เทคนิคการจัดการงานให้มีเวลาเหลือ


Time is the luxury, we don't have.

พอดีได้ยินคนบ่นว่างานเยอะ เจ้านายชอบใช้ให้ทำโน่นนี่นั่น เยอะแยะไปหมด วันๆ นึงทำงานเยอะมากจนบางครั้งไม่มีโอกาสแม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ ชีวิตรันทดสุดๆ

วันนี้เรามาดูกันว่า ทำงานอย่างไรให้มีเวลาเหลือ ก่อนอื่นลองดูว่าวันๆ มีงานอะไรบ้างครับ

1. งานตามหน้าที่ อันนี้ต้องทำชัวร์ๆ

2. งานที่นายสั่ง อืมม์ อันนี้ก็คงต้องทำมั๊งครับ แต่ถ้านายให้ทำงานส่วนตัวนี่คิดให้หนักๆ หน่อยนะครับ

3. งานที่ทำแล้วได้ประโยชน์กับตัวผู้ทำ ใครๆ ก็อยากทำ ใครเป็นเจ้านาย ก็เอาหลักคิดนี้ไปใช้ครับ

4. งานที่ทำแล้วคนอื่นได้ประโยชน์ ควรทำไหมเนี่ย คืองี้ครับ ถ้าทำแล้วส่วนรวมได้ประโยชน์ ก็ทำตราบเท่าที่เรายังไม่เดือดร้อนนะครับ ถือว่าทำบุญ แต่ถ้าทำมากๆ จนตัวเองเดือดร้อน พระท่านก็ว่าบาปนะ แต่ถ้าทำแล้วผลประโยชน์ไปตกกับกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็คิดหนักๆ หน่อยนะครับ

ปัจจัยที่ทำให้เรางานยุ่ง หรือ เวลาทำงานไม่พอ ผมคิดว่ามีสองอย่าง คือ

1. ปัจจัยภายนอก อย่างเช่น งานเข้ามาเยอะ หรือ นายชอบหางานมาให้ทำ อันนี้ควบคุมยาก หรืออาจควบคุมไม่ได้เลยครับ ถ้างานเยอะเกินไป เจ้านายควรหาคนเพิ่ม หรือเพิ่มตังส์ให้เราจะได้มีแรงจูงใจ หรือไล่เราออกหาคนที่ทำงานได้เยอะๆ มาทำแทน สิ่งที่ลูกน้องควรทำคือโวยเมื่อมีโอกาสครับ แต่ต้องมีศิลปะนะของแบบนี้ โวยมาก นายอาจคิดว่าไอ้นี่ขี้เกียจ ไม่โวยเลย งานก็จะเยอะต่อไปทำกันบ้าไปเลย

2. ปัจจัยภายใน ได้แก่ การจัดการเวลา การวางแผนการทำงาน การมีวินัย ฯลฯ การบริหารเวลา ก็เหมือนเราบริหารเงินน่ะครับ ถ้าเราไม่รู้จักวางแผนการใช้ มีเท่าไหร่ ก็ใช้ไม่พอครับ

เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการบริหารจัดการเวลา ที่พอคิดออก มีดังนี้ครับ

1. จัดลำดับความสำคัญของงาน งานไม่สำคัญ อย่าเพิ่งเอามาทำ อย่าจับจด อย่าทำโน่นนี่นั่น แล้วไม่เสร็จสักอย่าง

2. ใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปริมาณเวลาที่ใช้กับคุณภาพงานมักไปทางเดียวกัน หมายความว่า สำหรับงานหนึ่งๆ ถ้าใช้เวลามากขึ้นคุณภาพก็จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราใช้ระยะเวลาขนาดหนึ่ง พบว่า ไม่ว่าจะเพิ่มเวลาเท่าไหร่ คุณภาพก็ไม่เพิ่มมากนัก ดังนั้น ถ้าเราฝึกตัวเองให้ระยะเวลาที่ว่านี้สั้นลง เราก็ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ คนที่ยิ่งใช้เวลานาน คุณภาพยิ่งแย่ ท่านอาจจะอยู่ผิดงาน น่าจะหาอย่างอื่นทำครับ

3. รู้จักปฏิเสธ โดยเฉพาะเวลาคนมาขอให้ทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ถ้าท่านเป็นคนใจดี อาจเลือกทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เอาแบบสุ่มๆ ชาวบ้านจะได้จับทางไม่ได้ครับ

4. ถ้างานเยอะหรือยากจริงๆ ต้องแสดงให้นายเห็นว่าทำไม่ได้หรือทำไม่ไหวครับ อย่าฝืน ถ้าเราจริงใจ (หมายถึงทำเต็มที่แล้ว มันไม่ไหวจริงๆ) ผมคิดว่า นายเข้าใจ และควรหาคนมาช่วยท่านครับ ไม่งั้น ถ้าท่านเงียบหรือนายไม่สน งานอาจพังได้นา เทคนิคอันนึงถ้านายไม่ฟังเรา คือให้ผู้ใหญ่ระดับเดียวกันคุยกันครับ

5. หาลูกน้องมาช่วยเราทำงานครับ อย่าลืมว่า แรงจูงใจคือ เขาทำแล้วเขารู้สึกว่าเขาได้ประโยชน์ อย่าให้ลูกน้องรู้สึกว่าเราเอาเปรียบหรือหลอกใช้เขานะครับ

เทคนิคการวางแผน (อันนี้ ลอกเขามาครับ)

1. งานสำคัญและด่วน ต้องลงมือทำ

2. งานสำคัญแต่ไม่ด่วน ให้ใช้เวลาวางแผนและกำหนดกรอบการทำงาน

3. งานไม่สำคัญแต่ด่วน ให้หาคนมาช่วยทำ

4. งานไม่สำคัญและไม่ด่วน ก็เก็บไว้ก่อนครับ

คำสำคัญ (Tags): #การบริหารเวลา
หมายเลขบันทึก: 170798เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณท่านอาจารย์มาก ๆเลยนะคะ...สำหรับเทคนิคการวางแผนการทำงานดี ๆ...มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท