับงบสนับสนุนได้

เราวางยุทธศาสตร์ตามทรัพยากรที่มี ภายใน 3 ปี

1.พัฒนางานที่เป็นหัวใจขององค์กร คือ งานชุมชน (ในเวลานี้งาน ANC สูตินรีเวชรับผิดชอบอยู่,งาน vaccine เวชกรรมสังคมดูแล) โดยมองไปที่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ มองไปที่ 3 ปี น่าจะเห็น ชุมชนมีส่วนร่วม ห่วงใยและใส่ใจผู้ด้อยโอกาส+เกิดพลังดีๆ ช่วยเหลือกันเองในสังคม (เราเป็น change agent)

            1.1 กิจกรรมกลุ่มเบาหวาน/โรคเรื้อรัง ในชุมชน ที่ครอบคลุม 50% พื้นที่ ( 9 ชมรม)

            1.2 เสริมสร้างระบบ home health careและงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ

            1.3 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานศูนย์สุขภาพชุมชน-คณะกรรมการบริหาร PCU

            1.4 หาแนวร่วมจิตอาสา/ อสม./ผู้นำชุมชน - ตอนนี้เริ่มมีสมาชิกเหล่านี้ร่วมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย(แต่ตอนนี้มีปัจจัยการเมืองมาเกี่ยวข้อง ต้องระมัดระวัง)

            1.5 พยายามปฏิสัมพันธ์กับองค์กรส่วนท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์

2.ปรับระบบบริการให้ตอบสนองความต้องการทุกภาคส่วนมากขึ้น-เริ่มต้นจาก พูดคุยกับหุ้นส่วนต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง (stakeholder dialoque) เท่าที่นึกออกตอนนี้มีดังนี้

            2.1 ประชาชน โดยผ่านคณะกรรมการบริหาร PCU +ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้นำชุมชน/ผู้ป่วย

            2.2 การเมือง ต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม (เพื่อประโยชน์ของชาวบ้าน โดยที่ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง)

            2.3 สื่อในแม่สอด -มี cable TV และ วิทยุชุมชน (ตอนนี้ผมออกอยู่ทุกเสาร์ ที่ แม่ปะ radio)

            2.4 โรงพยาบาล-ตอนนี้เราปฏิสัมพันธ์โดยสร้างระบบการส่งต่อที่ดี โดยให้ รพ. เห็นภาพของชุมชนโดยจัด งาน palliative care+HHC เป็นธงนำ เราขึ้น round ทุกวันอังคาร ในปีหน้าจะจัดตอบกลับด้วยระบบ IT ตอนนี้เรานำหน้าเรื่องนี้ไปพอสมควร สนใจเยี่ยมชมที่ รัก palliative อีกทั้งเริมรับผู้ป่วยเรื้อรังในเขตเมืองมาดูแล (โดยสอดรับกับแผนทำกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน)

3.สร้างความเข้มแข็งในองค์กร-เสริมพลังจากการทำงานที่ทำให้เราอ่อนล้า

ผมได้ไปอบรมกระบวนกรสุนทรียสนทนา คิดว่าจะเริ่มนำมาใช้ในองค์กร PCU โดยจัด พฤหัสหรรษา เดือนละ 1 ครั้ง

4.ส่วนเรื่อง PCU/สอ. ที่เป็นปัญหาเรื้อรังนั้น ผมจะไปพูดคุยกับท่าน สสอ. และท่าน ผอ. รพ. เพื่อได้มุมมองที่ชัดเจนและเปิดเวที คปสอ. อีกครั้ง คงต้องเริ่มตรงนี้ก่อนถึงจะทำงานก้าวต่อไปได้

สุดท้ายนี้สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานชุมชนคือการสร้างเครือข่ายปฐมภูมิที่หลากหลาย+เหนียวแน่น เพื่อ ชุมชน และสุดท้ายเพื่อให้เกิดคำว่า "ศูนย์สุขภาพชุมชนของเรา" จากปากชาวบ้านจริง ๆ

หมายเลขบันทึก: 180971เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • มาชวนหมอโรจน์ไปสวนป่าของพ่อครูบา
  • ........
  • ........
  • ใช้เวลา 3 วัน ระหว่าง 17-19 พ.ค. ค่ะ
  • สถานที่สวนปาอยูสตึก บุรีรัมย์
  • ถ้าตกลงไปจะเชื่อมโยงให้
  • ........
  • ไปไหมค่ะ
  • ไปเพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการ
  • จากยอดอาจารย์หลายท่าน....และ
  • เพื่อสร้าง bonding หรือโยงเครือข่าย....และ
  • ได้ทดลองวิชาสุนทรียสนทนา
  • .........
  • ยามใดอ่อนล้า เครือข่ายช่วยเสริมพลังได้นะค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ผมทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน อยู่ที่ อ.แม่สอดเหมือนกัน
  • ผมทำงานร่วมกับภาคี ที่เป็นคุณหมอสาธารสุข 5 อำเภอชายแดน มีโพพยาบาลบ้าง เช่น โรงพยาบาลพบพระ
  • ผมเองชื่นผม คุณหมอ ทั้งหลายที่อุทิสตน ทำงาน ในโรงพยาบาล ตามชายแดน ครับ
  • โดยเฉพาะโรงพยาบาบแม่สอด ที่มีคนไข้วันหนึ่งหลายร้อย หรือหลายพันคน
  • ให้บริการทั้งคนไทยและพี่น้องเพื่อนบ้าน
  • ขอบคุณที่ว่างสำหรับข้อคิดเห็นครับ

สวัสดีครับ

  • ขอขอนุญาตเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
  • น่าชื่นชมกับก้าวที่กำลังจะเดินของ CUP แม่สอดมากๆ ครับ
  • การดึง stakeholders จากทุกภาคส่วนเข้ามาสร้างเป็นพลังเครือข่าย และใช้กลไลการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นับว่าเป็นหัวใจของการทำงานที่น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในเร็ววัน
  • แล้วจะแวะเข้ามาเรื่อยๆ ครับ

ด้วยความเคารพรัก 

ขอบคุณคุณ

P  นายประจักษ์ ที่มาเยี่ยมเยียน

 

P อาจารย์ หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ  ครับ อยากไปมากครับแต่ช่วงนี้ผมต้องทำงานเยอะมาก ถ้ามีโอกาสหน้ายินดีครับ

 

 P  ครูข้างถนน ครับยินดีที่รู้จักครับ ถ้าว่างก็เวะมาเยี่ยมเยียนที่ศูนย์สุขภาพชุมชนนะครับ

 

 

P  กิตติพงศ์ พลเสน ครับ ขอบคุณที่แวะมาครับ งานของผมยังห่างไกลจากความสำเร็จมากครับ หวังว่าคงได้รับคำแนะนำในโอกาสต่อไปครับ

สวัสดีครับพี่โรจน์ ตอนนี้ทุก CMU โดนการเมืองเล่นงานน่าดู เพราะเป็นช่องทางในการหากินและหาเสียงของเค้า โดยเฉพาะกองทุนสุขภาพตำบลน่ะครับ ไม่มีทางที่คนของสาธารณสุขจะเข้าไปมีส่วนในระดับนโยบายได้เลย เพราะว่าเวลาชงโครงการก็โดนนายกกับปลัดงาบไปหมด แม่แต่อสม.ส่งโครงการไปก็โดนเตะตกหมดเลย แต่คนที่น่าสงสารกว่าก็คือเจ้าหน้าที่อนามัยเราเนี่ยแหละครับที่ต้องส่งตัวเลข(จริงบ้าง ปลอมบ้าง)ให้กับผู้ใหญ่ที่ชอบดูตัวเลขมากกว่าดูคนทำงาน ผมว่าเราหาที่เปิด Hipark มาถก(ด่า)ประเด็นนี้กันดีกว่าครับพี่ (อยากเจอพี่ด้วย)

สวัสดีครับเดียร์

พี่ก็พบปัญหาอยู่เหมือนกันครับ ที่ รพ. พี่เป็น รพ. ใหญ่ ท่านผู้อำนวยการตัดสินใจไม่รับงบนี้เพราะเงื่อนไขมีปัญหาและไม่โปร่งใส และคุยตรงกับผู้ตรวจราชการ+สปสช.เขต/สปสช. ประเทศ

สิ่งที่พี่ทำคือ รวมพลังความสามัคคีใน PCU จัดกระบวนทัศน์ใหม่โดยเข้าถึงประชาชนมากขึ้น/เข้าถึงพื้นที่สื่อเพื่อเพิ่มคุณค่าของงานเรา การเมืองเราชนตรงไม่ได้ แต่ใช้เขาให้เป็นประโยชน์ได้(อาจต้องคุยกันเป็นการส่วนตัวนะครับ)

  • ที่กระบี่ ร.พ.กับสสจ. ช่วยกันสร้างระบบ
  • มีข้อเสนอร่วมกันระหว่างการเมืองกับราชการ
  • อบจ./อบต. ใช้งบไปทำเรื่องที่สาธารณสุขไม่ทำ โดยใช้กม.ของตนเองไปดำเนินการ
  • วิธีทำงานสาธารณสุขเราป้อนข้อมูลให้ ว่าอะไรคือปัญหา
  • การเมืองไปว่าต่อเอาเอง รวมข้อมูลกับประชาชนแล้วลำดับความสำคัญ
  • ข้อมูลที่ป้อนให้ มีข้อมูลสถานะสุขภาพทีวิเคราะห์ปัญหาตามลำดับความสำคัญไว้แล้ว การเมืองจะเอาทำต่ออย่างไรก็แล้วแต่เขา  เขาจะเสริมงบมาให้เรา เราก็จะรับเฉพาะในภาระกิจร่วม เช่น การดูแลสิ่งแวดล้อม ที่หลีกเลี่ยงไม่เกี่ยวกันไม่ได้  และในบางเรื่องเราให้ข้อมูลแง่มุม ที่หากเขาทำเอง มันง่ายกว่าเราทำ  
  • กรจัดบริการ เราให้เขารับรู้ไปว่า เราทำอะไรไม่ทัน และมีอะไรที่เขาทำเพิ่มได้ภายใต้เงื่อนไขของภารกิจที่เขามี
  • สำหรับร.พ. พี่จะไม่ใคร่รับงานที่เขาเอาเงินมาให้เหมือนจ้างเราทำงานให้
  • ขณะนี้เรา ( ร.พ.+ สสจ.)กำลังช่วยกันเดินต่อ เรื่องประสนแผนงานการบริหารงบสาธารณสุขของเขาออกมาให้ไม่ซ้ำซ้อนกับเรา

ขอบคุณ

อาจารย์P

 หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ  สำหรับคำแนะนำดี ๆครับ

สวัสดีครับ

สบายดีครับพี่ แต่ช่วงนี้งานยุ่งเลยไม่ค่อยได้เขียน Blog ครับ

ผ่านมาเจอะพอดี ช่วยเป็นกำลังใจให้นะคะ และที่สำคัญคือ สนใจโครงการ end of life มาก ไปปฏิธรรมกลับมา มีโครงการน่าสนใจ เกี่ยวกับการตายอย่างมีสติ แต่สถานที่ฝึกอยู่ชุมพร ก็เลยไปหาข้อมูลจากหนังสือบ้างถ้าหมอสนใจก็ติดต่อมาได้ค่ะ

และถ้าเป็นไปได้อยากไปช่วยPCU ไม่เกี่ยงสถานที่(พยาบาล)ไม่รู้ว่าจะอาวุโสพอที่ย้ายไปได้หรือเปล่าเพราะรู้สึกย้ายมายากจัง

ความจริงก็อยู่ใกล้กันนั่นแหละค่ะแต่ขึ้นเวรตลอดเตรียมหนังสือตั้งใจจะเอาไปให้หลายรอบแต่มีคนขอไปซะก่อน ที่ตึกก็ยุ่งมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท