GotoKnow

เอาใจช่วยอ.อ้อมและทีมงานเครือข่ายลำปาง

นาย ภีม ภคเมธาวี
เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2549 13:06 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:29 น. ()
การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือฝึกตนเองเพื่อไปสู่อิสรภาพหรือมิใช่?

ผมอ่านการเล่าบรรยากาศและเนื้อหาการประชุมของเครือข่ายลำปางด้วยความสนใจ อ.อ้อมบันทึกได้ละเอียดและมีชีวิตชีวามาก ผมมีความเห็นต่อรายงาน http://gotoknow.org/archive/2006/03/02/17/42/56/e17400  ดังนี้ครับ

คิดดีแล้วละครับ

อ.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผอ.สกว.เคยเสนอแนะว่า "ในปรากฏการณ์ทางสังคมมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายซึ่งสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน นักวิจัย(จัดการความรู้-ผมเพิ่มเอง)อย่าไปเพิ่มตัวแปรในส่วนของเราขึ้นมาอีกเพราะจะทำให้ปรากฏการณ์ซับซ้อนยิ่งขึ้น "


ผมเห็นว่าทำอย่างนี้ได้ต้องมีจิตว่าง คือมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาครบถ้วน
ความรู้ที่สรุปไว้ข้างต้นมีอยู่ แต่จัดการกับความรู้ดังกล่าวเพื่อให้เกิดขึ้นในตัวเรา เพื่อไม่ไปเพิ่มตัวแปรขึ้นอีกไม่ใช่เรื่องง่าย อันนี้แหละครับที่ท้าทายนักจัดการความรู้ เพราะเป็นการเพิ่มความสามารถหรือบารมีในการทำงานของเรา ซึ่งทุกคนมีหน้าที่ของตน ตรวบสอบในตารางอิสรภาพของเราดูว่า อารมณ์ ความรู้สึกต่อเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างไร? เราใช้ความรู้เข้าแก้ไขอย่างรอบด้านด้วยความปรารถนาดี ด้วยความรักหรือใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ใครทำได้ดีขึ้นก็จะก้าวหน้ายิ่งขึ้น (เอาใจช่วยอ.อ้อมครับ)

การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือฝึกตนเองเพื่อไปสู่อิสรภาพหรือมิใช่?



ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย