เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ทางทีมงานของโรงพยาบาลพบพระ 15 คน ได้มาศึกษาดูงานการใช้โปรแกรมปฏิบัติการHospital os เพื่อจะได้นำไปปรับใช้หรือปรับปรุงระบบของทางพบพระซึ่งก็เริ่มใช้โปรแกรมนี้เหมือนกัน โชคดีมากที่ทางทีมงานผู้เขียนHospital os ได้กลับจากการติดตั้งระบบที่โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง มาแวะพักที่บ้านตากพอดี เราจึงมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยให้คำตอบไปด้วย
ในช่วงเช้า คุณอภิชาติ หัวหน้างานเทคโนดลยีสารสนเทศ เป็นผู้ต้อนรับ พูดคุยให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งได้พาไปดูตามจุดบริการต่างๆ ผมจึงไม่ได้เข้าไปช่วยอะไร และในเวอร์ชั่นใหม่นี่ผมก็รู้น้อยมาก ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องเท่าไหร่ ทีมสารสนเทศเขาจัดการเองกันหมด ไม่มีปัญหาอะไรให้ผมต้องเข้าไปช่วยแก้ไข แต่ช่วงบ่ายก่อนกลับผมก็ได้เข้าไปทักทายพูดคุยกับทีมและร่วมตอบปัญหาด้วย
โปรแกรมHospital os เป็นโปรแกรมปฏิบัติการในการดูแลผู้ป่วยมี่เขียนโดยทีมงานของนพ.ก้องเกียรติ เกษเพชร ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ที่ได้ทุนสนับสนุนจาก สกว. เขียนขึ้นเพื่อใช้ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก โดยเขียนบนลีนุกซ์ เป็นOpen source code สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้เอง ทางโรงพยาบาลบ้านตากได้นำมาใช้เมื่อ 2 ปีก่อนเป็นเวอร์ชั่นที่ 1 และเมื่อ 4 เดือนก่อนได้ปรับเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดคือเวอร์ชั่นที่ 3
โปรแกรมนี้ทำให้ระบบบริการที่โฏรงพยาบาลบ้านตากเป็นระบบpaperless ที่สามารถตอบสนองได้ดีมาก โดยเวอร์ชั่นปัจจุบันสามารถจัดทำแฟ้มครอบครัวได้ด้วย
จากการพูดคุยเมื่อวานนี้ ก็ได้ให้ข้อมูลบางส่วนแก่ทีม ถึงความต้องการของผู้ใช้ เช่นการสรุปแฟ้มผู้ป่วย การสรุปยาก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยจำหน่าย การออกรายงานต่างๆเช่นรายงาน 12 แฟ้ม รายงาน 18 แฟ้ม เป้นต้น ซึ่งโปรแกรมสามารถตอบสนองได้แต่อาจต้องมีการปรับปรุงบ้างเพื่อความสะดวก และได้ทราบว่าโปรแกรมนี้ไม่ได้จำกัดใช้เฉพาะโรงพยาบาลขนาดเล็กน้อยกว่า 100 เตียง เพียงแต่ว่าทีมงานผู้คิดค้นยังไม่มีประสบการณ์กับโรงพยาบาลใหญ่ๆ จึงไม่กล้ารับประกันความสำเร็จอย่างเต็มที่
ผมได้ฝากความต้องการเพื่อสร้างระบบบริการไร้กระดาษอย่างสมบูรณ์แบบ โดยต้องการให้แพทย์ตรวจคนไข้ในโดยการใช้คอมพิวเตอร์บันทึกแทนการเข็นรถแฟ้มกระดาษ ต้องการให้ทีมเวชปฏิบัติครอบครัวออกเยี่ยมบ้านโดยสามารถบันทึกลงบนปาล์มหรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแล้วนำข้อมูลมาใส่ในระบบที่โรงพยาบาลได้ ต้องการให้มีระบบที่นำเอาถาพเอ๊กซ์เรย์ ภาพผู้ป่วยคดีหรือใบคลื่นไฟฟ้าหัวใจใส่ไว้ในรูปอิเล็กโทรนิกส์ได้เลย ซึ่งตอนนี้ก็พอจะมีทางทำได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก
ไม่มีความเห็น