การอ่านหนังสือยังเป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับเด็กไทยและคนไทย


         วันนี้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์ ได้เขียนถึงเรื่องปัญหาการอ่านหนังสือของเด็กไทยและคนไทยไว้ตอนหนึ่งว่า  เรื่องเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก  อ่านหนังสือไม่คล่อง  หรืออ่านหนังสือไม่แตก ยังเป็นปัญหาในภาพรวมทั้งประเทศ 
         ผู้เขียนได้เสนอข้อมูลผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2548  พบว่า ประเทศไทยมีผู้ไม่อ่านหนังสือถึง 22.4 ล้านคน  หรือเกือบ 40 % ของประชากรทั้งประเทศ(ศธ.อาจค้านตัวเลขว่า...เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว)  ด้วยเหตุผลต่างๆ  อาทิ  ชอบดูทีวี  หรือฟังวิทยุ  หรือไม่ชอบ ไม่สนใจ   โดยสถิติคนไทยอ่านหนังสือปีละ 2 เล่ม เท่านั้น  ขณะที่คนสิงคโปร์อ่านปีละ 40- 50 เล่ม คนเวียตนามอ่านปีละ 60 เล่ม ซึ่งมากกว่าคนอเมริกันที่อ่านปีละ 50 เล่ม  และที่น่าห่วงยิ่งขึ้นเมื่อดูตัวเลขการอ่านหนังสือเป็นบรรทัดแล้ว  คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยแค่วันละ 6 บรรทัดเท่านั้น
         ผู้เขียนอ้างถึง ดร.กุลยา  ก่อสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษฯ มศว. ที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
       
...การอ่านเป็นพื้นฐานของการเรียน  ดังนั้นถ้าเด็กอ่านไม่ออก  อ่านไม่คล่อง เมื่อเรียนอะไรก็จะเรียนไม่รู้เรื่อง  แม้จะพยายามเคี่ยวเข็ญมากก็ตาม  และส่งผลให้เด็กหนีเรียน  ขาดเรียน  เพราะเรียนไม่รู้เรื่อง
         เมื่อไม่นานมานี้ผมไปเยี่ยมโรงเรียนทางภาคเหนือตอนล่าง  โรงเรียนต่างๆบอกว่า เด็ก ป.3 อ่านหนังสือออกทุกคน (ตามเกณฑ์ สพฐ.) แต่พอไปสุ่มให้อ่านเป็นประโยคง่ายๆจากในหนังสือเรียนของเขา  ปรากฏว่า ยังอ่านไม่แตก  อ่านไม่คล่อง  บางคนก็อ่านไม่ออกในหลายๆคำ (ไม่ได้รวมเด็ก LD)  เมื่อสอบถามครูก็ทราบว่า  วิธีฝึก/ประเมินการอ่าน  เขามีแบบฝึกการอ่านให้อ่านเป็นคำๆ แล้วคิดเป็นเปอร์เซ็นที่เด็กอ่านได้  แต่พอให้มาอ่านเป็นประโยคก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด  จึงเป็นปัญหาสำคัญในผลการสอบ NT ด้วย เพราะเด็กอ่านโจทย์ปัญหาไม่แตก ก็ตอบคำถามไม่ได้  ซึ่งจะส่งผลต่อไปในชั้นที่สูงๆขึ้นไปด้วย
         ผมเป็นคนโบราณที่เคยค้านการทำหลักสูตร 8 กลุ่มสาระแบบปูพรมให้เรียนตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ซึ่งผมเห็นว่าช่วงนี้ควรเน้นให้เด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นก่อน(เหมือนสมัยผมเรียน) เมื่อฐานแน่น เขาก็จะสามารถศึกษาค้นคว้า เรียนในกลุ่มสาระต่างๆในชั้นที่สูงขึ้นไปได้  ผมไปดูโรงเรียนที่นิวซีแลนด์ ซึ่งเขาเป็นประเทศที่ก้าวหน้าเรื่องการศึกษา  เขาก็ยังสอนเน้นการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นในชั้นต้นๆเหมือนครูโบราณเรา และเขาก็ใช้ ศิลปะ  ดนตรี กีฬา มาบูรณาการให้เด็กได้เรียนอย่างมีความสุขด้วย  ซึ่งตอนนี้ สพฐ.ก็ได้พยายามปรับหลักสูตรกันใหม่แล้ว
         ปัญหาเรื่องนี้ครูคงต้องทำงานกันหนักมากขึ้น  ซึ่งจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือสถาบันครอบครัวก็ต้องช่วยกันดูแลแต่ต้นด้วยครับ... 
       

หมายเลขบันทึก: 173338เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทความที่อาจารย์เอามาลงไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลยครับ

ผมเป็นนักศึกษา ผมสามารถเห็นได้ชัดเจนกว่าบุคคลวัยทำงาน เชื่อไหมครับว่าหลังจากนักเรียนกลับจากโรงเรียนหรือช่วงวันเสาร์-อาทิตย์เด็กๆเอาเวลาส่วนใหญ่ไปเล่นเกมส์ออนไลน์กันหมดเลย

ไม่อ่านหนังสือเงินค่าขนมที่ไว้กินเอาไปเล่นเกมส์ เด็กก็ขาดสารอาหาร

เด็กไทยอ่านหนังสืิอนอกตำราน้อยมาก ที่ห้องสมุดมหาลัยผม มีหนังสือดีๆเยอะแยะ ไม่ค่อยมีใครอ่านกัน(ดูได้จากประวัติการเช่า)

สมัยนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่เนื้อหาในตำราเรียนยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

เห็นด้วยกับอ.ค่ะ จะเห็นได้ว่า การอ่านเป็นพื้นฐานของทุกวิชาจริงๆ ไม่ว่าจะเรียนคำนวณ ถ้าอ่านไม่ออก ก็ไม่สามารถทำได้ ตอนนี้ตัวเองหันมาอ่านหนังสือให้มากขึ้นด้วย เเม้ว่าจะผ่านวัยเรียนมาแล้วก็ตาม ตอนนี้ลองหาข้อมูล และศึกษาวิธีที่จะทำให้เราอ่านได้มากขึ้น และได้พูดคุยกับอ.ที่รู้จัก พอจะทราบว่าที่รร.เค้ามีโครงการ ฝึกให้เด็กอ่านเร็ว เพื่อให้ เกิดการอ่านมากขึ้น ซึ่งตอนแรกก็งงค่ะ ว่า อ่านเร็วช่วยให้เด็กอ่านมากขึ้นจริงแต่ถ้าเด็กไม่อ่านเหมือนเดิม จะช่วยได้อย่างไร อ.อธิบายให้ฟังว่า การที่เด็กไม่อ่าน เป็นเพราะเด้กรู้สึกว่าการอ่านน่าเบื่อหน่าย บางคนก็ว่ายากบ้าง แต่ถ้าเราช่วยให้เด็กรู้สึกว่าการอ่านไม่อยากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องใช้เวลามานั่งอ่านนานๆ ก็จะช่วยเปลี่ยนทัศนคติ ให้แก่เค้า หากเค้ารู้สึกว่า การอ่านหนังสือเป็นเรื่องง่ายๆ เค้าก็จะมีกำลังใจ และรักการอ่านไปด้วย ได้ฟังมาถึงตอนนี้ ก็รู้สึกได้ว่าอ่อ มันช่วยเด็กได้ โดยการสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการอ่านหนังสือให้เด็ก แล้วเราจะฝึกให้เด็กอ่านเร็วได้อย่างไรละ อ.บอกว่า ได้มีการฝึกฝนเด็กให้อ่านเร็วขึ้น ด้วยโปรแกรมฝึกฝนการอ่านเร็ว งงเลยค่ะ มีด้วยหรือ ถามอ.ต่อว่าฝึกอย่างไร อ.บอกว่า เป็นโปรแกรมที่ให้เด็กนั่งฝึกผ่านคอมพิวเตอร์ ลักษณะเหมือน e learning ค่ะ โอ้ มาถึงตอนนี้เริ่มสนใจแล้วสิค่ะ ว่าโปรแกรมจะเป็นอย่างไร อ.บอกว่าลองเข้าไปอ่านดูที่เว็บไซต์ www.speedreadingthai.com ดูเอาเองละกันอธิบายไม่ถูก ต้องเห็นด้วยตาตัวเอง ดิฉันเลยเข้าไปดูมาค่ะ น่าสนใจดีทีเดียวกะว่าจะไปลองสมัครดู คะ ถ้าได้ผลอย่างไร จะแวะมาเล่าอีกครั้งนะค่ะ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูธเนศ

น้องจิแวะมาอ่าน คิคิ กลัวจะอ่านน้อยเกินไป " หนังสือคือประตูเปิดสู่โลกกว้าง" คำๆนี้ ยังฝังตรึงอยู่ในหัวในหนูเสมอ ปัจจุบันเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง เพราะมีเครื่องอำนวยความสะดวงมากมายแต่กลับใช้ในทางที่ไร้สาระ และหนูคงปฏิเสธไม่ได้ว่า "อินเตอร์เน็ตก็คือหน้าต่างเปิดสู่โลกอนาคต" ได้เช่นกัน รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

   ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยต่อเติม ถักทอ ให้ความรู้เรื่องนี้กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลของคุณ Sainam น่าสนใจมาก คุณครูที่สอนเด็ก น่าจะลองศึกษาและเทียบเคียงไปใช้ จะเห็นว่าเราเจอบทเรียนราคาแพงว่าถ้าไม่สนใจรักการอ่าน ความรู้ก็หดหาย และอุดตันไปหมด ทุกวันนี้เราจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก ดูตัวอย่าง น้องจิ แห่งบางลี่วิทยา สุพรรณบุรี ซิ อ่านประวัติแล้วไม่ใช่ธรรมดาเลย อยากให้เด็กไทยเก่งและน่ารักเยี่ยงนี้ให้มากๆ ประเทศไทยเจริญแน่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท