มึนกับคำขอ...ของนักศึกษาปริญญาเอก


ความสามารถหรือทักษะในการสื่อสาร น่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการศึกษาระดับปริญญาเอก คือ ไม่ใช่แค่พูดกันรู้เรื่องเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในสิ่งที่จะสื่อสารระหว่างกันอีกด้วย

ไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์มาสองวันเพราะไม่อยู่บ้าน

พอเช็คเมล พบว่ามีผู้ติดต่อผ่านโกทูโนว์ถามปัญหาเรื่องการศึกษาระดับปริญญาเอกสองราย

อ่านแล้วอึ้ง ใครจะคิดว่าผู้ที่กำลังจะศึกษาปริญญาเอกจะสื่อสารมาถึงผู้เขียนอย่างนี้(ตัดชื่อเสียงเรียงนามออก เพราะไม่ได้ต้องการประจาน แต่แค่ต้องการชี้ให้เห็นประเด็นค่ะ)

 

1.หัวเรื่อง: ต้องการขอคำปรึกษา
 

       ข้อความ:
        ผมกำลังเรียนปริญญาเอก ทำเรื่อง KM

 
2.หัวเรื่อง: การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์
 
      ข้อความ:

      คุณนายครับ
      ขอความรู้หน่อย ผมจะทำโครงร่างวิทยานิพนธ์สมัครเรียน ป.เอก อยากทราบแนวทางการเขียนโครงร่าง ตอนนี้คิดอะไรไม่      ออกแร้ว ช่วยกรุณาสงเคราะห์ให้เป็นโครงร่างที ตอบด่วน
086…….
ก่อนวันที่14 มีนานะครับ รออย่างด่วนเลยครับ ช่วยตอบด่วนนะ หมดเขตการสมัครเรียน ป.เอก วันที่16 มีนาคม 2551 นี้ อยากได้โครงร่างด่วนเลยครับผม

 

ผู้เขียนนอกจากนึกสงสัยว่าผู้ที่ติดต่อมาคิดอะไร แล้วยังสงสารอาจารย์ที่ปรึกษาของทั้งสองท่าน ว่าคงจะเหน็ดเหนื่อยไม่น้อย

  • รายแรก เขียนมาแค่นี้จริงๆ พูดสั้นเหลือเกิน ไม่มีทักษะในการสื่อสาร สื่อความในสิ่งที่ตนกำลังทำเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ(คำปรึกษา) จะให้ผู้เขียนตอบว่าอย่างไรได้ นอกจากจะถามกลับไปว่า แล้วจะปรึกษาอะไรกันเล่า เพราะไม่มีการแนะนำตัว อธิบายว่าสนใจอะไร กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไรอยู่ หรือกำลังสนใจเรื่องอะไรที่คิดว่าจะนำไปเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ และ อยากได้คำแนะนำเรื่องอะไร

 

  • รายที่สองนั้นชัดเจนมากว่าต้องการอะไร แต่คงคิดว่าที่ขอมานั้นผู้เขียนคงต้องทำให้ และทำให้อย่างรีบด่วนเสียด้วย ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้คิดเช่นนั้น ปัจจุบันมีผู้เข้าศึกษาปริญญาเอกมากมาย ในแทบทุกสถาบันอุดมศึกษา น่าจะมีเพื่อนฝูงให้ถามหรือขอดูตัวอย่าง  หรือครูอาจารย์ที่จะให้คำแนะนำได้ การคิดศึกษาต่อปริญญาเอก ผู้จะศึกษาควรต้องมีทั้งโยนิโสมนสิการ และกัลยาณมิตร มีปัญญาทั้งในแง่วิชาการ และการแสวงหาความรู้และความช่วยเหลือในการเดินเส้นทางสายนี้ ไม่มีอะไรที่ดีๆแล้วจะได้มาง่ายๆ  

สำหรับผู้เขียนนั้นเรียนจากประเทศฝรั่งเศส(ด้วยทุนส่วนตัว) มหาวิทยาลัยที่เรียนเป็นของรัฐ ไม่ต้องสอบเข้า  แต่ต้องสื่อสารกับอาจารย์ในสาขาที่ต้องการเรียน ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลการทำวิทยานิพนธ์ให้เขายอมรับเราเป็นศิษย์ก่อน จึงจะสามารถกรอกใบสมัครยื่นต่อมหาวิทยาลัย(อาจารย์ผู้ดูแลวิทยานิพนธ์ต้องเซ็นต์รับรองว่าเขายินดีรับเป็นศิษย์) สื่อสาร พูดคุยกันให้เขาเห็นว่าเราสนใจในสาขาวิชานั้นจริงๆและ เรื่องคร่าวๆที่เราคิดว่าจะศึกษาวิจัยเพื่อทำเป็นวิทยานิพนธ์ อะไรคือแรงบันดาลใจของเราที่ต้องการเรียนกับเขาในเรื่องดังกล่าว ต้องคุยให้เขาสนใจในแนวคิดของเรา จนเขาแน่ใจในความตั้งใจของเรา และมั่นใจว่าเรามีวุฒิภาวะพอที่จะทำสำเร็จอย่างมีคุณภาพไม่ให้เสียชื่ออาจารย์

ที่จริงก่อนที่อาจารย์จะมั่นใจในตัวเราได้ เราต้องมั่นใจในตัวเองก่อนว่า สนใจจริงจังที่จะเดินไปในเส้นทางสายวิชาการนี้ มิฉะนั้นเราคงพูดให้เขาเชื่อเราไม่ได้

ความสามารถหรือทักษะในการสื่อสาร น่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการศึกษาระดับปริญญาเอก คือ ไม่ใช่แค่พูดกันรู้เรื่องเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในสิ่งที่จะสื่อสารระหว่างกันอีกด้วย นี่ว่าแค่ระหว่างการเป็นนักศึกษาเท่านั้น จบแล้วยังต้องสื่อสารนำความรู้ที่เคี่ยวกรำไปใช้ประโยชน์ให้ได้กว้างขวางอีก

หวังว่าทั้งสองรายที่ติดต่อมายังผู้เขียนคงจะได้อ่านคำตอบจากบันทึกนี้ และคงเป็นข้อคิดให้นักศึกษาท่านอื่นๆได้บ้าง

 

หมายเลขบันทึก: 170676เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (75)
  • พี่นุชครับ
  • น้องได้รับคำถามแบบนี้จากคุณครูและคนเข้ามาถามมากเลยครับ
  • บางทีต้องถามกลับไปว่าต้องการอะไร
  • อยู่ที่ไหน จะเรียนสาขาอะไร มหาวิทยาลัยไหน
  • แต่ที่แย่มากๆๆคือ ชอบเร่งให้ตอบ เหมือนคนแรก ที่จะสมัครสอบ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเขียนโครงร่างเรื่องอะไร
  • ขอบคุณครับ
  • อ่านแล้วอึ้ง
  • อ่านแล้วสงสาร
  • น้องๆกลับไปทบทวนกระบวนการเรียนเสียใหม่เถอะ ยังไม่สายเกินไป ปรับเสียใหม่
  • มิเช่นนั้น คนที่ยื่นนามบัตรให้พี่ระบุว่าเป็น ดร.นั้นน่ะ พี่จะคิดอย่างไรกันล่ะ
  • น้องอาจจะมีข้อจำกัดเป็นเรื่องที่เป็นไปได้  แต่อย่างที่ น้องคุณนายกล่าวถึงนั้นน่ะคือ ครรลองที่ควรแสดงตัว  และการขอให้เขียนให้ยิ่งไม่ได้เรื่อง อาจจะขอแลกเปลี่ยนไอเดีย แลกเปลี่ยนความเห็นกันและกันในเรื่องนั้นๆ  ใครๆเขาก็อยากแลกเปลี่ยนด้วย ไม่ใช่เหมือนไปขอให้เขียนให้ในเวลาที่จำกัดอย่างกับอะไร  ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
  • อือ..การศึกษา...แบะๆ แบะๆ...  
  • นำยาพาราเซ็ตตามอล พร้อมน้ำเย็นๆมาให้รับประทานแก้มึนหัวครับ

อาจารย์ขจิตP คงต้องเจอเยอะกว่าพี่แน่ๆเพราะอยู่ในวงการวิชาการและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง

การเรียนระดับสูงในบ้านเราเดี๋ยวนี้เปิดกว้างให้คนมีโอกาสมากขึ้นนะคะ แต่อาจทำให้ดูเป็นสิ่งง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนลงแรง(ความคิดและปัญญา)นัก พี่ว่าการเรียนปริญญาเอกในตัวของมันเองนั้นเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องใช้"การจัดการความรู้และการสร้างความรู้" จากการปฏิบัติอย่างมากค่ะ เพราะคิดแทน ทำแทนกันไม่ได้ ...หากต้องการสำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

ขอบคุณพี่บางทรายค่ะที่มาช่วยกันชี้ช่องทางสว่างให้ผู้ที่กำลังทำอะไรไม่ถูกบนเส้นทางการศึกษาปริญญาเอก

ตัวเองนั้นไม่ใช่คนเก่งกาจ หรือนักวิชาการใหญ่ ที่จริงไม่อยากจะวิจารณ์การเรียนระดับปริญญาเอกส่วนใหญ่ที่เคยพบในบ้านเรา แต่นี่เป็นโอกาสก็เลยขอนำมาเปิดประเด็นกันซักหน่อยค่ะ

อย่างที่อาจารย์ขจิตมาร่วมแลกเปลี่ยนว่า น้องเขาก็พบบ่อยเหมือนกันนะคะ

คุณกวินทรากรP เปลี่ยนรูปใหม่อีกแล้วนะคะ ซ่อนความหล่อไว้หลังแว่นซะเลย ขอบคุณมากค่ะที่แวะเอายาและน้ำเย็นๆมาให้ กำลังต้องการพอดี

สวัสดีค่ะคุณพี่"คุณนายดอกเตอร์"ที่เคารพ

  • ชอบชื่อคุณพี่มากเลยค่ะ"เท่ห์"มาก
  • อยากรู้จักคนถามจังเลย..อิๆๆ

ด้วยความเคารพรัก

หนูหมูอ้วนเองค่ะ

 

 

  • พี่นุชครับ
  • ชอบอันนี้จัง
  • เพราะไม่ใช่แฟน
  • เพราะคิดแทน ทำแทนกันไม่ได้
  • ฮ่าๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณพี่นุช

 

  • สำหรับครูอ้อย  ก็เป็นนักศึกษา  เคยมีคนถาม และขอ
  • ครูอ้อย ก็เลยตอบไปว่า...ยังไม่มีอะไรให้ขอเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ คุณนายดอกเตอร์  :)

  • เคสนี้ มันมาก ครับ
  • สำหรับ มันสมองของคนที่ต้องการจะเรียนปริญญาเอก (ตามค่านิยมหรือเปล่า)
  • การเข้ามาสอบถามลักษณะของกรณีที่ 1 ... นั้น อาจจะแวะมาโม้ให้ฟังก็ได้นะครับว่า ผมจะทำเรื่อง KM (โดยไม่มีปี่ มีขลุ่ย มีระนาด) ... ซึ่งอาจจะต้องการคำตอบว่า "รับทราบ ขอบคุณ บ้าย บาย" :)
  • การเข้ามาสอบถามลักษณะของกรณีที่ 2 ... นั้น แวะมาขอความรู้จากใครสักคนที่แสดงตัวอยู่ใน Gotoknow ด้วยความไม่ค่อยสุภาพ นอบน้อมนัก ... การขอความรู้หน้าตาเฉย แสดงว่า ควรจะไปตามกวางที่บ้านที่ดีกว่า เพราะความใฝ่รู้ไม่ค่อยจะมี ดันทะลึ่งอยากเรียนสูง ปัดโธ่ ... ไม่ทราบว่า จะไปตอบเมล์ว่าอย่างไรดี ... ให้ความรู้สึกว่า มันจ้างเราทำโครงร่างกระมัง :)
  • สรุปความเชื่อส่วนตัวครับว่า ... ไม่ควรสนับสนุนกวางพวกนี้ ครับ

ขอบคุณครับ :)

เราคงอยากได้ปริญญาเอกที่มีคุณภาพ ไม่ใช่มีแต่ปริมาณนะคะ

สถาบันใดที่มีโครงการรับนักศึกษาเรียนในระดับนี้ แต่ไม่ได้เน้นคุณภาพ  ความเชื่อถือสถาบันแห่งนั้นก็จะหมดไปในเวลาไม่นานนักค่ะ

อยากให้เน้น "คุณภาพ" ไม่ใช่ "ปริมาณ"ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมูอ้วนP (ออกจะเห็นเป็นดอกไม้สวยงาม ไม่เห็นอ้วนเลย)

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน มาไกลเชียวนะคะ

รับรองว่าอาจารย์สำเร็จปริญญาเอกจากอังกฤษมาได้ทันพบนศ.คล้ายอย่างนี้แน่ๆ ยังมีอีกเยอะเลยค่ะ อิ อิ แล้วจะต้องมาขอแบ่งยาแก้ปวดหัว

อยู่ไกล หากคิดถึงบ้านไปแวะอีกบล็อกของพี่ได้นะคะ

อิ อิ นึกแล้วอาจารย์ขจิตPต้องกลับมาแซว ตามเพลงฮิต อยู่บ้านได้ยินคนเปิดดังลอยลมมาบ่อยมากเลยค่ะ ทั้งวันด้วย

สวัสดีค่ะคุณครูอ้อย P หมู่นี้ไม่ค่อยได้ไปเยี่ยมคุณครูอ้อยเลยค่ะ อย่าน้อยใจนะคะ เพราะคงรู้ว่าพี่คิดถึงเสมอ แวะมาอยุธยาเมื่อไหร่จะขอชดเชยให้ด้วยเมนูเด็ดของบ้าน

แล้วคุณครูอ้อยก็จะต้องเจอต่อไปเรื่อยๆค่ะ ตราบใดที่การศึกษาปริญญาเอกสำหรับหลายๆคน เป็นไปเพียงเพื่อเพิ่มฐานสภาพในการทำงานเท่านั้น

 

  • เจอแบบนี้ก็อึ้งครับ
  • ลบชื่อคนถามออกแล้วครับ
  • ถึงอาจารย์ที่เคารพ

    สวัสดีค่ะ ตอนนี้อาจารย์มอบหมายให้ จัดทำเวทีวิทัศน? (Forum) ในเรื่องที่มีความสำคัญต่อจิตวิทยาการเรียนการสอนในสังคมพลวัตของประเทศไทยปัจจุปัน ตามความสนใจของท่าน ภายในระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ( 4 เดือน) จึงขอให้ท่านเขียนแผนงานจัด Forum ดังกล่าว โดยให้ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
     1. ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องที่ต้องการทำเวทีวิทัศน์
    2. ประเด็นสำคัญและวัตถุประสงคืในการศึกษษวิจัยเรื่องดังกล่าว
    3. เนื่อหาสาระและกิจกรรมหลักที่นำเสนอ
    4. วิธีดำเนินงานในการศึกษาวิจัย และวิธีประมวลข้อมูล และองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำเวทีวิทัศน์
    5. การประเมินผลการทำเวทีวิทัศน์
    (ทั้งนี้เวทีวิทัศน์ (Forum) หมายถึง การนำเสนอหัวข้อเรื่อง/ประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญน่าในสจ และเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนางานด้านนั้น โดยมีผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของเรื่อง มีแนวคิด ข้อมูลพื้นฐานและองค์ความรู้ที่พอเป็นหลักในการเปิดประเด็นและเปิดเวทีให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ในใจมาแลกเปลี่ยนข้อความรู้ ข้อคิดเห็น และแนวทางการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว การจัดเวทีวิทัศน์มีการดำเนินรายการประชุมการสร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการสรุปผลการจัด Forum ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
       จากหัวข้อดังกล่าว ขออนุญาตรบกวนอาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำว่าน่าจะเป็นหัวข้ออะไร และมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างไรและสามารถเกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามก็อยากให้อยากจารยืช่วยชี้แนะแนวทางด้วยค่ะ เพราะว่าเป็นการสอบ Take Home ต้องส่งในวันที่ 16 มีนานี้คะ ก็เลยรบกวนอาจารย์อย่างมากจริง ต้องขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
  • โอย หมดแรง

สวัสดีค่ะอาจารย์P Wasawat Deemarn ขอบคุณมากนะคะที่มาแลกเปลี่ยนได้ตรงใจ(แต่ไม่อยากพูดตรงค่ะ )

  • กรณีแรกนั้น พอตัวเองเห็นก็เกิด reaction ทันทีเลยค่ะว่า "So what ?" หรือ "แล้วไงล่ะ? ขอบคุณที่อุตส่าห์มาบอก" 
  • กรณีที่สองรู้สึกว่า นอกจากเขาไม่ใฝ่รู้แล้ว เขายังไม่รู้จักแม้กระทั่งตนเอง

เห็นตรงกับอาจารย์ค่ะ ว่าควรจะให้เขาได้ใช้ความพยายามไปในทางของตนเอง ดิฉันเชื่อว่าคณาจารย์ที่ปรึกษาของทั้งสองรายจะต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างมากกว่าจะส่งเขาให้ถึงฝั่งได้

 

 

อาจารย์ขจิตPก็โดนหนักนะคะ เรียกว่านักศึกษารายนี้ไม่ยอมขยับเซลล์สมองลองคิดอะไรเลย ถามทุกอย่างโดยไม่ลงมือ ลงแรงทำอะไรเลย ขนาดมีกรอบความคิดมาให้ขนาดนี้ ยังคิดอะไรไม่ออก ไม่ทราบว่านักศึกษาที่เป็นแบบนี้เขาเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าในการเป็นนักศึกษาที่เรียนสูงกว่าปริญญาตรี ไม่แสดงภูมิอะไรเลย แล้วไม่อายเสียด้วย ตรงนี้แหละค่ะพี่คิดว่าเป็นจุดที่เสียมากๆ นานแล้วพี่ก็เคยเจอรายสองรายคล้ายกัน เห็นแล้วนึกสงสารประเทศชาติ มีคนมีใบปริญญาเต็มเมือง แต่คิดไม่เป็น

ต้องทำอย่างที่อาจารย์Wasawat Deemarn เสนอค่ะ คือต้องไม่สนับสนุน ปล่อยให้เขาใช้ความพยายามให้มากกว่านี้

คุณพี่ศศินันท์Pคะ ในยุคที่การศึกษาเป็นธุรกิจซะมาก วงการวิชาการคงต้องทำงานหนักในการคัดกรองผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกที่เน้นคุณภาพ ไม่ไหลไปกับกระแสธุรกิจ ที่การเปิดหลักสูตรก็เพื่อทำรายได้ ยากนะคะที่จะทวนกระแส แม้ว่าสถาบันที่มีคุณภาพยังมีอีกมาก

กว่าคุณภาพคนที่จบปริญญาเอกจากสถาบันที่ใช้การศึกษาเป็นธุรกิจ จะเป็นสิ่งฟ้องถึงความน่าเชื่อถือของสถาบัน สถาบันนั้นๆก็รับทรัพย์รวยไม่รู้เรื่องไปนาน แล้วยังผลิตบัณฑิตที่ทั้งหลงตัว(เพราะเป็น ดร.แล้ว) และหลงทาง ให้กับสังคมเสียอีกต่างหาก น่าเป็นห่วงนะคะ  

สวัสดีค่ะพี่นุช

เจอแบบนี้บ้างเหมือนกันค่ะ ทำราวกับว่าเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้เขาเลยนะคะ

ปรกติจะไม่ตอบเลยค่ะ จดหมายพวกนี้ เพราะอย่างไรดูจากที่เขียนมาก็คงสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

สงสารประเทศไทยอย่างเดียวค่ะ เร่งผลิตกันมาก แบบนี้ไม่น่าจะจบป.โทด้วยซ้ำ

เราเองก็ผลิต ป.โท มีนักศึกษาหลายคนที่ดูแล้วไม่ qualify ที่จะจบ เคยให้ไม่จบก็มี แต่ก็มีคนวิ่งเต้นจนจบจนได้  เด็กฝากจากผู้บริหารก็เยอะ..ฝากอาจารย์มาเพิ่มวุฒิปรับเพ็ดดีกรีให้จบโทวิศวฯ เนี่ยแหละค่ะ  สรุปแล้วทุกวันนี้มีคนไร้คุณภาพแต่มีดีกรีเดินอยู่ในสังคมไทยมากมาย แล้วบางทีก็นำสิ่งที่มีไปหากินในทางที่ผิด ตัวอย่างมีมากมายในหน้าหนังสือพิมพ์ ... ได้แต่ดูแล้วปลง แล้วพยายามเจริญปัญญาของเราเอง.. ไม่หลงไปมีอารมณ์กับเรื่องเหล่านี้  ยิ่งตอนนี้อยู่ต่างประเทศ เห็นคุณภาพของคนที่กำลังเรียนโท เรียนเอก ก็ยิ่งเห็นความแตกต่าง... ไม่ได้โปรคนของเขา เพราะคนที่เรียนโท เรียนเอกที่นี่มีคนอเมริกันน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติทั้งนั้น ..

สุดท้ายเราก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไป เพราะเป็นเครื่องจักรกลชิ้นหนึ่งในระบบ แต่ก็ต้องทำใจเพราะทำอะไรมากไม่ได้ค่ะ..

รู้สึกเหมือนกำลังไว้อาลัยประเทศไทยอยู่ค่ะ

ผมเองก็เจอครับ แต่ส่วนใหญ่ผมเจอนักศึกษาปริญญาตรี มีมาแบบ "อาจารย์ขาโทรกลับเบอร์นี้นะ" ด้วยครับ ... ฮากลิ้ง ... แล้วก็ปลงมรณานุสติให้กับระบบการศึกษาไทย

"การคิดศึกษาต่อปริญญาเอก ผู้จะศึกษาควรต้องมีทั้งโยนิโสมนสิการ และกัลยาณมิตร มีปัญญาทั้งในแง่วิชาการ และการแสวงหาความรู้และความช่วยเหลือในการเดินเส้นทางสายนี้ ไม่มีอะไรที่ดีๆแล้วจะได้มาง่ายๆ" ผมชอบประโยคเหล่านี้ของอาจารย์มากครับ

อ่านจดหมายสอบถามจากแฟนคลับของอาจารย์หลายๆท่าน ก็ได้แต่คิดว่า เอ... ผมไม่เคยทำนะ ตัดสินใจด้วยตัวเอง หาคำตอบด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้จึงตัดสินใจถามผู้รู้ 

ผมมีข้อสังเกตบางประการที่ประสบกับตนเอง

นักเรียนไทย ม.ปลาย จนถึง ปริญญาตรีบางส่วน ชอบความรู้แบบจานด่วน ถามคำถามที่ "เซลล์ประสาทไม่กระดิกตัว" แบบที่อาจารย์ว่า ไม่มีทักษะในการหาความรู้ การใช้กูเกิ้ลเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการยังมีน้อย ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตทำอย่างอื่น

คงเป็นเช่นนั้นเอง

ผมก็ยังงงเหมือนกัน โครงร่างวิทยานิพนธ์  มีแต่ชื่อเรื่อง  อย่างอื่นไปตายเอาดาบหน้า  เพราะว่า16 มีนาคม 2551 จะสมัครเรียนวันสุดท้ายแร้วครับ  แย่เจงๆ  ใครสงสารช่วยเฟื้องเบอใส่หน้าผากผมที เผื่อจะได้เป็นด๊อก.........เตอร์  เหมือนคุณนายยิ้มไม่หุบเลย

สงสารแต่แม่น้อ เกี่ยวข้าวรับจ้างมาเพื่อหวังเอาเงินส่งให้ลูกเป็นด๊อกเตอร์  แต่ลูกยังอยู่ในโลกมืดอยู่เลยแม่จ๋า

วอนท่านด๊อกเตอร์เก๋าเกมส์  ช่วยเฟื้องเบอเก่าๆให้ผมที เผื่อจะตาสว่างชะที 

 

หาววววววววววววววววววววววววววววววว.....

คุณพี่นุชคะ ดีใจจังค่ะที่พี่นำตัวอย่างมาเปิดประเด็น เจอเหมือนกันค่ะหลากหลายรูปแบบ โดนโอ๋สอนกลับไปทุกรายค่ะ โอ๋ทนไม่ได้และไม่เกรงใจเลยค่ะ ถือว่าเขาถามมาที่เรา เราก็มีสิทธิจะสอนเขาให้คิดเสียบ้าง พบเจอคำถามแบบที่ทำให้เราต้องย้อนกลับไปถาม ไปเตือนสติพวกเขาว่า ก่อนที่จะถามมาสิ่งที่เขาต้องทำคือ.....ไม่แน่ใจว่าได้ผลแค่ไหน เขาคงจะลบทิ้งสิ่งที่เราเขียนไปเลยโดยไม่อ่าน แต่ก็ขอให้ได้เตือนค่ะ

สำหรับตัวเองต้องบอกว่าเจอทั้งแบบที่เป็นอาจารย์มาขอให้เราเป็น ที่ปรึกษาร่วม แต่เราดูออกว่าต้องการปริมาณมากกว่าคุณภาพ ต้องบอกกันแบบไม่เกรงใจเลยค่ะว่า ถ้าจะให้เราเป็นที่ปรึกษาใคร เราขอเลือกคนที่เราจะดูแลด้วย และถ้าให้ทำก็จะทำเต็มที่ไม่ได้รับมาเพื่อเอาผลประโยชน์อันใด พบว่าสมัยนี้หาคนที่อยากรู้ อยากทำอะไรจริงๆในระดับโท เอก ยากจริงๆค่ะ ระบบเราสอนให้คน"ซื้อ"กระดาษมาประดับตัวกันมากตั้งแต่เล็กๆ จนลืมไปแล้วว่า การเรียนรู้คืออะไร เฮ้อ...น่ากลุ้มใจจริงๆค่ะ ขอบคุณพี่นุชมากๆที่มาช่วยให้ได้ระบายด้วยคนค่ะ

  • คิดในแง่บวก ก็ต้องขอบคุณทั้งสองเคสที่ช่วยให้คนกลุ่มหนึ่งอย่างน้อยก็พลพรรครักโกทูโนวตาดำๆเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  • เราไม่ได้สู้กับคนไม่เอาไหน แต่สิ่งเราเป็นห่วงคือระบบและโครงสร้างที่ไม่เอาอ่าว ใช่ไหมครับ
  • เอ้อ เห็นอีเมล์ "ขยะ" แล้วไม่ต้องเอามาใส่ลิ้นชักสมองให้มากนะครับ เพราะเราเองก็ต้องไม่เบียดเบียนตัวเองเหมือนกัน ตามสติให้ทัน อย่าให้วันดีๆต้องหมองหม่นไปเลยนะครับ
  • ไม่รู้ว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนรึเปล่าเนี่ย แต่ก็เป็นห่วงนะครับ

 

                                  ถนอมพระวรกายด้วย :-)

อึ้งค่ะพี่ เขาคิดว่าพี่ติดหนี้เขาอยู่หรือเปล่าคะ หรือว่าคิดว่าคุยกับเพื่อนอยู่ คนที่จะเรียนปริญญาเอกเดี๋ยวนี้สื่อสารได้แค่นี้หรือ หนูมีความคิดว่าน่าเสียดายเวลาเรียนและเสียดายเงินแทนนะคะ ถ้าจะเรียนแล้วคิดได้แค่นี้ สื่อสารได้แค่นี้ ไม่มีแม้แต่ความชัดเจนในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ไม่รู้แม้กระทั่งตัวเองจะนำเสนออะไร ถามว่าจะเรียนไปทำไม ถ้าเป็นแบบนี้มันจะได้ไปแต่กระดาษใบหนึ่งมากกว่า เปล่าประโยชน์ สถาบันไหนรับเข้าเรียนก็ถือว่าแย่ ยิ่งถ้าให้เรียนแล้วจบออกมาได้ต้องเรียกสถาบันนั้นว่าโรงงานผลิตกล้วยแล้วล่ะค่ะ

หนูมีเรื่องเล่าให้พี่ฟังเล่นๆ จากประสบการณ์สอนแบบรับเชิญนะคะ หนูให้เด็กปี 1 ทำโปรเจ็คออกแบบพร้อมทำ paper ประกอบ ปรากฏว่าตรวจถึงเด็กคนนึงอึ้งเลย ผลงานดีมาก paper ก็ดีข้อมูลแน่น เสียแต่เก่าไปหน่อย ไม่อัพเดทแล้ว คืองานนี้หน้าตาคุ้นมากๆ จะไม่คุ้นได้ไงคะพี่ ก็งานหนูเอง เป็น project preview ก่อนทำ Thesis ไงล่ะ คงไปค้นเจอจากห้องเก็บผลงานที่อาจารย์รวบรวมไว้ แล้วเอามาแปลงร่างใหม่เป็นผลงานยุคพศ.นี้

พอหนูถามเรื่องเนื้อหาที่มาที่ไปของแรงบันดาลใจก็ตอบอ้ำอึ้ง วิธีการเตรียมงานหรือขั้นตอนการทำก็ตอบมั่วๆ แต่หนูตอบได้หมดเพราะทำเองมากับมือ เล่าให้เขาฟังเป็นฉากๆ ว่าไปมายังไงถึงมาเป็นงานนี้ แล้วก็บอกเขาว่าที่รู้น่ะ ไม่ใช่เพราะเก่งหรอก แต่เพราะโครงงานชิ้นนี้มันเป็นของเราเอง เพียงแต่ตอนนั้นยังใช้นามสกุลเก่า ไม่ได้เปลี่ยนนามสกุล นักศึกษาคงไม่ทราบเลยไปหยิบชิ้นนี้มาเจอตัวเจ้าของเข้าให้ งานนั้นเศร้าเลย นักศึกษาก็ซวย เราก็เซ็ง เลิกสอนเพราะหมดศรัทธา อาจารย์ท่านอื่นก็อายที่มีลูกศิษย์แบบนี้ รู้กันทั้งบาง นี่ล่ะนักศึกษาระดับปริญญาตรี หนูได้ข่าวว่าเรียนโทต่อด้วยนะ ไม่รู้ทิ้งนิสัยมักง่ายแบบนี้หรือยัง

สวัสดีค่ะอาจารย์

เคยเจอจนต้องบ่น และเมื่อพบเจ้าตัวก็ต่อว่าเลยค่ะ เมื่อเร็วๆ นี้เองค่ะ แบบส่ง paper มาเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการค่ะ ก็ขอให้ส่งทาง e-mail ก็ส่งมาค่ะ ส่งมาโดยไม่บอกอะไรเลย ไม่สื่อสารอะไรเลยค่ะ... เป็นไปได้มั้ยค่ะ ว่าเดี๋ยวนี้เขาเป็นกันยังงี้ไปแล้ว...ยิ้ม ยิ้ม

 

สวัสดีครับพี่นุช

    สบายดีไหมครับ 

ขอบคุณมากๆ เลยครับสำหรับตัวอย่างดีๆ นะครับ

ผมก็็เจอคำถามแบบนี้บ้างตามจังหวะและโอกาสครับ หากเจอผมแบบตัวอย่าง ผมก็คงตอบไปแบบคำถามแทนครับ

คนแรก นั้น คงต้องขอบคุณและถามกลับ

คนที่สอง อาจจะต้องขอบคุณที่ถามและให้ไปค้นหาครับ

สอนให้เค้าอดเพราะจับปลาไม่เป็น ดีกว่าสอนให้เค้าอ้าปากเพื่อเราจะป้อนปลาที่ปรุงเสร็จแล้ว.... หากวันหนึ่งเค้าไม่มีทางออก เค้าจะเห็นตนเป็นที่พึ่งของตนไหมครับ

อยากให้น้องๆ ที่กำลังจะเรียน ป.เอก นั้น ผมแนะนำว่า ให้เตรียมตัวให้พร้อมครับ ไม่ต้องรีบครับ แต่ศึกษาให้พร้อม โดยเฉพาะหากจะวิจัย ต้องถามตัวเองว่าจะทำอะไร เมืองไทยนั้นปัญหาให้ทำเพียบครับ เพียงแต่เราต้องคิด และคิด แล้วก็คิด ให้มากๆ แล้วคำตอบมันก็จะอยู่ในกองปัญหานั่นหล่ะครับ น้องเอ๋ย

หากความคิดยังไม่สุกงอม แนะนำให้ไปค้นคว้าหาคำตอบก่อน หรือว่าทำงานก่อนก็ได้ เพราะความรู้มันจะสุขเมื่อมีข้อมูล ข้อเท็จจริง และผ่านกระบวนการคิด

อย่างเช่น โครงร่างคืออะไร? อันนี้คำถามเบื้องต้นที่ต้องทำความเข้าใจ  หรือว่า KM คืออะไร ทำอย่างไร ทำไมต้องทำ ใช้ตัวอื่นได้ไหม อื่นๆ

การหาคำตอบที่ดีที่สุดคือ การย้อนถามคำถามนั้น และพูดกับตัวเองให้มากๆ คำตอบก็จะอยู่ไม่ไกลเรานะครับ

เป็นกำลังใจกับทุกๆ คนที่อยากจะเรียนพัฒนาความรู้นะครับ

ขอบคุณพี่นุชด้วยนะครับผม

สวัสดีพี่นุชอีกรอบนะครับ

    อยากจะฝากผ่านไปถึงน้องๆ ที่เมล์มาปรึกษา ขอคำแนะนำนะครับ

ผมว่าเราไปขอคำแนะนำผุ้ใหญ่ หรือผู้ที่มีความรู้กว่าเรา เราต้องอ่อนน้อมนะครับ แล้วคนที่ได้รับจดหมายเค้าจะยินดีที่จะตอบที่จะให้ข้อมูล และมีไมตรีที่ดี เพราะการได้เปิดอ่านจดหมายหนึ่งฉบับทางอีเมลนั้น ไม่ต่างไรกับการได้รับจดหมายเลย

ดังนั้น

  • คำขึ้นต้น
  • แนะนำตัวเอง ใคร ทำอะไร ที่ไหน จะทำอะไร ที่ไหน คร่าวๆ
  • แล้วจึงจะเข้าสู่ปัญหาหรือข้อหารือต่างๆ
  • แล้วก็จบด้วยคำขอบคุณ
  • อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์

แต่การเขียนมาข่มขู่ หรือปล้นความรู้ หรือวิ่งราวความรู้ ฯลฯ อาจจะหนักไปหน่อยครับ

ก่อนจะกดปุ่ม Send ผมแนะนำให้ลองอ่านอีกสักรอบก็ได้ครับ อ่านในฐานะผู้รับ ว่าหากเราเป็นผู้รับ แล้วเราจะรู้สึกอย่างไร ความช่วยเหลือที่เราขอไป เราจะให้เด็กคนนี้ไหม

หากรู้ึสึกว่าได้แล้ว ก็กดปุ่ม Send นะครับ

ที่บอกกล่าวนี้ เป็นประสบการณ์ที่เกิดกับตัวเองและใช้อย่างที่แนะนำครับ ใครจะเอาไปลองใช้ก็ได้ครับ

ผมขอฝากไปให้น้องๆ ที่คิดและอยากจะสอบถามในโอกาสต่อไปนะครับ

ขอบคุณพี่นุชมากๆ นะครับ

  • อ่านทั้งหมดแล้วก็เข้าใจชาว G2K ว่าคิดอย่างไร
  • ค่านิยมของคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการจบ ดร. โดยง่ายๆ คิดว่า "จ่ายครบจบแน่นอน" แล้วมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ใช้แนวคิดนี้ด้วย จึงเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น
  • ผมเองคิดว่าอาจมีกระบวนการทางธุรกิจที่ช่วยทำงานแบบนี้ด้วย จึงทำให้คนเหล่านั้นคิดว่าซื้อได้ ทำอย่างไรให้มีคำว่า ดร. เขาทำทุกวิถีทางครับ
  • กระแสนี้คงต้านยากมาก ต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่หมดเลย
  • เรื่องของเรื่องผมว่ามันอยู่ที่ว่าเราใช้การศึกษาในมุมใด ใช้การศึกษาเป็นการพัฒนา   หรือ การศึกษาเป็นธุรกิจ
  • อาจารย์จำนวนไม่น้อยก็ยังม่งเรื่องเงินปัจจัยวัตถุ จึงมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเสมอ
  • ประเด็นนี้คงต้องนำเสนอในระดับสูง(นโยบาย) ต่อไปให้มากขึ้น จะได้หูตาสว่างกันเสียที
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะคุณนุช
  • Lin Hui ไม่เคยเจอ และไม่อยากเจอเรื่องแบบนี้ค่ะ
  • ไม่มีใครกล้าที่จะมาใช้แบบที่คุณนุชเจอ
  • อาจจะเป็นเพราะเห็นหน้า Lin Hui  ก็กลัวเสียแล้ว
  • เลยรอดตัวไป
  • คุณนุชหน้าตาบ่งบอกว่าเป็นคนใจดี
  • จึงมีคนที่อัตคัดจนถึงขั้นขาด ความรู้ความเข้าใจมารยาทในการสื่อสารกับผู้ที่สูงด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ ซึ่งมีระเบียบแบบแผนที่ดีในสังคมที่เจริญแล้วอย่างประเทศไทย
  • และเป็นวัฒนธรรมของชาวตะวันออกที่ผู้น้อยจะเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะแสดงออกผ่าน ทางการเขียน ทางวาจา และทางกริยามารยาท
  • คือพื้นฐานของคนที่มีต้นทุนทางสังคมที่สูง เป็นที่น่าเคารพยกย่อง
  • เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่คนกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุอมศึกษาขั้นปริญญาเอก
  • ที่ไม่รู้จักเคารพตัวเองอย่าได้คาดหวังว่าจะเคารพคนอื่นเป็น
  • เขาคงขาดการฝึกอบรมมารยาท คุณธรรม จริยธรรม
  • ตกลงว่าเราผลิตคนที่มีความรู้เชี่ยวชาญตรงตามความต้องของประเทศใช่ไหม
  •  แล้ว "คุณธรรม นำความรู้" ก็คงเป็นแค่ลมที่ออกจากปากเฉยๆแล้วก็หายไปกับลมซินะ

สวัสดีค่ะอาจารย์P กมลวัลย์
สุดท้ายเราก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไป....

พี่ก็ปลงค่ะ แต่อาจารย์คงจะทำใจยากกว่าพี่ตรงที่ก็ยังต้องทำงานอยู่ในระบบที่ยังคงเดินหน้าต่อไปในการป้อนคนประเภทนี้มาให้เรา ซึ่งหากเราจะเข้มงวดไม่ยอมให้ผ่าน ให้จบหากไม่มีคุณภาพจริง เราก็ต้องเปลืองอารมณ์มาก

ตราบใดที่ค่านิยมของสังคมที่ยังให้ความยกย่องผู้ที่มีคำนำหน้าว่า "ดร." ก็จะมีคนจำจวนมากที่ไม่มีความละอาย อยากไต่บันไดสังคมให้ตัวเองได้รับการยอมรับว่ามีปัญญาสูง ทั้งๆที่ก็รู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าตัวเองเป็นอย่างไร เราจึงเห็นดร.มากมายในเมืองไทยที่ทำกร่างวิชาการ แต่พูดไม่รู้เรื่อง หรือหากอยากจะแสดงภูมิ ก็เอาทฤษฎีและกรอบความคิดแบบฝรั่งล้วนๆมาโอ่ ไม่ได้มีความเข้าใจแผ่นดินเกิดของตัวเอง คนพวกนี้ก็มาจากนักศึกษาประเภทที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี่แหละนะคะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่มาเล่าประสบการณ์ให้ทราบกันด้วย อย่างน้อยอาจารย์อีกหลายท่านจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวค่ะเพราะ ส่วนใหญ่ใครๆก็เจอแบบนี้กันทั้งนั้นค่ะ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์P  ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ขอบคุณที่ขยายประเด็นให้เห็นว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีก็มีปัญหาเช่นกัน

พี่มองว่านี่มันไม่ใช่แค่ปัญหาวิชาการเท่านั้น มันยังเป็นปัญหาด้านวิธีคิด วิธีปฏิบัติตน และความมีวัฒนธรรมอีกด้วย ปัจจุบันวัฒนธรรมของผู้คนหดหายไปมากทั้งวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งหมายถึงการเป็นผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมจานด่วนไปเสียหมดนะคะ

คุณsomkas ช่วยอ่านเนื้อเรื่องบันทึกนี้และความเห็นของท่านต่างๆซึ่งทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิทุกท่าน

โปรดอ่านหลายๆครั้ง

โห...ช่างกล้าน๊อ...

ขนาดจะมาเรียนระดับบัณฑิตวิทยาลัยนะคะเนี่ย...

ดีนะคะ  ที่หนิงไม่ได้เป็นครู/อาจารย์  ถ้าเจอลูกศิษย์แบบนี้  หนิงคงปวดหัว  ปรี๊ดดด...ขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะคุณโอ๋P โอ๋-อโณ ก่อนหน้าพี่เคยเจอมาก่อนหลายรายเหมือนกันที่ติดต่อมาทางอีเมล์ ซึ่งพี่ก็ทำอย่างดร.กมลวัลย์ค่ะ คือไม่ตอบ เพราะคิดว่าคงพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่สองรายนี้เผอิญมาพร้อมๆกัน พี่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องดีที่ยกมาให้เห็นกันในที่นี้ เพราะมีนักศึกษาเรียนปริญญาโท-เอก เข้ามาในโกทูโนว์กันมาก เพื่อเป็นข้อคิดทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา

ระบบที่ทำให้คนตะกายบันไดสังคมกันด้วยวิธีนี้ หากนักศึกษาหาเงินเรียนเองละก็ปล่อยเขาไปนะคะ  แต่หากยังใช้เงินพ่อแม่ แล้วยังไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้วิธีจะเริ่มต้น นอกจากจะเสียเวลาเปล่าแล้ว ยังน่าสงสารพ่อแม่ที่เหน็ดเหนื่อยอุตส่าห์หาเงินให้ลูกชุบตัว หวังว่าการเป็นดอกเตอร์คือจะได้เป็นใหญ่เป็นโต แล้วก็จะพบกับความผิดหวัง เพราะแม้นเขาจบมาได้ ก็จะกลายมาเป็นผู้สร้างปัญหาให้สังคมซ้ำเข้าไปอีก แต่ที่สงสารก่อนอื่นเลยคือครูบาอาจารย์ที่ต้องเจอกับนักศึกษาประเภทนี้ หากหลวมตัวไปเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาละก็จะปวดหัวไปหลายปีกว่าจะเข็นให้จบออกไป

ใช่เลยค่ะน้องP ยอดดอย พี่ก็มองว่าการหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาให้ทราบกันเป็นเรื่องดี หลายๆคนช่วยกันแสดงให้เห็น พูดให้ตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา จะได้ช่วยกันหาทางออก ซึ่งทางออกที่จะแก้ปัญหาจริงๆนั้นก็คงยากอย่างที่น้องยอดดอยเขียนมานั่นแหละค่ะ

เราไม่ได้สู้กับคนไม่เอาไหน แต่สิ่งเราเป็นห่วงคือระบบและโครงสร้างที่ไม่เอาอ่าว ใช่ไหมครับ

พี่ว่าตรงประเด็นมากค่ะ การแก้ไขมันต้องเริ่มตั้งแต่วิธีคิด วิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตคุณภาพให้สังคม ไม่ใช่เอาแต่ปริมาณ ผลิตมากๆ เร็วๆ อีกหน่อยคงแค่ให้ผ่าตัดฝังชิปสำหรับคนที่ต้องการความง่ายในการจบก็น่าจะดี อาจารย์ที่ปรึกษาจะได้มีเวลาและทุ่มเทให้กับศิษย์ที่มีความตั้งใจจะใช้สมองของตนเองนะคะ

พี่ไม่เครียดกับเรื่องที่พบหรอกค่ะ แค่ขำและสงสารระบบการศึกษาของประเทศ ยกมาให้อ่านกันจะได้เป็นตัวอย่าง

ป่วยการเครียดหรือวนเวียนคิด เรามองออกค่ะว่านักศึกษาที่มาติดต่อนั้นเป็นบัวประเภทไหน บางพวกก็พอจะงอกงามพ้นน้ำ บางพวกเปือกตมติดหัวมาแต่ไกล พูดสอนไปเถอะ เขานึกว่าเราหมายถึงคนอื่น 

ขอบคุณที่เป็นห่วงค่ะ และต้องขอบคุณศิษย์คุณภาพที่ได้พบ ทำให้ครูปลื้มใจและเป็นสุขกับความสำเร็จของเขา และคณาจารย์ก็ภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างคนคุณภาพให้แก่สังคม

หมู่นี้ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวกัน หวังว่าน้องยอดดอยคงยังสนุกกับงานและมีความสุขกับการเห็นพัฒนาการการเติบโตของลูกนะคะ

สวัสดีค่ะคุณP วีระพงษ์ ประสงค์จีน ขอบคุณนะคะที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์

การถามหรือขอความรู้ ความคิดเห็นจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องเสียหายค่ะแต่ตนเองจะต้องพยายามด้วยตนเองก่อนอย่างทุกวิถีทาง หลากหลายวิธีการ (เห็นด้วยค่ะว่าการมีทักษะในการใช้กูเกิ้ล เป็นรื่องสำคัญของการเป็นนักศึกษา)ไม่ใช่นั่งเฉยๆวิตกไปวันๆ จนกว่าจะถึงกำหนด แล้วขอให้คนอื่นช่วยแบบเร่งด่วน แบบบีบบังคับ ว่าหากไม่ช่วยแล้วเขาจะพังพินาศ คนแบบนี้ หากมีอะไรผิดพลาด ทั้งการหาคนช่วยไม่ได้ หรือหาคนช่วยได้ แต่งานก็ไม่สำเร็จอยู่ดี เขาก็จะโทษคนอื่นด้วย ไม่รู้จักมองตนเอง คนอย่างนี้จะสร้างป้ญหาให้กับทุกที่ที่เขาไปปรากฏตัวนะคะ

การที่คุณวีระพงษ์(ชื่อเดียวกับน้องชายดิฉันเลยค่ะ) เป็นผู้ใฝ่รู้และเสาะแสวงหาให้ได้มาซึ่งความรู้ เมื่อติดขัดจึงออกปากไถ่ถาม เป็นสิ่งที่ดีแล้วค่ะ ได้ใช้ทั้งโยนิโสมนสิการและมีความสุขกับการมีกัลยาณมิตรที่เราจะพึ่งพาได้ ดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เราต้องปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษาทุกระดับด้วยซ้ำไปค่ะ

น้องซูซานP ยังรู้สึกเลยว่า เขาคิดว่าพี่ติดหนี้เขาอยู่หรือเปล่าคะ หรือว่าคิดว่าคุยกับเพื่อนอยู่ ....

แต่เชื่อไหมคะว่าเจ้าตัว(กรณีที่สอง) ไม่ได้รู้สึกตัวแม้แต่น้อย เขายังสามารถเขียนมาประจานตนเองได้อีก

แต่พี่ก็เชื่อว่าเขาจะสามารถหาสถาบันเข้าไปเรียนจนจบได้เพราะสิ่งนี้จะช่วยชุบตัวเขาให้กลายเป็นคนดูดี มีปัญญา แม้ว่าข้างในสมองจะไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ ยิ่งนโยบายหลายๆสถาบันมีว่า "จ่ายครบ จบแน่" ไม่เกินความสามารถเขาหรอกค่ะ

เรื่องที่น้องซูซานเล่ามานั้นสะท้อนถึงปัญหาจริยธรรมในการเรียน ซึ่งผู้เรียนไม่ได้เกิดความละอายที่หยิบผลงานคนอื่นมาใช้ ตกแต่งนิดหน่อยแล้วพูดหน้าตาเฉยว่าเป็นของตนเอง นี่ไงคะเรามีนักเรียน นักศึกษาที่รู้มาก-มักง่าย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี นิสัยอย่างนี้แน่นอนต้องติดตัวไปเรื่อยๆ

กรณีเช่นการคัดลอกมาเป็นของตนเองโดยไม่ให้เครดิตแก่ต้นตอความรู้ ตีขลุมว่าเป็นผลงานตัวเองนี้ เรียกว่า Plagiarism หากเป็นต่างประเทศนั้นถึงขั้นพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเลยนะคะ

น้องซูซานอย่าเพิ่งหมดศรัทธาจนเลิกสอน เพราะความรู้และประสบการณ์ที่น้องซูซานมีนั้นมีค่ามาก ไม่ควรให้คนดีๆคนอื่นๆถูกลงโทษด้วยการเสียโอกาสเรียนรู้จากน้องซูซานนะคะ อาจยกกรณีที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างสอนเขาไปด้วย เพราะการสอนนั้นเราไม่ได้แค่ให้ความรู้ในศาสตร์ แต่เรายังต้องให้ความรู้ในเรื่องจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมที่ทุกคนต้องมีด้วยค่ะ

(อย่าลืมพี่ฝากตัวเป็นศิษย์ให้สอนเทคนิคคอมพิวเตอร์แบบซับซ้อนกวาที่ทำได้อยู่นะคะ)

สวัสดีค่ะ อาจารย์คุณนายดอกเตอร์

หนูเป็นคนหนึ่งที่เคยเขียนไปขอคำแนะนำจากผู้รู้ท่านหนึ่งใน g2k นี่ ตอนที่เขียนไปนั้น เขียนไปด้วยความรู้สึกสับสนว่าตัวเองควรจะเรียนอะไรกันแน่ คงเป็นเพราะเหตุนี้เอง เลยทำให้ บางครั้งสิ่งที่สื่อสารมันเลยสับสนอยู่ในตัวเอง ทำให้ผู้รับสารไม่อาจช่วยในสิ่งที่เราต้องการได้ เพราะเราเองยังไม่รู้เลยว่าต้องการอะไร หึหึหึ

แต่พอได้มาอ่านบันทึกนี้ซึ่งก็ล่วงเลยจากวันที่ส่งเมลล์เพื่อขอคำปรึกษา นานพอสมควร ทำให้ได้ข้อคิดว่า เราควรศึกษาตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่าเราต้องการอะไร การเรียนในระดับที่สูงกว่า ป.ตรี นั้น เป็นการเรียนเพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ หรือ เพื่อศึกษาในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ ในเชิงลึก ประสบการณ์น่าจะเป็นตัวบอกเราได้ดีที่สุดว่า เราควรจะเลือกเรียนในเรื่องใด การเรียนเพราะเห็นว่าน่าเรียนนั้น มันไม่ใช่คำตอบที่ดีเลย เราไม่มีแม้กระทั่งแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนหรือ แนวทางที่จะนำไปใช้  การเรียนย่อมไม่ประสบผลสัมฤทธฺ์ และไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควรจะเ็ป็น

 

ขอบคุณมากๆเลยนะคะที่มาเปิดประเด็นนี้ มันช่วยให้คนที่ด้อยประสบการณ์เช่นหนู คิดอะไรได้มากขึ้น และเ็้ป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การเลือก และการลงมือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และ สังคมที่หนูอยู่

 

สวัสดีค่ะอาจารย์แป๋วP คิดว่าอาจารย์คงกล่าวถึงกรณีที่หนึ่ง คือแบบพูดสั้นที่สุด

อาจเป็นอย่างที่อาจารย์คิดค่ะ คือเดี๋ยวนี้ เขาไม่ต้องสื่อสารอะไรกันมาก แต่ตัวเองคิดว่าธรรมเนียมไทยเราก็ไม่ทำกันอย่างนี้นะคะ คือ เรามักคิดแบบให้เกียรติผู้ที่เราสื่อสารด้วย โดยเฉพาะผู้ที่เราคิดว่า อยากมีสุนทรียสนทนาวิชาการกันต่อๆไป มันก็ต้องมีการโอภาปราศรัยกันตามมารยาทที่ดีงาม แม้กระทั่งกับอาจารย์ฝรั่งที่เขาดูจะไม่ได้มีธรรมเนียมอะไรนัก ตัวเองก็ยังทำด้วยความสุภาพ ในแบบอย่างที่ผู้เจริญแล้วในสังคมเขาปฏิบัติกัน

ดีแล้วค่ะที่อาจารย์บอกให้เขาทราบพอได้พบกัน เขาจะได้ตระหนักว่าเรื่องนี้สำคัญ ไม่ทำตัวอย่างไม่ดีให้แก่ลูกศิษย์ของเขา

^____^ ยิ้มกว้างๆเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเม้งP เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ขอบคุณมากๆเช่นกันค่ะที่มาร่วมด้วยช่วยกันคิดในประเด็นที่เปิดขึ้นมานี้

คำแนะนำที่ส่งผ่านไปถึงน้องๆนักศึกษานั้นดีมาก เป็นประโยชน์จริงๆค่ะ เดี๋ยวจะก้อปปี้ไว้ จะเอาไว้ส่งให้นักศึกษาที่ถามปัญหามาแบบสับสนในตัวเองค่ะ

ที่จริงพี่ก็พยายามทำความเข้าใจบรรดานักศึกษาหลายคนที่เขียนมาเมื่อพบอะไรแปลกๆเช่นที่นำมาให้อ่านกันนี้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ก็มีความสุภาพในขั้นดีกันเกือบทุกคน มีแต่ในกรณีที่สองนี่แหละค่ะ ไม่รู้หลงมาได้อย่างไร เขาอ่านที่ชาวโกทูโนว์เข้ามาแสดงความเห็นตั้งมากมายแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ยังคงใช้วิธีการ คำพูดแบบห่ามๆ เดิมๆ เขียนมาอีก คนอย่างนี้ก็ต้องปล่อยไปตามยถากรรมค่ะ พี่คิดว่ายังมีนักศึกษาคนอื่นๆที่ยังเป็นความหวังให้สังคมได้อยู่ พี่ยังคงอยากทำหน้าที่นักวิชาการอิสระให้เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณประถม ดิฉันก็คิดว่ามีกระบวนการทางธุรกิจที่รับจ้างทำงานวิจัยให้กับนักศึกษาปริญญาโท-เอก ว่าที่นักศึกษาปริญญาเอกในกรณีที่สองจึงเขียนมาที่ดิฉัน ด้วยความเข้าใจผิด

แต่ด้วยความไม่ใฝ่รู้ของตัวเขาเองจึงเข้ามาผิดที่ค่ะ ในวงโกทูโนว์นี้เราให้คุณค่ากับการใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยการลงมือด้วยตนเองก่อนและบวกกับความเอื้อเฟื้ออย่างกัลยาณมิตร ไม่ใช่แบบ จ้างวาน ข่มขู่ หรือปล้นความรู้

กระแสการศึกษาเป็นธุรกิจคงต้านยากค่ะ แต่สิ่งที่ทำได้คือมาช่วยกันขยายสิ่งที่เป็นการศึกษาที่เป็นการพัฒนาอย่างแท้จริงให้มีมากขึ้น โดยการแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ เรื่องราวแห่งความสำเร็จ อันเป็นความภูมิใจของทั้งครูและศิษย์ เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจกันให้กว้างขวาง ตามหลัก "ยุทธศาสตร์ขยายความดี"ที่คุณหมอวิจารณ์ พานิช ท่านได้กล่าวไว้ และเป็นสิ่งที่ดิฉันน้อมนำไว้ในใจเสมอ

หากว่าต้องคิดต่อสู้กับศึกใหญ่ คงหมดแรง ก้าวแรกจึงขอทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ใช้สติ-ปัญญา ในสิ่งที่เราสามารถสร้างความแตกต่างได้ จะได้มีกำลังใจทำสิ่งที่ใหญ่ขึ้นๆได้ต่อไปนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องหนิงP อิ อิ อย่าเพิ่งดีใจไปว่าไม่ได้เป็นครูบาอาจารย์ จึงไม่ต้องเจอกับเรื่องแบบนี้ ของอย่างนี้มาได้หลายทาง แบบผีหลอกน่ะค่ะ โผล่มาได้ทุกทิศ เช่น น้องหนิงอาจมีเพื่อนหรือรุ่นน้องมาขอให้ช่วยทำงานวิชาการแบบขอกันง่ายๆ ตาใสๆ เพราะเราไม่ได้ใช้ข้าวพันธุ์ดีเป็นต้นกล้าในการผลิตบัณฑิตค่ะ

แต่หวังว่าน้องหนิงจะแคล้วคลาด เปลืองยาแก้ปวดหัวนะคะ

สวัสดีค่ะคุณP หัวใจติดปีก 
เราควรศึกษาตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่าเราต้องการอะไร การเรียนในระดับที่สูงกว่า ป.ตรี นั้น เป็นการเรียนเพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ หรือ เพื่อศึกษาในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ ในเชิงลึก ประสบการณ์น่าจะเป็นตัวบอกเราได้ดีที่สุดว่า เราควรจะเลือกเรียนในเรื่องใด การเรียนเพราะเห็นว่าน่าเรียนนั้น มันไม่ใช่คำตอบที่ดีเลย เราไม่มีแม้กระทั่งแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนหรือ แนวทางที่จะนำไปใช้  การเรียนย่อมไม่ประสบผลสัมฤทธฺ์ และไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควรจะเ็ป็น....

ขออนุโมทนาค่ะที่บันทึกนี้ทำให้คุณได้ข้อคิดนี้ สว่างวาบ หรือ ปิ๊งแวบ เป็นปัญญา เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ นี่เป็นปัญญา ของ ปัญญาทางวิชาการที่คุณจะพากเพียรเพื่อเรียนรู้ให้ลึกซึ้งขึ้นต่อไป

หากไม่เข้าถึงปัญญาขั้นแรกนี้ การเรียนจะเต็มไปด้วยขวากหนามและความทุกข์ค่ะ เมื่อคุณเข้าใจ ปัญหาทั้งหลายที่พบจะเป็นสิ่งที่ฝึกฝนลับคุณให้แหลมคมขึ้น แล้วคุณจะเรียนรู้ด้วยความสนุกที่ได้มองเห็นปัญหาที่คุณอาจไม่เคยมอง หรือไม่เคยเห็นมาก่อน เส้นทางการแสวงหาคำตอบก็จะได้พบกัลยาณมิตรมากมาย ทำให้ชีวิตมีความสุข กระบวนการแสวงหาความรู้ และความรู้วิชาการที่สังเคราะห์มาได้จากประสบการณ์นี้จะช่วยเติมชีวิตให้เข้มข้น (enrich) แม้ว่าความทุกข์ ความเครียด(กำหนดส่งงาน การเขียนเล่มวิทยานิพนธ์ฯลฯ) ของการเป็นนักศึกษาปริญญาเอกนั้นจะเป็นสิ่งที่พบกันทุกคนค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์P  Lin Hui อาจารย์คงทำบุญไว้ดีนะคะที่ไม่พบลูกศิษย์แบบนี้

การที่เขามาพบข้อมูลเราในโกทูโนว์แล้วติดต่อมา โดยที่ไม่ได้ศึกษาให้ชัดเจนว่าชุมชนความรู้นี้เป็นอย่างไร ใครกันบ้างที่เข้ามาแลกเปลี่ยน เขาจึงใช้คำพูดวิธีการที่แสดงออกถึงการเป็นผู้ไม่ได้รับการอบรม ขัดเกลากิริยามารยาท จริยธรรม คุณธรรม ราวกับเราเป็นเพื่อนเล่น หนำซ้ำมีผู้ชี้แนะว่าไม่สมควรก็ยังไม่รู้ตัวเลยค่ะ เขาคงคิดว่านี่เป็นเหมือนเว็บบอร์ดไร้สาระที่เขาคุ้นเคย

คำพูดสวยหรูต่างๆในสังคมไทยนี้ช่างมีมากมายนะคะอาจารย์ "คุณธรรม นำความรู้" ก็คงเป็นหนึ่งในนั้น การกระทำย่อมสะท้อนสิ่งที่อยู่ในจิตใจผู้บริหารประเทศ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะที่มารวมพลัง ช่วยกันชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้น

 

 

พี่นุชคะ มาเขียนอีกทีเพราะดีใจที่บันทึกแบบนี้ทำให้เราได้เห็น "อนาคต" ของเราอย่างคุณ หัวใจติดปีก นะคะ ผู้ที่คิดได้จากการอ่าน และพยายามเรียนรู้เช่นนี้ใครๆก็อยากจะช่วยนะคะ เชื่อว่าสังคมแบบที่เราเห็นใน GotoKnow นี่แหละที่จะมีส่วนช่วยสร้างสังคมที่ดี สร้างกำลังใจให้คนทำดี เป็นยุทธศาสตร์ขยายความดี ที่เห็นผลชัดแจ้งมากๆเลยนะคะ ขอบคุณพี่นุชมากๆที่นำเรื่องนี้มาเปิดประเด็น และเห็นด้วยกับพี่นุชที่แนะนำคุณซูซานไปว่า อย่าทิ้งการเป็นผู้สอนคนอื่นเลยค่ะ คนดีๆที่พร้อมจะเรียนรู้อย่างคุณ หัวใจติดปีก ที่รอให้พวกเราที่มีประสบการณ์มาช่วยส่งเสริมความรู้ ความคิดยังมีอีกมากมาย และถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน เราก็คงจะไปหวังให้ใครช่วยทำให้ อนาคตของบ้านเมืองเรา ก้าวหน้าต่อไปอย่างอยู่ดีมีความสุขได้ยากนะคะ  

น้องนุชอีกครั้งครับ

เรายังแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ไม่จายหายไปจากในหัวดีเลย พี่ก็ได้รับ mail มาดังนี้

--------------------------------------

11. sunya
เมื่อ อา. 16 มี.ค. 2551 @ 12:13
576574 [ลบ]

สวัสดีครับ ผมกำลังศึกษาประเผ่าโซ่อยู่ไม่ทราบว่าอาจารย์พอที่มีประที่มาที่ไปของชนเผ่าโซ่ (ดงหลวง)อย่างละเอียด หรือเปล่าครับ ถ้ามีช่วยส่ง เมล์ให้ผมหน่อยครับ จะเป็นพระคุณมากครับ ขอบคุณครับ

--------------------------------

เลยคิดไปไกลโน้นแน่ะ....ดังนี้

  • เด็กเหล่านี้อยู่ในสังคม fast food มากเกินไปหรือเปล่า อยากกินอะไรที่ต้องการแบบรวดเร็ว สำเร็จรูปมาแล้ว เหลือแต่จับใส่ปากเท่านั้น
  • เด็กเหล่านี้ไม่มีสามัญสำนึกของขั้นตอนทางสังคมแห่งการเรียนรู้เลยหรือไงหนา ว่าการขอข้อมูล หรือความรู้จากผู้อื่นนั้น ควรจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างถึงจะเป็นการสุภาพสำหรับสังคมขแงไทยเรา มันง่ายแบบนั้นเลยหรือ? หนุ่มสาวมองหน้ากัน ปิ๊งขึ้นมาก็ชวนกันไปไหนต่อไหนอย่างนั้นเลยหรือ ง่ายจังชีวิตพวกนี้..
  • มันสะท้อนการเรียนการสอนในสังคม เอาให้ชัด ลึก ลงไปก็ได้ว่า สถาบันการศึกษาแห่งนั้นๆ คงคิดไม่ถึงว่า ลูกศิษย์ตัวเองมีกระบวนการไปหาข้อมูลอย่างไร อาจารญท่านคงลืมว่าเราอยู่ในสังคม การไปขอข้องมูลก็ควรมีมารยาททางสังคมทีดีที่เหมาะสม ก็ไม่เห็นจะลำบากยากเย็นอะไร ไม่ได้เสียเงินเป็นร้อยเป็นหมื่น ไม่ได้เสียหน้าค่าตา ไม่ได้เสียศักด์ศรี  ตรงข้าม เป็นมารยาท เป็นคุณสมบัติที่อ่อนน้อม เป็นทุนทางยังคมที่ดี เป็นพฤติกรรมที่ผู้ร้องขอพึงกระทำต่อผู้ที่เราไปร้องขอ
  • สถาบันไม่ได้บูรณาการกระบวนการเรียนการสอนกับความรู้กับสิ่งพึงปฏิบัติกับการได้มาของความรู้

เมื่อเขาได้มาอย่างง่ายๆ ชักไม่แน่ใจว่าความรู้ที่ได้มานั้นมันจะเหลือติดในสมองเขาสักเท่าใด ก็แค่ C&P ไปเท่านั้น เผลอๆ อย่างที่น้องลูกหว้ากล่าวและหลายๆท่านกล่าวว่า เขาไม่ใช่ C&P เท่านั้น ยังไม่ได้อ่านอีกด้วย

ตาย... ตาย... ตาย... ตาเถรตกใต้ถุน....

อย่าไปแข่งกับเวียตนามเลย ส่งไปแข่งกับพี่น้องลาวก็แพ้แล้ว..สงสารพ่อแม่ ห่วงสังคมไทย สงสารประเทศไทย

นี่แหละหนา คนเข็นครกขึ้นภูเขา..มันหนักจริงๆ

จึงส่งข่าว(บ่น)มาให้น้องนุชครับ

  • พี่นุชขา เจอแบบนี้บ่อยมากๆในระยะหลังทั้งจากคนเรียนใกล้จบแล้วและยังไม่เข้าเรียน
  • การที่เราเปิดรับแบบไม่อั้นและรับแบบไม่มีการวัดคุณสมบัติก่อนเข้าเรียนกันอย่างจริงจัง
  • ทำให้เกิดกรณีที่ผู้เรียนไม่พร้อมที่จะเรียนทั้งไม่พร้อมเรื่องความรู้พื้นฐานที่ควรมีก่อนเข้าเรียนในสาขาที่เลือกเรียน
  • ที่น่าตกใจกว่าคือหลายคนไม่ทราบว่าการเรียนระดับปริญญาโทปริญญาเอกเน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  • มากกว่าจะมานั่งฟังอาจารย์ในห้องเรียน หรือเมื่อฟังจบแล้วควรไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอีก
  • เจอหนักอยู่รายหนึ่งค่ะสัก 3 ปีที่แล้ววันหนึ่งเจ้าหน้าที่มาเรียกไปรับโทรศัพท์สายนอก
  • หลังจากแนะนำตัวเสร็จว่ากำลังเรียนอยู่ที่ไหนอย่างไรแล้วก็บอกว่าสนใจงานวิจัยของเรา
  • เพราะกำลังทำเรื่องคล้ายกันเห็นงานเล่มเต็มของเราในเน็ตแล้วแต่มันเป็นไฟล์ pdf แบบที่ใช้วิธีสแกนหนังสือทั้งเล่ม หุหุมันแปลงไฟล์ไม่ได้
  • เขาอยากได้ไฟล์ที่เป็น MS word ทั้งเล่ม ช่วย Write CD ส่งมาให้เขาหน่อยได้ไหม
  • พี่นุชขาช็อคมากๆ ที่ขอไฟล์กันดื้อๆแบบนี้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูกเลยค่ะ
  • พอตั้งสติได้ก็ตอบไปว่าน้องขา ของแบบนี้เขาไม่ขอกันหรอก งานวิจัยแต่ละเล่มคนทำใช้เวลาหลายปี และที่สำคัญพี่ให้ไม่ได้เพราะเจ้าของลิขสิทธิ์คือมหาวิทยาลัยค่ัะ
  • เคยมีกรณีตัวอย่างมาแล้วสัก 5 ปีแล้วทีดอกเตอร์คนหนึ่ง เอาวิทยานิพนธ์ตัวเองไปขายให้บริษัทที่สัมประทานโครงการห้องซาวน์แลปของกระทรวงศึกษา
  • หุหุแถมตัวเองมีชื่อเป็นกรรมการโครงการด้วยเรียกว่าได้สองต่อ
  • มหาวิทยาลัยฟ้องค่ะเป็นคดีดังมากในยุคนั้น สู้กันหลายปีถึงศาลฏีกา มหาวิทยาลัยชนะ ต้องชดใช้เงินหลายล้าน แถมต้องถูกให้ออกจากราชการ เพราะที่หน้าปกวิทยานิพนธ์บอกไว้ชัดแจ้งว่าลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
  • หากคุณจะนำไปหาผลประโยชน์ก็ต้องนำไปดัดแปลงต่อยอด
  • ไม่ใช่เหมือนกันทุกอย่างแบบขายพิมพ์เขียวแบบนี้
  • เศร้าค่ะ ที่บ้านเราเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพจริงๆ
  • อิอิ เรียนจบด้วยวิธีง่ายๆแบบนี้น่าจะให้เพ็ดดีกรี แทนให้ดีกรี แบบที่ท่านอาจารย์กมลวัลย์ว่าไว้จริงๆค่ะ

พี่ก็ดีใจเช่นเดียวกับคุณโอ๋P ค่ะ จากการได้รับความเห็นของคุณ หัวใจติดปีก ทำให้เกิดกำลังใจที่เห็นคนคุณภาพอีกคน คนที่มีวุฒิภาวะทางความคิดและเป็นผู้ใฝ่รู้เช่นนี้ ใครๆก็เต็มใจช่วยเพื่อให้เขายกระดับความรู้และประสบการณ์ของตนเอง จะได้มาเป็นกำลังในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติได้อย่างจริงจัง ยั่งยืนค่ะ

ใช่เลยค่ะ ใครพร้อมที่จะเรียนรู้ ชาวโกทูโนว์ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเสมอ

สวัสดีครับ

  • เคยขอคำแนะนำเรื่องการเรียนต่อ จากพี่น้องใน gotoknow ครับ
  • ชี้แจงรายละเอีียด บอกที่มาที่ไป และรบกวนเขาน้อยที่สุด เฉพาะส่วนที่เราติดขัดจริงๆ
  • และได้คำตอบรับเกินคาด ต้องขอบคุณมา ณ ที่นี้อีกเที่ยว
  • ท่านหนึ่งคือ ท่านนี้ครับ

P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • อีกท่านก็ุคุ้นหน้าคุ้นตากันดี ;)

P จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ผมเคยช่วยตอบคำถามในวิกิพีเดียไทย (th.wikipedia.org) ก็มีคำถามแปลกๆ แบบนี้แหละครับ ขอด่วน เร็วๆ หน่อย ส่งเมล์ให้ด้วย.... น่าเศร้าเหมือนกันครับ

ป.ล. ช่วงนี้มะม่วงร่วง หล่น ตุ๊บๆ ทุกวัน ทานไม่หมด เอาไปฝากเพื่อนก็ไม่ได้ เพราะตกลงมามันแตก เสียดายจังเลยครับ

หลงมาอีกรายให้พี่บางทรายP บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) ได้เคาะสามัญสำนึกให้ นุชก็เจอหลายคนค่ะที่ขอข้อมูลแบบดื้อๆเช่นนี้ แถมบางทีสั่งเสร็จว่าขออย่างละเอียดและให้สรุปประเด็นให้ด้วย ขนาดว่าสมัยนี้ข้อมูลนั้นสามารถค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ก็ยังไม่อยากใช้ความพยายามเบื้องต้นเลย

นุชคิดว่าต่อไปหากอาจารย์ท่านใดได้รับเมล์ไร้ความคิด ไร้สามัญสำนึก อย่างที่เรานำมาอภิปรายกันอยู่นี้ ก็ก๊อปปี้ลิงค์ของบันทึกนี้ส่งไปให้อ่านท่าจะดี ไม่ต้องพูดมาก เผื่อจะเกิดความละอาย และคิดได้

ในยุคที่ประสิทธิภาพมักวัดกันด้วยปริมาณและความรวดเร็ว ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดเพี้ยน

เมื่อเขาได้มาอย่างง่ายๆ ชักไม่แน่ใจว่าความรู้ที่ได้มานั้นมันจะเหลือติดในสมองเขาสักเท่าใด ...

พี่บางทรายก็คงเคยพบคนที่เรียนมามากๆแล้วคิดและทำอะไรแบบที่ทำให้เราสงสัยว่าจบมาได้อย่างไร ก็คงเป็นคนพวกนี้แหละค่ะ ไม่มีความรู้ที่ได้มาจากการเรียนรู้ที่เกิดเป็น tacit knowledge ในตัวเอง จึงคิดอะไรไม่ออก ทำได้แต่ตามตำรา ทื่อๆ ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่

นึกสงสัยเหมือนพี่บางทรายเลยค่ะในกระบวนการหาข้อมูลของนักศึกษาประเภทนี้ เรียนรู้แบบไม่ขยับตัว ไม่เดินทางออกเสาะแสวงหา คิดว่าแค่ติดต่อ ค้นๆจากอินเทอร์เน็ตก็พอแล้ว (บางคนไม่แม้แต่จะค้นด้วยซ้ำไป) แล้วมันจะไปเข้าใจ หรือมองเห็นสิ่งที่เป็นอยู่จริงได้อย่างไร

หากสถาบันมุ่งคิดหลักสูตรแปลกๆเก๋ๆ ล่อให้คนไปเรียนบนเส้นทาง "จ่ายครบ จบแน่" เรื่องที่จะมาสร้างคุณภาพของนักศึกษาให้มีครบทั้งความรู้วิชาการและจรรยาบรรณ/จริยธรรม คงเป็นสิ่งที่สถาบันหรืออาจารย์ไม่สนใจหรอกค่ะ

สงสารประเทศไทยจริงๆด้วยค่ะ

สวัสดีครับคุณธ.วั ช ชั ย และพี่นุชครับ

    พอดีผ่านมาเจอ ป.ล. ของคุณธ.วั ช ชั ย ผมเคยเห็นเค้าใช้เน็ตตาข่ายนะครับ ขึงปักไว้ครับ เอาไปใช้ได้กับทุกๆชนิดเลยครับ ที่แบบว่ามันหล่นเองนะครับ ตาข่ายที่รองไว้เหนือพื้นดินก็ให้สอดคล้องกับขนาดผลไม้ที่ไม่ทำให้บอบช้ำครับ

    มะม่วงที่มีผลแตกอีกสาเหตุหนึ่งคือ วันไหนฝนตกหนัก หรือพอประมาณ ผลมะม่วงจะได้รับน้ำจากต้นมาก อาจจะทำให้ผลมะม่วงแตกปลิตั้งแต่ผลอยู่บนต้นได้เช่นกันครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับ

ขออภัยด้วยครับ ที่ขออนุญาตแนะนำเพราะคิดว่าน่าจะช่วยได้ครับ

อาจารย์นารีรัตน์Pคะ พี่ประหลาดใจมากค่ะในการที่บ้านเรารุกในเรื่องธุรกิจการศึกษาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีนี้เอง สถาบันต่างๆทำหลักสูตรชั้นสูงขึ้นมา แล้วอ้างว่าที่ต้องเปิดรับมากๆเพราะเป็นความต้องการของตลาด พี่เคยทราบว่ามหาวิทยาลัยเปิดบางแห่ง แค่ปริญญาโทในหลักสูตรเดียวเขารับนักศึกษาเป็นเกือบสองร้อยคน และเราก็เห็นการโฆษณามากมายรับนักศึกษาปริญญาเอก เดี๋ยวนี้เจอใครๆ ต่างก็บอกว่ากำลังเรียนต่อ โท ต่อเอกกันทั้งนั้น หากมีคุณภาพเราคงไม่ต้องมาช่วยกันเปล่งเสียงในเรื่องนี้ใช่มั้ยคะ

ชอบใจที่อาจารย์สอนสิ่งที่ถูกที่ควรแก่คนที่มาขอไฟล์วิทยานิพนธ์เป็นไฟล์เวิร์ด พี่ว่าการพูดตรงๆ ได้สอน ได้ให้ข้อคิดเช่นนี้เป็นประโยชน์มาก เราทำด้วยความเมตตา เพราะนักศึกษานั้นอาจไม่มีความตระหนักว่าอะไรควร อะไรไม่ควรปฏิบัติ พี่พบว่านักศึกษาจำนวนมากไม่มีวุฒิภาวะซักเท่าไหร่ คิดเหมือนเด็กๆ ที่อยากได้เป็นดร. ง่ายเหมือนได้แต่งตัวแสดงละครโรงเรียน พี่จึงคิดว่าอาจารย์ที่ปรึกษานั้นต้องมีความรับผิดชอบสูงมากในการแนะนำ ชี้แนะทั้งเรื่องวิชาการ และวิธีการที่จะได้มาซึ่งความรู้

พี่สงสัยมากว่าการสอบเข้าเพื่อเรียนปริญญาเอกที่เมืองไทยโดยทั่วไปเขาวัดกันอย่างไร เพื่อคัดคนเข้าไปเรียน เพราะเจอมาเยอะ(ขนาดพี่ไม่ได้อยู่ในวงการสอนอย่างเป็นทางการ) มีปัญหาทั้งเรื่องผู้เรียนไม่รู้เรื่องอะไรเลยว่าจะต้องทำอย่างไร และอาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่ค่อยมีเวลาให้ เพราะอาจารย์ก็วิ่งสอนหลายที่ รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้นักศึกษาพร้อมๆกันหลายคน เลยยิ่งไปกันใหญ่

หากต้องการรับทีละมากๆ ก็ควรให้จบยาก ไม่ดีจริงไม่ให้จบ

ขอเล่าระบบของฝรั่งเศสนิดหน่อยเท่าที่ตัวเองพอทราบในเรื่องการคัดนักศึกษาเข้าเรียนปริญญาเอก (ใครอยากทราบละเอียดต้องถามดร.ตุ้ม-ทิพวัลย์ สีจันทร์นะคะ)

ใครอยากเรียนขั้นสูงสุดถึงปริญญาเอก พอจบปริญญาตรีแล้ว ต้องใช้เวลาสองปีเพื่อบ่มเพาะเตรียมความพร้อมในการทำวิจัย ในการค้นคว้าเรื่องที่ตัวเองสนใจ ซึ่งที่เข้าเรียนนี้ไม่ใช่ปริญญาโท แต่เป็นข้อบังคับที่จะต้องผ่านขั้นตอนนี้ ภาษาฝรั่งเศสใช้ตัวย่อว่า DEA หากไม่ผ่านการสอบนี้ ก็ไม่ได้เข้าเรียนปริญญาเอก

คนที่จะเรียนปริญญาเอก คือคนที่ตั้งใจจริงๆที่จะเดินสายวิชาการ พอสอบผ่านจึงจะสามารถเข้าสู่โปรแกรมเรียนปริญญาเอก โดยไม่มีคอร์สเวิร์ค เพราะเขาคาดหวังว่านักศึกษามีความพร้อม รู้แล้วว่าต้องทำอะไร พี่ทราบแค่นี้เพราะพี่ไม่ได้ผ่านกระบวนการสอบDEA เนื่องจากเขามีข้อยกเว้นว่าหากผู้ที่จบปริญญาโทจากประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษาที่เขายอมรับ(พี่จบป.โทจากอเมริกา) ก็สามารถเข้าเรียนปริญญาเอกได้หากมีอาจารย์ที่ปรึกษารับเป็นผู้ดูแลวิทยานิพนธ์ หรือเป็น Director of Thesis ให้ หืดขึ้นคอกว่าจะได้เข้าเรียนค่ะ

การที่นักศึกษาไม่ได้ผ่านกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเข้มข้น ทำให้เขาไม่เห็นคุณค่าของความดีงามของผู้คนและสังคมที่เขาดำรงชีวิตอยู่ จึงทำให้ไม่มีจริยธรรมและจรรยาบรรณใดๆให้รุงรังจิตใจของเขา และทำทุกอย่างได้อย่างไร้ความละอาย เรื่องดร.ขายวิทยานิพนธ์นี่พี่เพิ่งเคยได้ยินแบบนี้ค่ะ ดีที่มหาวิทยาลัยเอาเรื่องและชนะคดี

แหม ให้เพ็ดดีกรี ก็สงสารน้องหมาแย่เลยซีคะ คนคุณภาพไม่ดีพอไปพาให้เสียภาพลักษณ์ของเพ็ดดีกรีเขาอีกด้วย

 

คุณธวัชชัยคะP ชาวโกทูโนว์นั้นเต็มใจแบ่งปันความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ใฝ่รู้ เรียกว่าเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างกัลยาณมิตร ทั้งสองท่านนั้นยอดเยี่ยม ความรู้และประสบการณ์เพียบอยู่แล้ว

มะม่วงพันธ์อะไรคะ เสียดายจัง จำได้ว่าคุณธวัชชัยเล่าว่าหล่นใส่หลังคาห้องทำงาน ใช้วิธีที่คุณเม้งP  เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ แนะนำก็ไม่น่ายากนะคะ นี่หากอยู่ใกล้ๆ จะไปช่วยเก็บมาคิดแปรรูปทำอะไรทาน เก็บเอาไว้แจกกันได้ คุณเม้งมีความรู้เรื่องเกษตร เรื่องธรรมชาติเยอะนะคะ มาช่วยบอกคุณธวัชชัยพี่ก็พลอยได้ความรู้ไปด้วย แต่ที่บ้านมะม่วงต้นไม่สูงเท่าไหร่ค่ะ

ขอบคุณทั้งสองท่านค่ะ 

 

สวัสดีครับ คุณพี่นุช และคุณเม้ง

มะม่วงพันธุ์อะไรก็ไม่ทราบครับ แต่รสชาติเดิมๆ เจ้าของเก่าปลูกมาตั้ง 10 ปีแล้ว

วิธีที่คุณเม้งแนะนำนี้เข้าท่าดีครับ มีมุ้งเขียวอยู่ผืนหนึ่ง จะลองเอาไปขึงดูครับ

ขอบคุณคุณเม้ง และคุณพี่นุชครับ

พี่นุชคะ ชอบมากเลยค่ะ ไอเดียที่พี่แนะนำว่าทีนี้มีใครมาขอข้อมูลแบบด่วนๆ ห้วนๆ ขาดปัญญาลักษณะนี้เราก็เอาลิงค์บันทึกนี้ส่งให้อ่านได้เลยค่ะ สิ่งที่เราช่วยกันถก ช่วยกันต่อเติมก็จะได้เป็นประโยชน์ต่อยอดต่อไป

ขอเล่าระบบที่ออสเตรเลียในการเรียนต่อระดับปริญญาเอกเสริมกับที่พี่นุชเล่าถึงที่ฝรั่งเศสด้วยค่ะว่า ต้องมีการทำงานวิจัยหรือเป็นผู้ช่วยวิจัยในเรื่องที่ตัวเองอยากทำจนอาจารย์ที่ปรึกษายอมรับนับถือในความสามารถกันเสียก่อนด้วย นอกจากเรื่องมาตรฐานทางเอกสารทั้งหลายว่าสอบผ่านวิชาพื้นฐานที่ต้องใช้ทั้งหลายในระดับ undergraduate มาแล้ว สังเกตดูบ้านเราเหมือนจะดูกันแต่เกรด ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ"ความคิด ความสนใจ"ในเรื่องที่ต้องการจะศึกษาในระดับปริญญาเอกเลยนะคะ กลายเป็นเอาปริญญาเป็นที่ตั้ง แล้วก็ไปหาเรื่องเอา ทำให้ผ่านขั้นตอนต่างๆเพื่อให้จบ ไม่มีความเข้าใจในเบื้องต้นเลยว่า กระบวนการที่จะไปถึงปริญญาเอกนั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าสถาบันการศึกษาไทยเราและอาจารย์ที่ปรึกษาระดับนี้ของเรายังไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ละก็ เราจะมีบัณฑิตปริญญาเอกที่ขาดคุณภาพเพิ่มขึ้นมากมายเต็มบ้านเต็มเมือง น่าเสียดายงบประมาณจริงๆค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ คุณนายดอกเตอร์ (ครั้งที่เท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วครับ)

  • ประเด็นเริ่มดุเดือดมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วนะครับ
  • เห็นควร ... เปิดสัมมนาเป็นเรื่องเป็นราวไปเลยครับ อิ อิ
  • นี่ถ้ามีการประชุมแบบออนไลน์กันอีก ประเด็นนี้น่านำเข้าสู่วาระการประชุมนะครับ :) ล้อเล่นน่ะครับ
  • อาจารย์เคยได้ยิน ... มหาวิทยาลัยไหนไม่ทราบ ให้นักศึกษาปริญญาโทของตัวเอง ทำวิทยานิพนธ์หมู่ .. หมายถึง วิจัยเล่มหนึ่ง มีนักศึกษาหลายคนมาทำ ... จบก็จบพร้อมกัน ประมาณนั้น ครับ
  • ถ้าสอนระดับอุดมศึกษา สามารถเข้าเรียนปริญญาเอกได้โดยไม่ต้องเรียนคอร์สเวิร์ก << ผมตอบไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ต้องถามผู้รู้แล้วล่ะครับ เมืองนอกเมืองนาเขามีแบบนี้ใช่หรือไม่ครับ แล้วถือว่า มีคุณภาพไหม ครับ อาจารย์
  • อยากให้กำลังใจน้องอาจารย์ หัวใจติดปีก ... ที่มีความกล้าหาญ และ เป็นคนจริง .. ใจ ดีครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ .... ยาวครับ ยาว :)

คุณธวัชชัย Pทดลองกางมุ้งตาข่ายรับมะม่วงแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ สงสัยมะม่วงจะดกมากจริงๆ และอยากรู้ว่ารสชาติเดิมๆนี่มันเป็นยังไงน้อ^___^

ขอบคุณคุณโอ๋Pมากค่ะที่ตามติดประเด็นนี้และช่วยกันคิด

พี่ว่าหากเราพบคนไม่ใฝ่รู้ ทั้งยังต้องการอะไรแบบง่ายๆ ด่วนๆ แค่เพื่อใช้การศึกษาระดับสูงเป็นบันไดทางสังคม สมควรต้องได้อ่านบันทึกของดร.นารีรัตน์เรื่องการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เขียนขึ้นไล่ๆกันนี้ และตามด้วยลิงค์นี้ คงจะช่วยให้อาจารย์หลายๆท่านไม่ต้องมาเปลืองเวลาและอารมณ์กับคนแบบนี้ ท่านจะได้ชื่นบานกับการดูแลศิษย์ที่ต้องการเรียนรู้จริงๆ

การเรียนปริญญาเอกที่ออสเตรเลียแบบที่คุณโอ๋มีประสบการณ์มา แสดงถึงการที่เขาใส่ใจในคุณภาพของนักศึกษาจริงๆ ว่ากันตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน ความคิด ความสนใจ ความสามารถในการทำงานวิจัยร่วมกับอาจาจารย์ คิดว่าฝรั่งนั้นดีตรงที่เขาสร้างระบบ มีกระบวนการชัดเจน วิธีการในแต่ละที่อาจแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันแน่ๆคือผู้เรียนจะต้องใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ความรับผิดชอบอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่ผู้อื่น

บ้านเรานั้นส่วนมากที่พี่ได้ยินอาจารย์หลายๆท่านบ่นก็คือนักศึกษาจำนวนมากต้องการแค่ใบปริญญา ทั้งพูด ทั้งสอน ทั้งบอก ทั้งแนะ แต่ก็ได้แค่นั้น

กระบวนการที่จะไปถึงปริญญาเอกนั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด...

พี่รู้สึกว่าบ้านเรานั้นมักไม่ค่อยสนใจกระบวนการในการทำสิ่งใดก็ตาม สนใจแต่ผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้แต่ต้น เป็นกันทุกวงการ ไม่ใช่แค่ในวงการการศึกษานะคะ

พูดไปพูดมาชักเหนื่อยเหมือนกันนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์PWasawat Deemarn ต้องขอบคุณอาจารย์ค่ะที่สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจรังและกรุณาเข้ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างติดตามผล

กลัวมากเลยค่ะอาจารย์ ไม่ได้อยากให้ดุเดือดนะคะ เพราะตนเองก็ไม่ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือเป็นคนข้างใน พูดมากไปจะกลายเป็นไปตำหนิคนอื่นค่ะ ที่จริงคิดว่าคณาจารย์ทุกท่านท่านตระหนักดีเรื่องการผลิตบัณฑิตปริญญาเอกมากๆเช่นนี้แล้วจะเป็นอย่างไร อยู่แต่ว่าท่านนั้นๆยืนอยู่ข้างไหน

เรื่องเข้าเรียนปริญญาเอกโดยไม่มีคอร์สเวิร์คนั้น จะมีคุณภาพหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับระบบที่เขาวางไว้มั้งคะ อย่างที่ฝรั่งเศสนั้น ที่เล่าว่าต้องเข้าโปรแกรมสองปี ไม่ใช่เรียนปริญญาโทนะคะ เขาไม่ได้เทียบเป็นปริญญาโท อาจเทียบได้กับกระบวนการที่คุณโอ๋เล่าระบบของออสเตรเลียก่อนทีจะเข้าเรียนในระดับปริญญาเอกได้ สองปีนั้นเขาจะเน้นเรื่องการรู้จักการทำงานวิจัย ได้ทำงานวิชาการที่ต้องพบกับอาจารย์เก่งๆในสาขาและเรื่องที่เขาสนใจ เหมือนเตรียมเสาะหาเครื่องปรุง ส่วนผสม สำรับคับค้อนในการทำครัวใหญ่ และเสาะหาที่ปรึกษา เป็นโอกาสทดสอบตนเองว่าต้องการเดินทางนี้แน่ ก่อนไปลงมือปรุงด้วยตนเองครั้งใหญ่ ด้วยการทำวิทยานิพนธ์อย่างรับผิดชอบตนเอง รู้ทางเดิน ไม่ใช่งงงวยว่าจะเริ่มอย่างไรดี

สองปีนั้นจึงเป็นสองปีที่สาหัสเอาการ คนฝรั่งเศสเองก็ยังไม่ค่อยมีใครอยากทรมานตัวเองอย่างนี้ นอกจากตั้งใจมั่นว่าอยากเรียนปริญญาเอกจริงๆ

ตัวเองไม่ได้ผ่านกระบวนการสองปีอย่างนั้นของเขา ทำให้เหนื่อยมาก คิดเหมือนกันค่ะว่าหากมีคอร์สเวิร์คคงจะช่วยได้มาก แต่โชคดีที่ตัวเองรู้อยู่ว่าสนใจอะไร อยากศึกษาในประเด็นไหน แล้วเผอิญเป็นเรื่องหรือแนวทางที่โปรเฟสเซอร์สนใจมาก เขาก็ให้เราลงมือเริ่มด้วยการเสนองานวิชาการครั้งแรกในเวทีประชุมนานาชาติ ที่เจนีวาไหนๆเขาก็รับแล้ว เป็นไงเป็นกัน ก็ทำอย่างดีที่สุด ทั้งค้นคว้า ทั้งเขียน ได้เข้าสู่วงการระดับมืออาชีพในสายวิชาการนี้ทันที เป็นครั้งแรกในชีวิตเลยค่ะ ซึ่งเราก็ทำได้ค่อนข้างดี พอผ่านไปยังนึกอยู่เลยค่ะว่าเรารอดมาได้อย่างไร

จากนั้นมาก็ต้องมีการเสนองานวิชาการในเวทีนานาชาติเกือบทุกปีค่ะ และยังมีเวทีระดับรองๆลงมาให้ได้ไปมีส่วนร่วม ได้ลับคมกันอยู่เนือง ๆ

กว่าจะจบได้อาจารย์นอกมหาวิทยาลัยอีกสองท่าน(ต้องเฟ้นหาที่ดีทีสุด) ยังต้องเป็นผู้อ่านวิทยานิพนธ์ของเราว่าเขียนใช้ได้มั้ย ทั้งในแง่ภาษาและเนื้อหา มีคุณค่าพอที่จะเปิดไฟเขียวให้เข้าไปสอบปากเปล่าหรือไม่

มีน้องคนไทยคนหนึ่งเรียนที่เดียวกัน(ที่ฝรั่งเศส) สาขาเดียวกัน อาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกัน เขาเป็นอาจารย์(สอนมหาวิทยาลัยในเมืองไทย)ที่อายุยังไม่มากเท่าไหร่ มีปัญหาด้านวิชาการตลอดการเรียนปริญญาเอก(ทั้งๆที่เราก็ให้ความเป็นกัลยาณมิตร เราจบก่อน วิทยานิพนธ์นั้นให้ฮาร์ดกีอปปี้เขายืมไว้ดูทั้งเล่ม) พอถึงขั้นต้องส่งวิทยานิพนธ์ให้อาจารย์ข้างนอกอ่าน ปรากฏว่าเขาได้ไม่ไฟเขียว และมีปัญหาหนักถึงขั้นต้องย้ายมหาวิทยาลัย ตอนนี้เขาก็เงียบไปไม่ได้ข่าวเลยค่ะ

ส่วนตัวคิดว่าเมืองไทยนั้นจำเป็นต้องให้มีคอร์สเวิร์ค ก็ขนาดมียังอย่างนี้เลยนะคะ ระบบที่ยืดหยุ่นเหมาะกับคนที่มีวุฒิภาวะ และความรับผิดชอบสูงค่ะ

ดิฉันคิดว่าระบบนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือสำนึกของผู้เรียนว่า เรียนไปเพื่ออะไร มีความเคารพตนเองแค่ไหน และมีสำนึกต่อสังคมอย่างไร คนที่เรียนมาจากยูดังๆ เก่งมากๆก็มีเยอะแยะ แต่ก็เป็นคนที่เอาแต่ประโยชน์ตน หรือเห็นว่าตัวเองเก่งที่สุด ก็มีให้เห็นเกลื่อนเมืองนะคะ เพราะเก่ง ไม่ได้แปลว่าดี

แต่ประเด็นที่เรากำลังถกกันอยู่คือ คุณภาพของผู้เรียนปริญญาเอกที่ทั้งไม่เก่งวิชาการ และทั้งไม่มีคุณภาพในมิติทางสังคมคือไม่มีความใฝ่รู้ มักง่าย ไร้มารยาท และไม่เคารพตนเองใช่มั้ยคะ

น้องอาจารย์ หัวใจติดปีกนั้นน่ารัก น่าให้กำลังใจ และน่าให้การสนับสนุนอย่างยิ่งค่ะ เชื่อว่าเธอได้รับการชื่นชมจากทุกท่านค่ะ ผู้เรียนแบบนี้ใครๆก็อยากช่วยนะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์  คุณนายดอกเตอร์ (ไม่นับครั้งกันแล้วครับ)

  • ชอบที่อาจารย์เล่าประสบการณ์ที่ฝรั่งเศสให้ฟังครับ ทำให้ผมทราบถึง ระบบที่ฝรั่งเขามี เป็นระบบที่สร้างประสบการณ์และบทเรียนให้กับผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการใฝ่รู้ในสิ่งที่ผู้เรียนยังไม่รู้ ... เหมือนกำแพงที่ขวางกั้นเราอยู่ ถ้าเราเห็นกำแพงแล้วเดินกลับ ผมว่า บุคคลคนนั้นก็ไม่สมควรจบหรอกครับ
  • ไม่แน่นะครับ ๆ เขาอาจจะยื่นเงินให้ก้อนหนึ่งกับกำแพง แล้วบอกว่า ผมอยากเป็นด๊อก .... แค่นี้พอไหม ก็ได้นะครับ :)
  • ตัวผมเองไม่เคยเรียนจบมาง่าย ๆ แม้แต่ระดับเดียว มันต้องฝ่าฟันมาอย่างหนัก บางทีเห็นบางคนจบง่าย ๆ แล้วก็อยากเหมือนเขาบ้าง ... แต่พอรู้ภายหลังว่า โน้นก็ไม่รู้ นั้นก็ไม่ทราบ เลยต้องนั่งคิดในใจว่า ไอ้นี่มันจบมาได้ยังไงกัน สมควรได้รับปริญญาแสดงวิทยฐานะหรือยังไง
  • ป.เอก ... ผมยังไม่เหมาะสมที่จะเรียนกะเค้า ตอนนี้กำลังขอเป็น "ครูที่ดี" ก็พอแล้วครับ เราวิเคราะห์ตัวของเราเองได้ ฐานะ การเงิน ความสามารถ อีกนานครับ อีกนาน
  • และผมคงไม่ส่งจดหมายไปแบบอาจารย์ได้สัมผัสครับ มันน่าละอายมากกว่า
  • อยากจบเอก แต่หามีความสามารถไม่ ... ไม่ไหวครับ ๆ
  • ง่าย แต่ ไร้คุณค่า
  • อา .. อาจารย์ลืมตอบผม 1 ข้อ ครับ คือ เรื่อง วิทยานิพนธ์หมู่ ไม่ใช่ หมู นะครับ (เพราะหมูมันแพง)

ขอบคุณครับ อาจารย์ที่เล่าประสบการณ์ให้ฟัง ชอบมาก :)

สวัสดีค่ะอ.นุช

เท่าที่อ่านความเห็นสรุปได้ว่า นักศีกษาหรือว่าที่นักศึกษา แบบนี้มีไม่น้อย มัทเองก็ได้รับคำถามมาเรื่อยๆค่ะ เห็นใจในอารมณ์ที่ "ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร" ส่วนมากมัทจะไล่ถามกลับจนทำให้ผู้ถามเรียบเรียงความคิดตนเองได้ แต่มัทก็ไม่เคยเจอผู้ถามที่สื่อสารได้แย่มากอย่างกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา จนเมื่อสองสามสัปดาห์ที่แล้วมีคนลอกคำถามจากอาจารย์ของเค้ามาทั้งดุ้น 4-5 ข้อ มาถามว่ามัทจะตอบอย่างไร จะรออ่านคำตอบ มัทตอบไปอ้อมๆ กะว่าจะให้คิดได้ ประมาณว่าอยากให้เบ็ดตกปลามากว่าให้ปลา น้องเค้าตอบมาว่า แหมตอบไม่ตรงคำถามเลย จะรออ่านใหม่ -_-' อ่ะแนะ มีงี้ด้วยอ่ะค่ะ มัทเลยหายใจเข้าออกยาวๆ (มากๆ)ใจเย็นๆตอบไปให้ว่าอาจารย์เค้าตั้งคำถามแบบนี้เพราะต้องการรู้ว่าคนตอบรู้อะไรไม่รู้อะไร (แต่มัทไม่ยอมตอบตรงแน่นอน ถ้าถามมาแบบไม่คิดเองเลยแบบนี้) แล้วก็เขียนให้กระจ่างขึ้นว่าที่เค้าถามมันไม่เหมาะสมอย่างไร

มัทชอบที่คุณเม้งเขียนเป็น template ให้ว่าควรสื่อสารอย่างไร เป็นข้อๆไปเลยเพราะมันว่า คนที่ไม่รู้นี่ไม่รู้จริงๆ! อ.ที่มัทคุยด้วยเมื่อคราวกลับไปเมืองไทยก็เล่าให้ฟังว่านักเรียนทำผิดเพราะ "clueless" มากจนน่าตกใจ คือคิดว่าถูกเพราะ "ใครๆก็ทำกัน" น่าคิดนะคะ คือบรรทัดฐานมันถูกเลื่อนไป ปัญหามันใหญ่กว่าที่คิด 

มัทชอบที่อ.นุชใช้คำว่า "หืดขึ้นคอ" มัทเข้่าใจเลยค่ะ : ) แต่มันไม่ใช่ว่า "หืดขึ้นคอ" เพราะไม่มี resource ในการเรียน แต่เพราะมันมีมากมายเหลือเกินที่หาอ่านได้ดูได้พบได้เพื่อพยายามพัฒนาตัวเอง

มัทว่าเราต้องให้แน่ใจว่าเรามี access ถึงทรัพยากรพวกนั้นให้นักศึกษาในเมืองไทย นอกจากนั้นเราต้องแน่ใจว่านักศึกษา"หา"เป็น

วิชาที่ควรจะเรียนเป็นวิชาแรกคือ การหาข้อมูลและการใช้ทรัพยากรในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิชามี credit หรือเป็น workshop ของห้องสมุด มัทว่ามันสำคัญมากๆที่จะทำให้นักศึกษาพึ่งพาตนเองและพัฒนาตัวเองไปได้มากแค่ไหน มัทเชื่อว่านักศึกษาที่ใช้ประโยชน์จาก database ทั้งหลายได้สมกับประโยชน์ที่มันมีนั้นมีไม่มาก ส่วนมากก็ใช้ search engine ธรรมดา หรือ webboard หรือ มาถามกันดื้อๆ แทนที่จะเข้าห้องสมุดหาหนังสือ หรือใช้ database ที่มีคำตอบ

มาขอลปรร.เท่านี้ก่อนค่ะ ขอไป"หืดขึ้นคอ" ต่อค่ะ จะส่ง thesis วันที่  2 พ.ค. นี้แล้วค่ะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn การเป็น "ครูที่ดี" นั้นยากยิ่งและมีความหมายลึกซึ้งกว่าการเป็นแค่นักวิชาการที่จบปริญญาเอกมานะคะ รู้สึกนับคือในความคิดของอาจารย์มากค่ะ

แต่ละคนก็มีประสบการณ์แตกต่างกันไปในการผ่านกระบวนการศึกษาในระดับต่างๆนะคะ ที่ดิฉันคิดว่าสำคัญคือประสบการณ์ที่ได้รับได้ช่วยให้เกิด ความรู้ และปัญญาแค่ไหน อย่างที่อาจารย์เล่านั่นแหละค่ะ บางคนจบมาแบบอะไรก็ไม่รู้เรื่อง โน่นก็ไม่รู้ นี่ก็ไม่รู้ ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นเรื่องนอกเหนือออกไปจากสาขาวิชาที่เรียนมา ดิฉันว่ายังดีนะคะหากเขาพอจะยอมรับว่าไม่รู้ หากเขาโวว่ารู้ดีไปหมดเพื่อรักษาหน้าตัวเอง จะยิ่งเสียหายกว่า

แหม รู้สึกว่าคุยกับอาจารย์แล้วประเทืองปัญญา มีเรื่องให้คุยกันมากมายค่ะ

ขอโทษนะคะที่ลืมพูดเรื่องวิทยานิพนธ์หมู่ไปค่ะ เหมือนกับเคยมีคนพูดถึงให้ฟังมาก่อนเหมือนกัน แต่ไม่นึกว่าเป็นเรื่องจริง เพราะมหาวิทยาลัยน่าจะมีระบบ และข้อกำหนดในการจบว่าต้องทำอะไร ในกรณีที่เป็นปริญญาโทแบบต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่ใช่หรือคะอาจารย์ หากเป็นจริงนั้นเท่ากับยิ่งส่งเสริมให้นักศึกษาไม่ต้องคิดอะไรมาก จ้างเขาทำวิทยานิพนธ์ก็ได้ เพราะอาจารย์ไม่ได้สนใจคุณภาพของนักศึกษาเป็นรายบุคคลที่จะต้องเคี่ยวให้ได้ที่ก่อนให้จบออกมา เล่มวิทยานิพนธ์หมู่นี้คงจะต้องถูกนำไปซ่อน เพราะมันคงประจาน คณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างยิ่งเลยนะคะ

ไหนๆอาจารย์ก็บอกว่าชอบที่ดิฉันเล่าประสบการณ์การเรียนจากฝรั่งเศส เลยอยากเล่าให้ฟังอีกเรื่องที่น้อยคนจะทราบนะคะ คือมหาวิทยาลัยที่ฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นของรัฐ และรัฐอุดหนุนงบประมาณอย่างมาก ทำให้ค่าลงทะเบียนเรียนปริญญาเอก ยังถูกกว่าเรียนปริญญาตรีที่ในเมืองไทยเสียอีกค่ะ และดิฉันนั้นไม่ได้ทุนจากที่ทำงานในเมืองไทยในการเรียน และก็ไม่ได้ทุนจากมหาวิทยาลัย แต่ก็เสียค่าลงทะเบียนเพียงปีละไม่ถึงสองหมื่นบาท นอกจากนี้หอพัก อาหารที่แคนทีนของมหาวิทยาลัย ก็ราคาถูกมากแต่คุณภาพค่อนข้างดี(แต่อย่าลืมว่าคนยุโรปประหยัด)และ ยังมีบัตรที่ทำให้ขึ้นรถประจำทางราคาถูกลงมากด้วย

แต่ดิฉันไม่ได้ใช้บริการอื่นๆนี้ค่ะ เพราะส่วนใหญ่อยู่เมืองไทย ช่วงที่เรียนก็ไปฝรั่งเศสแค่ปีละครั้งสองครั้ง อยู่ครั้งละไม่นาน (จนตอนหลังเลยคิดว่าลาออกจากงานดีกว่า ก่อนที่เขาจะเชิญออกเพราะลาบ่อย)อาจารย์ที่ควบคุมวิทยานิพนธ์ของดิฉันก็มาเมืองไทยสองครั้ง เพราะเขาสนใจในเรื่องที่ดิฉันทำ ตัวท่านเองสนใจเรื่องทางเอเชีย เช่น จีนและญี่ปุ่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดิฉันคิดว่าความตั้งใจของตนเองทำให้ธรรมะจัดสรรให้ได้รับสิ่งดีๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าได้มาอย่างสบายเรื่อยเปื่อย "หืดขึ้นคอ"ค่ะ

นึกถึงตอนเรียนปริญญาโทที่อเมริกา(ด้วยทุนส่วนตัวอีกเช่นกัน ไม่ได้รวยแต่อยากเรียน กัดฟันเอาค่ะ)ลงทะเบียนเป็นเทอม หากไม่ใช่คนที่จากในรัฐนั้น(Non-residential)ค่าเรียนแพงกว่าคนอเมริกันเกือบสองร้อยเปอร์เซ็นต์ โชคดีที่เสียเงินลงทะเบียนเรียนเทอมเดียว ที่เหลือได้ทุนจากมหาวิทยาลัยในการยกเว้นค่าลงทะเบียนเรียนจนจบ หากเรียนปริญญาเอกที่อเมริกาดิฉันคงไม่มีปัญญาสู้ค่าใช้จ่ายไหวค่ะ

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของดิฉันที่อาจารย์วิจารณ์ให้คำชมเชยนั้น อยากขอกล่าวตรงนี้ว่าท่านชมที่เนื้อหาและมุมมอง(รวมทั้งภาษาที่ใช้) แต่ดิฉันไมได้เขียนแบบใช้ฟอร์แมท แบบที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ทำกัน เพราะฉะนั้นใครอย่าได้มาเอาอย่าง เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ในเมืองไทยจะรับไม่ได้ ที่ทำนอกกรอบอย่างนี้

ดังนั้นตอนนี้จึงดีใจที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ประจำ อยู่บ้านได้ทำเรื่องประเทืองปัญญาและอารมณ์กว่ากันเยอะค่ะ และยังมีสิทธิ์"เลือก"ช่วยเฉพาะคนที่สมควรเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมัท ขอบคุณมากค่ะทีแวะมาร่วมแลกเปลี่ยนทั้งๆที่กำลัง "หืดขึ้นคอ" การ"ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร" นั้นตัวพี่เองก็ไม่ใช่ไม่เคยประสบนะคะ แต่ด้วยความเคารพตัวเอง และต้องรับผิดชอบในการที่เราเลือกเดินทางวิชาการนี้ จึงไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาแบบขอไปที ไร้ความพยายาม พี่ก็เคยให้คำแนะนำนักศึกษาที่"ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร" แต่มีความตั้งใจ เพราะนึกถึงประสบการณ์ของตัวเอง โดยพูดคุย ให้เขาพูดในสิ่งที่เขาสนใจ หรือความชำนาญ และแรงบันดาลใจของเขาที่ต้องการเรียนปริญญาโท หรือ เอก อย่างน้อยแนวคิด ความสนใจก็ควรจะมีอยู่บ้าง ไม่ใช่สมองว่างเปล่า แล้วพี่จะให้เขาไปหาอ่านตัวอย่างวิทยานิพนธ์ แนะนำแหล่งค้นคว้าที่ศูนย์บริการสารสนเทศ ของ ซึ่งเข้าถึงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของแทบทุกมหาวิทยาลัยในเมืองไทยและเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้ (ศูนย์หนึ่งที่พี่รู้จัก จำชื่อเต็มไม่ได้แต่เป็นศูนย์ของห้องสมุด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่เคยทำงานอยู่ เขาช่วยเรื่องการสืบค้นได้อย่างยอดเยี่ยม คนภายนอกไปใช้บริการได้)หรือไปคุยกับเพื่อนฝูง รุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่เรียนอยู่ จะได้เกิดความเคลื่อนไหวทางเซลล์สมองบ้าง นั่งอยู่เฉยๆไม่มีทางได้คำตอบ ประเภทที่มีคำถามมาขอให้ตอบก็เคยได้รับบ้างค่ะ พี่ตอบเขาตรงๆเลยว่าการเรียนระดับปริญญาเอกนั้น สิ่งที่เขาถามแล้วรอคำตอบนั้น มันแสดงถึงความ"ไม่ขวนขวาย" หรือมีความขวนขวายน้อยไปหน่อย และขอให้เขาพยายามด้วยตนเองก่อน มีปัญหาติดขัด ไม่เข้าใจตรงไหนค่อยถามมาใหม่

มัทว่าเราต้องให้แน่ใจว่าเรามี access ถึงทรัพยากรพวกนั้นให้นักศึกษาในเมืองไทย

นอกจากนั้นเราต้องแน่ใจว่านักศึกษา"หา"เป็น วิชาที่ควรจะเรียนเป็นวิชาแรกคือ การหาข้อมูลและการใช้ทรัพยากรในการเรียนรู้

พี่เคยเห็นคอร์สเวอร์คตามหลักสูตร มีวิชาที่ต้องเรียนเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลด้วยค่ะ ขนาดมีให้เรียน มีคนสอนยังไม่ค่อยอยากทำอะไรเองเลยค่ะ 

พี่ว่าเริ่มต้นควรปฐมนิเทศว่ากระบวนการเรียนระดับสูงขึ้นๆนี้นักศึกษาควรมีแนวคิดในการปฏิบัติตนเพื่อไปให้ถึงฝั่งได้อย่างไรด้วยนะคะ พูดกันให้ชัด ทำกันให้จริงว่าที่นักศึกษาคิดว่า "ใครๆก็ทำกัน" นั้นเป็นความเข้าใจผิด แต่อย่างว่าค่ะคุณมัท ยุคนี้ การศึกษาที่เป็นธุรกิจ เราไม่ได้เผชิญปัญหาจากนักศึกษาฝ่ายเดียว แต่ยังจาก อาจารย์ที่ปรึกษาและ ความปล่อยให้จบง่ายๆของสถาบัน ที่คิดเพียงว่า "จ่ายครบ จบแน่"

ขออวยพรให้มีพลังและสุขภาพดีเยี่ยมเพื่อไป "หืดขึ้นคอ" กับวิทยานิพนธ์ นี่เป็นสภาพที่นักศึกษาปริญญาเอกทุกคนต้องเจอนะคะ และขอให้ประสบความสำเร็จอย่างดีเลิศทุกประการค่ะ

มาเยี่ยม... สะท้อน...กระทบชิ่ง...ถึงอะไร ๆ มากมาย

ที่เชื่อมโยง การศึกษาไทยในยุคนี้เลยนะครับ ถ้าสองคนนี้เรียน ป. โท แล้วจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์...

คงไม่มีคำถามอย่างนี้นะครับ เพราะทิศทาง ทำเค้าโครง...ทำดุษฎีนิพนธ์...มันไปทิศทางอย่างนั้น

 เหมือนการไปจ่ายค่าลงทะเบียน...ในไทยเป็นอย่างไร เวลาคุณไปเรียนเมืองนอกก็พอเดาได้...ว่าเขาจ่ายค่าลงทะเบียนเรียนกันอย่างไร..

จนกว่าภาษาคุณเข้าที่เข้าทางแล้วก็บินสูงได้...ไม่ต้องเดาแล้วละ..ฮา ๆ เอิก ๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์P umi ขอบคุณอาจารย์นะคะที่มาเยี่ยม คิดว่าอาจารย์ต้องรู้ซึ้งทุกอย่างที่เราอภิปรายกันในประเด็นของบันทึกนี้

เห็นใจอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ยังมีความเป็น"ครู"อยู่เต็มเปี่ยมค่ะ ที่จะต้องเหนื่อยไปอีกยาวนาน ทั้งฟันฝ่ากับระบบ นโยบายของมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่มีความเป็นนักธุรกิจ-วิชาการสูงกว่ามีความเป็น"ครู"  และนักศึกษาที่มีจำนวนมากขึ้นๆแต่คุณภาพด้อยลงๆ

หวัดดีค่ะพี่นุช

เข้ามาอ่าน

เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของพี่นุชค่ะ

เท่าที่พบเจอและได้ยิน ปัจจุบันนี้คนที่สื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์เริ่มใช้ภาษาจาก msn และอะไรอีกจิปาถะในการสื่อสารผ่านออนไลน์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้แต่กับครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา หรือแม้แต่คนหมู่มาก(ที่ตัวเองไม่รู้จัก) เช่น

"โทดทีอาจารย์ ไม่ได้โทหาเลย ไม่ว่างอ่ะ ..วัน--ว่าจะเข้ามาหา ว่างป่าว..แล้วจะโทหานะ" (อันนี้ลูกศิษย์ส่ง post it note ให้อาจารย์ที่ปรึกษา..ลูกศิษย์รายนี้เป็นเด็กระดับมหา'ลัย และเข้าข่ายระดับหัวกะทิด้วยนะคะ)

"สวัสดีทุกท่าน พบกันอีกเร้ว ..." หรือ "ขอเชิญประชุม... เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลอ่ะครับ" ประเภทนี้มาทางอีเมล์ ด้วยเรื่องงานค่ะ ผู้ส่งอีเมล์บางรายมีอายุเกิน 30 ปีด้วยซ้ำไป

ฯลฯ

นอกจากประเด็นเรื่องวุฒิภาวะแล้ว เรื่องความสำคัญของการใช้ภาษาให้ถูกต้องก็มักจะถูกมองข้ามไปแล้วค่ะ

สิ่งที่เราน่าจะทำได้คือ เริ่มกับคนใกล้ตัว ถ้าเป็นคนที่อ่อนวัยกว่า ต้องจับตีมือ แล้วเคลียร์กันก่อนที่จะเริ่มการสื่อสารกันต่อไป

ส่วนหนึ่งยอมรับว่าเรื่องของภาษาเป็นไปตามยุคสมัย ไม่อยู่นิ่ง แต่เศร้าใจค่ะที่ในบางครั้งเจอคนที่สื่อสารแบบนี้เป็นคนที่สูงทั้งวัยและคุณวุฒิ

หรือว่างัยคะพี่

น่ารักจังค่ะโอ๋สำหรับคำแนะนำนี้

สิ่งที่เราน่าจะทำได้คือ เริ่มกับคนใกล้ตัว ถ้าเป็นคนที่อ่อนวัยกว่า ต้องจับตีมือ แล้วเคลียร์กันก่อนที่จะเริ่มการสื่อสารกันต่อไป

ขอบคุณที่มาร่วมพลังกันออกเสียงว่าสิ่งที่นักศึกษษส่วนใหญ่ที่ทำตามแฟชั่น"ใครๆเขาก็ทำกัน" ไม่ใช่เรื่องถูกต้องและ ให้ครูทำใจ แต่ทว่าเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันแก้ไข

ชัดเลย ไม่มีคำอธิบายที่สมบูรณ์แบบอย่างงี้อีกแระ

ขอคารวะท่านด๊อกเตอร์ สมแล้วดีแล้ว เยี่ยมแล้ว

กระผมรู้แล้วหนอ ชัดแล้วหนอ ขอบคุณครับ

ไม่มีคำอธิบายอีกแล้ว ครบถ้วนแล้ว เป็นกรณีศึกษาให้ผู้ที่คิดจะถาม ให้คิดให้ดีก่อน ให้หาข้อมูลก่อนให้ชัด แล้วค่อยบรรจงเขียนคำถามให้เข้าใจ สำคัญคนตอบเขาจะได้ชี้ประเด็นได้ให้ชัดเจน จำไว้นะท่านที่อยากเป็นด๊อกเตอร์ทั้งหลาย หวังว่ากรณีนี้ คงเป็นกรณีที่ทุกคนต้องเข้าใจไว้ด้วย การเรียน ปริญญาเอกต้องเข้าใจถึงแก่นที่จะเรียน ที่จะศึกษา ว่าเรามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน และก็เตรียมคำถามคำตอบให้ดี พอสอบติดแล้ว เรายังจะเหลือ สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ต้องเตรียมตัวให้พร้อมนะครับผม

มาอ่านค่ะ

เห็นคนใกล้ตัวกำลังหืดขึ้นคอ แต่ก็สู้ ๆ ๆ ๆ น่าดูชม

ส่วนตัว..คิดอยากเรียนแต่เรื่องสนุก ๆ ค่ะ

ดนตรี กีฬา ศิลปะ บทกวี

มาผิดทางคนอื่น ๆ หรือเปล่าคะ

สวัสดีค่ะ คุณนายดอกเตอร์

  • ขออนุญาตร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ
  • อึ้ง! มากค่ะ และตาลีตาลานที่จะต้องเก็บไปเป็นการบ้าน ที่จะต้องเพิ่มเติมให้กับลูกศิษย์ในวันพรุ่งนี้เลยค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ 

สวัสดีค่ะคุณP จริยา ไวศยารัทธ์ (ไม่มีชื่อกลาง) ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมที่นี่ค่ะ มาไม่ผิดที่ผิดทางหรอกค่ะ อย่างน้อยมาเก็บเกี่ยวปะสบการณ์ไปให้กำลังใจคนใกล้ตัวให้สู้ๆๆๆต่อไปบนเส้นทางนี้ และการที่เราเข้าใจว่าจะเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้นมันต้องฟันฝ่าเพียงใดจะได้อภัยให้เขา เวลาเขาไม่มีเวลา หรือ เครียด นะคะ

ความสนใจ แลความชอบของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน คุณจริยามีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองค้นพบว่าทำให้ชีวิตรื่นรมย์ มีความหมายที่เกิดมา นี่ก็เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ คือการค้นพบตนเองค่ะ

ขอบคุณคุณP  ครูปู ที่จะนำเรื่องนี้ไปเพิ่มเติมให้ลูกศิษย์ เป็นการช่วยกันค่ะที่จะผลิตคนคุณภาพออกมาสู่สังคม

จะตามไปเยี่ยมที่บล็อกคุณครูปูบ้าง ดีใจที่พบกันและคงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกยาวนานนะคะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ คุณนายด๊อกเตอร์

     ดิฉันยังเป็นน้องใหม่ใสกิ๊ก ขออนุญาต ร่วมวงตรงนี้ด้วยนะคะ  พอดีแวะมาหาความรู้ ผ่าน Google เพื่อหาต้นกำเนิด แนวคิด ของ KM เพื่อนำไปประมวล เป็น รายงาน (อย่างลึกซึ้ง)  ส่งอาจารย์ เลยผ่านมาหน้านี้พอดี  ได้สกิดใจให้นึกหวนถึงตัวเองขณะกำลังจะสอบเรียนต่อ ป.เอก โอ้โห ทำไมมันทั้งเครียด ทั้งกังวลอย่างนี้  ไหนจะเรื่องงาน  ไหนจะเรื่องทุน  ไหนจะเรื่องส่วนตัว  ไหนจะต้องเตรียมตัวสอบ เดินทาง จัดตารางเวลา อีกทั้ง ทั้งยังต้องหาที่พึ่งทางใจโดยใช้ ไสยศาสตร์เข้าช่วย ก็มี คิดว่าหลาย ๆ คนคงอาจจะเป็นแบบนี้เช่นกันค่ะ   

    หนึ่งเดือนผ่านไป ที่ได้สัมผัส กับ ห้องเรียน ป.เอก  ก็ยังฉงน สงสัย อยู่ว่า ตกลงแล้ว เรารู้อะไร   แล้วก็ไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร  แต่คิดว่าคงต้องวิ่งไปหาจุดเริ่มต้น ก่อน แล้วถึงจะเดินหน้าต่อไปหาคำคำตอบ ณ จุดสิ้นสุดได้

     จากตัวอย่าง นักศึกษาที่ท่านอาจารย์ ยกมา ณ วันนี้ เราเห็นเป็นแบบนี้ อนาคต น่าจะรุนแรงกว่านี้  เราคงต้องหาวิธีตั้งรับ (เปิดตำราพิชัยสงคราม หรือใช้ทฤษฎีของ จอห์น แนช)  และปรับแก้กันต่อไป คงต้องลงไปปรับตั้งแต่สถาบันครอบครัวกันเลยกระมังคะ  เฮ้อ... หนักใจจัง แล้วหัวหน้าครอบครัวอย่างสองท่านนี้จะสอนลูกว่าอย่างไร ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท