ภาวะสมองเสื่อมการจัดการทางกิจกรรมบำบัด ตอนที่ 2


ผลกระทบจากการมีภาวะสมองเสื่อมต่อการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต

แบ่งออกเป็น 3 ระยะตามการดำเนินโรค  ดังนี้

ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องด้านการจัดการดูแลบ้านในเรื่องการจับจ่ายซื้อของการจัดการเรื่องเงิน และการติดต่อสื่อสาร โดยนึกชื่อสิ่งของหรือคำพูดบางคำไม่ได้ อาจพบว่ามีการใช้คำพูดผิดๆ โดยไม่รู้ตัวหรือเลี่ยงการอธิบายโดยอ้อมๆ ไม่สามารถพูดตามที่ตนเองต้องการได้ บางครั้งอาจจะถามซ้ำๆ  ระยะนี้ผู้ป่วยจะรู้ถึงความผิดปกติของตนเองแต่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกอับอาย หงุดหงิด วิตกกังวลง่าย แก้ปัญหาไม่ได้ เป็นต้น

 

ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มหลง/สับสนมากขึ้น จะมีความบกพร่องในเรื่องความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว บางรายอาจพบว่าไม่สามารถจำบ้านเลขที่หรือที่อยู่ของตนเอง เบอร์โทรศัพท์ที่คุ้นเคย ด้านการรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล ไม่สามารถจดจ่อทำงานอย่างมีสมาธิ มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันด้านการแต่งกาย เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ใช้คำพูดสับสน ขาดความต่อเนื่อง บกพร่องในการมองเห็นและการอ่าน ระยะนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ดูแล

ระยะที่สาม  ระยะสมองเสื่อม จะส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมโดยเฉพาะการรับรู้ การคิด ความจำ การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล อย่างรุนแรง จะเริ่มจำคนใกล้ชิดในครอบครัวไม่ได้ รู้สึกเหมือนตนเองเป็นคนแปลกหน้า ความคิดและอารมณ์สับสนตลอดเวลา บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม ควบคุมอุจจาระ-ปัสสาวะไม่ได้ เคลื่อนไหวลำบาก พูดผิดปกติเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงและขาดการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

สุภาวดี พุฒิหน่อย และคณะ. ผู้สูงอายุกับกิจกรรมบำบัด. เชียงใหม่: ณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         2550.

 

หมายเลขบันทึก: 169776เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท