ผลการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพเท้าที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์ วันที่สาม


การ Off Loading

             16กพ.49 วันนี้มีโปรแกรมฝึกปฏิบัติงานที่สถาบันราชประชาสมาสัยกับอาจารย์สมเกียรติ  มหาอุดมพรและทีมงาน  ออกเดินทางจากที่พักเวลา 07.00น.นั่งแท็กซี่ไปลงที่ท่าน้ำพระประแดงและนั่งเรือไปขึ้นฝั่งที่สถาบันราชประชาสมาสัย  ด้วยความที่เป็นคนเมารถเมาเรือ ก็ได้รับประทานยา Dimen ไป 1เม็ด หลังจากที่กินยารวมเวลาที่นั่งรถนั่งเรือ และไปนั่งรอพบอาจารย์สมเกียรติ ประมาณ 1ชั่วโมงกว่าๆ ดิฉันง่วงมากนั่งหลับตลอด ก่อนอาจารย์สมเกียรติจะมาน้องเพียว  น้องแนน นักกายภาพบำบัดทีมงานของอาจารย์สมเกียรติได้จัดเตรียมแช่เท้าคนไข้ไว้ให้สำหรับ Trim callus แล้ว 3 ราย ก็ได้เริ่มนั่ง Trim callus กันเลย ดิฉันได้ case ที่มี callus และแผลด้วยทั้ง 2เท้าเลย ส่วนคุณเปรมสุรีณ์ และคุณวสินก็ได้ case ที่ไม่น้อยหน้าไปกว่ากันเท่าไหร่  ทีแรกคิดว่านั่งขูดๆไปแล้วเผลอหลับคาเท้าคนไข้ไปเสียละมั้ง แต่พอได้ขูดไปสักประเดี๋ยวก็เกิดความมัน และมือไม้เริ่มไปได้ดี ไม่เก้ๆกังๆ อย่างที่ห่วงไว้แต่ทีแรก ก็เลยขูดเสียเรียบไปเลย อาจารย์สมเกียรติมาเห็นพอดีบอกว่าใช้ได้นี่ (ดีใจจังเลย) ท่านเลยบอกว่างั้น Trim อีกข้างซิ สรุปวันนั้น 2 เท้า ของผู้ป่วย Leposy ใช้เวลา Trim และทำแผลไปประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ และหายง่วงเป็นปลิดทิ้งเลย  อาจารย์บอกว่าCallus เป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดแรงกดมาก หากกดมาก ๆ จะทำให้เกิด Ulcer ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ภาวะ Neuropathy จะไม่รู้สึกเจ็บเมื่อมีแรงกดและปล่อยทิ้งไว้จนเกิดแผลเป็นปัญหาตามมา  จึงต้องกำจัดแรงกดนั่นเสีย      การขูด callus ควรใช้ใบมีดเบอร์ 20 และ 10 เพราะมีลักษณะป้าน ไม่แหลมคม

                                                                     

                           
      หลังจากนั้นได้เห็นวิธีการ Off Loading ของอาจารย์สมเกียรติ ในกรณีมีแผลที่เท้า อาจารย์ บอกว่าoff loading ตามธรรมชาติ คือการ Rest  แต่บางครั้งก็ต้องใช้วิธีทำ Total contact cast  คือการเข้าเฝือกทั้งขา เป็นวิธีการรักษาซึ่งใช้แก้ไขปัญหากระดูกหักมานานแล้ว แต่ยังไม่เป็นวิธีการที่นํามาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันการลงนํ้าหนักที่แผล ในความจริงแล้ว total-contact cast เป็นวิธีการป้องกันการลงนํ้าหนักที่แผลที่ดีที่สุด ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดซํ้า ก็ได้ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มาอีกหนึ่งอย่าง หลังจากนั้นอาจารย์สมเกียรติ ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการตรวจประเมินเท้า การแบ่งเกรด การดูแลแผล และการ Off Loading ด้วยวิธีการทำ Felted foam dressing โดยทุกคนผลัดกันทำ (พอดีมีน้องจาก โรงพยาบาลโคกสำโรง จ.ลพบุรีมาดูงานกับอาจารย์สมเกียรติด้วยอีก 1 คน)
       Felted-foam dressing คือ เทคนิคการทําแผลที่ช่วยป้องกันการลงนํ้าหนักบริเวณแผล ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้โดยไม่เสี่ยงต่อการยํ่าลงบนผล ซึ่งก่อนนําวิธีนี้าใช้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาแผล ไม่สามารถเดินได้ ระหว่างแผลยังไม่หาย  พวกเรา 4 คน เราก็จับคู่ผลัดกันทำ Felted foam Dressing โดยสมมุติตำแหน่งแผลที่เท้ากันเองสนุกมากและได้ความรู้มากค่ะ โดยมีน้องเพียว และน้องแนน คอยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิด ขอบอกว่าน้องน่ารักมากกกกกกก  น้องๆเก่งมากไม่คิดว่านักกายภาพบำบัดจะมีความสามารถขนาดนี้  นอกจากนี้ทีมงานของอาจารย์ยังให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Foot wear การใช้แผ่นรองเท้าสำหรับการลดแรงกดตามตำแหน่งต่างๆที่เท้า การตัดรองเท้าและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Foot wear นอกจากนี้อาจารย์ยังให้ความรู้เรื่อง การเลือกรองเท้าว่า  รองเท้าควรมีลักษณะป้องกันเท้า ส้นไม่สูงมาก ฐานต้องกว้าง และรัดส้น หรือหุ้มส้น การทดสอบความหนาใช้วิธีลองกดลงที่ฟองน้ำ ฟองน้ำต้องยุบประมาณครึ่งของความหนา  ส่วนรองเท้าแตะคีบเป็นรองเท้าที่ไม่เหมาะสมเพราะรองเท้ากับขอบรองเท้าพอดีเกินไป ทำให้ขอบเท้าโดยรอบไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งอาจทำให้เท้าเกิดแผลได้ง่ายขนาดรองเท้าที่เหมาะสมคือต้องเหลือพื้นที่เล็กน้อย ถ้าเป็นรองเท้าแตะควรเหลือขอบประมาณครึ่งนิ้วซึ่งจะเป็นกันชน เวลาเดินเตะอะไร อาจารย์ยังแนะแนวทาง ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอีกด้วย จนกระทั่งเวลา17.00น. รู้สึกประทับใจอาจารย์และทีมงานมากที่กรุณาให้ความรู้พวกเราอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อยเลย องค์ความรู้ของอาจารย์เพียบเลยค่ะยังอยากเรียนรู้จากอาจารย์อีกมากเลย 
     วันนี้ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงาน นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีจริงๆ เกินความคาดหวังมากเลย คิดว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะเพิ่มการฝึกปฏิบัติงานที่สถาบันราชประชาสมาสัยอีกสักหนึ่งวันเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์การเรียนรู้ให้ได้มากกว่านี้  
 

                                                       


                                                                
     ทับทิม   ผู้บันทึก
หมายเลขบันทึก: 17630เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2006 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สิ่งที่คุณเขียนมา อ่านแล้วเหมือนได้ไปดูงานด้วยเลย

ขอให้บันทึกการทำงานต่อด้วยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท