อาหาร กับโรคหัวใจและหลอดเลือด


 

 

 

อาหาร  กับโรคหัวใจ และหลอดเลือด
โรคหัวใจ และหลอดเลือดคืออะไร                                                  

โรคหัวใจ และหลอดเลือด  หมายถึง  โรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของหลอดเลือด  ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งที่เกิดขึ้นกับ หลอดเลือดแดง โดยมีการสะสมของก้อนโคเลสเตอรอล  ไขมัน  แคลเซี่ยม  และเศษซากของเซลล์ บริเวณผนังชั้นในของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น หลอดเลือดแดง ที่ เกิดปัญหานั้นอาจ เป็นบริเวณใดก็ได้ แต่ที่ก่อปัญหากระทั่งคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดคือ บริเวณหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงหัวใจ และไปเลี้ยงสมอง

              ตารางแดงปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหาร

                 เป็นมิลลิกรัม / ปริมาณอาหาร 100 กรัม                 

                      รายการ                                            มิลลิกรัม

                   ไข่ ,ข่ไก่ทั้งฟอง                                        427

                    เครื่องใน ,ตับไก่                                       336

                                  ตับหมู                                       364

                                  ตับวัว                                        218

                                  ไตหมู                                        235

                                   หัวใจหมู                                  133

                                   หัวใจวัว                                   165

                                   หัวใจไก่                                  157

                                   ไส้ตันหมู                                 140                                                     

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
1. ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรคที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้                                  

อายุ  เพศ  เพศชาย   อายุมากกว่า   45 ปี     เพศหญิง  อายุมากกว่า  55 ปี
เพศชายเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิต และไขมันในหลอดเลือดสูงมากกว่าเพศหญิง  เผ่าพันธุ์ คนผิวดำจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนผิวขาวและมักมีอาการรุนแรงกว่า

2.  ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรคที่เปลี่ยนแปลงได้
- ความดันโลหิตสูง            140 ม.ก / 90 ม.ม ปรอท
- โคเลสเตอรอลสูง            200 ม.ก / 35 เดลิลิตร
- ไตรกลีเซอไรด์สูง            150 ม.ก / เดลิลิตร
- โรคบางชนิด เช่น โรคอ้วน  โรคเบาหวาน โรคตับ  โรคไต  
- ขาดการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย
- ภาวะขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี6 , 12
- การมีความเครียดมากขึ้น

3.  การสูบบุหรี่


การควบคุมอาการ
1. ควรงดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์สูง เช่น ไส้กรอก , กุนเชียง , น้ำมันหมู , ไข่แดง , หอยนางรม , สมองหมู , กุ้ง , เครื่องในสัตว์ , ปลาหมึก
2. ควรงด การรับประทานขนมที่ทำจากเนย ,ไข่แดงและน้ำตาล เช่น ขนมเค้ก , คุ้กกี้,เม็ดขนุน,ทองหยิบ,ทองหยอด
3. ควรงด บริโภคอาหารที่ทำจากกะทอ น้ำมันมะพร้าว
4. ควรปรุงอาหารด้วยวิธี นึ่ง ต้ม ปิ้ง ย่าง อบ

5. ควรบริโภคน้ำมันพืช ที่มีวิตามินอี สูงเพื่อเพิ่มระดับสารด้านออกซิเดซีน บริเวณผนังหลอดเลือด ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์มโออิน

6. เน้นการรับประทาน อาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น เมล็ดธัญพืช ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำอาหารพวกเส้นใย ชนิดละลายน้ำ เช่น ข้าวโอ๊ด ถั่วเหลือง โปรตีนเกษตร เต้าหู้ข้าวกล้อง แครอท พวกนี้ช่วยลดระดับไขมัน

7 เพิ่มการบริโภคผัก และผลไม้ ซึ่งมีสารต้านออกซิเดซีนสูง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17761เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท