อ่านข่าว: อาจารย์ฟิสิกส์สะท้อน "โอเน็ต-เอเน็ต" ทำมาตรฐานเรียนวิทย์ตกต่ำ


ข่าวจาก ผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2551

อาจารย์ฟิสิกส์สะท้อน "โอเน็ต-เอเน็ต" ทำมาตรฐานเรียนวิทย์ตกต่ำ


ปัญหาเรื่องนักเรียนอ่อนฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ ผมแปลกใจนิดหน่อย ว่าทำไมรับรู้กันช้าจัง

ผมเห็นมายี่สิบปีแล้ว

จนเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนเป็นเฉย ๆ

สมัยก่อน เวลาสอน ใส่สมการ บางครั้ง ก็พิสูจน์นิด ๆ หน่อย ๆ ให้ดู เพื่อชี้ประเด็น ให้เห็นว่า องค์ความรู้ที่เขาให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ มันมีที่มา อธิบายได้ ถ้าเข้าใจ จะได้ไม่ต้องจำ

แต่หลัง ๆ ฐานคณิตศาสตร์ อ่อนลงเรื่อย ๆ จนผมเลิกบ่น และปรับตัว เลิกใช้สมการ แต่ใช้ภาษาภาพ ที่เลียนแบบสมการ พอช่วยได้นิดหน่อย

กลับมาเข้าประเด็น

ประเด็นหนึ่ง ที่ผมคิดว่าน่าห่วงเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ ที่น่าห่วงมากกว่าพื้นฐานคณิตศาสตร์อ่อนซะอีก คือ ความสามารถกระตุ้นให้เด็กตื่นเต้นเวลาเรียนฟิสิกส์

สมัย ป.ตรี ผมอ่อนฟิสิกส์ ทั้งที่ฐานคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์พอไปวัดได้ (อือม์...ไม่ใช่โดนหามไปฝังนะ) นั่นเพราะผมรู้สึกเบื่อเรื่องกลศาสตร์ เบื่อเรื่องการคำนวณในปัญหาซ้ำซากที่พลิกแพลงรายละเอียด

แต่ผมยังรักษาทัศนคติที่ดีกับฟิสิกส์ ดีมาก ๆ จบมาแล้ว ก็ยังหาความรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง ไม่ทิ้งขาด ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแวดวงสาขาอาชีพ

แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่มีผลอย่างลึกซึ้ง กลับเกิดขึ้นเป็นผลจากการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์

นิยายวิทยาศาสตร์ยุคเก่า (จูลส์ เวิร์น, อาซิมอฟ, คล้าก) ทำให้เปิดหูเปิดตาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจจะเป็นไปได้ รวมถึงโลกที่อาจเป็นไปได้

เวิร์น เป็นตัวอย่างที่ดีของนักทำนายอนาคต แม้เขาเขียนผ่านไปนับร้อยปี หนังสือ ห้าสัปดาห์ในบอลลูน ก็ยังคลี่แง้มโลกอนาคตออกมายังไม่หมด ยุคของพลังงานสะอาด(ไฮโดรเจน)ที่เขากล่าวถึง ก็ยังมาไม่ถึง การผงาดขึ้นมาเป็นขั้วใหม่ของเอเชียในฐานะมหาอำนาจ ก็เป็นสิ่งที่เราเริ่มเห็นรำไร ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ในการคาดการณ์ของเขา อาฟริกาคือมหาอำนาจขั้วถัดไปในอีกยุคถัดไป เป็นสิ่งที่น้อยคนจะเชื่อ

แต่นิยายวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ เปิดหูเปิดตาในมิติที่กว้าง และลึกกว่านั้น

  • อะไรคือ สำนึกรู้ (consciousness) ? เป็นการมองชีวิต และสังคม ในมุมที่กว้าง และต่างออกไป
  • เกิดอะไรขึ้น หากเรามองปัจจุบัน โดยอิงจากฐานกรอบเวลาที่อดีตและอนาคต ที่ทอดออกไปไกล 10, 100, 1000 หรือ 1 ล้านปี จากจุดปัจจุบัน
  • เวลา คืออะไร ?
  • ชีวิตคืออะไร ?
  • เกิดอะไรขึ้น ? ถ้า....
  • ฯลฯ

นิยายวิทยาศาสตร์ดี ๆ เดี๋ยวนี้ ไม่ได้ตอบคำถามเพียง เทคโนโลยีในวันพรุ่ง จะมีหน้าตาอย่างไร

เทคโนโลยี เป็นเพียงภาคขยายของอวัยวะ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปยังไง สังคม ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง น้ำเน่ายังไง ก็ยังน้ำเน่ายังงั้น เซอร์ อาเธอร์ ซี คล้าก ทีเพิ่งล่วงลับ เขียนในเรื่องยาวชุด Rama (ที่เปิดเรื่องด้วย Rendezvous with Rama หรือ ดุจดั่งอวตาร) ซึ่งไปจบด้วย Rama Revealed ก็สะท้อนให้เห็นข้อนี้เป็นอย่างดี

 

และนิยายวิทยาศาสตร์ที่ดี จะเป็นตัวกระตุ้นชั้นเลิศ ในการเรียนรู้ฟิสิกส์ หรือวิทยาการแขนงนั้น ๆ

อ่าน Stephen Baxter แล้วจะทำให้อยากอ่านตำราฟิสิกส์

อ่าน Peter Hamilton แล้วจะทำให้อยากอ่านตำราสังคมวิทยา

 

นิยายวิทยาศาสตร์ที่ดี จะชี้ให้เห็นว่า ชีวิต มีมิติโยงใยที่กว้าง และลึก กว่าที่เราเคยเชื่อ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 173018เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับเห็นแว๊บๆ เรื่อง โอเด็ดๆ เลยแวะเข้ามาดูครับ

สวัสดีครับ คุณ P กวินทรากร

 

  • แหม..เพิ่งรู้นะครับนี่ ว่ารู้จักวิทยายุทธ "หอกนั้นคืนสนอง" ด้วย
  • อือม์...มาแล้ว ทักทายกันซะหน่อย
  • ถ้า math=p, physics=q;
  • ~p->~q...
  • q^~p->-_-!

สวัสดีครับอาจารย์สบายดีนะครับ

  • ถ้า math=p, physics=q;
  • ~p->~q...
  • q^~p->-_-!

เด็ดดีครับ...

  • ~p->~q
  • p V ~q
  • ~(p ^ q) -> :-(!

หากเราชี้ให้เด็กเห็น รอบๆ ตัว ผิวหนัง และในตัว ว่าเป็นเรื่องเีดียวกัน แล้วแตกประเด็นเป็นวิชาต่างๆ ที่เราต้องการ ในทางที่เห็นว่าเด็กอ่อน ก็น่าจะจัดการได้ครับ

  • เราไปกดดันการอยากให้เด็กรู้มากเกินไปหรือเปล่าครับ? ในขณะที่มีระบบบางอย่างอาจจะผิดปกติหรือบกพร่องครับ

ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับ น้อง เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 

  • ไม่ค่อยได้เจอเลยนะครับ ช่วงนี้
  • รับช่วงกระบวนท่าได้เนียนเชียว อิอิ

 

"เราไปกดดันการอยากให้เด็กรู้มากเกินไปหรือเปล่าครับ? ในขณะที่มีระบบบางอย่างอาจจะผิดปกติหรือบกพร่องครับ"

 

  • นั่นดิ อยากรู้อยู่เหมือนกัน...
  • เฮ่อ...

P

wwibul

 

รู้สึกว่า ห้าสัปดาห์ในบอลลูน เคยอ่านนานแล้ว แต่ก็รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง...

การที่นิยายวิทยาศาสตร์ผ่านไป... และนิยายแฟนตาซี เช่น แฮรี่ พอตเตอร์ หรือบรรดาเกมส์ทำนองนิยายแฟนตาซีเข้ามา เป็นประเด็นที่น่าคิดในเรื่องจินตนาการของคน...

อีกอย่าง อาตมาชอบกลศาสตร์ ตอนเรียนเทคนิค เวลาใกล้ๆ สอบเพื่อนๆ  จะรักใคร่และค่อนข้างเกรงใจในฐานะ ติวเตอร์ของกลุ่ม แต่อาตมาก็เรียนๆ ออกๆ ไม่จบ ยี่สิบกว่าปีผ่านไป กลายมาเป็นท่านมหาฯ อยู่ในวัด (5 5 5)

ประเด็นเรื่องฟิสิกส์นี้ อาตมาก็เคยได้ยินมานานเกินยี่สิบปีแล้วว่า อเมริกาจะยกย่องนักฟิสิกส์สูง เพราะถือว่าคนกลุ่มนี้เป็นมันสมองในการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อจะได้นำมาสร้างเทคโนโลยี่อีกครั้ง... แต่เมืองไทย ยกย่องผู้ชำนาญวิชาชีพที่ใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูงได้ เช่น แพทย์ วิศวะ...

 อาตมาคิดว่า ถ้าจะแก้ไข ก็ต้องแก้ที่ค่านิยมวิชาเหล่านี้ของคนไทยก่อน...

ก็บ่นผ่านๆ เพราะไร้อำนาจที่จะเข้าไปชี้นำ...

เจริญพร

 

P  BM.chaiwut

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

 

  • กระผมมองว่า โครงสร้างการศึกษา ก็คงเกี่ยว
  • ค่านิยมการศึกษา ก็คงเกี่ยวด้วยเช่นกัน
  • แต่บางอย่าง เราเองก็อาจต้องปรับวิธีคิด
  • บางที ความรู้หนัก ๆ อาจต้องเอา บันเทิงกึ่งสาระ มาเป็นตัวตั้งต้น เด็กจึงใส่ใจ
  • กระผมเคยเห็นเด็กที่ขี้เกียจ อ่านหนังสือแทบไม่ออก เปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกคนได้ เพราะผลจากเทพนิยายอย่าง แฮรรี่ พอร์เตอร์ ที่เปลี่ยนให้เป็นคนที่รักการอ่านขึ้น (อย่างน้อย เปลี่ยนจากใกล้โหล่สุดของประเทศ ให้แซงค่าเฉลี่ยการอ่านของประเทศได้)
  • นิยายวิทยาศาสตร์ ก็อาจทำเช่นนั้นได้
  • แต่เสียดาย ที่เดี๋ยวนี้ แทบไม่มีเรื่องดี ๆ แปลออกมา
  • ใครอ่านภาษาอังกฤษคล่อง ก็คงไม่รู้สึก
  • แต่เสียดายแทนเด็กที่อ่อนภาษาอังกฤษครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

คนสร้างคิดอย่าง

คนเรียนคิดอย่าง

คนแก้ไขคิดอย่าง

คนมองคิดอย่าง

สรุปแล้ว เรามีกี่ทางคิด กี่ทางทำ กี่ทางเดิน กี่ทางแก้ไข กี่ทางพัฒนา?

 

 

น้อง เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 

  • ถาม ย๊าก ยาก
  • คิด บ่ อ๊อก
  • มี ก, ข, ค, ง  มั้ยครับ แฮ่...

พอมีการแยกการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 8 กลุ่มสาระ แต่ละคนก็สอนกันไปตามหน้าที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับกลุ่มสาราอื่นเลย มีโรงเรียนหนึ่งในชั้น ป.4 ครู4 คนต่างคนต่างสอนในเนื้อหาวิชาของตนเรื่องเดียวกัน ในเวลาไล่เลี่ยกัน(แต่ไม่ได้คุยกัน) ในเรื่องอาหารหลัก 5 หมู่

นี่คือประโยคของอาจารย์ ที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยมัธยม ตอนนี้ผมอยู่มหาลัยแล้ว ก็ยังได้ยินอยู่

"ข้อสอบออกแนวนี้น่ะ คล้ายๆแบบฝึกหัดข้อ....."

"ข้อสอบออกเรื่องนี้น่ะ ไปจำมา"

แล้วมันก็เหมือนกันจริงๆ เปลี่ยนแค่ตัวเลข

สอบเสร็จแล้วก็ลืม

ตอนปี 2 ยังฉุนไม่หาย เรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ สอนตั้ง 500 กว่าสไลด์

ข้อสอบ ข้อที่ 1 ถามว่า

จงบอกความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

เสียเวลาในการเรียนจริงๆ

แบบว่าชอบอาจารย์สอนฟิสิกส์ ก้อเลยทำให้ชอบเรียนฟิสิกส์ไปด้วย

...

เกี่ยวกันมั้ยเนี่ย อิ อิ

 

สวัสดีครับ คุณครูคน(ทำ)งาน

 

  • ฟังแล้วผมคุ้น ๆ เหมือนกันครับ
  • คิดซะว่า ทำเพื่อเด็กนะครับ จะได้ไม่เครียด

 

 

สวัสดีครับ คุณ P aonjung

  • ผมเคยอ่านผ่านตาว่า ไอน์สไตน์ ถูกเชิญไปสอนบ้างเป็นครั้งคราว
  • ทุกปี ใช้คำถามเดิม
  • พอถูกแซว ก็ตอบว่า
  • "คำถามเดิม แต่คำตอบ อาจเปลี่ยนไป"
  • ก็คงคล้าย ๆ กับที่เล่ามา...มั้ง ?
  • ส่วนเรื่องการออกข้อสอบ ผมถือหลัก "คำถามพื้น ๆ ไม่ใช่การสบประมาทเสมอไป ถ้าคำตอบ สามารถตอบได้อย่างลงตัว"
  • ชีวิตทำงาน ต้องอยู่กับคำถามพื้น ๆ ตลอดแหละครับ
  • แต่คำตอบ พื้น ๆ หรือไม่ ขึ้นกับผู้ตอบเอง ว่าจะเลือกตอบอย่างไร
  • เช่น "อีก 5 ปีข้างหน้า ชีวิตคุณจะเป็นอย่างไร ?"
  • ถามพื้น ๆ ไหมครับ ?
  • แต่คำตอบ จะพื้น ๆ ไหม ? ...ไม่แน่

 

สวัสดีจ้า หนูทราย P  liv_sine

 

  • นั่นดิ ไม่รู้เกี่ยวกันมั้ย ?
  • เมื่อไหร่จะเขียนมั่ง เอาแต่อ่านนิ...

ที่นครสวรค์โรงเรียนกวดวิชาผุดเป็นดอกเห็ดเลยครับ เด็กๆสนใจการเรียนกันมากขึ้น (หรือว่าอาจารย์ในห้องสอนไม่รู้เรื่องก็ไม่รู้)แต่อาจารย์บางคน ก็แสบนะครับ ไม่เรียนพิเศษกะครู หนูก็ต้องสอบตก เพราะว่าข้อสอบส่วนใหญ่ อยู่ในเนื้อหาที่ครูสอนพิเศษ มันก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ (พูดมากไปแถวนี้มีครูเยอะซะด้วยโดน ตืบใครจะช่วผมมั้ยครับ )

Pกวินทรากร

  • กวดวิชานี่ก็เป็นเรื่องดาบสองคมเหมือนกันนะครับ
  • คมหนึ่งบาดคนอื่น คมหนึ่งบาดตัวเอง
  • ส่วนใหญ่ที่ผมเห็น มักจะบาดตัวเองซะมากกว่า
  • คือ เรียนมากไป จนกลายเป็นโง่
  • ระบบการศึกษาบ้านเรา เอ่อ....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท