ตำนานภาษาเมืองแม่ฮ่องสอน


กล่าวถึงตำนานกลุ่มชนไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนภาษาถิ่นไทยใหญ่(ไต)
       หลายคนที่มาสัมผัสเมืองในหมอก เมืองแม่ฮ่องสอนในการไปซื้อของตามร้านต่างอาจคิดต่างๆ นานาว่าคนในจังหวัดนี้เขาพูดภาษาอะไรกันหน่อ ทำไม่ฟังแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องไม่เข้าใจ อาจคิดส่งสัยว่าคือภาษาไทยหรือไม่หรือว่าเป็นภาษาถิ่นแบบใดกันแน่วันนี้นำเรื่องราวเกี่ยวกับภาษาถิ่นในแม่ฮ่องสอนมาฝากคะ
ภาษา 
           ภาษากลุ่มชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้ภาษาถิ่นหลายภาษาทั้งคนไทยพื้นที่ราบและคนไทยภูเขาคนไทยพื้นที่ราบเดิมเป็นชาวไทยใหญ่ พูดและเขียนภาษาไทยใหญ่ (ไต)
           ปัจจุบันมีประชาชนจากถิ่นอื่นอพยพมาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้นทำให้มีภาษาถิ่นเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนอกจากภาษาไทยใหญ่แล้วยังมีผู้ที่ใช้ภาษาล้านนา (คำเมือง) ภาษาอีสาน ภาษาพม่า ภาษาอินเดียและภาษาจีน
           ส่วนชาวไทยภูเขาจะใช้ภาษาถิ่นตามเผ่าพันธุ์ เรียงตามลำดับจากภาษาที่มีผู้ใช้มากคือภาษากะเหรี่ยง (ร้อยละ ๗๙)ภาษามูเซอ (ร้อยละ ๗) ภาษาลีซอ (ร้อยละ ๖) ภาษาลัวะ (ร้อยละ ๕)และภาษาม้ง (ร้อยละ ๔) 
            ภาษาไทยใหญ่(ไต)  มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนปัจจุบันใช้มากเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนและไม่สะดวกต่อการใช้สื่อความหมาย
               ตัวอักษรไทยใหญ่มีรูปเหมือนตัวอักษรพม่าเกือบทั้งหมดตัวอักษรของพวกงเงี้ยวเกือบเป็นตัวอักษรพม่าล้วน ผิดอยู่เฉพาะตัว ก จผ ห  อักษรสี่ตัวนี้ มีรูปคล้ายอักษรอาหม
               ชาวล้านนาและชาวลาวมักเรียกภาษาไทยใหญ่ว่า ภาษาเงี้ยวนักภาษามักเรียกภาษานี้ว่า ภาษาชานเป็นภาษาไทยถิ่นหนึ่งซึ่งพูดโดยชนส่วนใหญ่ในรัฐฉาน ในพม่ามีเชียงตุงเป็่นเมืองหลวง พวกนี้เรียกตนเองว่า ไต ภาษาชานหรือไทยใหญ่มีอยู่สี่กลุ่มคือ
                   ฉานตะวันออกเฉียงใต้  ได้แก่พวกที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในพม่า
                   ฉานตะวันตกเฉียงใต้  ได้แก่พวกไทยใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของรัฐฉาน
                   ฉานตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่ พวกฉาน จีน หรือพวกไทเมาที่อยู่ทางเหนือของรัฐฉาน ตั้งแต่บางส่วนในแคว้นยูนนานของจีนไปจนถึงตะวันตกของแม่น้ำอิรวดีในพื้นที่ที่เป็นราชอาณาจักรฉานเดิม
                   ฉานตะวันตกเฉียงเหนือ  และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเรียกว่าพวกฉานเหนือ ได้แก่ พวกไทยใหญที่เรียกว่า เงี้ยว
                   พวกฉานตะวันตกรวมไปถึงพวกไทยใหญ่ ที่อยู่ในเแคว้นอัสสัมของอินเดียเช่น ไทยอาหม ไทยดำตี่ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี
                   พวกไทยใหญ่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ทางชายแดนภาคเหนือเช่นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงรายส่วนจังหวัดอื่นก็มีจังหวัดตาก พิษณุโลก และพิจิตร เป็นต้น
   ภาษากะเหรี่ยง คนไทยภาคเหนือนิยมเรียกกะเหรี่ยงว่า ยางชาวกะเหรี่ยงมีถิ่นเดิมอยู่ในพม่า ได้อพยพเข้ามาอยู่กินในประเทศไทยมีประมาณ ๒๐๐ ปีเศษมาแล้ว กะเหรี่ยงมีสี่เผ่าใหญ่คือ
                  กะเหรี่ยงขาว หรือ สกอ  ชาวไทยภาคเหนือเรียก ยางกะเลอ
                  กะเหรี่ยงแดงหรือบาเว  เรียกตนเองว่า กะยา คนไทยภาคเหนือเรียกยางแดง
                  กะเหรี่ยงต้องสู้ หรือ ปาโอ  คนไทยภาคเหนือเรียก ตองสู้
                  กะเหรี่ยงโป้ว  มีภาษาของตนเองต่างหากไม่เหมือนภาษาของพวกที่อยู่ในจีน - ทิเบตแต่บางแห่งบอกว่ามีความใกล้เคียงกับแขนงของ ทิเบต - พม่า 

               ภาษาลีซอ  นักภาษาศาสตร์จัดภาษาลีซอ ไว้ในกลุ่มภาษโลโลพม่าของตระกูลภาษาทิเบต ลีซออพยพมาจากรัฐคะฉิ่นในพม่าเข้ามาในประเทศไทยสมัยเดียวกันกับพวกมูเซอ 
               ภาษาลีซอ  มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียนลีซออพยพเร่ร่อนใช้ชีวิตสังคมกับคนหลายเผ่า ทำให้ลีซอเป็นนักภาษาสามารถพูดภาษาของชนเผ่าอื่น ๆ ได้ เช่น มูเซอ ยูนนาน อีก้อไทยใหญ่และภาษาถิ่นอื่น ๆ ในภาคเหนือของไทย

          หลังจากอ่านแล้วก็คงรู้ว่าในท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีภาษาอะไรบ้านที่ให้สื่อสารกัน ถ้าได้ยินหรือได้ฟังอีกครั้งก็ไม่ต้อง งง นะคะ


               ภาษามูเซอ หรือภาษาลาฮู  เดิมมูเซอมีถิ่นที่อยู่ในทิเบตและพม่าได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพาแบ่งออกเป็นสี่สาขาคือ มูเซอแดง มูเซอดำ มูเซอเซเลและมูเซอชี 
               ภาษามูเซอ ไม่มีพยัญชนะสะกดเช่นเดียวกับภาษากะเหรี่ยง และมีแต่ภาษาพูดมีการยืมคำบางคำจากพม่า และยูนนานบ้าง ภาษามูเซออยู่ในกลุ่มภาษา ทิเบต- เยอรมัน  เป็นตระกูลภาษาคำโดด ออกสำเนียงพยางค์เดียวมีเสียงสูงต่ำ แตกต่างกันถึงสามเสียง

               ภาษาละว้า  ละว้าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อไทยอพยพเข้ามาก็ได้ถอยร่นเข้าไปอยู่ในดินแดนที่ไม่มีผู้ใดรบกวนจนกลายเป็นชาวเขาไปในที่สุด
               ภาษาละว้า เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของตระกูลภาคออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ- เขมร มีระบบพยัญชนะต้นเสียง และเสียงกล้ำมาก โดยเฉพาะเสียงควบกล้ำ รและ ล  ชาวละว้าสามารถพูดคำเมือง และภาษาชาวเขาเผ่าอื่นได้ด้วยภาษาละว้ามีสำเนียงคล้ายภาษาข่าในประเทศลาวและภาษามอยในประเทศเวียดนาม พวกพะเนียง สะเตียง ในประเทศกัมพูชา พวกล้า ว้า ปูนาน ฯลฯ ในรัฐฉานและมณฑลยูนนานตอนใต้

               ภาษาม้ง หรือแม้ว และภาษาเย้า เดิมเป็นภาษถิ่นหนึ่งของตระกูลทิเบต - พม่าปัจจุบันจัดเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน - ทิเบต ม้งในประเทศไทยมีอยู่สามประเภทคือ
                   ม้งดำ หรือม้งน้ำเงิน  ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดแพร่ น่าน ตากเชียงราย และมีอยู่ประปรายในจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก
                   ม้งขาว  มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และน่านภาษม้งขาวและม้งดำแตกต่างกันมาก จนฟังกันไม่รู้เรื่อง
                   ม้งมะนา  มีอยู่ในจังหวัดน่าน โดยอพยพเข้ามาจากประเทศลาว
                   ม้งทั้งสามประเภท ใช้ภาษาแตกต่างกันมากจนไม่สามารถสื่อความหมายกันได้ภาษาม้งและภาษาเย้า ไมีมีอักษรของตนเอง มีการยืมอักษรจีนมาใช้
                   ชาวม้ง ใช้ภาษาสัญลักษณ์โดยใช้การกรีดให้เป็นรอยบนท่อนไม้เล็ก ๆเป็นเครื่องหมายแทนตัวหนังสือ

 
หมายเลขบันทึก: 170752เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

มาอ่านเรื่องภาษาในแม่ฮ่องสอน

คราวต่อไปถ้าได้ยินแปลกๆ คงไม่ถามว่าภาษาอะไร

เพราะมีเยอะมาก

เฉพาะภาษาไตว่าใกล้เคียงแล้วยังฟังไม่ค่อยออก

สวัสดีค่ะ ธ.วั ช ชัย

    ขอบคุณค่ะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น

    ภาษาเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่น่าสนใจอยู่นะคะ

เข้ามาหาความรู้จากคุณ เรื่องภาษากะเหรี่ยงครับเพราะไม่ค่อยสันทัดเรื่องกะเหรี่ยงสักเท่าไหร่ เห็นคุณนำเสนอเรื่องภาษากะเหรี่ยงได้อย่างน่าสนใจ เลยอยากแนะนำคุณ ลองเข้าไปดูที่ www.hilltribe.org ที่มีกระดานถาม- ตอบ และกระทู้ที่ น่าสนใจเกี่ยวกับกะเหรี่ยง บางทีที่นี่ อาจจะช่วยอะไรคุณได้บ้างครับ

ต่าบลึโดะมะ

ขอบคุณค่ะ

- ที่เข้ามาศึกษา และแนะนำ www.hilltribe.org ให้ แล้วจะเข้าไปดูค่ะ

ถ้าคุณสนใจเรื่องภาษา ผมว่า มีงานของ

ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุรุยา รัตนกุลเรื่อง ..นานาภาษาในเอเซียอาคเนย์ ..ภาคที่ 1 ภาษาตระกูลออสโตรเอเซียติก และ ตระกูลจีน-ธิเบต..

งานของท่าน ถือว่า เป็นงานด้านภาษา ที่น่าสนใจมากมาก จึงแนะนำมาครับ

ต่าลลึโดะมะ

เป็นไงบ้างครับ กระดานข่าวถาม-ตอบที่ เวบชนเผ่าฯ

ขอบคุณค่ะ

ที่แนะนำว่างยังไงแล้วจะหาอ่านนะค่ะ

อือน่าสนใจเหมือนกันเพราะแฟนเป้นคนจังหวัดนี้เห้อๆๆๆ

อยากเรียนรู้ภาษาไทยใหญ่ค่ะเช่นคำว่า รัก คิดถึง สวัสดี ขอโทษ ฯลฯ และอีกหลายๆคำที่ง่ายค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท