“เสียงแข็ง” ยังไม่เท่า “เสียงดัง”


เมื่อไม่นานมานี้ในหน่วยงานเราได้รับข้อร้องเรียนมาประมาณว่า พูดจาด้วยน้ำเสียงแข็งกระด้าง  แต่เนื่องจากมันหลายเดือนมาแล้วก็ไม่รู้ว่าผู้นั้นเป็นใคร ช่างมันเถอะว่าใครจะเป็นคนพูด แต่เรื่องที่เขาร้องเรียนมาเราก็ต้องแก้ไข  และปรับปรุง

 

คำว่า เสียงแข็ง ฟังดูแล้วน่าจะมีความหมายไปทำนองว่า ไม่ยอมรับ หรือปฏิเสธ ด้วยเสียงแข็ง แต่ห้องเราแม้ ยอมรับหรือตอบรับก็ยังมีน้ำเสียงแข็งอยู่ดี เออ เราเอง ใช่ ฉันเอง ประมาณนี้ด้วยน้ำเสียง(ค่อนข้าง) แข็งกระด้าง เป็นครั้งคราว แต่ก็เฉพาะเวลาพูดกันเองหรอกน๊ะ

 

แต่ เสียงแข็ง ยังไม่เท่า เสียงดัง วันก่อนได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่าได้ข่าวว่าห้องนี้ ฉาว หมายความว่าเสียงดัง (ไม่ใช่ฉาวโฉ่แบบว่า ชื่อเสีย) ที่เสียงดังอาจเป็นได้ว่า ห้องเรามีอุปกรณ์เครื่องมือเยอะ เสียงเครื่องปั่นก็หลายตัว โดยเฉพาะเครื่องปั่น Hematocrit  เครื่อง RO เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติหลายตัว เครื่องพิมพ์ เสียงวิทยุ เป็นไปได้ว่าทำให้เราพูดเสียงดังแบบไม่รู้ตัว พอนานเข้า พูดเบา  ๆ กันก็ไม่ค่อยได้ยิน ไม่อยากใช้คำว่าหูตึงเลย แต่ทุกครั้งที่พวกเรารับโทรศัพท์ แม้จะเอามือปิดหูก็แล้ว เกือบจะก้มลงไปอยู่ใต้โต๊ะ ก็ว่าได้ เพื่อให้ได้ยินเสียงชัด  ๆ บางครั้งพูดไปคนละเรื่องก็มี แต่ส่วนหนึ่งโทรศัพท์ห้องเราไม่ค่อยดีด้วยแหละ ทำให้ได้ยินไม่ชัดน๊ะ ไม่รู้เข้าข้างตัวเองไปรึเปล่า ??

 

วันก่อนพี่คนหนึ่งเข้ามาในห้องครัว เราประมาณ 8 คนกำลังนั่งทานข้าวกันอยู่ ได้ยินพี่เขาพูดเหมือนกันหมดว่า มาหาอาจารย์ ก็บอกพี่เขาไปห้องโน้น พี่เขาทำหน้างง งง แต่ก็ชวนพูดเรื่องอื่นต่อ สักพักพี่เขาพูดอีก เราก็บอกพี่เขาไปห้องอาจารย์อีก พี่เขาบอกว่าทำไมไปอยู่ห้องโน้น แล้วคุยกันเรื่องอื่นกันต่ออีก จนใกล้บ่ายโมง พี่เขาต้องกลับไปทำงาน ก็พูดว่า มาหาจาน ลืมทิ้งไว้ตั้งแต่งานทำบุญโน่น เล่นเอาพวกเราหัวเราะ แถมด้วยการพิจารณาตัว ไม่มีใครโทษใคร และเริ่มคิดได้แล้วว่า เอ๊ะ พวกเราหูตึงรึเปล่า ?? ทำให้เวลาพูด พูดเสียงดัง แบบไม่รู้ตัว แต่ยังไม่ฟันธง

 

ตอนนี้พวกเราก็พยายามเตือน  ๆ กัน ให้พูดจาเสียงเบา น้ำเสียงนุ่มนวล ถ้าลืมตัวไปบ้างใครผ่านมาแถวช่วยตักเตือนและให้อภัยด้วยค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 173331เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • เรื่องการสื่อสารการใช้คำพูด การรับรูการรับฟัง ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยนะคะ
  • นี่ยังถือว่า เป็นเรื่องใกล้เคียงกัน หากเป็นเรื่อง หล่อแหลม สงสัยเล่นเอา เป็นเรื่องเป็นราว ต้องง้องอนกันแน่ๆๆ
  • สนุกกับงานนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท