เทคนิคการบอกข่าวไม่ร้ายและข่าวร้ายจริงๆ


การพยาบาลบำบัด การเผชิญความเครียด ประสบการณ์พยาบาลขั้นสูงในห้องฉุกเฉิน

ใครๆก็อยากฟังข่าวดีกันทั้งนั้น ข่าวร้ายๆดีๆก็คงพอทน

แต่ถ้าเป็นเรื่องร้ายๆ ก็ขอให้พบเจอน้อยที่สุด

หรือพยายามที่จะลืมให้เร็วที่สุด เรียกว่าฝันร้ายให้ผ่านไปเร็วๆ แบบนี้คือ การเผชิญความเเครียดแบบใช้อารมณ์

แต่ในทางเหตุผลคือไม่มีใครเจอแต่เรื่องดีๆอย่างเดียว ธรรมชาติก็ต้องสร้างสมดุล มีทั้งดีและร้าย

เพราะข่าวร้ายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด

ตัวอย่างข่าวดีดีข่าวร้ายในห้องฉุกเฉิน

ข่าวดี "ลูกคุณผลเอกซเรย์สมองไม่มีเลือดออก อยู่โรงพยาบาล 1 วันเพื่อสังเกตอาการก็กลับบ้านได้แล้ว"

ข่าวร้าย"คุณพ่อของคุณบาดเจ็บสาหัส เป็นตายเท่ากัน"

การแจ้งข่าวดี หรือข่าวไม่ร้ายก็มีความจำเป็น เพราะเป็นการให้ข้อมูลเชิงบำบัด ช่วยเหลือผู้รับข่าวมีกำลังใจ มีความหวัง เพราะเขาเครียดมาก่อน เพราะเขาจะคาดหวังในทางร้าย เพราะความวิตกจริต ใช้ประสบการณ์เดิม หรือ คิดร้ายๆไว้ก่อน ในวิชาชีพเรา เรียกว่า การพยาบาลบำบัด

เทคนิคการบอกข่าวไม่ร้าย ต้องชัดเจน สั้นและกระชับ สังเกตและประเมินความกังวลของเขา ให้ข้อมูลตามความต้องการจะดีที่สุด สิ่งสำคัญการแสดงออกถึงความเอาใส่ใจเรื่องความกังวลของเขาด้วย เพราะในขณะที่เราดูแลผู้บาดเจ็บ ถ้าเราละเลยไม่แจ้งข่าวดีเป็นระยะ ๆ ผู้รอข่าวจะคิดไปเองในทางร้ายๆ

เทคนิคการแจ้งข่าวร้าย ผู้แจ้งต้องเข้าใจการตอบสนองต่อภาวะสูญเสีย เตรียมพร้อมที่จะต้องรับสภาพนั้น คือให้การช่วยเหลือได้ทันที ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้รับข่าว พยาบาลและแพทย์จะต้องตกลงกันก่อนว่าผลนั้นสรุปแล้ว ผู้บาดเจ็บไม่มีโอกาสรอดและได้ช่วยเหลือเต็มศักยภาพแล้ว

ข้อห้าม ไม่พูดคำว่า ''ตาย"

ควรประเมินความพร้อมผู้รับข่าวว่าเข้มแข็งพอหรือไม่ ดูแล้วไม่พร้อม ต้องแยกออก

รับฟังความรู้สึกของเขาก่อน เพราะเขาจะสังเกตจากสิ่งที่เขาเห็นได้เอง เราต้องเป็นผู้รับฟังดีที่สุด

พยักหน้าตอบรับข้อสรุปของเขา ถ้าข้อนั้นตรงกับที่เราจะบอก เช่น ลูกผมไม่รอดใช่ไหม๊?พยักหน้า

สัมผัสเขาเบาๆด้วยความอ่อนโยน บอกให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจอารมณ์ เศร้า และสูญเสียของเขา พาเขาไปนั่งพัก พยาบาลอยู่เป็นเพื่อน พาเขาเข้าไปเคารพศพ "คนที่เขารัก" เมื่อเขาพร้อม ให้อยู่ตามลำพังหรือพยาบาลจะคอยดูแลก็ได้

หลังจากนั้นจะมีขั้นการดำเนินงานที่มากมายค่อยจัดการทีหลัง อาจจัดเป็น 2 ทีม ทีมช่วยชีวิตและทีมสนับสนุนกำลังใจ

นั่นคือ ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงผู้บาดเ็็จ็บในห้องฉุกเฉิน

หมายเลขบันทึก: 170966เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้ รอบรู้ ทางการพยาบาล เพื่อบำบัดจิตตนเองค่ะ
  • บางครั้งเครียดสุด ๆ ได้รับความรู้ด้านการบำบัดทางจิตของแพทย์ ก็นำไปปฏิบัติได้ผลบ้าง ส่วนใหญ่ค่ะ
  • ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นกับจิตใจเรา เป็นที่ตั้ง ถึงจะนำพาให้เราหลุดพ้นจากความเครียด หรือความกังวล
  • ตอนนี้ "ปลง" แล้ว เลยไม่เครียด ค่ะ อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

P

คุณบัวปริ่มนำ้ ขอบคุณมากคะ่ ที่มาแวะแลกเปลี่ยนประสบการณ์

อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นผู้บำบัดหรือที่ถูกบำบัด ก็ล้วนแต่ต้องประสบกับความเครียด เช่นกัน เพราะเราเ็ป็้นมนุษย์เหมือนกัน ต่างกันที่ตรงโอกาสเรียนรู้ อาชีพด้านสุขภาพได้มีโอกาสก็จริง แต่ถ้าไม่ฝึกฝน ก็ไม่สามารถผ่านพ้นความทุกข์ไปได้เมื่อตนเองต้องประสบเหตุการณ์นั่นกับตนเอง ขอให้กำลังใจ ในที่สุดวันที่ทุกข์มากๆก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้คะ

เพราะอาทิตย์ขึ้นก็ต้องมีพระอาทิตย์ตก เพียง 24ชั่วโมง

ขอบคุณค่ะ เป้นเทคนิคที่จะจำไว้ใช้ค่ะ

P

สวัสดีคะ่ คุณ Sasinanda ที่แวะมาเยี่ยมถือว่าเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน

คงไม่มีใครจะเ็ป็นผู้รับหรือให้เพียงฝ่ายเดียว

  • ใช่เลยค่ะ "พี่แขก" อิอิ
  • มีมืด ย่อมมี สว่าง
  • มีขาว ย่อมมี ดำ
  • แม้คนเราทุกคน ก็ย่อมมีทั้งสิ่งดี และไม่ดี อยู่ในตัว ไม่มีใครที่ดีที่สุด ในโลกนี้
  • นี่คือ อีกหนึ่งกำลังใจ ที่ได้รับ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณpannornote

  • น่าเห็นใจพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินมากค่ะ
  • ต้องพร้อมรับทุกสถานะการณ์
  • เป็นกำลังให้ค่ะ.
  • สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ...รักษาสุขภาพด้วยนะคะ.

P ยินดีมากคะ่ที่ได้รู้จัก คุณผึ้งงาน

ฟังชื่อแล้วก็คงจะเป็นคนขยัน อ่านแล้วทำให้มีแรงคะ่

ทั้งนำ้คำและนำ้ใจดี ขอบคุณมากคะ่

ได้ได้ข้อมูลการแจ้งข่าวในห้องฉุกเฉินคะ ด่วนมากๆจะทำโครงการคะ ส่งที่ mailนะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท