Summer Camp 20


บ้านดิน. . . ประสบการณ์นอกห้องเรียน
 
 
ตามสัญญาค่ะ
วันนี้เราไปเที่ยวบ้านดินกัน
ออกเดินทางตอนประมาณ เก้าโมงครึ่ง
เดินทางโดยรถตู้ 4 คัน
 
 
 
ซักพักก็ถึงที่หมายแล้วค่ะ
"บ้านดิน"
มาดูกันดีกว่านะคะว่าเป็นยังไงกันบ้าง
 
 
บ้านดินที่เห็นนี้ คือการนำอุปกรณ์จากธรรมชาติ
มาสร้างเป็นส่วนประกอบของบ้านค่ะ
ที่เห็นนี้คือนำดินมาสร้างเป็นกำแพง
บ้านดินที่เราไปเยี่ยมในวันนี้
ท่านเจ้าของบ้านคือ คุณจุลพร นันทพานิช
ผู้ซึ่งเป็นสถาปนิก สร้างตึกสวยให้กับโรงเรียนของเรา
และยังเป็นอาจารย์พิเศษ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วยค่ะ
ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านดินและยังให้เด็กๆทุกคน
มีโอกาสได้ลงมือทำด้วยตัวเองอีกด้วยนะคะ
นอกเหนือจากคุณจุลพรแล้ว ก็ยังมีพี่ๆอีกสองคนคือ พี่เต้ยและพี่ทอม
มาเป็นวิทยากรให้กับน้องๆอีกด้วยนะคะ
มาดูกันดีกว่านะคะว่าบรรยากาศจะเป็นยังไงกันบ้าง
 
 
 
 
วิทยากรของเราได้ให้ความรู้ตั้งแต่วิธีผสมดินกันเลยนะคะ
เรียงจากตัวเลขจะเริ่มตั้งแต่
นำกองดินที่เห็นอยู่ในรูปที่ 1 มาทุบๆค่ะ
ทุบๆๆจนเป็นก้อนเล็กๆ ไม่ใหญ่จนเกินไป
รูปที่ 2 - 4 นำแกลบและฟางข้าวเข้าไปผสม
จากนั้นผสมน้ำแล้วคลุกเคล้าให้ทั่ว
 
 
ตอนแรกก็มองกันเฉยๆค่ะ
เอานิ้วไปแหย่ๆ จับๆดู แค่นั้น
 
 
พอเวลาผ่านไปซักพัก
 
 
 
 
 
เด็กๆทั้งหลายก็ลงมือคลุกเคล้าส่วนผสมด้วยตัวเอง  อิอิ
 
 
 
ขั้นตอนที่ 6 เมื่อส่วนผสมของดิน + แกลบ + ฟางข้าว เข้ากันดีแล้ว
เราก็จะตักส่วนผสมในรูปที่ 6 ไปกดลงในแบบพิมพ์ตามรูปที่ 7 ค่ะ
 
 
 
รูปที่ 8 -  9 เมื่อกดลงในแบบพิมพ์จนเต็มแล้ว เราก็จะถอดแบบพิมพ์ออก
แล้วทิ้งไว้กลางแดด ประมาณ 2 วัน ค่ะ
เมื่อก้อนดินแห้งแล้ว เราจึงจะทำขั้นต่อไปค่ะ
 
 
 
รูปที่ 10 คือการนำก้อนดินที่แข็งได้ที่แล้วมาสร้างเป็นกำแพง
โดยที่ใช้ดินที่ผสมในตอนแรก มาเป็นกาวเพื่อทำให้ดินแต่ละก้อนติดกันค่ะ
เห็นไหมคะ  ยอดเยี่ยมจริงๆเลย
พี่ๆวิทยากรยังบอกอีกนะคะว่า บ้านดินนี้ เวลาโดนฝนก็ไม่ละลายด้วยนะคะ
 
 
ผสมดินเสร็จแล้ว ก็ล้างเท้าทำความสะอาดกันหน่อย
 
 
 
ภาพเก็บตกหลังจากการทำกิจกรรมค่ะ
 
 
ก่อนกลับ เด็กๆกล่าวคำขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้ท่านวิทยากรค่ะ
 
 
 
 
ช่วงบ่ายวันนี้
คุณครูเอกมาซ้อมเป่าฮาร์โมนิก้า ค่ะ
 
 
 
 
สรุปกิจกรรมก่อนกลับบ้านของวันนี้
เด็กๆบอกว่า ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
การใช้วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์
ได้แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ดินสร้างบ้าน
และที่แน่ๆ อย่างน้อยๆวันนี้ เด็กๆทุกคนก็คงจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ
เป็นประสบการณ์ที่ได้นอกห้องเรียนจริงๆค่ะ
บางคนยังมีบอกหลังไมค์ว่า อยากมาดูบ้านตอนที่สร้างเสร็จแล้ว
บางคนยังบอกอีกด้วยนะคะว่าอยากจะสร้างบ้านแบบนี้ ^_^
 
 
 
ท่านผู้ปกครองคะ อยากบอกท่านผู้ปกครองว่า
วันนี้ถ้าเด็กๆเปื้อนดิน เปื้อนโคลนกลับบ้านไป
อย่าได้ดุเด็กๆเลยนะคะ
วันนี้เราถือคติที่ว่า ใครเปื้อนมาก  ได้รับความรู้มากค่ะ
 
^________________________^
 
กิจกรรม วันที่ 21  คลิ๊กที่นี่  เลยค่ะ 
 
หมายเลขบันทึก: 178211เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เห็นแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งจังค่ะ

เย้ๆๆ มาดูอีก เด็กๆๆน่ารักดี อยากทำบ้านดินบ้างเลย อิอิๆๆ

  • ในประเทศอินเดีย
  • คนยากจน90% อาศัยอยู่ในบ้านดิน
  • และบ้านที่ว่านี้ คงสืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล
  • ในอินเดียใช้ใบอ้อย หรือหญ้า มุงหลังคา

สวัสดีครับคุณครูเมษา

  • มาดูบ้านดินตามที่สัญญาไว้
  • เมื่อวานมาไม่ทัน ที่เชียงใหม่ลมแรง ฟ้าร้อง ฝนตก ตลอดครับไม่กล้าเข้าเน็ต
  • กิจกรรมดูแล้วสนุกมาก อิจฉาเด็กครับ
  • เป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับปิดเทอมนี้
  • ขอบคุณมากครับ

ถ้าจะโพสรูปภาพจะทำยังไงค่ะ

ว้าก 1รูป

*ไปบ้านดินสนุกมากเลยครับ

-บ้านดินทำอย่างไรครับ บอกแม่ได้มั๊ย

*ทำจากดินเหนียว ฟางข้าว และอะไรอีกอย่างนึงนึกไม่ออก...อ่ะ?

*แต่ตอนช่วยกันนวด มันติดเท้ามาก ลื่นด้วย เวลาล้างออก มันก็ล้างยากนะ

*ตบท้ายด้วยว่า แหม...เราน่าจะทำบ้านดินที่บ้านเราบ้างนะ

 -----จ้า...... ถ้าเรามีวัสดุก่อนน๊ะจ๊ะ-----

ขอขอบคุณ..คุณครูเมษาที่กรุณานำเรื่องบ้านดินหลังนี้ออกมาสู่สาธารณชน..

จริงๆแล้ว..รู้สึกแปลกที่เห็บ้านของตนเองบนเวป..ไม่คุ้นเลย..

แต่ก็ยินดีต้อนรับทุกคนคะ..

ครูนุช

แม่น้องวิธวินทร์ ปันตา

เว็บไซต์น่ารักมากค่ะ เป็นภาพที่น่าประทับใจมากๆ ต้องการให้โรงเรียนและคณะครูจัดโครงการแบบนี้ทุกปี เป็นกิจกรรมที่น้องวิธวินทร์ชอบมาก และรบเร้าคุณแม่ว่าปีหน้าน้องวิธต้องเข้า Summer Camp กับทางโรงเรียนอีก จนกว่าจะโตเป็นหนุ่มคร๊าบบบบบบบบ

สนใจข้อคิดในการทำบ้านของเจ้าของได้ที่นิตยสาร ดิฉัน ปักษ์นี้นะคะ ขอบคุณคะ

ครูนุช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท