ขอดนตรีให้คนไข้เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตันฟังหน่อย


วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า การฟังเพลงช่วยให้สมองคนไข้โรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตันมีอาการดีขึ้นมาฝากครับ

...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ดนตรีคลาสสิคบรรเลง โดยเฉพาะเพลงของโมซาร์ต (เพลงอีสานบ้านเราก็มีท่วงทำนองคล้ายเพลงแบบนี้มาก) ช่วยเสริมสมรรถภาพสมองได้

วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า การฟังเพลงช่วยให้สมองคนไข้โรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตันมีอาการดีขึ้นมาฝากครับ

...

ท่านอาจารย์เทปโป ซาร์กาโม นักจิตวิทยาและคณะ แห่งหน่วยวิจัยความจำสมอง มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เพิ่งเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน 60 คน

กลุ่มตัวอย่างทุกคนเป็นโรคของเส้นเลือดสมองกลุ่มหน้า เส้นกลาง (middle cerebral artery / MCA) ข้างขวาหรือข้างซ้ายคล้ายๆ กัน ติดตามกลุ่มตัวอย่างไป 3 เดือน

...

ท่านสุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 > ให้ฟังเพลงที่ชอบวันละ 2-3 ชั่วโมง
  • กลุ่มที่ 2 > ให้ฟัง "หนังสือเสียง (audio books)" หรือหนังสือที่มีการบันทึกเสียงไว้ในรูปสื่อ เปิดฟังเป็นเสียงอ่านได้ โดยไม่ต้องอ่านหนังสือ
  • กลุ่มที่ 3 > ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยเวลาให้ผ่านไป

...

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ฟังเพลงมีความจำคำพูด หรือตัวอักษร (verbal memory) ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่เหลือดังตาราง

กลุ่มตัวอย่าง ความจำคำพูด หรือตัวอักษรดีขึ้น
ฟังเพลง 60%
ฟังเสียงอ่านหนังสือ 18%
ไม่ฟังอะไรเลย 29%

...

อาจารย์ซาร์กาโมกล่าวว่า กลุ่มที่ฟังเพลงนอกจากจะมีความจำดีขึ้นแล้ว ยังมีสมาธิ (focus ability) หรือการใส่ใจกับเรื่องต่างๆ ดีขึ้นอีก 17%

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาอื่นๆ เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป

...

แน่นอนว่า การป้องกันโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตน่าจะดีกว่าการรักษา

วิธีป้องกันโรคกลุ่มนี้ได้แก่

  • ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้าพบเป็นโรคต้องรักษาให้ดีตลอดชีวิต และควรลดอาหารเค็มหรือรสจัด โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปให้น้อยลง
  • ควบคุมน้ำหนักไว้  อย่าให้อ้วน หรือถ้าอ้วนไปแล้ว... ควรระวังอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก
  • ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มหนัก ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดอาหารไขมันอิ่มตัว โดยเฉพาะกะทิ น้ำมันปาล์ม ไขมันสัตว์ และไม่กินเนื้อมากเกิน เนื่องจากเนื้อสัตว์ทุกชนิดมีน้ำมันปนอยู่แบบมองไม่เห็น
  • ลดอาหารไขมันทรานส์ หรือไขมันแปรรูป โดยเฉพาะเนยเทียม อาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) ครีมเทียม คอฟฟี่เมต

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา                                                 

  • Thank Reuters > Michael Kahn. Maggie Fox & Dominic Evans. ed. > Music hits right note for stroke patients > [ Click ] > Feb.19, 2008. / J Stroke.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 9 มีนาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 169957เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2008 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ที่ทำงานก็นำดนตรีอีสานโปงลางมาลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้ผลดีค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์อุบล...

  • เรียนเสนอให้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับเพลงของโมซาร์ต เนื่องจากเพลงของโมซาร์ตมีผลการวิจัยก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก
  • บางทีโลกอาจจะต้องตะลึงกับภูมิปัญญาอีสาน ถึงกับต้องรีบซื้อหมอลำ โปงลาง กันตรึม ฯลฯ ไปฟังกันเป็นแถบๆ ก็เป็นได้...

สวัสดีค่ะ

คุณหมอมีอารมณ์ขันจริงๆนะคะ อิๆๆๆ

ดนตรีนี่ช่วยอะไรๆได้หลายอย่างจริงๆ เพราะทำให้เราจิตใจผ่อนคลาย สบายๆก่อนเลย

หลานเล็กๆนี่ก็ให้ฟังเพลงตอนนอนประจำตั้งแต่เกิด พอมาค้างที่บ้านดิฉันเด็กหาแผ่นซีดีไม่พบ แต่เอามาค่ะ กว่าจะนอนหลับ เรียกหาแต่ เพลงของเขา มันเป็นความเคยชินน่ะค่ะ ฟังแล้ว จะเคลิ้มๆหลับดีค่ะ

 

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda...

  • วัฒนธรรมอีสาน โดยเฉพาะดนตรี-นาฏศิลป์ มีความไพเราะ และมีท่วงทำนองคล้ายดนตรีคลาสสิคมาก

เท่าที่ทราบ...

  • สมัยรัชกาลที่ 4 มีหมอแคนเข้ากรุงเทพฯ...
  • หมอแคนเหล่านี้ท่านเก่ง บริการแบบ one-stop service ทั้งเล่นแคน หมอลำหรือลำแบบต่างๆ และเป็นหมอผีด้วย ทำให้คน "ขึ้น (ชอบ)" กันมาก จนมีกฏหมายห้ามเป่าแคนในกรุงเทพฯ (สมัยนั้น)
  • ผมเชื่อว่า ต่อไปวัฒนธรรมด้านดนตรีอีสานจะเป็นวัฒนธรรมหลักทางด้านบันเทิงของไทยต่อไป เนื่องจากมีคนนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ขอขอบคุณอาจารย์อุบล...

เรียนเสนอให้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับเพลงของโมซาร์ต

ขอแลกเปลี่ยนความเห็นกับเรื่องนี้ค่ะ..

มีเครื่องดนตรีทางเหนืออยู่อย่างหนึ่งคือ

สะล้อซึง

 

สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย

มีวิจัยมาแล้ว ถ้าจำไม่ผิดจากม.เชียงใหม่ ว่าใช้ได้ผลดีในการรักษาคนไข้ หรือ ประกอบการนั่งสมาธิ ให้ใจสงบ เป็นGreen Music อย่างหนึ่งค่ะ

เป็นพวกให้เสียง แอลฟ่า  ( 8 12  รอบ / วินาที )     =      ภาวะร่างกายจิตใจสงบผ่อนคลายเป็นภาวะที่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ รับข้อมูลคล้ายๆกับเพลงของโมสาร์ทที่มีรอบต่ำ

แต่จริงๆแล้ว ตามความเห็นของดิฉัน  จะเป็นเพลงแบบไหน แต่ทำให้ใจสบายก็น่าจะใช้ได้นะคะ พอใจสบายผ่อนคลาย ร่างกายก็สงบไปด้วยค่ะ

จิตจะเข้าสู่ภาวะแอลฟ่าและ เทตร้า  คือ ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น  ตามลำดับนะคะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับข้อคิดเห็น และข้อมูลมากๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท