สิ่งที่น่าจะพูด (มาตั้งนาน)เวลาขับรถ


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

      บ่อยครั้งที่ผมต้องเดินทาง ไปประชุมอบรม หรือแม้กระทั่งดูงาน ส่วนมากก็มักจะไปกับท่านผู้อำนวยการเสียส่วนใหญ่ ผมมีนิสัยที่ชอบนอนหลับเวลาขึ้นรถ ไม่รู้เป็นไง พอขึ้นรถเมื่อไหร่ ตาก็เริ่มจะปิดทุกที แต่มาช่วงหลังๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้ บริหารและผู้ปฏิบัติ จากระยะทางที่ยาวไกลกว่าจะถึงที่หมาย ( เพราะว่าพื้นที่ของ แต่ละอำเภอไกลกัน และต้องใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน)  หลัง ๆมานี้เลยไม่หลับเลยเพราะว่า กลัวพลาดที่จะได้ฟัง  จากการปฏิบัติจึงได้ข้อคิดจากการพูดคุยเช่นนี้ว่า

         1  เราสามารถได้วิธีคิด แนวทางปฏิบัติจากการฟังบนรถ จำได้แม่นยำมาก

         2. ผู้บริหารบอกว่า แทนที่จะนินทาลูกน้อง กลับกลายหาวิธีการช่วยเหลือเขาดีกว่า

         3. การประชุมไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ

        4. การ KM สามารถทำบนรถก็ได้

        5. การสะท้อนคิดจากการทำงานสู่ผู้บริหาร ทำได้ง่ายไม่มีรูปแบบ (กรณีผู้บริหารใจกว้าง)

       6.  ความคิดในการพัฒนาการเรียนการสอน เมื่อมาพิจารณาดูแล้ว มาจากเรื่องเล่าในรถนี่เอง

       7. เป็นยาแก้เมารถที่ดีมาก(เส้นทางแม่ฮ่องสอนมันสุดยอดครับ)

       8. สุดท้ายได้เรื่องเล่าเยอะดี แล้วจะเล่าให้ฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 169777เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ

  • ยินดีแวะมาทักทายและให้กำลังใจครับ
  • บันทึกอีกนะครับ
  • จะแวะเข้ามาเรื่อย ๆ ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะน้องชาย

  • ครูอ้อยยินดีด้วยนะคะ  ที่ได้มีโอกาสอันดี  ที่ได้ไปไหนมาไหนกับ ผู้บริหาร และได้ฟังท่านพูดอะไรให้ได้คิด  นับว่า น้องได้มีโอกาสที่ดี และโชคดี   กว่าหลายๆคนที่  ผู้บริหารจะคิดถึง  เวลามีงานมารออยู่ข้างหน้าเท่านั้น

ครูอ้อย จะเข้ามาอ่านบันทึกที่ดีต่อไปนะคะ

สวสดีครับ...น้องเจิด

ตอนที่พี่อยู่ที่แม่ฮ่องสอนก็ได้ติดรถไปกับ ผอ. บ้าง ครูที่อาวุโสบ้าง ได้มุมมองต่าง ๆ เยอะนะครับ  มีความรู้สึกว่าที่นั่นมีเรื่องราวระหว่างเส้นทางเยอะพอสมควร  แต่มีครั้งหนึ่งเคยติดรถไปอบรมในตัวเมืองแม่ฮ่องสอนกับผอ.ประจวบ แล้วก็อาการเมารถจนแขนขาชาไปหมด เลยต้องตัดสินใจนั่งกระบะหลังแทนครับ หลังจากวันนั้นก็เลี่ยงไม่ขึ้นรถผอ.อีก เพราะกลัวเมารถ แปลกดีนะครับ

สวัสดีครับบรรเจิด

แสดงว่า เธอก็เป็นนักจินตนาการคนหนึ่ง บุคคลเช่นนี้ เมื่อนั่งรถหรือขับรถ สมองจะคิดอย่างสร้างสรรค์แบบมีจินตนาการ นักเขียน นักแต่งกลอนหลายคน ใช้วิธีการนั่นรถหรือขับรถเพื่อแต่งเพลง แต่งกลอน ลุงเกด้วยคนหนึ่ง "มันคิดออกครับ"

ถ้าเป็นการสนทนากับเพื่อนร่วมทางอย่างมีมิตรภาพ นั่นคือการจัดการความรู้ แล้วจะเกิดความรู้เพิ่มที่หมอวิจารย์ พานิชเรียกว่า "ความรู้เฉียบพลัน" บวกกับความรู้ "พร้อมใช้" ของบุคคล (ตัวเรา)จะกลายเป็นความรู้ที่มีคุณค่า เกิดคุณค่าเพิ่ม ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนสินค้าที่บรรจุหีบห่ออย่างสวยงาม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

มาให้กำลังใจเธอ อย่าเผลอหลับตอนขับรถมอเตอร์ไซด์เสียละ งานนี้คงต้องลงไปแบกกันที่ก้นห้วยโน่นแล้ว

ลุงเก

P  ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย จะพยายามหาเวลาว่างไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บล็อกอาจารย์บ่อย ๆ นะครับ

P    ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมที่บล็อก ผมไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเมารถเท่าไหร่ครับเลสามารถคุยได้ตลอด แล้วจะไปเยี่ยมที่บล็อกนะครับ

P   ช่วงนี้งานเยอะเลยมาตอบช้าไปหน่อยครับ ทั้งเรียนต่อ งานในหน้าที่ งานวิจัยที่จะต้องส่งรูปเล่ม ทำให้ตอบช้าไปหน่อยครับ แล้วจะไปเยี่ยมที่บล็อกนะครับ

P    ขอบคุณครับที่เข้ามาแนะนำและให้ความรู้รวมถึงศัพท์ทางวิชาการด้วยครับ แต่จะระมัดระวังเรื่องการนอนหลับเวลาขับรถครับ

สวัสดีครับ

  • แวะมาขอบคุณนะครับ
  • ที่เข้าไปอ่านที่บล็อก
  • ขอบคุณที่ทำให้เรารู้ว่า
  • การประชุมไม่จำเป็นต้องมีรูปแบ
  •  การ KM สามารถทำบนรถก็ได้ 
  • เยี่ยมครับ
  • จะติดตามตอนต่อไปครับ ครูบรรเจิด
  • สวัสดีค่ะครูบรรเจิด
  • ขอให้มีความสุข ช่วงปิดภาคเรียนแล้ว แต่อย่าลืมบันทึกนะ
  • ขอบคุณค่ะ

ผมดูเรื่อง"พลังภาษา"พบเว็บของครูบรรเจิด เสนอแนวคิดก็นับว่าดี แต่ผมทำนายได้เลยว่าไม่มีทางที่จะดำเนินไปสู่เป้าหมายได้ เหตุเพราะการสอนอ่านหนังสือไทยเบื้องต้นให้แก่เด็กไทยอย่างผิดวิธีที่ผ่านมาได้ทำลายจิตวิญญาณของคนไทยจนหมดสิ้นแล้ว นั่นคือทำให้ผู้เรียนอยู่ในสภาวะมีปมจิตที่ผิดปรกติ(นพ.ชินโอสถ หัศบำเรอว่าถูกโปรแกรมจิต นพ.มล.สมชาย จักรพันธ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตว่าเป็นปัญหาค้างเก่าหรือตกค้าง แต่ทั้งสองท่านมิได้ยืนยันตรงๆอย่างที่ผมฟันธงว่า ตำราสอนอ่านและวิธีสอนอ่านเป็นเหตุ)เหตุที่ผมกล้ายืนกรานเพราะผมหมดตัวจากการทำหนังสือขาย ผมสงสัยว่าทำไมคนไทยจึงไม่อ่านหนังสือ ก็ค้นลึกลงไป จนพบว่า(ผมแจงไว้ใน"อ่านไทย"และบล็อกอื่นๆครูบรรเจิดใช้คำต่างๆเสริซ เอ็นจินเข้าไปดูครับ vanchana,kontaikidpen,piyayanti,หรือดูเว็บตรงๆ http://vanchana-vanchana.blogspot.com http://groups.google.co.th/group/-kontaikidpen http://sermpanyabychacrit.spaces.live.com/ )ผมอยากขอร้องคุณครูบรรเจิดทุ่มเทกำลังใจกายความคิดรณรงค์ให้คนไทยสนใจภาษาไทยให้มาก ๆวัฒนธรรมไทยจะได้แข็งแกร่ง ไม่ถูกกลืนง่ายๆ อย่ามัวรอการ"ต่อยอด"เป็นตัวของตัวเองเถิด ยุให้ราชบัณฑิตยสถานรุกคืบหน้าบ้าง อย่ามัวตั้งรับ ผมอ่านงานที่เคยทำมาของราชบัณฑิตยฯว่าเก็บคำที่มีใช้ มาบรรจุไว้ น่าจะบัญญัติคำให้คนไทยคนอื่นๆใช้มากกว่า ผมฟังทีวีที่นักวิชาการถกเถียงกันยิ่งแสดงให้เห็นว่าข้อสันนิษฐาน หรือสมมุติฐานของผมเป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ลองเข้าไปอ่านนะครับ แล้ววิจารณ์เต็มที่ครับ ขอบคุณ

สวัสดีครับคุณ vanchana ขอบคุณนะครับที่แสดงความคิดเห็น อย่างที่บอกนะครับว่า ในการที่เราจะแก้ปัญหาในเรื่องของ ภาษาโดยเฉพาะ ครูที่ต้องสอนนักเรียนในโรงเรียนที่นักเรียนใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ถ้าจะให้ตอบว่าคิดอย่างไรที่ คุณ vanchana บอกว่าไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้ ก็จะตอบว่า คนอื่นจะมองอย่างไรไม่สำคัญ แต่ถ้าเรายืนยันว่าเราต้องการจะแก้เรื่องปัญหาของภาษาเด็กแล้ว ก็ยังคงยืนยันว่าจะทำต่อไป มันไม่มีวิธีสอนใดดีที่สุดหรอกครับ แต่มีวิธีสอนที่ผู้สอนใช้และเมื่อเจอปัญหาในชั้นเรียน ก็จะหาวิธีอื่นจะที่พัฒนาเด็กไปเรื่อย ๆ มันกลายเป็น หลุบ ของการพัฒนาการเรียนการสอน คนที่นั่งมองและวิพากษ์วิจารณ์ จะไม่มีทางรู้ถึงว่ากระบวนการพัฒนาของคนที่พยายามแก้ปัญหาเขาเป็นอย่างไร เพราะว่าในการพัฒนานั้นบางคนเขาก็ไม่ได้ออกมาเขียน หรือออกมาบอกว่าได้ทำอะไรบ้าง องค์ความรู้มันมีหลายประเภท ประเภทแรกเป็นความรู้ที่เขียน แสดง และพูดออกมาตามที่เรารู้ในปัจจุบัน ประเภทที่ 2 รู้แล้วแต่ก็ไม่อยากบอก เพราะไม่รู้จะพูดออกไปทำไม ก้มหน้าก้มตาทำต่อไปดีกว่า อีกประเภทหนึ่ง ก็อยากบอก ออกเขียน อยากพูด แต่ก้ไม่รู้จะถ่ายทอดออกมาอย่างไร ดังนั้นมีหลายคนที่เขาพยายามจะทำอยู่ แต่กลุ่มไม่มีพลังพอ กระบวนการที่ใช้ก็ไม่ได้อ้างตามทฤษฏี เขาคิดว่าวิธีการสอนที่ใช้ก็เหมาะสมกับสภาพบริบทของห้องเรียนเขาเอง ดังนั้น bench Mark ของเขาก็คงไม่สามารถเทียบเท่ากับคนในเมือง การให้เขาใช้ภาษาที่เหมาะสมและสามารถใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง มีความมั่นใจในการแสดงออก การพูด สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธ์ครับ ดังนั้น การที่ครูผู้สอนเขาประสบความสำเร็จเพียง 1 ก้าวก็สามารถสร้างความมั่นใจให้กับเขาเพื่อจะนำไปสู่ก้าวที่จะประสบความสำเร็จในก้าวต่อไปได้ ดังน้น การนำเอาสิ่งที่ตนเองได้พัฒนามาเขียนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นความก้าวหน้าของตนเอง เป็นการต่อยอดตนเองก็ไม่เห็นแปลกครับ เพราะว่ามันก็ win-win อยู่แล้วครับ นักเรียนก็ได้ คนสอนก็ได้ มันเป็นหลักจิตวิทยาที่สามารถใช้การได้ดีกับครูที่จะต้องสอนนักเรียนที่มีต้นทุนทางด้านภาษาติดลบ ดังนั้นผมว่า ครูในแม่ฮ่องสอน อยากจะทำครับ เพียงแต่ว่าพวกเราต้องการคนระดับผู้บริหารที่เข้าใจ และเห็นใจว่าเราทำงานหนักนะครับ คุณเชื่อไหมครับว่าเราต้อง จ่ายค่านำมันที่แพงที่สุดในประเทศไทย เราต้องใช้จ่ายค่าเดินทางที่สูงมาก ยังไม่รวมพวกอาหาร สิ่งอื่นๆ อีกมากที่ในหมู่บ้านเราไม่มี สิ่งเหล่านี้มันคือค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ดังนั้นเราคิดว่าการที่เรามีกำลังใจในการพัฒนาและก็คงก้มหน้าก้มตาทำต่อไป เป้าหมายของเราคือเด็ก แต่ทั้งนี้ทังนั้นเราไม่ปฏิเสธว่า เราต้องการให้สิ่งที่เราทำมาเป็นสิ่งที่ต่อยอดในด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพของเรา เราต้องการความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นในทางด้านความรู้ ทางวิชาการ ครูในเมืองทำได้ เราก็อยากจะทำได้ อาจารย์ในมหาลัยทำได้ เราก็อยากจะทำได้เหมือนกัน ถ้านึกย้อนดี ๆ นะครับ คนที่เขาเขียนทฤษฏี เขียนวิธีสอน บางครั้งก็ไม่ได้มาปฏิบัติเอง อาศัยความได้เปรีบยทางข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ เครื่องมือหาความรู้ที่มีมากกว่า แหล่งความรู้ที่เยอะกว่า เขียนงานออกมา เขียนวิธีสอนออกมา ถามว่าแล้วคนที่เขาปฏิบัติจริง ๆ เขามีสิทธิ์เขียนไหม ดังน้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายท่าน หลายแห่งถึงพูดออกมาว่า เราควรให้คนจที่เขาปฏิบัติจริงได้เขียนบ้าง เพราะว่าได้ลงมือจริง ที่ผ่านมามันไม่ได้รับการต่อยอดเพราะว่า ไม่ได้เปรียบในเชิงวิชาการนั่นเอง

เขียนเสียยาวเลยครับ ถ้ามีความีคิดที่ขัดแย้ง ก็ยังคงยินดีแลกเปลี่ยนนะครับ ขอบคุณครับ

อาจมีหลายคำที่พิมพ์ผิดนะครับ ต้องขอโทษนะครับ ที่พิมพ์เร็วและไม่ได้ตรวจทานก่อน

ปัณณวิชญ์ ฐานันดรวิไล

สุดยอดๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท