ขอคำแนะนำ"การพิจารณาให้ 2 ขั้นลูกน้อง"


เพราะผมไม่อยากให้การที่ใครคนใดคนหนึ่งได้ขั้นพิเศษถูกจับตามองเป็นพิเศษ

          ตั้งแต่ก่อนเดือนเมษาที่ผ่านมีงานที่ผมหนักใจในการตัดสินใจและค้างคามาโดยตลอด "การพิจารณาความดีความชอบให้ลูกน้อง"เพื่อให้ได้ขั้นพิเศษ จริง ๆผู้ใต้บังคับบัญชาผมมีเพียงสิบกว่าคน โควต้าที่ได้ก็แค่ 2 คนเท่านั้น แต่การตัดสินใจจะให้ใครโดยการเปรียบเทียบเนี่ยทำให้ผมหนักใจเอามาก ๆ เพราะผมไม่อยากให้การที่ใครคนใดคนหนึ่งได้ขั้นพิเศษถูกจับตามองเป็นพิเศษ

          ที่ผ่านมาผมใช้วิธีการหมุนเวียนแบบมีเงื่อนไข คือผมจะเรียงลำดับผู้ที่ได้รับขั้นพิเศษมาก่อนและหลังตามลำดับปีที่ได้ไว้เลย  เสร็จแล้วก็จะมาดูว่างานที่มอบหมายให้แต่ละคนทำผลงานเป็นอย่างไรหากผลงานที่ทำทุกคนไม่มีปัญหา พฤติกรรมการทำงานไม่มีปัญหาผมก็จะให้ตาม"คิว"ที่จัดไว้ 

           แต่ก็อย่างว่าแหละครับ คนเรามองต่างมุม บางท่านก็บอกผิดหลักเกณท์ คนที่จะได้"ต้องดีต้องเด่น" แล้วผมจะเอาอะไรมาเปรียบเทียบในเมื่อลูกน้อง แต่ละคนมีงานต่างกัน มีโอกาสต่างกัน การพูด การจา บุคลิกนิสัยใจคอต่างกัน ดังนั้นการปฏิสัมพันธ์ การสนองต่องานที่ทำหรือมอบหมายก็ต่างกัน "คนเราไม่เหมือนกัน" แต่โดยสรุปทุกคนมีผลงานที่ไม่ผิดพลาดและไม่เสียหาย

           ท่านที่มีประสบการณ์กรุณาช่วยให้คำแนะนำผมหน่อยเถอะครับก่อนที่จะถึงเดือนตุลานี้ผมต้องมีแนวทางที่ชัดเจนครับผม

หมายเลขบันทึก: 180642เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เพื่อไม่ให้พี่หมอต้องลำบากใจ  หนิงขอรับไว้เองนะคะ

อิอิ ( ขำไม๊...ไม่ขำเนอะ )

จากคนที่ 17 ปีได้ครั้งเดียวค่ะ

ผมเอาใจช่วยครับพี่รอน ลำบากใจอยู่เหมือนกัน ประเด็นนี้ ผมไม่มีข้อเสนอแนะนะครับ แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือตั้งอยู่บนความเห็นชอบร่วมกัน และมีความสุขร่วมกันนะครับ

คิดถึงบ้านเรามากครับ

ต้องดูนโยบายหน่วยงานว่าเน้นทางใด ให้คนที่ทำงานสม่ำเสมอ ผลงานค่อนข้างเด่น ถ้าให้แบบสลับกันไปคนที่ทำงานดีๆๆจะรู้สึกท้อถอย มีหลายองค์ประกอบเนอะ อยากให้มีประกาศเกณฑ์และคะแนนให้โปร่งใส เรียงตามลำดับที่ ให้เขาตรวจสอบได้ครับ เป้นหัวหน้าก็ลำบาก อิอิๆๆ สู้ๆๆ

มาให้กำลังใจด้วยคนค่ะ

เรื่องประเมินผล .. เมื่อต้องตัดสินใจทีไร หนักใจทุกทีเลย

เพราะคนแต่ละคนก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก ...

น่าเห็นใจคนที่เป็นเจ้านายก็ตรงนี้แหละนะคะ

สู้ ๆ ค่ะ

สวัสดีครับ ขออนุญาต ลปรร เรื่องความดีความชอบครับ

       จากประสบการณ์ผมใช้หลักการพิจารณาแบบมีส่วนร่วมครับ  ผมมีลูกน้อง 8 คน

       กรรมการจะมาจากผู้ที่ไม่เข้าข่ายว่าจะได้(ได้มาแล้ว)

       ผมใช้วิธีซักถามอย่างไม่เป็นทางการเป็นรายบุคคล ว่าปีนี้ใครควรจะได้  (แต่เราก็กำหนดของเราไว้แล้วในใจ)

       ถ้าเรามีความจริงใจในการพิจารณา  คำตอบที่เราได้จากการซักถามก็จะมาจากความจริงใจครับ  และค่อนข้างตรงกัน  จะมีไม่ตรงกันบ้าง  ผมต้องกลับมาตรวจสอบอคติในใจ  แล้วก็จะได้คำตอบ

       จากผลการพิจารณาที่ผ่านมา  Happy ending  ครับ

       (ที่สำคัญ  ผมไม่มีคนสนิท  ในหน่วยงานไม่มีเจ้าพ่อเจ้าแม่)

                                        ขอบคุณครับ

การให้ขั้นพิเศษแก่ผู้ปฏิบัติงาน นั่นหมายถึงค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น

เป็นการจูงใจทางบวกเพื่อให้ผลผลิตของงานมีคุณภาพและจำนวนสูงสุด

คำว่าขั้นพิเศษ ย่อมมอบให้กับผู้ปฏิบัติที่พิเศษ

การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่แต่ละท่านมีไม่เหมือนกัน

และควรมีหลักเกณฑ์และสร้างมาตรฐานร่วมกัน

สามารถตอบคำถามผู้ถูกประเมินได้ทุกข้อที่เขาถาม.....ทำไม?...เพราะอะไร?.....มีเหตุผลอะไร? โดยปราศจากอคติ

หลังจากที่ท่านได้ให้ใครไปแล้วก็อย่าได้หวั่นไหว เพราะท่านมีอำนาจและใช้อำนาจไปในทางที่ไม่เบียดเบียนผู้ใด แล้วจงภูมิใจในความดี มีคุณธรรมของตัวเอง

สวัสดีครับคุณหนิง

ได้เลยครับผม

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับเอก

บ้านเราฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ป่าเขียวหมดแล้ว

ปีนี้กระท้อน..ดก..พอควร หลังกรกฎา อย่าลืมแวะมาชิมนะ(จะเก็บลูกละ 1กก.ไว้ให้)

ข้อนี้สบาย ๆไม่เครียด !

สวัสดีครับ อ.ขจิต

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆครับ

ขออนุญาตนำไป math กับของท่านอื่น ๆ นะครับ

สวัสดีครับP

ข้อนี้แหละครับ หากต่างกันไปเลยก็ง่ายเลยครับ

แต่ถ้าใกล้เคียงเนี่ยลำบากใจครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ small manP

ขอบคุณครับ

ใกล้เคียงกับที่ผมใช้อยู่ครับ คือตัดคนที่ได้คราวก่อนออกไปก่อนแล้วพิจารณาคนที่เหลือใน"คิว"หาก ok ก็ให้เลยครับ

 

สวัสดีครับ คุณPร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

ข้อนี้แหละครับที่ทำให้ผมลำบากใจ

คนหนึ่งเก่ง ทำงานได้ตามที่มอบทุกอย่าง...ผลงานดี

อีกคนขยันแต่ไม่ค่อยเก่ง มอบงานทำได้ ทำเสร็จ....ผลงานดี

.................................

ผมจะให้ใครเป็นคนพิเศษดีครับ...เฮ้อ จะให้คนเก่งหรือคนขยัน

ฮะ ฮะ ปัญหาโลกแตก ??

สวัสดีคะ

- แวะมา ลปรร.ด้วยค่ะ

อยู่ที่ว่าหน่วยงานจะเลือกแบบไหน หากจะดีเหมือนหลายท่านว่า คนทำงานดีแต่สลับกันให้ คนไม่ทำก็คิดว่าตนต้องได้ชัวร์เพราะถึงคิวตัวเองแล้ว ก็ไม่ทำอะไรก็มีค่ะ

- หากใช้ personal score card ก็ดีนะค่ะ แฟร์ ๆ ดี

การที่จะได้สองขั้นต้องประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญๆดังต่อไปนี้

๑.สายโลหิต

๒.ศิษย์ข้างเคียง

๓.เสบียงหลังบ้าน

๔.หวานสอพอ

๕.ป่อไข่แดง

๖.แสดงเงินทุน

๗.หนุนนโยบาย(ผิดถูกไม่เกี่ยว)

ทั้ง๗ข้อนี้มีใช้ตลอดมา

ขอแสดงความคิดด้วยครนะครับ หากผู้ใดนำไปใช้ก็แย่มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท