อาคันตุกะ แห่งล้านนา มาเยือน มข. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย


เพื่อศึกษา แลกเปลี่ยน ระบบบริหารการวิจัย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประสาน สนับสนุน การบริหารงานด้านการวิจัยของ มทร.ล้านนา

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง

ศึกษาดูงาน "ระบบการบริหารงานวิจัย"

ณ สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

เมื่อวันที่  2  พฤษภาคม 2551 เวลา 09.00-12.00 น.

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษา แลกเปลี่ยน ระบบบริหารการวิจัย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประสาน สนับสนุน การบริหารงานด้านการวิจัยของ มทร.ล้านนา
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ด้านการวิจัย เพื่อให้เอื้อต่อการบริหารงานวิจัยไปสู่ผลสำเร็จ
  • แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสนับสนุน งานวิจัยและพัฒนา ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ฯลฯ

รศ.ดร.กิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กล่าวต้อนรับ อาคันตุกะ (ผู้มาเยือน) จาก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง

 

L6

 

 

L1

 

 

 

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (รศ.ดร.กิตติชัย) กล่าวถึงความเป็นมาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พอสังเขป ดังนี้

 

ด้านโครงสร้าง องค์กร

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งมา เป็นเวลา มากกว่า 45 ปี
  • ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ ในพื้นที่ประมาณ  5,700 กว่าไร่
  • ประกอบด้วย คณะหลากหลายสาขา รวม  20 คณะ
  • มีบุคลากรใน แคมปัส ของ มข. ประมาณกว่า 50,000 คน ได้แก่ อาจารย์ ประมาณกว่า 2,000 คน ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย ประมาณ 8,000 คน นักศึกษา ประมาณ 35,000 คน
  • มีอาจารย์ระดับปริญญาเอก มากกว่าร้อยละ 50

ด้านบริหารงานและงบประมาณ

  • มีงบประมาณสนับสนุนด้านการวิจัย ทั้งภายในและภายนอก รวมไม่น้อยกว่า 500-800 ล้านบาท
  • มีการจัดตั้งกองทุน 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท) เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนงานด้านการวิจัย และด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย อาทิ พัฒนาศักยภาพนักวิจัย การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะ การสนับสนุนการสร้างความร่วมมือประเด็นวิจัยกับหน่วยงานภายนอก การสนับสนุนงานวิจัยเร่งด่วน (hot issue) ฯลฯ ทั้งนี้ การใช้เงินกองทุนต้องผ่านคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อกลั่นกรอง และเห็นชอบ
  • ในปี 2546 ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะ 12 ศูนย์ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก) ที่ก่อตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
  • ปัจจุบัน มีศูนย์วิจัยเฉพาะไม่น้อยกว่า 18 ศูนย์ และมีกลุ่มวิจัย ที่รวมกลุ่มการวิจัยประมาณ 6-8 กลุ่มวิจัย

โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย กำลังจัดตั้งคือ

  • โครงการเมธีวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้เงินสนับสนุนจาก กองทุนวิจัย 40 ปี มข.
  • โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถนักวิจัยอาวุโส (ซึ่งเป็นนักวิจัยเชียวชาญ มีความชำนาญการ) สร้างทีม/กลุ่มวิจัย เฉพาะสาขานั้น ๆ
  • เพื่อผลักดัน และกระตุ้นให้นักวิจัยใหม่ หรือนักวิจัยระดับกลาง ได้รวมตัวกันในการสร้างทีมงานวิจัย บูรณาการด้านการวิจัยให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
  • นำไปสู่การวิจัยที่ดี สามารถนำไปเผยแพร่ ต่อระดับสากลได้
  • อื่นๆ ฯลฯ

  

 คณะศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง

 

รวมทั้งสิ้น 8 คน  ประกอบด้วย

1. ผู้อำนวยการ สวพ. 

2. รอง ผอ. สวพ. ฝ่ายวิชาการ

3. รอง ผอ. สวพ. ฝ่ายบริการวิชาการ

4.-8. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

L3 

 

 

 นายภูมิภักดิ์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย กล่าวยินดีต้อนรับต่อคณะผู้ศึกษาดูงาน และนำเสนอ การบริหารงานของสำนักบริหารงานวิจัย โครงสร้างการบริหาร โครงสร้างองค์กร รวมถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจของสำนักบริหารการวิจัย

  • โครงการสร้างการบริหารงาน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน ตามภารกิจขององค์กร ดังนี้
  • 1. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย  (คุณนันทพร  สอนศีลพงศ์ ผู้รับผิดชอบกลุ่มงาน)
  • 2. กลุ่มสังเคราะห์และประเมินผล     (คุณสมหวัง  ทองนำ        ผู้รับผิดชอบกลุ่มงาน)
  • 3. กลุ่มพัฒนาศักยภาพนักวิจัย       (คุณรัชนี     รุ่งวงษ์         ผู้รับผิดชอบกลุ่มงาน)
  • 4. กลุ่มสารสนเทศ                         (คุณวันชัย   ปานพิมพ์    ผู้รับผิดชอบกลุ่มงาน)
  • 5. กลุ่มอำนวยการ                         (คุณจตุพร  เรืองศรีตระกูล ผู้รับผิดชอบกลุ่มงาน)

          จากนั้น เป็นการถาม-ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง ผู้ศึกษาดูงาน กับ หัวหน้ากลุ่มงาน และผู้รับผิดชอบงานหลักๆ เพื่อซักถามการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณด้านการวิจัย  การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย  การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นวิจัย และการจัดทำฐานข้อมูล รวมถึง การเผยแพร่ผลงานวิจัย ฯลฯ 

L2

L4 

        หลังเสร็จการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการศึกษาดูงาน เป็นพิธีมอบของที่ระลึก โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ มข. และ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

  • อำลา ด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส ด้วยความประทับใจทั้งผู้ต้อนรับและผู้มาเยือน
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่ง มทร.ล้านนา จ.ลำปาง เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาได้ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ
  • ลักษณะการบริหารงาน มีส่วนที่คล้ายคลึงกับสำนักบริหารการวิจัย มข.
  • การแลกเปลีย่นเรียนรู้ในครั้งนี้ คงจะถ่ายทอดประสบการณ์จาก หนุ่มใหญ่ (มข.อายุ 45 ปี) ไปยังหนุ่มน้อย แห่งล้านนา (พึ่งตั้ง) ได้บ้าง เท่าที่ผู้ถ่ายทอดจะนำเสนอแนวปฏิบัติให้รับทราบ และ
  • หวังเป็นอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ลำปาง ในครั้งนี้ คงจะได้รับประโยชน์ จากการถ่ายทอดประสบการณ์ การทำงาน ด้านการบริหารงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พอสมควร เท่าที่จะนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้
  • ขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ และยินดีต้อนรับในโอกาสต่อ ๆ ไป 

L5

 (((มาฝาก ชาว G2K เพื่อการแบ่งปัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ)))

 เวบไซต์ข้อมูล  http://www.kku.ac.th  และ  http://www.ora.kku.ac.th   เพื่อการสืบค้นข้อมูลของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักบริหารการวิจัย

หมายเลขบันทึก: 180373เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เอาไว้มีงานครั้งหน้าจะขอไปแอบเรียนรู้ด้วยครับ ที่ มทส อาจารย์ ปริญญาเอกร้อยละ 75 แถมจากต่างประเทศด้วยครับ(ทับถม อิอิๆ)

 

P

1. ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ ส. 03 พฤษภาคม 2551 @ 13:17
635457 [ลบ]

  • สวัสดีค่ะ อ.ขจิต
  • แหม...มทส. มีมากกว่า มข.ซะอิก งั้น มข. จะไปดูงาน ที่ มทส. ที่กว่ามั้ง
  • อิอิ

P

3. อุบล จ๋วงพานิช
เมื่อ ส. 03 พฤษภาคม 2551 @ 13:40
635489 [ลบ]
  • ขอบคุณค่ะ พี่อุบล
  • รับน้องใหม่ น่ะค่ะ เรามีอะไร ก้ถ่ายทอดประสบการณ์ เท่าที่เคยปฏิบัติมา (ทั้งเจอปัญหา และปรับปรุงมาเรื่อย ๆ )
  • เพื่อประโยชน์โดยรวม ค่ะ

ว้าว ดีจังครับ อ่านได้ครบทุกรส ทุกเม็ด

มข.เยี่ยมจริง ๆ อิอิอิ

วันหลังแวะศูนย์วิจัยพหุลักษณ์บ้างนะครับ

P

5. ออต
เมื่อ ส. 03 พฤษภาคม 2551 @ 15:06
635627 [ลบ]
  • ขอบคุณค่ะ น้องออต
  • ประเดี๋ยว สำนักบริหารการวิจัย คงได้ติดตามความคืบหน้าของทุกศูนย์
  • ศูนย์พหุลักษณ์ เป็นอย่างไรบ้าง คงลอยตัวแล้วใช่ไหม
  • อิอิ...
  • จะตามไปดูผลงานศูนย์เฉพาะทาง

เห็นเหมือน   อุบล จ๋วงพานิช   ทั้งตัวหนังสือและภาพจัดสวยดี น่าอ่าน

ขอแก้ไขข้อมูล

ทีมที่มาดูงานเป็น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลล้านนา ครับ ประกอบด้วย

1. ผอ. สวพ.

2. รอง ผอ. สวพ. ฝ่ายวิชาการ

3. รอง ผอ. สวพ. ฝ่ายบริการวิชาการ

4-8 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ขอขอบคุณอีกครั้ง สำหรับการต้อนรับอันอบอุ่น หวังว่า เราคงได้ต้อนรับท่านที่บ้านเรา

ยรรยง เฉลิมแสน

ไม่มีรูป

9. ยรรยง เฉลิมแสน
เมื่อ พฤ. 15 พฤษภาคม 2551 @ 10:43
653922 [ลบ]

ขออภัยอย่างยิ่งค่ะ
หากให้ดี น่าจะมี บล็อก ได้ทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้กลับไปนะคะ
ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท