เรื่องล้วนๆ...ว่าด้วย...หัวอกคนเป็น Fa


มีคำถามมากมายที่พรั่งพลูออกจากปากคุณ Fa..คนแล้วคนเล่า...ที่ล้วนแล้วแต่อยากได้คำตอบที่ชัดเจน

เรื่องล้วนๆ...ว่าด้วย...หัวอกคนเป็น Fa
   สรุปบทเรียน...จากเรื่องเล่า ...ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในการจัดการความรู้ ภายใต้ภารกิจของคุณ "Fa"


        "Fa" ในที่นี้มาจากคำว่า... Facilitator แปลในความหมายของ KM (ตาม สคส.) ว่า...  คุณ...อำ-นวย
         การเริ่มต้นทำงานตามบทบาทของคุณอำนวย  ในสไตล์ KM ที่ว่า  "KM ไม่ทำ ไม่รู้ "...จึงเปรียบเสมือน ถูก...ผี..อำ..เพราะมัน...เบลอๆ ...
         ถามใคร...ก็อธิบายเบลอๆ...มีแต่บอกว่า...ทำไปก่อนแล้วค่อยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน...ความรู้สึกอึดอัดจึงเกิดขึ้นกับหัวอก...คนเป็น Fa ล้วนๆ...

        เพราะ..มีคำถามมากมายที่พรั่งพลูออกจากปากคุณ Fa..คนแล้วคนเล่า...ที่ล้วนแล้วแต่อยากได้คำตอบที่ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ คำถามว่า...

  1. การเริ่มต้นของ Fa ควรทำอย่างไร? [เริ่มจากขับเคลื่อนให้เกิดทั้งองค์กร (จุดใหญ่ๆ) หรือเริ่มจากจุดเล็กๆ (บางหน่วย/บาง CoP) ก่อน]
  2. สิ่งใดที่ควรทำ และสิ่งใดที่ไม่ควรทำ [คำถามนี้เคยตอบไปบ้างแล้วนะค่ะ อ่านได้จากบันทึกเรื่อง Do/Don't ในบทบาทของ Facilitator]
  3. เวลาทำหน้าที่ Fa ...ด่นไม่ออกควรทำอย่างไร [ไม่รู้จะถามต่ออย่างไร(How to...ไม่ถูก)]
  4. เวลาคนเล่าเรื่อง...เล่าออกนอกเรื่องจะทำอย่างไร
  5. ถ้าคนเล่าเรื่องบอกไม่มีเรื่องความสำเร็จ...มาเล่า...จะทำอย่างไร?
        ...ให้เล่าหรือให้อยู่เฉยๆ ..
        ...หรือถ้าเขาเล่าในสิ่งที่เป็นความสำเร็จของเขา ...แต่ไม่ตรงหัวปลาของเรา...เอ!... กำหนดเป็นหัวปลาเรื่องใหม่ดีมั๊ย...???
  6. บทบาท Fa ในการจัดการความรู้ ต่างจาก Fa อย่างอื่นอย่างไร


  ...ทั้งหมดเป็นคำถาม...ที่ล้วน...รังสรรค์...ให้เกิดการเรียนรู้ทั้งน้าน..


     ดิฉันอยากจะให้มีคนมาร่วมตอบคำถามทั้งหมดค่ะ ...เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

    แต่สรุปบทเรียน...จากเรื่องเล่า ...ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในการจัดการความรู้ ภายใต้ภารกิจ Fa  ที่เกิดขึ้นจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM กรมอนามัย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี (ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  CKO และ Fa จาก 28 หน่วยงานของกรมอนามัย )

    ...น่าจะพอมีคำตอบให้กับคุณ Fa ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ..

  1. ควรมีเป้าหมายร่วมกัน
  2. ควรกำหนดโครงสร้าง/บทบาททีมงาน/วางแผนให้ชัดเจน
  3. เริ่มจากจุดเล็กๆก่อน
  4. ควรเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหน่วยงานภายนอก
  5. แทรกซึมKM เข้ากับงานประจำ
  6. พัฒนาระบบสารสนเทศ (เช่น KM portal ฯลฯ)
  7. บูรณาการเครื่องมือเข้าด้วยกัน (ทั้ง TQA KM การบริหารความเสี่ยง ฯลฯ...เพราะขณะนี้การพัฒนาระบบราชการ ส่งเครื่องมือเข้ามาอย่างมากมาย)
  8. มีกลไกกระตุ้นให้ทุกส่วนมีส่วนร่วม
  9. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
  10. นำความรู้ที่ได้ (knowledge Asset) กลับมาใช้ประโยชน์
  11. มีการประชาสัมพันธ์
  12. ขยายผลการจัดการความรู้สู่ภายนอก
  13. และสุดท้าย ... บุคลิกภาพของ Fa ควรเป็นผู้ฟังที่ดี มีความคิดเห็นเชิงบวก ฝึกตนเองให้มีวินัย และต้องรู้บทบาทหน้าที่


สำหรับวันนี้ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ... (>.<)

หมายเลขบันทึก: 17932เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2006 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ขอเพิ่มเติม ข้อมูลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มจากการเป็น Fa อีกเล็กน้อยนะคะ คือ

  • ใช้เวทีเพื่อสกัดความรู้
  • ให้โอกาสบุคลากรทุกระดับมีการ ลปรร.
  • การใช้สารสนเทศในการ ลปรร. นอกจาก KM Portal ใน Internet ก็จะมีเพิ่มเรื่อง ดึง ปชส. เข้าร่วม, การทำจดหมายข่าว
  • ให้มีการกำหนดนโยบายการจัดการความรู้ขององค์กร
  • มีแผนพัฒนา CoP ของหน่วยงาน
  • มีทีมพี่เลี้ยง เช่น มี Fa กลาง เป็นคาราวาน Fa
  • สร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน ไม่ทำให้คิดว่างาน KM เป็นภาระของผู้ทำ ให้ความคิดว่า ทำ KM แล้วเกิดประโยชน์

มีข้อเสนอที่น่าสนใจก็คือ

การทำงาน ลปรร. สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ ความศรัทธา ความสมัครใจ และความต้องการที่จะทำจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท