20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง (12) โรคฟันผุ รากฟันผุ ตอนที่ 6 ชุดทดสอบ เพื่อประเมินความเสี่ยงฟันผุ


... นี่ก็คือ ปัจจัยเสี่ยงนั้นมีหลายตัว หน้าที่ของพวกเราก็คือ นำปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มารวมกัน

 

ปัจจุบันมี test สำหรับ test น้ำลาย และเชื้อโรคออกมา เพื่อความสะดวกในการประเมินความเสี่ยง พึงตระหนักว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันผุ ไม่ใช่น้ำลาย หรือเชื้อโรคเท่านั้น test ออกมาอย่างไร ก็อาจมีปัจจัยตัวอื่นที่มา Over rule ผลของ test ก็ได้ แต่ว่า test ของน้ำลาย และเชื้อโรค เป็น test ที่ตรงไปตรงมา เห็นง่าย เข้าใจ ก็เลยมีคนทำมากันเยอะ เช่น

  • Dentobuff เป็น test สำหรับวัดความสะเทินกรดด่างของน้ำลาย บอกค่ามาก หรือน้อยเพียงใด
  • SM Strep mutans เอาไว้วัดเชื้อ Step mutans แล้วก็เอาไป incubate ถ้าในน้ำลายเรามีเชื้อโรคเยอะ ก็จะขึ้นเยอะ ก็จะเสี่ยง
  • การวัด Lactobacilli ก็ใช้วิธีเดียวกัน คือ เอาน้ำลายเทผ่านแผ่นสไลด์ ที่มีอาหารจำเพาะที่จะทำให้เชื้อโตได้
  • Resazurin Disc (RD) test เป็นแผ่น sticker ข้างในมีน้ำตาล ก็เอาน้ำลายหยดลงไป แล้วติดไว้ที่ท้องแขนด้านใน 15 นาที ก็จะออกมาเป็นสี มี แดง ม่วง น้ำเงิน ... น้ำเงินคือไม่เสี่ยง แดง คือ เสี่ยงแล้ว เพราะว่าน้ำตาลมันเจาะจงกับ Lactobacilli
  • มีเครื่องมืออีกหลายอย่าง ได้แก่ Caries screen, Proflow, Oricult, Mucount สามารถเลือกได้

ถ้าพูดถึงโรคฟันผุในรากฟัน มีข้อพึงพิจารณาอีก 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ

  1. คนแก่ เป็นกลุ่มที่ Caries active โดยที่จะมีฟันผุใหม่เกิดขึ้นในระดับเดียวกับวัยรุ่น อย่าประมาท
  2. ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมนอกจากที่ว่าไปแล้ว คือ การมีฟันเทียมอยู่ในปาก (ชนิดถอดได้)

จากการศึกษา พบว่า โดยรวมแล้ว ฟันผุใหม่ในผู้สูงอายุมีตั้งแต่ 0.7-1.2 surfaces ต่อ 3 ปี ซึ่งเมื่อไปเทียบกับการศึกษาอื่นๆ ในเด็กวัยรุ่น จะเห็นว่าอัตราการเพิ่มจของฟันผุใหม่เกือบไม่ต่างกัน ฉะนั้น ผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่ caries active เพราะว่า มัน active ที่รากฟัน เพราะว่า cementum จะมีองค์ประกอบของ protein เยอะกว่า enamel มากๆ กลุ่มผู้สูงอายุที่รากฟันนี่ จึงกลับมา active ใหม่อีกครั้ง

เมื่อสูงอายุขึ้น เหงือกร่นลง รากฟัน expose ก็จะกลับมาเป็นประเด็นให้เกิดรากฟันผุได้อีก และจะเห็นว่า จากการศึกษาที่เขารวบรวมมา เขาเลือกคนที่อายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งเราก็ควรจะ generalized ผลการศึกษานี้ไปที่คนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปด้วย ว่า เป็นกลุ่มที่มี Caries active เท่ากับเด็กๆ

ก็มีการดูว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับฟันผุที่รากฟัน อันหนึ่งที่ทุกคนพูดเหมือนกันหมดคือ Partial Denture Wearing คือ การใส่ฟันชนิดถอดได้ สัมพันธ์กับการเกิดฟันผุที่รากฟันอย่างยิ่ง
Risk factor อื่นๆ สำหรับโรคฟันผุในผู้สูงอายุ ก็จะมีเหมือนในหนังสือ

เรามีหน้าที่เอาที่ว่าทั้งหมดนี้มารวมกัน ... ปัจจุบันนี้ โมเดลนี้จะอธิบายฟันผุได้ครบพอสมควร จะมี factor ทุกอันที่อยู่ในนี้ ที่จริงแล้ว มีคนเอามาทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย คือ Cariogram (http://www.db.od.mah.se/car/cariogram/cariograminfo.html) มี version ภาษาไทย download ได้ ผู้ทำ คือ Prof Bratthall จาก Malmo University (Faculty of Odontology) คนที่แปลเป็นภาษาไทย คือ อ.ยุพิน และ อ.มัทนา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อันที่ยากของการ Predict ฟันผุ ก็คือ การให้น้ำหนักเท่าไร ในโปรแกรมนี้ก็เกิดจากการที่ไปศึกษาทางสถิติมาแล้วหลายๆ ครั้ง เสร็จแล้วจะมีการแปลผลสรุปให้ด้วย นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเอาหลายๆ ปัจจัยมารวมกัน

... นี่ก็คือ ปัจจัยเสี่ยงนั้นมีหลายตัว หน้าที่ของพวกเราก็คือ นำปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มารวมกัน

รวมเรื่อง 20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง

 

หมายเลขบันทึก: 178969เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท