การพัฒนาสู่ Best Practice: บทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง


การพัฒนาสู่ best practice

วันที่ 29 เมษายน 2551 ดิฉันจะได้เป็นวิทยากรสอนน้องพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นผู้ปฏิบัติการขั้นสูง

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงภาระงานของดิฉันในฐานะ APN ก่อนนะคะ เนื่องจากปัจจุบันการทำงานตามภาระงานเป็นสิ่งสำคัญ

ภาระงาน (Position Description)
1. Direct care

  ประเมินภาวะสุขภาพและความต้องการการบริการของผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัดได้อย่างลึกซึ้ง

     ระบุปัญหาที่ซับซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งได้

  กำหนดเป้าหมายและเน้นการดูแลเพื่อแก้ปัญหาซับซ้อนให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้โดยใช้ Advanced skill &Knowledge 

     สามารถตัดสินใจในคลินิกได้

     ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการดูแล จากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่ม High risk & Volume& Cost ในช่วงแรก เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดูแลจะได้รับผลลัพธ์ตามที่คาดไว้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้  pathway  ปกติได้

  บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based nursing) มาตัดสินให้การพยาบาลอย่างอิสระ เช่น การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม ดนตรีบำบัด

  มีระบบการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษาและป้องกันอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด

 

2. Expert guidance& coaching

     ประเมินความพร้อมของมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

     ใช้กลยุทธ์ในการชี้แนะแนวทาง ให้แก่มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  จัดการด้านสุขภาพแก่มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ทั้งในช่วงของการเจ็บป่วยและในภาวะปกติ

  ใช้กลยุทธ์ในการให้ความรู้และพัฒนาทักษะปฏิบัติทางคลินิก ในการดูแลมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

     เป็นแหล่งทรัพยากรของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

 

3. Change agency

     ประเมินความต้องการของมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  

     วางแผนการให้บริการแก่มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดยใช้กลยุทธ์ใหม่

  วางระบบ กำหนดเป้าหมายและกิจกรรมของโครงการในการดูแลมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

   พัฒนาแนวปฏิบัติและแผนการดูแลสำหรับมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และนำแผนการดูแลไปปฏิบัติและติดตามประเมินผลลัพธ์

 

4. Consultation

  เป็นที่ปรึกษาของทีม  ในกรณีมีผู้ป่วยเฉพาะรายหรือเกี่ยวกับระบบการดูแลและบันทึกข้อมูล

  เป็นแหล่งข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีความแปรปรวนจากแผนการดูแล

     ให้คำปรึกษากับพยาบาลประจำการในการดูแลมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

     เป็นที่ปรึกษาในและนอกหน่วยงาน

 

5. Collaboration

  พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เช่น Care Map การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีฯ

     ร่วมทำงานกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ CoP,KM,R2R

  สร้างระบบ Partnership กับสหสาขาวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กรรมการ PCT เคมี, PCT Breast, PCT Med  (Palliative Care)

  ติดตามแผนการให้บริการในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(Quality, timeliness, Quantity, costs and effective)

     สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและนอกองค์กร

     มีการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด CoP เคมีบำบัด

 

6. Ethical decision making

  แสวงหาช่องทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้บริการเฉพาะรายในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

   ประเมินความเสี่ยง ประโยชน์ของแต่ละทางเลือกในการแก้ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 

  รักษาสมดุลระหว่างระบบ  งบประมาณและเป้าหมายของในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด จัดโครงการลดขั้นตอน One stop service และจัดห้อง Waiting room

 

7. Research Utilization& CQI

  แสวงหาสืบค้น ประเมินหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  ออกแบบการพยาบาลโดยใช้ผลการวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  ติดตามประเมินผลลัพธ์เชิงกระบวนการและผลลัพธ์ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

     เป็นหลักใน CQI team ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  ทำวิจัยเชิงผลลัพธ์และเผยแพร่ผลงาน จากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิจัยการวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

 

8. Data analysis & Information management 

     รวบรวม บันทึก วิเคราะห์และจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ

     รวบรวมผลลัพธ์การดูแลอย่างเป็นระบบ

  วิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มการให้บริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

      จัดเตรียมและนำเสนอแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

     ประสานความร่วมมือกับหน่วยฐานข้อมูลสุขภาพของหน่วยงาน    

     ระบบบันทึก รวบรวม CPGs, Care MAP,CoP

 

กระบวนการเพื่อนำไปสู่ Best Practice

     จากการดูแลผู้ป่วย Direct Care

     พบประเด็นปัญหา

     แก้ปัญหาโดยลองทำโครงการพัฒนางาน (Routine)

     ยังพบว่ามีปัญหา  ทำวิจัย (Research)

     นำผลวิจัยมาใช้ (Research Utilization)

     ติดตามผลลัพธ์ในการดูแลต่อ (Outcome monitoring)

 

ตัวอย่างการทำงานเพื่อนำไปสู่ Best Practice

การศึกษาวิจัยที่เกิดจากการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยเรื่อง 

ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

 

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารักษาในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์  พบมากเป็นอันดับ 1 มีจำนวน 496 รายต่อปี  การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะปลอดโรคและการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี  แต่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาด้านร่างกาย  จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต จากการที่ไม่สามารถในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ถึงแม้ว่าพยาบาลจะมีการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยโดยสอนการดูแลตนเองเมื่อมารักษาด้วยยาเคมีบำบัด  จากการที่มีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากที่จำเป็นในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยถูกจำหน่ายกลับบ้านหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ทำให้ผู้ป่วยมีเวลาน้อยในการเรียนรู้และการปรับตัว แต่อาการข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัดส่วนมากจะเกิดขึ้นที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก บางคนไม่สามารถกลับมารักษาในครั้งต่อไป พยาบาลจึงร่วมกันหาแนวทางการวางแผนการจำหน่าย (Discharge planning) โดยจัดทำวิดิทัศน์และคู่มือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด และทดลองปฏิบัติในระยะหนึ่ง มีการปรับปรุงสื่อการสอนหลายครั้ง และจากการทำงานประจำดังกล่าว พยาบาลจึงเห็นว่าน่าจะทำเป็นงานวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด   

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา  

เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

 

วิธีการศึกษา   

หลังจากโครงการวิจัยผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดย   ผู้ป่วยกลุ่มควบคุม ผู้ช่วยวิจัย จะประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยก่อนให้ยาเคมีบำบัด 1 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการวางแผนการจำหน่ายตามปกติจากพยาบาลประจำการ ก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการรับรู้ก่อนจำหน่าย   และหลังให้ยาเคมีบำบัด 4  สัปดาห์  ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต จากผู้ช่วยวิจัย 

ผู้ป่วยกลุ่มทดลอง   ผู้ช่วยวิจัย จะประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยก่อนให้ยาเคมีบำบัด 1 วัน  หลังจากนั้นผู้วิจัย ให้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ประกอบด้วย  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ในรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โรค  ยา สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ  การรักษาพยาบาล ภาวะสุขภาพ การมาตรวจตามนัดและอาหาร โดยใช้สื่อในการให้ข้อมูล เป็นวิดิทัศน์และให้คู่มือ เรื่อง การดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์ผู้ป่วยทางโทรศัพท์และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกรณีที่มีปัญหาในการดูแลตนเอง   ก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการรับรู้ก่อนจำหน่ายจากผู้ช่วยวิจัย  และหลังให้ยาเคมีบำบัด 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตจากผู้ช่วยวิจัย

 

ผลการศึกษา พบว่า

พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง   แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    (F=4.27, P<0.05; F=9.49, P<0.05 ตามลำดับ)   นั่นคือ   ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่าย   มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตดีกว่า    ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

  

ข้อเสนอแนะในด้านการนำไปใช้ประโยชน์ หรือการแก้ปัญหาของคำถามวิจัย

1.  ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะมีปัญหาจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด โดยเฉพาะเมื่อกลับไปที่บ้าน การวางแผนจำหน่ายอย่างเป็นระบบ   จะทำให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ทำให้ลดปัญหาที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด สามารถดูแลตนเองได้ต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

2. การทำวิจัยในครั้งนี้  เป็นการแก้ปัญหาจากการทำงานประจำ(Routine) ให้เป็นงานวิจัย(Research) การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้เร็วที่สุด  เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้เป็นสิ่งจำเป็น จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สรุปการพัฒนางานเพื่อนำไปสู่ Best Practice

การทำงานของผู้ปฏิบัติการขั้นสูงเพื่อนำไปสู่ Best Practice นั้น ถ้าเราการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย (R2R) จะเป็นบทบาทที่สำคัญเพื่อหาแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ดีที่สุดและจะพัฒนาสู่ Best Practice ได้

 

หมายเลขบันทึก: 178968เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง

การพัฒนาสู่ Best Practice: บทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขา..การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์

ในการประชุมการจัดการความรู้: การพัฒนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APNs)”

29 เมษายน 2551

 

  • พี่อุบลขยันมากๆๆ
  • ข้อ 7-8 น่าสนใจมากๆๆ
  • ขอให้พี่มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • ฝากความระลึกถึงถึงอาจารย์หมอสมบูรณ์ด้วย
  • ขอบคุณครับ

P

สวัสดีค่ะ ท่าน ดร ขจิต

ไม่ไปเฮฮาภูเก็ตกับสมาชิกหรือคะ

เราเลยนั่งอยู่หน้าคอม คุยกัน

พี่แอบเอาข้อมูลที่น้องขจิตตอบน้องบัวเรื่องทำภาพมาทดลองทำดูค่ะ

ลองดูฝีมือพี่นะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท