กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการ ทักษะการพัฒนา


การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม (ม.4 วรรคแรก พรบ.กศ.2542)

              เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ( 23 กพ.49) กระผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้   ณ โรงเรียนเทศบาลหนองบัว เทศบาลนครอุบลราชธานี ในโครงการ ครูเอื้ออาทร ร่วมใจร่วมงาน สานฝันสู่ครูมืออาชีพ  มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คนล้วนแต่เป็นผู้ที่สนใจ  จึงนับเป็นโอกาสดีที่ได้นำ   KM ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม   กระผมได้พูดหยอกล้อเขาว่า หากจะปรับชื่อโครงการเป็น  ครูเอื้ออาทร ร่วมใจร่วมงาน สานฝันสู่เด็กนักเรียน อย่างครูมืออาชีพ  ก็จักดียิ่ง เขาหัวเราะชอบใจกันใหญ่  ในการนี้ได้เตรียมเอกสารบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องไปฝากที่ประชุมด้วย  แหละนี่คือบทความดังกล่าว ครับ

           

 

การเรียนรู้ กระบวนการ ทักษะและการพัฒนาผู้เรียน

ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542

กระบวนการพิสุทธิ์ บุญเจริญ นักวิชาการศึกษา 8 ว, เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8ว

หัวหน้ากลุ่มติดตามและประเมินผล

สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 9

กระทรวงศึกษาธิการ

 

****************************

เกริ่นนำ

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฏหมายแม่บทในการบริหารและจัดการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 (มีทั้งสิ้น 9 หมวดและหนึ่งบทเฉพาะกาล 78 มาตรา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 มาแล้ว) ได้ให้ความหมายของ “การศึกษา” ไว้ชัดเจนว่า การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม (ม.4 วรรค 1) จึงเป็นภาระหน้าที่ของเรา-ท่านหรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย(ไม่มียกเว้น)พึงทำความกระจ่างในบทกฎหมายดังกล่าวแล้วแปลงออกสู่ภาคปฏิบัติให้จงได้ จึงจักเกิดคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาคนตามเจตนารมณ์ของกฏหมายดังกล่าวต่อไป

ในบทความนี้ก็จึงเป็นความตั้งใจในการใช้ความพยายามที่จะแปลกฏหมายออกไปสู่การปฏิบัติในภาคสนามเพื่อสนองเจตนารมณ์ดังกล่าวนั้นครับ.

 

ความหมายคำสำคัญ [KEY WORDS]

 

ในเบื้องต้นนี้ผู้เขียนใคร่ขอทำความเข้าใจในคำสำคัญกันก่อน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันหรือใกล้เคียงกันที่สุดระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน

§ การศึกษา ก่อนหน้านี้มีท่านผู้รู้ได้ให้ความหมายไว้หลายอย่าง อาทิเช่น

การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม

การศึกษา คือ การทำให้คนเจริญยิ่งขึ้น

การศึกษา คือ การพัฒนาความสามารถของมนุษย์

การศึกษา คือ การอบรมสมาชิกของสังคมให้เป็นบุคคลที่พึงปรารถนาตามเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารการสอนชุดวิชา พฤติกรรมการสอนมัธยมศึกษา หน่วยที่ 1-5 โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กทม.2524 หน้า 171)

การศึกษา : การเล่าเรียน, การฝึก, การอบรม (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช สำราญราษฎร์ กทม. 2531 หน้า 51)

แต่ในที่นี่และต่อแต่นี้ไปเรา-ท่านตลอดผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายพึงรู้ จดจำ ทำความเข้าใจ ตระหนักถึงความจำเป็น และเล็งเห็นคุณค่าของ การศึกษา ในความหมายตามที่กฏหมายนี้บัญญัติไว้คือ

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (ม.4 วรรค 1)

หมายความว่า (ม.4 วรรค 1)

 

อธิบาย/ขยายความ

นั่นคือ นับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันที่กฏหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เรา-ท่านและผู้เกี่ยวข้องต้องเคร่งครัด ต้อง รู้ จดจำ ทำความเข้าใจ ให้ความสำคัญต่อ การศึกษา ตามความหมายที่ พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้บัญญัติไว้เพื่อจักได้พูดเป็นเสียงเดียวกัน เข้าใจตรงกัน ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้แก่คนในชาติของเราต่อไป และผู้เขียนมองเจตนารมณ์ของ พรบ.ฉบับนี้ว่า จงใจจะใช้ การศึกษา ตามความหมายนี้ (กระบวนการเรียนรู้) นี้เป็นเครื่องมือและกลไกในการสร้างความเจริญงอกงาม (GROWTH ) ให้เกิดแก่คนไทยในประเทศทั้งกว่า 60 ล้านคน สร้างความเจริญงอกงามให้เกิดแก่สังคม (ครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคตลอดจนสังคมประเทศชาติของเรา) ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY OF LIFE] ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ รัฐ กำหนด (ซึ่งรัฐ (ทางราชการ) ต้องทำการกำหนด เกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิตไว้เป็นบรรทัดฐานเพื่อเป็นตัวเทียบเคียงในการวัดและประเมินผลการดำเนินการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆว่าการดำเนินการด้านนั้นๆส่งผลให้ผู้คนและสังคมมีคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด)

การเรียนรู้ กระบวนการและการพัฒนาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ครบวงจร

เมื่อได้รู้ จดจำ ทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าของคำสำคัญๆ [KEY WORD] ดังกล่าวมาแล้ว

สาระน่ารู้ต่อไปนี้ก็จะช่วยขยายความรู้ ความเข้าใจและง่ายต่อการนำไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยพึงมองให้ครบวงจรสำคัญๆ

 

 

            ในการจะพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ CHILD CENTER ตามความเชื่อดังกล่าวมาแล้วนั้น ผู้เขียนมองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองให้ครบวงจรกล่าวคือ เราต้องเน้นการใช้ CHILD CENTER ในทุกกระบวนการกล่าวคือ ทั้งในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้/การคิด และ กระบวนการพัฒนาผู้เรียน ดังรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

 

1.กระบวนการหลักสูตร

                ในวิทยาการทางด้านหลักสูตรนั้นจะกล่าวถึง การสร้างหลักสูตรและกระบวนการพัฒนา โดยจะเน้นที่ หลักสูตรกลาง ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยกรมวิชาการเป็นเจ้าหน้าที่ จัดทำเพื่อใช้กับคนทั้งประเทศ ทุกภูมิภาคซึ่งมีลักษณะเป็น หลักสูตรบูรณาการ อยู่ในตัวเองแล้ว และก็ได้ผ่านกระบวนการหลักสูตรมาแล้วด้วย

และ หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งกรมวิชาการกำหนดให้ ท้องถิ่น(กรม เขต กลุ่ม สถานศึกษา ฯลฯ เป็นผู้จัดทำและพัฒนา เพื่อให้สนอง สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นใช้บุคลากรในท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ใช้เนื้อหา สาระในท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนในท้องถิ่นนั้นๆนั่นเอง ซึ่งเปิดให้ดำเนินการได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายๆลักษณะก็ได้ ดังนี้

                   ปรับกิจกรรมการเรียนการสอน ปรับรายละเอียดของเนื้อหา

                            *ปรับปรุงสื่อ

                            * จัดทำสื่อขึ้นใหม่(หนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ ฯลฯ)

                           * จัดทำเนื้อหา/รายวิชาเพิ่มเติม

และในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่นนั้นก็มีขั้นตอนที่เป็นกระบวนการอยู่เช่นกัน

 

2. กระบวนการเรียนการสอน [เน้น CHILD CENTER]ในการพูดถึงกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น CHILD CENTER นี้ เรา-ท่านพึงรู้ว่า ครูผู้สอนต้องทำการเน้น CHILD CENTER ไว้เสียตั้งแต่ขั้น การจัดทำแผนการสอน (ที่ผู้เขียนจงใจเรียกว่า แผนการสอนที่เน้น CHILD CENTER [เน้น CHILD CENTERCHILD CENTER CHILD CENTER

 

แผนการสอนที่เน้น CHILD CENTER ในที่นี้ให้หมายถึง ในการจัดทำแผนการสอนนั้นครูผู้สอนพึงตระหนักถึง เด็กผู้เรียน อยู่ทุกเมื่อ ทุกขณะจิต ไม่ว่า จะเป็น1.

การวิเคราะห์หลักสูตร ในที่นี่จงใจเน้นไปที่การทำการวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา หากครูผู้สอนให้เด็กมีส่วนร่วม[PARTICIPATION]ในการทำ แผนที่เนื้อหาวิชา [MIND MAPPING :การวิเคราะห์หา หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC]]ด้วย แล้วครูให้เด็กทั้งชั้นช่วยกันลงมติในการเลือก หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC] ที่พวกตนเองสนใจที่จะเรียน แล้วครูก็นำ หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC] ที่เด็กเลือกไว้นั้นไปกำหนดเป็น เนื้อหาสาระลงในแผนการสอน นี่จึงจะเรียกได้ว่า เด็กมีส่วนในการเลือกเนื้อเรื่องที่จะเรียน ได้อย่างแท้จริง.

นั่นคือ ครูจักต้องศึกษา หาความรู้ในเรื่อง การทำ แผนที่เนื้อหาวิชา [MIND MAPPING] ให้กระจ่างชัดกันเพิ่มมากขึ้นต่อไป.

นั่นคือ ครูจักต้องศึกษา หาความรู้ในเรื่องการทำ [MIND MAPPING] ให้กระจ่างชัดกันเพิ่มมากขึ้นต่อไป.

2.การกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน ก็ต้องเน้น การระบุให้เด็กได้แสดงกิจกรรมด้วยตัวเด็กเอง เช่น *ให้เด็กได้อธิบาย

*ให้เด็กทดลอง

*ให้เด็กเล่านิทาน

*ให้เด็กศึกษา ค้นคว้า

* ……………………..

ทั้งนี้ทั้งนั้นพึงใช้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง

  • จุดประสงค์ปลายทาง
  • จุดประสงค์นำทาง
  • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย ก็จักเกิดผลเลิศมากขึ้นด้วย

3.การกำหนดขั้นการเรียนการสอน ในที่นี่จงใจเน้นย้ำให้เลือกใช้ ทักษะกระบวนการ ที่เหมาะกับสถานการณ์ของผู้เรียนและผู้สอน ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการกลุ่ม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสืบสวนสอบสวน ทักษะกระบวนการทั้ง 9 ขั้น หรืออื่นๆ

ซึ่งในขั้นตอนการ เรียนการสอน [ เน้น CHILD CENTER] นั้นผู้สอนพึงกำหนดไว้กว้างๆเป็นหลักการเอาไว้ เช่น หากเป็นผู้เขียนเองก็จะกำหนดเป็น BOPIPI ที่ตนเองใช้อยู่เนืองนิจในการฝึกอบรม ที่ตนเองเน้น TRAINEE CENTER ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ดีเช่นกัน นั่นคือ

*ขั้นตอนการ เรียนการสอน [ เน้น CHILD CENTER] ตาม BOPIPI

 

                                      B : Bridge in (ขั้นเร้าความสนใจ)

                                     O : Objective (ขั้นแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้)

                                      P : Pretest (ขั้นทดสอบก่อนสอน)

 

 

                                      I  : Instruction (ขั้นสอน [ให้เน้นการใช้ เทคนิคการสอนที่เน้น

 

                                           ทักษะ กระบวนการ เน้นให้เด็กแสดงกิจกรรม ฯลฯ]

                                     P: Posttest (ขั้นทดสอบหลังสอน)

                                      I : Improve (ขั้นประเมินผลการสอนของตนเอง ปรับปรุง พัฒนา)

 

ในส่วน I:INSTRUCTION (ขั้นการเรียนการสอน) ในกระบวนการ BOPIPI นั้นผู้เขียนมองว่าเป็นจุดที่สำคัญยิ่งที่จะดูว่า ครูจัดการเรียนการสอนเป็นแบบ CHILD CENTER หรือไม่ ? เพียงใด ? หรือไม่ ? เพียงใด ?

หรือไม่ ? เพียงใด ?

               นั่นคือ ถึงแม้ครูจะระบุเทคนิคการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างลงในแผนการสอนแล้วก็ตาม ( ซึ่งเทคนิคการสอนมีมากมาย เช่น * การสอนแบบบรรยาย * การสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิต * การสอนแบบสาธิต ** การสอนแบบทดลอง ** การสอนแบบให้ทำโครงการ ** การสอนแบบอภิปราย ** การสอนแบบใช้คำถาม ** การสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ ** การสอนแบบเล่นเกมส์

** การสอนแบบสถานการณ์จำลอง ** การสอนแบบสืบสวนสอบสวน ** การสอนแบบระดมพลังสมอง ** การสอนแบบการแก้ปัญหา ** การสอนแบบการจัดเป็นกลุ่ม ** การสอนแบบฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง

** การสอนแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ** หรือการสอนแบบ………..) หากครูไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบทบาทของครูเองที่เกื้อกูลต่อการให้เด็กได้ แสดงกิจกรรม เปิดโอกาสให้เด็กได้ แสดงพฤติกรรม เน้นให้เด็ก”ได้ปฏิบัติจริง [LEARNING BY DOING ]ตามที่ได้ระบุไว้อย่างดีและชัดเจนแล้วใน จุดประสงค์การเรียนรู้ การเรียนการสอนครั้งนั้นก็ยังคงความเป็น TEACHER CENTER อยู่ดังเช่นเดิมนั่นแหละ

โดยหากจะจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบที่เน้น CHILD CENTER : การเรียนการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง นั้น ในเบื้องต้นพึงทำความเข้าใจในคำๆนี้เพิ่มเติมกันอีก ดังนี้

ในที่นี่จงใจให้ใช้ความหมายโดย นัย นั่นคือ นั่นคือ

CHILD CENTER ให้หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ ให้หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่

ให้หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่1.ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้

2.ถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

3.ยึดหลักว่า กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (ม.22)

และยังให้หมายรวมเอาว่า การยกกิจกรรมในการเรียนการสอน ให้กับเด็ก โดยเน้นให้เด็กได้ แสดงกิจกรรม แสดงพฤติกรรม ตามที่ระบุไว้แล้วในหลักสูตร

นอกเหนือจากนี้ในบทความนี้ผู้เขียนใคร่เน้นย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่ครูผู้สอนพึงปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดหรือกระบวนทัศน์ ( PARADIGM SHIFT) ในการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กเสียใหม่ นั่นคือ ให้กลับมาสนใจกับ คำกล่าว ดังต่อไปนี้ซึ่งที่จริงแล้วเราท่านก็ได้ผ่านสายตากับคำเหล่านี้มาบ้างแล้ว คือ

 

                      * การพัฒนาประเทศให้ยึด”คน”เป็นหลัก : PEOPLE CENTER

                     * การฝึกอบรมพึงยึด “ผู้เข้าอบรม”เป็นสำคัญ : TRAINEE CENTER

                     * การจัดการเรียนการสอนให้ยึด “เด็กเป็นศูนย์กลาง : CHILD CENTER

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเน้นให้เห็นความสำคัญของ “เป้าหมาย” ของการพัฒนาที่เน้นที่ คน ทั้งนั้น

ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ [PARADIGM SHIFT] ในการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาตามหลักการของ CHILD CENTER ดังกล่าวนั้น ผู้เขียนตระหนักดีว่าคือสิ่งต่อไปนี้ครับ

.. ครูพึงเปลี่ยนบทบาทกันเสียใหม่ เป็นดังนี้ เป็นดังนี้

เป็นดังนี้

บทบาทใหม่ ในฐานะ  ไม่ใช่ เป็นผู้สอนเสียอย่างเดียว    แต่ปรับบทบามให้เป็น

               *  ผู้กำกับ [DIRECTOR]

                        * ผู้ให้คำแนะนำ [COUNSELOR]

                          * ผู้อำนวยความสะดวก [FACILITATOR]

                         * เป็นที่ปรึกษา [ADVISOR]

 

๒. ครูพึงเปลี่ยนแนวความคิดเสียใหม่ดังนี้

 

                                                     ครูใช้ TEACH WHAT TO LEARN เสียแต่น้อย

                                       แต่หันกลับมาใช้ TEACH HOW TO LEARN ให้มากเข้าไว้

 

. ครูลดบทบาทของตัวเองในการแสดงออกซึ่งสิ่งต่อไปนี้ลงเสียให้มากเข้าไว้นะครับ

ภาพลักษณ์เดิม ที่ชินหูชินตาเสียเหลือเกิน คือ

                    ครูพูด ครูอธิบาย                   ครูบรรยาย เ เด็กๆนั่งฟัง

                         ครูเล่านิทาน

                        ครูอ่านหนังสือ

                         ครูเล่านิทาน

                  ครูทดลอง

                        ครูเขียนบนกระดาษดำ เด็กๆนั่งดู                        ครูเขียนบนกระดาษดำ เด็กๆนั่งดู

                        ครูเขียนบนกระดาษดำ เด็กๆนั่งดู

                       ครูวาดรูปบนกระดานดำ

                      ครูตรวจแบบฝึกหัด

                      ครู........

   เมื่อชั่งนำหนักในพฤติกรรม เหล่านี้แล้ว  กระผมตัดสินให้  80 ส่วนใน 100 ส่วน   โดยให้นำหนักในพฤติกรรมของเด็กๆนักเรียนที่ได้แต่นั่งนิ่งฟังดู ดูครู แสดง นั้น ฌฑ๊ญ   20 ส่วนเท่านั้นแหละ

๔. ครูพึงเพิ่มบทบาทให้เด็กมีน้ำหนักในการแสดงออกให้มากเข้าไว้ ดังนี้

  ภาพลักษณ์ใหม่   ให้ปรับ พฤติกรรมเด็กเป็นดังนี้ พฤติกรรมเด็กเป็นดังนี้

                                 นักเรียนพูด               ครูฟัง นั่งชม

                                          นักเรียนอธิบาย           ครูฟัง นั่งชม

                                            นักเรียนบรรยาย         ครูฟัง นั่งชม

                                            นักเรียน

                                 นักเรียนเล่านิทาน          ครูฟัง นั่งชม

                                           นักเรียนอ่านหนังสือ         ครูฟัง นั่งชม

                                         นักเรียนทดลอง             ครูฟัง นั่งชม

                                         นักเรียน

                                         นักเรียนเขียนบนกระดาษดำ     ครูฟัง นั่งชม                                          นักเรียนเขียนบนกระดาษดำ    

                                         นักเรียนเขียนบนกระดาษดำ    

                                       นักเรียนวาดรูปบนกระดานดำ     ครูฟัง นั่งชม

 

                                        นักเรียนตรวจแบบฝึกหัด                ครูฟัง นั่งชม

 

                                       นักเรียน.......................                       ครูฟัง นั่งชม

 

      นั่นคือ จงใจให้แสดงพฤติกรรมให้ได้ 80 ส่วน ใน 100 ส่วน  ส่วนครูผู้สอนให้แสดงพฤติกรรม เพียงแค่ 20 ส่วน จะดีไหมเอ่ย ???

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ภายใต้หลักการ แนวคิด ทฤษฎี                                          * LEARNING BY DOING

                                        * LAW OF EXERCISE

                                        * LAW OF USE AND DISUSE

                                        * LAW OF EFFECT

                                        * LAW OF READINESS

                                                   ETC.

๕. ครูพึงเปลี่ยนความสนใจมาอยู่ที่เด็กกลุ่ม ต่ำสิบ [LOW TEN]ให้มากเข้าไว้นะครับ

 

 

                                  เด็กเก่ง [TOP TEN] เด็กอ่อน[LOW TEN]

 

                          (ที่ ๑ + ๑๐ของชั้น) ò ( ๑๐+ ที่สุดท้าย)

 

                       ภายใต้หลัก * INDIVIDUAL DIFFERENCE

* ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้(ม.๒๒)

* ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ แห่งตน(ม.๒๒)

* ครูคอยชื่นชมต่อความสำเร็จในพัฒนาการของเด็กกลุ่มต่ำสิบนี้ให้มากเข้าไว้

. ครูใช้สูตรของการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของเด็ก ด้วยสูตรทางเศรษฐศาสตร์ ดังนี้

                         P = C-F                            โดย P = PROBLEM

                                 C = CRITERIA

                                 F = FACT

 

๗. การพัฒนาเด็กให้ได้ มาตรฐานคุณภาพ ที่กำหนดนั้น พึงมุ่งเน้นการพัฒนาให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY OF LIFE] เป็นสำคัญ อันได้แก่ เก่ง * แข็งแรง * ดี มีขนบธรรมเนียมประเพณี * มีรายได้ มีวิถีชีวิต ปชต. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน *มีความสุขที่แท้จริง ตาม “เกณฑ์มาตรฐาน”ที่กำหนด.

 

3.การเรียนรู้ กระบวนการ ทักษะ และการพัฒนา

§ การเรียนรู้ ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายเช่นกัน เช่น

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนโดยอาศัยการจัดประสบการณ์

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนโดยมีผลจากปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนกับสภาวะแวดล้อมของเขา

การเรียนรู้ หมายถึงการแสดงความสามารถของผู้เรียนในด้านความรู้และทักษะเมื่อเปิดโอกาสให้แก่เขา

การเรียนรู้ เป็นผลจากการตอบโต้โดยตรงของผู้เรียนต่อพฤติกรรมการสอนของครู(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แหล่งเดิม หน้า 172)

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนี้เป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้เราทราบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ก็คือการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปซึ่งเป็นผลของการเรียนรู้ ซึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจจัดเป็น 3 ลักษณะคือ 1.ด้านความรู้ ความคิด [Cognitive Domain] 2.ด้านทักษะ [Psychomotor Domain] และ 3.ด้านความรู้สึก Affective Domain : ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมและนิสัยต่างๆ)

§ กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์

สิ่งเร้า รับสัมผัส การรับรู้ ความคิดรวบยอด เปลี่ยนพฤติกรรม

 

 

ซึ่งซึ่งการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีกระบวนการดังกล่าวมาแล้วนี้

 

อธิบาย/ขยายความ

เมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus] มากระทบอินทรีย์ ประสาทก็จะตื่นตัวเรียกว่า เกิดการรับสัมผัส

[Sensation]แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ทำให้เกิดการแปลความหมาย ขึ้นเรียกว่า การรับรู้ [Perception] แล้วสรุปผลการรับรู้ออกมาซึ่งก็คือ ความคิดรวบยอด [Conception] การที่เกิดความคิดรวบยอดขึ้นนี้ ย่อมเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น นั่นก็คือ ได้เกิดการ

เรียนรู้ [Learning] ขึ้นแล้ว นั่นเอง (สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี จิตวิทยาการเรียนการสอน (1051202) [PSYCHOLOGY IN TEACHING AND LEARNING] โรงพิมพ์ผดุงสารการพิมพ์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 2539 หน้า 71-72)

 

  • ลำดับขั้นการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง แต่ละเรื่องนั้น ครูผู้สอนพึงตระหนักถึง คุณลักษณะสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นในตัวเด็กให้จงได้ นั่นคือ

     ความรู้   ความจำ     ความเข้าใจ   เกิดความตระหนัก

                        และนำไปใช้ได้

              นั่นคือ เพื่อให้ความเชื่อ ความศรัทธาในหลักการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง [CHILD CENTER]บรรลุผล ครูผู้สอนพึงตระหนักว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กนั้นต้องมุ่งปักใจทำให้เด็กได้ 1.               นั่นคือ เพื่อให้ความเชื่อ ความศรัทธาในหลักการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง [CHILD CENTER]บรรลุผล ครูผู้สอนพึงตระหนักว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กนั้นต้องมุ่งปักใจทำให้เด็กได้ 1. รู้ จดจำ (ซึ่งดูได้จากการที่เด็ก พูดได้ ระบุได้ ท่องได้ บอกได้) 2.เข้าใจ (ซึ่งดูได้จากการที่เด็ก อธิบาย บรรยาย ขยายความ ได้ 3.ตระหนัก คือเห็นคุณค่า คุณประโยชน์ เล็งเห็นโทษ เกิดความกลัว เกิดความรัก ชอบ เกลียด ฯลฯ ซึ่งสิ่งที่เรียนนั้น ซึ่งก็ดูได้จากการที่เด็กแสดงความคิดเห็น เด็กพูดออกมา ซึ่งอาจดูได้ค่อนข้างยาก และ 4. การนำไปใช้ ก็ดูได้ยากเช่นกัน ซึ่งครูต้องคอยติดตามดูพฤติกรรม การกระทำว่านักเรียนได้นำซึ่งความรู้ดังกล่าวนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งที่ในห้องเรียน ในโรงเรียน ในสนามหรือที่บ้านหรือไม่? เพี่ยงใด ?

นี่แหละจึงจะเรียกได้ว่าเด็กเรียนแล้วเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17003เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากได้แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ค่ะ

 รบกวนแนะ มาทางE-mailด้วยน่ะค่ะ

คือจาใช้ในการประกอบเนื้อหาวิชาเรียนค่ะ

ขอบคุนมาก

อยากได้เนื้อหา และข้อมูลของวิธีการสอนแบบสถานการณ์จำลอง อยากได้แบบละเอียดเลยได้ไหมคะ รบกวนแนะมาทางE-mailนะคะ ต้องการใช้ในการเรียนวิชาหลักสูตรการศึกษาน่ะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณที่กรุณาให้ข้อมูลเป็นวิทยาทานนะค่ะ  เเต่ก็อยากได้เนื้อหา และข้อมูลของวิธีการสอนแบบสถานการณ์จำลอง แบบละเอียดเลยได้ไหมคะ รบกวนแนะมาทางE-mailนะคะ  ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ล่วงหน้านะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท