แผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้  ( ครั้งที่ 1 )     

 

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต     ( ว 1.1 )

เรื่อง  พืชบ้านฉัน                                                                          เวลา  3  ชั่วโมง

 

 


สาระสำคัญ

                พืช  มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่  ราก  ลำต้น  ใบ  ดอก  ผล  และเมล็ด ส่วนประกอบของพืชทำหน้าที่แตกต่างกัน  ทำให้พืชสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

จุดประสงค์ปลายทาง

1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของพืชและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช

2.       มีทักษะในการสังเกต  และอภิปรายเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช

จุดประสงค์นำทาง ( ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง )

            1. ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ  (ว 1.1- 1 )

2. สังเกต และสำรวจ เขียนแผนภาพแสดงส่วนประกอบของดอก และอธิบายหน้าที่ของ

ดอก  (ว 1.1- 1 )

เนื้อหา

                ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช

1.       ส่วนประกอบของพืชและหน้าที่ของดอก

2.       หน้าที่ของรากและผล

3.       หน้าที่ของใบ

4.       หน้าที่ของลำต้นและเมล็ด

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับส่วนประกอบของพืชมาให้นักเรียนดู  แล้วสนทนาซักถามส่วนประกอบของพืชว่ามีอะไรบ้าง  ให้นักเรียนชี้ส่วนประกอบของพืชในภาพที่ให้ดู

3.       ครูนำต้นมะเขือที่มีส่วนประกอบครบมา   ให้นักเรียนดูของจริง  แล้วสนทนาซักถาม ดังต่อไปนี้

-          ส่วนประกอบของพืชมีอะไรบ้าง

-          นักเรียนบอกหน้าที่ของส่วนประกอบของพืชว่ามีหน้าที่อย่างไร

-          นักเรียนวาดภาพส่วนประกอบของพืชลงสมุด 

4.  ครูแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาโดยใช้ชุดการสอนและนำเสนอชุดการสอน  เรื่อง 

     พืชบ้านฉัน  เพื่อประกอบการเรียนการสอนเรื่องนี้

5. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ  โดยคละเด็กเก่ง  เด็กปานกลาง  และเด็กอ่อนอยู่ด้วยกัน

เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานกลุ่ม

6.  ชี้แจงวิธีเรียนในศูนย์การเรียนศูนย์ต่างๆ  และวิธีเปลี่ยนศูนย์ให้นักเรียนเข้าใจ

7. ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  และเลขานุการกลุ่ม  เพื่อทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรม

และบันทึกสาระสำคัญเนื้อหาในแต่ละศูนย์

8. แจกชุดการสอนให้นักเรียน  เรียนตามศูนย์ต่างๆที่กำหนดให้เรียนตามเป้าหมาย

9. กิจกรรมในแต่ละศูนย์การเรียน  จะปฏิบัติเหมือนกันทุกศูนย์  ดังนี้

9.1 อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง 

9.2 ดูภาพแล้วสังเกตภาพว่ามีลักษณะอย่างไร

9.3 อ่านเนื้อหาให้ละเอียดถี่ถ้วน  อย่างน้อย  2  เที่ยว

9.4 ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช

แล้วให้เลขานุการกลุ่ม  บันทึก  สรุป

9.5 อ่านบัตรคำถาม  และตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติ

9.6 ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

9.7 เมื่อเสร็จแต่ละศูนย์แล้ว  ให้เก็บอุปกรณ์ทุกชิ้นและซองให้เรียบร้อยอย่าให้สลับซองกัน

9.8 เตรียมเปลี่ยนไปเรียนในศูนย์อื่นต่อไป

10. เมื่อทุกกลุ่มเรียนครบทุกศูนย์แล้ว  ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มเสนอรายงาน  และช่วยกันสรุปบทเรียนทั้งหมด

11. ครูช่วยเสริมในส่วนที่บกพร่องของนักเรียน

12. นักเรียนทดสอบหลังเรียน

13. ตรวจข้อสอบและประเมินผลการเรียนรู้  หากมีนักเรียนได้คะแนนต่ำ  ไม่ผ่านเกณฑ์        ก็นัดซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล  ในโอกาสต่อไป

สื่อการเรียนการสอน

1.       ภาพส่วนประกอบของพืชดอก

2.       ชุดการสอน

 

การวัดผลและประเมินผล

1.       สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

-          สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

-          สังเกตความถูกต้อง  เรียบร้อย  ในการเก็บสื่อ  อุปกรณ์

-          สังเกตการร่วมกิจกรรม

-          สังเกตการอภิปรายแสดงความคิดเห็น

2.       ตรวจผลงาน

-          ตรวจข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียน

-          ตรวจผลงานการตอบคำถามประจำศูนย์ต่างๆ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

            นักเรียนสามารถร่วมกันจัดทำสื่อเกี่ยวกับ  ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืชในท้องถิ่นของตนเองได้ 

 

บันทึกหลังสอน

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................ผู้สอน

ข้อเสนอแนะ /แนวทางการพัฒนา

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

 

บันทึกการตรวจ/ข้อเสนอแนะผู้บริหาร

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ........................................ผู้ตรวจ

( ................................................)

         ......../................../.........

แผนการจัดการเรียนรู้  ( ครั้งที่ 2 )     

 

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต     ( ว 1.1 )

เรื่อง  พืชบ้านฉัน                                                                                      เวลา  3  ชั่วโมง

 

 


สาระสำคัญ

                การเจริญเติบโตของพืช  ต้องมีปัจจัยที่เหมาะสมหลายประการ  เช่น น้ำ แสงแดด ความชื้นและแร่ธาตุต่างๆ    และในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญคือ แสง และสารสีเขียวในพืช ที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลล์

จุดประสงค์ปลายทาง

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการเจริญเติบโตของพืช

2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง คลอโรฟิลล์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

จุดประสงค์นำทาง ( ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง )

1. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการเจริญเติบโตของพืช (ว 1.1- 1 )

2. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง คลอโรฟิลล์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว 1.1- 1 )

เนื้อหา

-  ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช  ประกอบด้วย  แสง  น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการ

เจริญเติบโตของพืช

-  ปัจจัยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วย แสง และ คลอโรฟิลล์

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช มาให้นักเรียนดู   แล้วสนทนาซักถามว่าพืชต้องการสิ่งใดบ้างในการเจริญเติบโต

3.       ครูนำแผนภาพการสร้างอาหารของพืช  (กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง) มาให้นักเรียนดู  แล้วสนทนาซักถาม

-          ส่วนประกอบใดของพืชสร้างอาหารได้เอง

-          สิ่งใดบ้างจะเป็นปัจจัยสำคัญในการะบวนการสร้างอาหารของพืช

-          ครูแนะนำ  ชุดการสอน  เรื่อง  พืชบ้านฉัน เพื่อใช้ในการศึกษา เรื่อง ปัจจัยในการเจริญเติบโตและการสร้างอาหารของพืช 

หมายเลขบันทึก: 170350เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แผนการจัดการเรียนรู้  ( ครั้งที่ 2 )     

 

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต     ( ว 1.1 )

เรื่อง  พืชบ้านฉัน                                                                                      เวลา  3  ชั่วโมง

 

 


สาระสำคัญ

                การเจริญเติบโตของพืช  ต้องมีปัจจัยที่เหมาะสมหลายประการ  เช่น น้ำ แสงแดด ความชื้นและแร่ธาตุต่างๆ    และในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญคือ แสง และสารสีเขียวในพืช ที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลล์

จุดประสงค์ปลายทาง

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการเจริญเติบโตของพืช

2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง คลอโรฟิลล์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

จุดประสงค์นำทาง ( ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง )

1. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการเจริญเติบโตของพืช (ว 1.1- 1 )

2. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่  แสง คลอโรฟิลล์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว 1.1- 1 )

เนื้อหา

-  ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช  ประกอบด้วย  แสง  น้ำ ความชื้นในดิน  ต่อการ

เจริญเติบโตของพืช

-  ปัจจัยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วย แสง และ คลอโรฟิลล์

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช มาให้นักเรียนดู   แล้วสนทนาซักถามว่าพืชต้องการสิ่งใดบ้างในการเจริญเติบโต

3.       ครูนำแผนภาพการสร้างอาหารของพืช  (กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง) มาให้นักเรียนดู  แล้วสนทนาซักถาม

-          ส่วนประกอบใดของพืชสร้างอาหารได้เอง

-          สิ่งใดบ้างจะเป็นปัจจัยสำคัญในการะบวนการสร้างอาหารของพืช

-          ครูแนะนำ  ชุดการสอน  เรื่อง  พืชบ้านฉัน เพื่อใช้ในการศึกษา เรื่อง ปัจจัยในการเจริญเติบโตและการสร้างอาหารของพืช 

4.       แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ  โดยคละเด็กเก่ง  เด็กปานกลาง  และเด็กอ่อนอยู่ด้วยกัน

เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานกลุ่ม

5.       ชี้แจงวิธีเรียนในศูนย์การเรียนศูนย์ต่างๆ  และวิธีเปลี่ยนศูนย์ให้นักเรียนเข้าใจ

6.       ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  และเลขานุการกลุ่ม  เพื่อทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรม

และบันทึกสาระสำคัญเนื้อหาในแต่ละศูนย์

7.       แจกชุดการสอนให้นักเรียน  เรียนตามศูนย์ต่างๆที่กำหนดให้เรียนตามเป้าหมาย

8.       กิจกรรมในแต่ละศูนย์การเรียน  จะปฏิบัติเหมือนกันทุกศูนย์  ดังนี้

8.1      อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง 

8.2      ดูภาพแล้วสังเกตภาพว่ามีลักษณะอย่างไร

8.3      อ่านเนื้อหาให้ละเอียดถี่ถ้วน  อย่างน้อย  2  เที่ยว

8.4      ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยในการเจริญเติบโตและการสร้างอาหารของพืช  แล้วให้เลขานุการกลุ่ม  บันทึก  สรุป

8.5      อ่านบัตรคำถาม  และตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติ

8.6      ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

8.7      เมื่อเสร็จแต่ละศูนย์แล้ว  ให้เก็บอุปกรณ์ทุกชิ้นและซองให้เรียบร้อยอย่าให้สลับซองกัน

8.8      เตรียมเปลี่ยนไปเรียนในศูนย์อื่นต่อไป

9.       เมื่อทุกกลุ่มเรียนครบทุกศูนย์แล้ว  ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มเสนอรายงาน  และช่วยกันสรุปบทเรียนทั้งหมด

10.    ครูช่วยเสริมในส่วนที่บกพร่องของนักเรียน

11.    นักเรียนทดสอบหลังเรียน

12.    ตรวจข้อสอบและประเมินผลการเรียนรู้  หากมีนักเรียนได้คะแนนต่ำ  ไม่ผ่านเกณฑ์        ก็นัดซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล  ในโอกาสต่อไป

สื่อการเรียนการสอน

1.       ภาพการเจริญเติบโตของพืช หรือภาพเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

2.       ชุดการสอน

 

การวัดผลและประเมินผล

1.       สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

-          สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

-          สังเกตความถูกต้อง  เรียบร้อย  ในการเก็บสื่อ  อุปกรณ์

-          สังเกตการร่วมกิจกรรม

-          สังเกตการอภิปรายแสดงความคิดเห็น

2.       ตรวจผลงาน

-          ตรวจข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียน

-          ตรวจผลงานการตอบคำถามประจำศูนย์ต่างๆ

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

            นักเรียนสามารถร่วมกันจัดทำแผนภาพ  หรือผังความคิดแสดงปัจจัยในการเจริญเติบโตและกระบวนการสร้างอาหารของพืช 

บันทึกหลังสอน

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................ผู้สอน

ข้อเสนอแนะ /แนวทางการพัฒนา

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

บันทึกการตรวจ/ข้อเสนอแนะผู้บริหาร

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ........................................ผู้ตรวจ

( ................................................)

         ......../................../.........

แผนการจัดการเรียนรู้  ( ครั้งที่ 3 )     

 

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต     ( ว 1.1 )

เรื่อง  พืชบ้านฉัน                                                                                      เวลา  3  ชั่วโมง

 

 


สาระสำคัญ

                พืชดอก  เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอกและมีผล มีเมล็ด เมื่อนำเมล็ดไปเพาะจะงอกเป็นต้นกล้าต้นใหม่ และเมื่อโตเต็มที่จะออกดอกออกผล และผลที่เมล็ดเมื่อนำไปเพาะจะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป เช่นนี้ เรียก วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

จุดประสงค์ปลายทาง

1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

2.       มีทักษะในการสังเกต  และอภิปรายเกี่ยวกับ วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

จุดประสงค์นำทาง ( ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง )

1.  สังเกต สำรวจและอธิบายการเจริญเติบโตตั้งแต่ต้นอ่อน จนมีดอกมีผล(ว 1.1- 1 )

2. สังเกตและเขียนแผนภาพแสดงวัฏจักรของพืชดอกที่เลือกศึกษาตามความสนใจ             (ว 1.1- 1 )

เนื้อหา

- วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับ วัฏจักรชีวิตของพืชดอกมาให้นักเรียนดู ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืช  ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอกและมีผล มีเมล็ด เมื่อนำเมล็ดไปเพาะจะงอกเป็นต้นกล้าต้นใหม่ และเมื่อโตเต็มที่จะออกดอกออกผล และผลที่เมล็ดเมื่อนำไปเพาะจะงอกเป็นต้นใหม่

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับ วัฏจักรชีวิตของพืชดอกมาให้นักเรียนดู ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืช  ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอกและมีผล มีเมล็ด เมื่อนำเมล็ดไปเพาะจะงอกเป็นต้นกล้าต้นใหม่ และเมื่อโตเต็มที่จะออกดอกออกผล และผลที่เมล็ดเมื่อนำไปเพาะจะงอกเป็นต้นใหม่

3.       ครูนำสนทนาซักถามและอภิปราย  เกี่ยวกับว่า

-          ในท้องถิ่นนักเรียนรู้จักพืชอะไรบ้างที่สามารถอธิบายวัฏจักรชีวิตได้

-          นักเรียนอธิบายความหมายของ วัฏจักรชีวิตของพืชดอก ว่าอย่างไร

-          ครูแนะนำ  ชุดการสอน  เรื่อง  พืชบ้านฉัน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของพืชดอกมากขึ้น

4.       แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ  โดยคละเด็กเก่ง  เด็กปานกลาง  และเด็กอ่อนอยู่ด้วยกัน

เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานกลุ่ม

5.       ชี้แจงวิธีเรียนในศูนย์การเรียนศูนย์ต่างๆ  และวิธีเปลี่ยนศูนย์ให้นักเรียนเข้าใจ

6.       ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  และเลขานุการกลุ่ม  เพื่อทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรม

และบันทึกสาระสำคัญเนื้อหาในแต่ละศูนย์

7.       แจกชุดการสอนให้นักเรียน  เรียนตามศูนย์ต่างๆที่กำหนดให้เรียนตามเป้าหมาย

8.       กิจกรรมในแต่ละศูนย์การเรียน  จะปฏิบัติเหมือนกันทุกศูนย์  ดังนี้

8.1      อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง 

8.2      ดูภาพแล้วสังเกตภาพว่ามีลักษณะอย่างไร

8.3      อ่านเนื้อหาให้ละเอียดถี่ถ้วน  อย่างน้อย  2  เที่ยว

8.4      ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของพืชดอก  แล้วให้เลขานุการกลุ่ม  บันทึก  สรุป

8.5      อ่านบัตรคำถาม  และตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติ

8.6      ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

8.7      เมื่อเสร็จแต่ละศูนย์แล้ว  ให้เก็บอุปกรณ์ทุกชิ้นและซองให้เรียบร้อยอย่าให้สลับซองกัน

8.8      เตรียมเปลี่ยนไปเรียนในศูนย์อื่นต่อไป

9.       เมื่อทุกกลุ่มเรียนครบทุกศูนย์แล้ว  ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มเสนอรายงาน  และช่วยกันสรุปบทเรียนทั้งหมด

10.    ครูช่วยเสริมในส่วนที่บกพร่องของนักเรียน

11.    นักเรียนทดสอบหลังเรียน

12.    ตรวจข้อสอบและประเมินผลการเรียนรู้  หากมีนักเรียนได้คะแนนต่ำ  ไม่ผ่านเกณฑ์        ก็นัดซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล  ในโอกาสต่อไป

สื่อการเรียนการสอน

1.       ภาพวัฏจักรชีวิตของพืชดอก

2.       ชุดการสอน

 

 

การวัดผลและประเมินผล

1.       สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

-          สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

-          สังเกตความถูกต้อง  เรียบร้อย  ในการเก็บสื่อ  อุปกรณ์

-          สังเกตการร่วมกิจกรรม

-          สังเกตการอภิปรายแสดงความคิดเห็น

2.       ตรวจผลงาน

-          ตรวจข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียน

-          ตรวจผลงานการตอบคำถามประจำศูนย์ต่างๆ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

            นักเรียนสามารถร่วมกันจัดทำสื่อ เรื่อง  วัฏจักรชีวิตของพืชดอก โดยอาศัยพืชในท้องถิ่นของตนเองได้ 

 

บันทึกหลังสอน

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................ผู้สอน

ข้อเสนอแนะ /แนวทางการพัฒนา

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

 

บันทึกการตรวจ/ข้อเสนอแนะผู้บริหาร

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

            ..................................................................................................................................

ลงชื่อ........................................ผู้ตรวจ

( ................................................)

         ......../................../.........

แผนการจัดการเรียนรู้  ( ครั้งที่ 4 )     

 

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต     ( ว 1.1 )

เรื่อง  พืชบ้านฉัน                                                                                      เวลา  3  ชั่วโมง

 

 


สาระสำคัญ

                พืช  มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม เช่น  แสง ความชื้น  อุณหภูมิและการสัมผัส

การทำลายพืชเป็นสาเหตุที่ทำให้การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า เปลี่ยนแปลงไป

จุดประสงค์ปลายทาง

                1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่ แสง เสียงและสัมผัส

            2. มีทักษะการสังเกต และอภิปรายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่ แสง เสียงและสัมผัส

จุดประสงค์นำทาง ( ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง )

1. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่ แสง เสียงและสัมผัส (ว 1.1- 1 )

เนื้อหา

1. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

2. ผลเสียของการทำลายพืช

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ทดสอบก่อนเรียน  โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้  ในชุดการสอนเพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน

2.       ครูนำสนทนาเกี่ยวกับความรู้ของนักเรียนโดยทั่วไป เรื่อง สิ่งเร้า โดยให้โอกาสนักเรียนกำหนดความหมายของสิ่งเร้าตามที่ตนเองสนใจ ครูคอยสรุปเพิ่มเติม

3.       ครูแนะนำเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่มีผลต่อพืช ด้วยคำถามชวนให้คิด เช่น

-          อุณหภูมิของสถานที่มีผลต่อพืชหรือไม่

-          ถ้าไม่มีแสง พืชจะเป็นอย่างไร

-          ครูแนะนำ  ชุดการสอน  เรื่อง  พืชบ้านฉัน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชมากขึ้น

4.       แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ  โดยคละเด็กเก่ง  เด็กปานกลาง  และเด็กอ่อนอยู่ด้วยกัน

เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานกลุ่ม

5.       ชี้แจงวิธีเรียนในศูนย์การเรียนศูนย์ต่างๆ  และวิธีเปลี่ยนศูนย์ให้นักเรียนเข้าใจ

6.       ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  และเลขานุการกลุ่ม  เพื่อทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรม

และบันทึกสาระสำคัญเนื้อหาในแต่ละศูนย์

7.       แจกชุดการสอนให้นักเรียน  เรียนตามศูนย์ต่างๆที่กำหนดให้เรียนตามเป้าหมาย

8.       กิจกรรมในแต่ละศูนย์การเรียน  จะปฏิบัติเหมือนกันทุกศูนย์  ดังนี้

8.1      อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง 

8.2      ดูภาพแล้วสังเกตภาพว่ามีลักษณะอย่างไร

8.3      อ่านเนื้อหาให้ละเอียดถี่ถ้วน  อย่างน้อย  2  เที่ยว

8.4      ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช แล้วให้เลขานุการกลุ่ม  บันทึก  สรุป

อยากได้แผนการจัดการเรียนรู้วิทย์ ป.4 เป็นรายชั่วโมง แผนละ 1 ชั่วโมง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท