ไม่ได้เข้ามาในบันทึกนี้เสียนาน วันนี้ ได้หนังสือ "มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ" ของ ดร.ปราชญา กล้าผจัญ (รศ.) มา 1 เล่ม (ผู้เขียนมอบให้ มูลค่า 150 บาท แต่ผมก็ไม่ได้รับฟรีๆ นะครับ ให้น้ำผึ้งไป 1 ขวด มูลค่า 120 บาทครับ) ภายในมีบทกลอนซึ่งสมัยก่อนผมท่องได้ แต่สมัยนี้ลืมไปแล้วมาให้ได้อ่านกัน
บทแรกมาจากหนังสือประถม ก กา ตอนหนึ่งเขียนว่า
เกิดมาเป็นคน | หนังสือเป็นต้น | วิชาหนาเจ้า | ||||
หากแม้นไม่รู้ | อดสูอายเขา | เพื่อนฝูงเยาะเย้า | ว่าเง่าว่าโง่ | |||
บางคนเกิดมา | ไม่รู้วิชา | เซอะอยู่จนโต | บ้างเป็นคนโซ | |||
เที่ยวขอก็มี | ถ้ารู้วิชา | ประเสริฐหนักหนา | ชูหน้าราศี | |||
จะไปแห่งใด | มีคนปรานี | ยากไร้ไม่มี | สวัสดีมงคล |
อีกบทหนึ่งเป็นบทอาขยาน ที่ผมเคยท่องได้ตอนเด็ก แต่ลืมไปแล้ว เปรียบเทียบวิชาว่าเหมือนสินค้า และการจะได้สินค้ามานั้นต้องมีความอดทนต่อความยากลำบาก ดังนี้
วิชาเหมือนสินค้า | อันมีค่าอยู่เมืองไกล | |
ต้องยากลำบากไป | จึงจะได้สินค้ามา | |
จงตั้งเอากายเจ้า | เป็นสำเภาอันโสภา | |
ความเพียรเป็นโยธา | แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ | |
นิ้วมือแทนสายระยาง | สองเท้าต่างสมอใหญ่ | |
ปากเป็นนายงานไป | อัชฌาสัยเป็นเสบียง | |
สติเป็นหางเสือ | ถือท้ายเรือให้ตรงเที่ยง | |
ตั้งไว้อย่าให้เอียง | ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา | |
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว | ส่องดูแนวโขดหินผา | |
เจ้าจงเอาหูตา | เป็นล้าต้าดูแรงลม | |
ขี้เกียจคือปลาร้าย | จะทำลายให้เรือจม | |
เอาใจเป็นปืนคม | ยิงระดมให้จมไป |
บทกลอนนี้สอนเปรียบเทียบว่า "ชีวิตคนเราเหมือนสำเภาลำใหญ่ ที่ต้องแล่นออกทะเลใหญ่ไป เพื่อไปหาสินค้า (วิชาความรู้) แต่กว่าจะได้ ก็ต้องมีความมานะพยายามและอดทนอย่างมาก และเราต้องมีสติตั้งมั่น หรือมีความมุ่งมั่นที่จะต้องทำให้สำเร็จ คือ ได้ตัวสินค้ามา (เพื่อจะได้เอามาขาย ให้ได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพในอนาคต) ความขี้เกียจก็คือปลาร้ายหรือมารร้ายที่เป็นศัตรูของความสำเร็จนั่นเอง เราต้องทำลายความขี้เกียจให้ได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรครับ"
จากบทกลอนข้างต้น คุณแม่สิริ กรินชัย ได้นำมาดัดแปลงและเขียนไว้ในหนังสือชื่อว่า "ธรรมทานของข้าพเจ้า" มีข้อความดังนี้
จงตั้งเอากายเจ้า | เป็นสำเภาอันโสภา | |
ความเพียรเป็นโยธา | วิมังสาเป็นเสาใบ | |
ฉันทะสายระยาง | จิตตะต่างสมอใหญ่ | |
นายงานนั่นคือใจ | ศึลนั้นใช้ต่างเสบียง | |
สติเป็นหางเสือ | ถือท้ายเรือให้ตรงเที่ยง | |
สมาธิมิให้เอียง | ลัดเล่นเลี่ยงข้ามคงคา | |
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว | ส่องดูแนวหาดหินผา | |
ลิ้นจมูกใจกายา | แลหูตาดูทางลม | |
ปัญญาอาวุธคม | ไล่ระดมข่มขับไป | |
วิชาดุจดวงแก้ว | งามเพริศแพร้วไม่ใกล้ไกล | |
หายากพากเพียรไซร้ | ก็จะได้ดวงแก้วเอย | |
สุดท้ายจบด้วย "โคลงโลกนิติ" บทหนึ่งที่ว่า
ปางน้อยสำเหนียกรู้ | เรียนคุณ | |
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน | ทรัพย์ไว้ | |
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ | ธรรมชอบ | |
ยามหง่อมทำใดได้ | แต่ล้วนอนิจจัง |
"เมื่อน้อยให้หาความรู้ เมื่อใหญ่ให้หาทรัพย์" ก็จบลงด้วยประการฉะนี้
เมื่อน้อย ใช้กายาหาทรัพย์
เมื่อชราใช้ทรัพย์หากายา
เป็นอีกสำนวนหนึ่งสำหรับเตือนใจค่ะ
ว่าหากไม่ระวังแล้ว ตอนหนุ่มสาวมัวแต่หาเงินทอง หักโหม อายุมากเข้าก็ต้องเอาเงินเหล่านั้นมารักษาตัวค่ะ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกของผมครับ คนที่หาทรัพย์มาได้แล้วอย่าลืมเก็บออมไว้รักษาตัวยามชราด้วยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
เรียนท่านอาจารย์ Panda ครับ
เรียนท่านอาจารย์นนทลี
ชอบบันทึกนี้มากครับอาจารย์
มาถึงยุคนี้น่าจะเป็น เมื่อเล็ก เมื่อโต และเมื่อแก่ ก็ต้องหาความรู้ หาทุนทรัพย์ และหาบุญ แบบคู่ขนาน ไม่ต้องรอให้ถึงวัย เดี่ยวกว่าจะแก่ ไม่ได้ทำบุญเลย มัวแต่หาเงิน กับความรู้ ตายไป พอเกิดมา ก็ต้องมาหาใหม่
5555+
อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี ให้แสวงหา "ทักษะการเรียนรู้" หรือ "Learning Skill" อายุเกินกว่านั้น ให้หาทรัพย์เพื่อการดำรงชีพ