2.5 แจ้งตำรวจ
กรณีที่ผู้กระทำการล่วงเกินทางเพศต่อเด็กเป็นคนแปลกหน้าให้แจ้งตำรวจทันที โดยนอกรายละเอียดทุกอย่างเท่าที่ทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับเด็กอื่นต่อไป
2.6 แจ้งหน่วยงานทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานท่าสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น หน่วยงานด้านพิทักษ์สิทธิเด็กหรือหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์อื่นๆ เพื่อขอรับความช่วยเหลือไม่ว่าในแง่ของ การบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจและอารมณ์ให้แก่เด็กและครอบครัว การให้ที่พักที่ปลอดภัยเด็ก การขอคำปรึกษาว่าควรจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดหรือไม่แม้ว่าควรจะฟ้องร้องทุกกรณี ทั้งนี้จะต้องพิจารณาความเสียหายที่จะเกิดแก่จิตใจและอารมณ์ของเด็กที่เป็นผลจากการดำเนินคดีเป็นสำคัญ
การบำบัดและฟื้นฟู
ด้านร่างกาย
ให้แพทย์ตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น บาดแผล ความเจ็บป่วยหรือการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ตับอักเสบไวรัสบี เริม หนองใน เอดส์ เป็นต้น
ด้านจิตใจและอารมณ์
ให้จิตแพทย์เด็กหรือนักจิตวิทยา ตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ต้องประสานงานกับนักสังคมสงเคราะห์และผู้ดูแลเด็กเพื่อจัดกิจกรรมบำบัดฟื้นควบคู่กับการพบจิตแพทย์ด้วย
ด้านครอบครัว
ค้นหาบุคคลในครอบครัวหรือญาติที่มีเจตนาและความพร้อมในการคุ้มครองเลี้ยงดูเด็ก เข้ามาร่วมในกิจกรรมที่นักสังคมสงเคราะห์จัดเพื่อบำบัดฟื้นฟูเด็ก เช่น การเข้าพบและเยี่ยมเด็กตามกำหนด เข้าร่วมค่ายครอบครัวด้วย เป็นต้น
หมายเหตุ
ในกรณีที่เด็กได้รับการบำบัดฟื้นฟูทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์จนคืนสูสภาพปกติหรือใกล้เคียงปกติ
o ควรส่งเด็กกลับสู่ครองครับเดิมซึ่งมีญาติที่สามารถให้การคุ้มครองเด็กได้อย่างแท้จริง
o การติดตามเยี่ยมเยียนดูแลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดความมั่นใจว่าเด็กคนนั้นจะพ้นภยันตรายอย่างสิ้นเชิง (เด็กสามารถดูแลปกป้องตนเองได้)
ในกรณีที่ไม่สามารถหาบุคคลเข้าร่วมฟื้นฟูได้ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดให้ติดต่อหน่วยงานที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือครอบครัวอุปการะเพื่อหาครอบครัวทดแทนให้เด็ก
ในกรณีที่ส่งเด็กเข้าไว้ให้ใน สถานดูแลเด็ก (ทั้งของเอกชนและรัฐ) ให้ตรวจสอบดูว่ากิจกรรมบำบัดฟื้นฟูข้างต้นหรือไม่ หากไม่มีให้เสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น แล้วนำเรื่องปรึกษากับจิตแพทย์เด็กนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาที่ได้ประสานงานกันมาตั้งแต่แรก
การดำเนินการช่วยเหลือด้านกฎหมาย
1. กรณีที่ต้องพาเด็กไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
1.1 ถ้าควรดำเนินคดีอาญาต้องอธิบายรายละเอียดให้เด็กฟังว่าจะไปที่สถานีตำรวจทำไมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ (พนักงานสอบสวน) จะซักถามอะไรจากเด็กบ้าง เช่น หนูถูกใครทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ถูกกระทำกี่ครั้ง
1.2 ปลอบเด็กไม่ให้วิตกกังวลหรือหวาดกลัวที่จะตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ตามความเป็นจริงเพราะจะทำให้การดำเนินการเสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องถูกซักถามในสิ่งที่ไม่ต้องการพูดถึงซ้ำอีก
1.3 แจ้งให้พนักงานสอบสวน (เจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบคดี)
o สอบถามเด็กตามลำพังไม่ปะปนกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สอบถามต่อหน้าผู้กระทำความผิด หรือผู้ที่เด็กหวาดกลัวเป็นอันขาด
o ควรให้บุคคลที่เด็กไว้วางใจร่วมอยู่ด้วย
o พนักงานสอสวนควรเดินทางไปสอบปากคำเด็กที่สถานพยาบาล หรือสถานบำบัดฟื้นฟู
1.4 กรณีที่เด็กยังไม่มีความพร้อมจะให้การหรือไม่สามารถให้การได้จนจบความ เพราะปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ ให้ขอผัดผ่อนและส่งเด็กให้จิตแพทย์เด็กที่โรงพยาบาลรัฐตรวจรักษา หากไม่สามารถพบจิตแพทย์ได้ ให้ส่งเด็กพบนักจิตวิทยาเด็กหรือพยาบาลที่จบด้านจิตวิทยาเด็ก
เมื่อเด็กพร้อมจึงนัดหมายกับพนักงานสอบสวนเพื่อสอบสวนใหม่
1.5 กรณีที่ตำรวจไม่ยอมรับแจ้งความให้แจ้งที่หน่วยงานด้านพิทักษ์สิทธิเด็ก โดยด่วน
2. กรณีที่เด็กต้องให้การต่อศาล
2.1
เตรียมความพร้อมของเด็กโดยการอธิบายบทบาทหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ผู้พิพากษา เสมียน ศาล ทนายจำเลย ทนายโจทก์
(ถ้ามี) พยานโจทก์ และพยานจำเลย ถ้าเป็นไปได้ให้พาเด็กไปร่วมฟังการพิจารณาคดีของศาลในคดีอื่นๆ
เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับบรรยากาศในศาล
2.2
ปลอบโยน
ให้กำลังใจเพื่อให้คลายความกังวลจากบุคคลผู้ทำหน้าที่ในศาล
(ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ
ทนายและพยานโจทก์)
ว่าทุกคนมีความเห็นใจ และต้องการช่วยเหลือเด็ก
2.3
ประสานงานกับพนักงานอัยการหรือทนายโจทก์
เพื่อยืนคำร้องต่อศาลให้มีการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
(ในกรณีที่จำเลยเป็นบุคคลใกล้ชิดเด็ก)
โดยยังให้มีทนายจำเลยอยู่
2.4
ในกรณีที่เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจอย่างรุนแรง
ไม่ว่าขณะที่ถูกล่วงเกินทางเพศใหม่ๆ
หรือในระหว่างการพิจารณาคดีก็ตามควรประสานงานกับพนักงานอัยการหรือทนายโจทก์เพื่อแถลงให้ศาลทราบถึงสภาพเด็ก
ถ้าเป็นไปได้ควรให้แพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลมาเบิกความในฐานะพยานด้วย
2.5 กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นผลร้ายต่อจำเลยซึ่งเป็นบุพการีหรือผู้ใหญ่ชิดเด็ก ต้องเอาใจใส่ ปลอบโยน และชี้แจงต่อเด็กว่า คำพิพากษานั้นเป็นผลของการกระทำซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบโดยตรง การบอกเล่าให้การตามความจริงของเด็กมิใช่การทำความผิดต่อใครทั้งสิ้น
ในกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยที่เป็นคนแปลกหน้า ต้องพยายามให้เด็กเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังมีข้อบกพร่อง และให้เด็กรับการบำบัดฟื้นฟู
คุณสามารถช่วยป่องกันเด็กๆ ได้
1. ในฐานะพ่อแม่
1.1
พ่อแม่ควรจะทราบอยู่เสมอว่าขณะนี้ลูกกำลังอยู่กับใคร
ที่ไหนและกำลังทำอะไรอยู่
1.2
ให้เวลาลูก
ตั้งใจฟังและรับฟังทุกเรื่องที่ลูกเล่า
ชวนให้ลูกเล่าเรื่องราวต่างๆ เมื่อมีปัญหาก็ปรึกษา
พ่อแม่ได้เสมอเพื่อที่ลูกจะได้ไม่มีความลับต่อพ่อแม่
1.3 พูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการล่วงเกินทางเพศกับลูกบ้าง และสอนให้ลูกรู้จักการระวังป้องกันตนเอง
2. ในฐานอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก หรือพลเมืองดี
2.1 ศึกษาให้รู้สาเหตุ ขอบเขตและผลกระทบของการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก
2.2 ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กเกี่ยวกับปัญหาการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก และวิธีการป้องกัน
2.3 คอยช่วยสอดส่องและสังเกตเสมอว่า มีปรากฎการณ์อะไรบ้างที่ส่อแววว่าอาจจะมีการล่วงเกินทางเพศต่อเด็กที่คุณรู้จัก
2.4 ปลอบใจ ให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ
2.5 สนับสนุนหน่วยงานหรือโครงการที่ทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและช่วยเหลือการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก
การสอนให้เด็กรู้จักป้องกันตนเอง
1. ก่อนจะไปที่ใดควรให้ผู้ใหญ่รับรู้ว่าจะไปไหนกับใคร อย่างไร จะกลับเมื่อไร และอย่าเปลี่ยนจุดหมาย
2. ควรมีเพื่อนไปไหนด้วยเพื่อความปลอดภัย
3. อย่าใจอ่อน ไว้ใจ เชื่อหรือรับของจากคนแปลกหน้า หรือคนที่ไม่น่าไว้วางใจ แม้ผู้นั้นจะแสดงท่าทางเป็นมิตร
4. สอนให้เด็กรู้จักป้องกันตัวเองจากตนแปลกหน้า เมื่อคนแปลกหน้าชวนให้เด็กไปไหนด้วย สอนให้เด็กใช้ “คำถาม 3 ข้อสำหรับคนแปลกหน้า”
4.1 ฉันรู้สึกดีหรือไม่ดี ที่จะไปกับเขา
4.2 พ่อแม่จะรู้หรือไม่ว่าฉันอยู่ที่ไหน
4.3 เมื่อความจำเป็น ฉันจะขอความช่วยเหลือจากใครได้หรือไม่ในที่นั้นถ้ามีคำตอบข้อหนึ่งข้อใดว่า “ไม่” ควรปฏิเสธ แล้วรีบไปหาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจทันที
5. สอนให้เด็กป้องกันตัวเองจากบุคคลใกล้ชิด เมื่อบุคคลใกล้ชิดมาสัมผัสร่างกาย และเด็กรู้สึกอึดอัด ให้ใช้หลัก WHY NO GO TELL
WHY : |
ทำไมเขาถึงมาสัมผัสร่างกายของเรา |
NO : |
ปฏิเสธสัมผัส ที่ไม่ชอบหรือทำให้อึดอัดนั้น |
GO : |
รีบหนีไปหาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ |
TELL : |
เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟังหากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจยังไม่เชื่อต้องพยายาม |
รายชื่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กถูกล่วงเกินทางเพศ
1. ในกรณีที่ต้องการดำเนินการทางกฎหมาย อาจขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
o สภาทนายความ โทร. 281-8308, 281-6463
o สมาคมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
: กรุงเทพฯ โทร.
275-4231-3
: อุบลราชธานี โทร.
(045) 265-112
: เชียงใหม่
โทร.
(053) 275-035
: บุรีรัมย์ โทร.
(044) 613-284
: นครศรีธรรมราช
โทร. (075) 345-568
o สำนักงานอัยการสูงสุด (ฝ่ายสิทธิเด็ก) โทร. 541-2843, 541-2940
o มูลนิธิเพื่อนหญิง โทร. 270-0928
o มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 412-1196, 412-0739, 864-1421
2. ในกรณีผู้กระทำล่วงเกินเพศเป็นบุพการี ต้องขอความช่วยเหลือจาก
o สำนักอัยการสูงสุด (ฝ่ายสิทธิเด็ก) โทร. 541-2843, 541-2940
กรณีที่ดำเนินการผ่านสำนักงานอัยการส
รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข อย่ารอให้ถึงเวลาที่คนรอบข้างคุณกลายเป็นเหยื่อ แล้วค่อยมาวัวหายแล้วล้อมคอก ถูกต้องครับ
นี่นี่ช่วยตำรวจทีว่ามีเว็บโป๊มากเลยอะ
ช่ววยเเจ้งทีดิตอนนี้เรารู้เเค่2เว็บเอง
อะ
1www.zeedroom.com(เพื่องเป็นคนบอกเว็บ)
2เข้าgoogleเเล้วผิมว่าcartoondoujin(จะบ้าตายกับเว็บนี้)