ฤกษ์งามยามดี พิจารณาผ้าไหมมัดหมี่ ที่เมืองดอกคูน


เรื่องเล่าจากขอนแก่น

เมื่องานของคนออกแบบผ้าทอมือแล้วเสร็จ และงานของช่างทอผ้าชาวบ้านจบลงไปแล้ว งานต่อไปของการวิจัยโครงการ จินตนาการใหม่ไหมมัดหมี่อีสาน ก็ถึงคิวที่ต้องขึ้นเวทียกที่หนึ่งเพื่อให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอมือพื้นบ้านได้พิจารณาและประเมินผ้าแล้ว

ผ้าทอมือจำนวน 22 ผืนกำลังถูกซักอบและรีดทำความสะอาดเตรียมให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกสรร วิเคราะห์ วิพากษ์และเสนอแนะในการพัฒนาลวดลายผ้าต่อไป โดยงานวิจัยครั้งนี้จะคัดผ้าให้เหลือจำนวน 15 ลายเท่านั้น ส่วนผ้าที่ตกรอบจะถูกนำไปปรับปรุงลวดลายต่อไป

ผมมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผ้าทอมือร่วมสมัยอยู่นาน ตั้งแต่เริ่มโครงการนี้เพราะสุดท้ายผมก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มาช่วยเสนอแนะการพัฒนาลวดลายผ้าคราวนี้ แต่มันช่างเป็นอะไรที่หายากเต็มทน เพราะถึงแม้อีสานจะมีการงานทอผ้าเต็มแผ่นดินแต่เรามีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับปฏิบัตินั้นน้อยเต็มทน

ที่ต้องหานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับปฎิบัติการนั้น เป็นเพราะงานทอแบบพื้นเมืองที่มีเทคโนโลยีแบบพื้นบ้านนี้จำเป็นที่นักวิชาการหรือผู้เสนอแนะต้องเข้าใจกระบวนการ เครื่องไม้เครื่องมือของชาวบ้านด้วย หากจะอธิบายในระดับวิชาการแบบเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรมเห็นที่ช่างทอคงงงตาตาก เพราะอยู่ในระดับการผลิตที่ต่างกัน

หันไปมองวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้านหัตถกรรมผ้าทอในอีสานก็พบว่าเราขาดหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอนในเรื่องนี้อยู่มากเพราะไม่มีหลักสูตรไหนเลยที่เปิดสอนสายตรงในเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่งานทอผ้าเต็มไปทุกทั่วในแผ่นดินอีสาน มากและหลายหลายทั้งรูปแบบ เทคนิค วิธิการ ที่ผมว่าพัฒนาไปได้อีกไกลหากเรามีบุคคลากรด้านนี้

แต่ก็อย่างที่เล่าไปแล้ว การศึกษาระดับอุดมศึกษาในอีสาน ขาดหลักสูตรด้านนี้อยู่เอามาก มากจนมองอาจจะไม่เห็น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผมจะหานักวิชาการระดับเพชรยาก เพื่อมาช่วยวิพากษ์วิจารณ์ผ้าทออย่างเป็นระบบและเข้าใจกระบวนการของการทอผ้าชาวบ้าน

แต่ความพยายามของผมก็เจอ เพราะผมตัดสินใจเลือกผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านโดยเป็นนักวิชาการในตำแหน่ง ผศ. จำนวน 2 ท่านจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ph.D อีกหนึ่งท่าน รวมสามท่าน แต่ก็ยังไม่แน่ว่าท่านจะตอบรับหรือปฏิเสธอย่างไร ภาวนาว่าขอให้รับเถอะ

โดยเป็นสามท่านที่จะช่วยเติมเต็มงานออกแบบของผม และกระบวนการทอผ้าของช่างทอให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นและลงตัวมากขึ้น อันจะเนการยกระดับผ้าทอมือในมิติลวดลายร่วมสมัยไปอีกระดับหนึ่ง อันเป็นงานที่ชาวบ้านหรือช่างทอพื้นบ้านสามารถผลิตได้

ฤกษ์งามยามดีจึ่งอยู่ช่วงปลายเดือนนี้

หมายเลขบันทึก: 177282เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2008 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีจ๊ะออต

อยากเห็นชิ้นผ้าทองามๆ จังเลยค่ะ :)

รอก่อนนะพี่แจ๋ว แป้บเดียว

รอให้มีการพิจารณาของผู้เชี่ชยวชาญเสร็จ แล้วจะเอามาโชว์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท