เรื่องที่อยากทำ


การเคลื่อนทัพอย่างจริงจังขององค์กร เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ เราจึงต้องมีการกำหนด ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการขยะ และการใช้พลังงานแบบมีส่วนร่วม ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจต่อไป โดยเริ่มมามองที่จุดเริ่มต้น คือระดับนโยบาย ในเมื่อเทศบาลตำบลปริกได้ร่วมกันกำหนดนโยบายกับชุมชน

ผมกลายเป็นคนตกงานอยู่พักหนึ่ง ตั้งแต่เดือนกุมภาจนถึงเมษายน เมื่อไม่มีใครจ้างงาน ความคิดก็ฟุ้งกระจาย บรรเจิด   เลิศลอย   มันเป็นช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากการทำหน้าที่เพราะต้องรอการเลือกตั้งใหม่และรอการรับรองผลการเลือกตั้งจาก กกต.  ก็เลยนั่งคิดไปเขียนไปเล่น ๆ กะว่าจะเอามาคุยหารือกับเพื่อร่วมงานเมื่อได้มีโอกาสเข้ามาทำงานอีกครั้ง ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ตั้งใจว่าจะนำเข้าที่ประชุมหารือนอกรอบของเช้าวันจันทร์ที่ 21 เมษายน นี้ แล้วก็เลยเอามาเล่าให้ฟังกันก่อน  เผื่อว่าจะได้ comment จากท่านผู้รู้บ้างนะครับ   เพราะผมอยากทำ....อยากทำ......ครับ 

ตามที่เทศบาลตำบลปริกของเราได้ชูธงการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมมาโดยตลอดและได้ดำเนินการอย่างเห็นผลแล้วในระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะแบบพึ่งตนเอง ที่เรามีรูปแบบ(Models) ในการจัดการขยะ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ  การจัดการขยะที่ต้นทาง  กลางทาง  และปลายทาง นั้น   ในขณะเดียวกันเราเองจะต้องเดินหน้าต่อในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนา การใช้พลังงาน  ฉะนั้น การที่จะเดินหน้าต่อไปให้เกิดเป็นมรรคเป็นผลที่ต่อเนื่องกัน ปัจจัยประการสำคัญประการหนึ่ง คือการเคลื่อนทัพอย่างจริงจังขององค์กร เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ   เราจึงต้องมีการกำหนด ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการขยะ และการใช้พลังงานแบบมีส่วนร่วม ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจต่อไป โดยเริ่มมามองที่จุดเริ่มต้น คือระดับนโยบาย  ในเมื่อเทศบาลตำบลปริกได้ร่วมกันกำหนดนโยบายกับชุมชน ดังนั้นการนำนโยบายของเทศบาลไปใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ   การเริ่มต้นที่องค์กรจึงถือว่าเป็นตัวอย่างที่สำคัญ  ดังนั้นเราจึงมาพิจารณาในระดับองค์กรของเรา ดังนี้

 

1.   การจัดการขยะในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การจัดการขยะฐานศูนย์

1.1.     การใช้กระดาษให้เกิดความคุ้มค่ามากทีสุด

1.2.     การลดปริมาณขยะและการทิ้งเศษวัสดุเหลือใช้ในแต่ละวัน

1.3.     การตั้งศูนย์รับเศษวัสดุเหลือใช้ หรือขยะในสำนักงาน  โรงเรียน และชุมชน

1.4.     การใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อม (น้ำหมัก   ปุ๋ยหมัก  น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ 

              และน้ำยาล้างจาน ฯลฯ )

1.5.     การแปลงขยะเป็นปุ๋ย และพลังงาน 

1.6.     การเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการขยะในระดับต่าง ๆ

2.   การจัดตั้งเป็นชมรม  กลุ่มกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1.      เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉลากสีเขียว  (Green Local Authorize

          Organization : GLAO)

2.2.    โรงเรียนสีเขียว (Green  School)

2.3.    ชุมชนสีเขียว (Green Community)

3.   การทำกิจกรรมเพื่อลดสภาวะโลกร้อน

3.1.     ลดการใช้พลาสติก

3.2.     ใช้ถุงผ้าไปตลาดและที่ทำงาน

3.3.              ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปฏิบัติงาน และการจัดกิจกรรม  การประชุม    

               สัมมนา   การจัดเลี้ยง ฯลฯ 

 

4.   การใช้พลังงานอย่างรอบรู้ 

4.1.     การจัดทำแผนพัฒนาพลังงานในองค์กร

4.2.     การควบคุมคุณภาพและปริมาณการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

4.3.     การค้นหาพลังงานทางเลือกที่เหมาะสม

5.   การจัดการความรู้(Knowledge Management : KM )

5.1.     ในระดับองค์กร(เทศบาลตำบลปริก)

5.2.     ในระดับโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก

5.3.     ในระดับชุมชน

6.   รางวัลแด่คนช่างฝัน (Rewarding)

6.1.      รางวัลประเภทบุคคล

6.2.      รางวัลประเภทกลุ่ม

       

                     หากเราสามารถขับเคลื่อนองค์กรของเราให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดี  การที่เราจะขับเคลื่อนต่อไปในระดับชุมชนจึงไม่ใช่เป็นเรื่องยากหรือเกินกำลังของเราแต่ประการใด   เพราะฉะนั้น หัวหน้าส่วนราชการ ของเทศบาลตำบลปริก ตั้งแต่ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกอง จนถึงพนักงานทุกคนจำเป็นจะต้องเข้าใจในบริบทขององค์กรให้แจ่มแจ้ง  โดยการสร้างมุมมองแบบรอบด้านที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ผ่านวิสัยทัศน์  พันธกิจ   ยุทธศาสตร์และนโยบายขององค์กรเป็นปฐมบท  กิจกรรมที่เราจะต้องมาเริ่มต้นกันเป็นอับดับแรกคือ  สร้างความเข้าใจร่วม  ( Clearing House )  หลังจากนั้นจึงค่อยไปดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น (Action )  เมื่อดำเนินงานไปแล้วประมาณสามเดือน จึงค่อยทำการทบทวนและสรุปบทเรียน (After Action Review : AAR )  แล้วจึงค่อยมาสร้างกลไกในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (Monitoring & Evaluation ) อาจจะออกมาในรูปของบาลานซ์สกอร์การ์ด(Balance Score Card) หรือวิธีการใดก็ได้ที่สามารถสื่อให้เห็นกระบวนการในการทำงานอย่างเป็นระบบ (System Approach) ต่อไป

 

                                ดังนั้นจึงมอบหมายภารกิจนี้ให้กับทุกคน โดยผ่านโครงสร้างการทำงานที่เราต้องมาคิดต่อถึงการกำหนดโครงสร้างการบริหารและการดำเนินงานออกมาอย่างน้อยก็เป็นสามระดับ  คือ (๑) นโยบาย    (๒) การเชื่อมประสาน  และ(๓) การปฎิบัติ ที่ออกมาเป็นรูปของการทำงาน

 

·       ระดับที่ปรึกษา  ฝ่ายบริหาร และสมาชิกสภา

·       ระดับแกนนำ   ปลัดเทศบาล  รองปลัดฯ  ผอ.กอง  และแกนนำในระดับชุมชน

·       ระดับผู้ปฎิบัติ   ข้าราชการ  พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของเทศบาลทุกคนรวมทั้งพี่น้องประชาชนกลุ่มสนใจ

 

ประเด็นสำคัญ คือ งานที่ว่านี้ต้องเริ่มที่องค์กรของเราให้เห็นอย่างจริงจังเป็นเบื้องต้น   แล้วค่อย ๆ คืบออกไปขยายผลต่อในรูปของโครงการหลักในระดับชุมชนต่อไป ซึ่งอาจจะต้องมากำหนดเป็นลำดับชั้นความสำคัญกันขึ้น   โดยที่พนักงานเทศบาลตำบลปริกที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลตำบลปริกจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชน )

 

                          นอกจากนี้ยังมีคณะอีกคณะหนึ่งที่มีความจำเป็น คือ ชุดของการสรุปบทเรียน การติดตาม และประเมินผล มอบให้ทีมที่เป็นซีกของงานวิชาการ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดตั้งเป็นองค์คณะกันขึ้นมา ประกอบด้วยคนประมาณ 5 – 7 คนก็คงจะพอ ที่จะมาช่วยกันทำงาน และในขณะเดียวกันก็ขอให้ถือเป็นทีมจัดการความรู้ได้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 177288เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2008 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ

ดิฉันเข้ามมาติดตาม และอยากจะแนะนำเกี่ยวกับการใส่คำสำคัญคะ ลองอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใส่คำสำคัญได้จาก http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

สวัสดีคะ

ติดตามผลงานเทศบาลปริกอยู่คะ คงจำได้นะคะ ที่ไปเยี่ยมและนำ วีซีดีไปที่เทศบาล ประทับใจและสนใจเรื่องการจัดการความรู้ โดยเฉพาะมีทีมงานการจัดการความรู้ด้วย มีรายละเอียดไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท