ใครแต่ง ลิลิตยวนพ่าย ??


การสืบหาว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ ยวนพ่าย เป็นสิ่งที่ท้าทายนักปราชญ์ในด้านวรรณกรรมไทยมาหลายยุคหลายสมัย

วรรณกรรมไทยโบราณเรื่อง ยวนพ่าย (ยวน=โยนก) เป็นมรดกทางด้านวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดของไทยเรื่องหนึ่ง เพราะนอกจากผู้แต่งจะแสดงให้เห็นความสามารถด้านการประพันธ์ร่ายและโคลง ดั้นบาทกุญชร แล้ว ยังถือว่าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชั้นต้นที่มีคุณค่าแก่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. 1991 -2031 ) เป็นอย่างมาก

ศ.ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร เสนอทรรศนะเกี่ยวกับ ลิลิตยวนพ่าย ไว้ในหนังสือ พินิจวรรณการ : รวมบความวิจัยด้านวรรณคดีและภาษา สำนักพิมพ์แม่คำผาง พ.ศ. 2542 ความว่า
 
แม้ว่าพิจารณาอย่างเคร่งครัดแล้ว ยวนพ่าย ไม่อาจจัดอยู่ในวรรณกรรมประเภทลิลิตได้ เพราะใช้คำประพันธ์ไม่ครบประเภท แต่ก็มีลักษณะการประพันธ์ที่เคร่งขรึมเหมาะแก่เรื่องที่เขียนถึง คือการยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินในพระราชกิจการสงครามกับฝ่ายเชียงใหม่หรือโยนกรัฐ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช จริง ๆ แล้วนั้นเราอาจเรียกได้ว่า ยวนพ่าย เป็นผลงานระดับมหากาพย์ทีเดียว

ยวนพ่าย มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากวรรณกรรมไทยทั่วไปอย่างหนึ่งคือ ผู้ประพันธ์ได้ใช้ทั้งภาษาไทโบราณ ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตอย่างช่ำชองอันแสดงถึงภูมิปัญญาอันลึกซึ้งของท่านยกตัวอย่าง เช่น ผู้แต่งยวนพ่ายได้สรรเสริญบุญบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จากหนึ่ง (เอก) ไปจนถึงสิบ (ทศ) เช่น

หลักหน่วย (เอก)

เอกสัตวเอกาคม(ะ)ล้ำ...........เลอกษัตร ท่านฤา
เอกทยาศรัยแสวง ................ชอบใช้
เอกาจลดำรงรักษ์ .................รองราษฎร์
เอกสัตวเกื้อให้ ......................สร่างศัลย์

โบราณาจารย์ ถอด อรรถกวีไว้ดังนี้

  • ประเสริฐยิ่งนัก (เอกสัตว์) และ เลอเลิศกว่ากษัตริย์ ทั้งมีฤทธยาคม หาสองมิได้ เอก+อาคม =เอกาคม

  • มีอัธยาศรัยเสมอเป็นอันเดียวแสวงหาคนมาใช้งานด้วยความชอบธรรม เอก+อัธยาศัย=เอกัธยาศัย/เอกทยาศรัย

  • ดำรงพระสันดานดุจ เอกาจล (ภูเขา) อันเป็นแท่งเดียว อำรุงรักษาราษฎร

  • เกื้อหนุนสัตว์ให้สว่างฟื้นจากทุกข์ถ่ายเดียว

หลักสิบ (ทศ)

ทศบุญพระแต่งตั้ง...... แสวงสวะ บาปแฮ
ทศนิชรยล ..................ยิ่งผู้
ทศญาณทศพัศดุ .......ยลโยค
ทศรูปพระเจ้ารู้ ...........รอบเรียง 

โบราณาจารย์ ถอด อรรถกวีไว้ดังนี้

  • พระองค์ถึงพร้อมด้วย ทศบุญ (บุญกิริยาวัตถุ 10) แสวงหนทางพ้นทุกข์ (สวะบาป)

  • ทรงถึงพร้อม นิชราวัตถุ 10 ยิ่งกว่าผู้ใด

  • (ยามเมื่อทรงผนวช) ก็ทรงถึงพร้อม ทศญาณ (วิปัสนาญาณ 10) ทศพัสดุ (กถาวัตถุ 10) +  อัปปิจฉกา 10

  • ทรงรู้รอบ ว่าด้วยเรื่อง ทศรูป คือ รูป กลาป 6 มัดๆ ละ 10



อย่างไรก็ตามมีคนเป็นจำนวนน้อยมากที่จะอดทนอ่าน ยวนพ่าย ได้ตลอดเนื่องจากไม่ค่อยเข้าใจศัพท์ยากที่พบอยู่ในทุกบทและทุกบาท อุปสรรคเรื่องศัพท์ยากนี้ทำให้วรรณกรรมโบราณเรื่องนี้เกือบจะถูกลืมไปทั้ง ๆ ที่เป็นเสมือนเพชรปะดับวรรณกรรมไทยโบราณ

นอกจาก ยวนพ่าย จะเป็นงานประพันธ์ที่อ่านเข้าใจยากสำหรับคนรุ่นหลังตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาแล้ว ยังมีข้อถกเถียงกันมากว่าถ้าจะกำหนดให้แน่ชัดลงไปแล้ว ยวนพ่าย แต่งในรัชกาลใดและใครเป็นเจ้าของผลงาน

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานพระดำริว่า “หนังสือ ยวนพ่าย นี้แต่งเมื่อศักราชเท่าใดและใครเป็นผู้แต่งหาปรากฎไม่ สังเกตดูโดยทางสำนวนดูเป็นสำนวนเก่ามาก ทั้งความรู้เรื่องในพงศาวดารในตอนที่แต่งนั้นก็รู้ถ้วนถี่กว่าที่ปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารและหนังสือพงศาวดารเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นน่าที่จะแต่งในเวลาใกล้ ๆ กับเหตุการณ์ที่กล่าวถึง จึงยังสามารถรู้เรื่องได้ถ้วนถี่ สันนิษฐานว่าเห็นจะแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสวยราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2034 จน พ.ศ. 2072

การสืบหาว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ ยวนพ่าย เป็นสิ่งที่ท้าทายนักปราชญ์ในด้านวรรณกรรมไทยมาหลายยุคหลายสมัย ความจริงแล้วมีเหตุผลหลายประการที่ทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพอจะหานามผู้แต่งได้ เพราะว่างานวรรณกรรมสำคัญ ๆ ของไทย โดยเฉพาะที่มีที่มาจากราชสำนักจะบอกไว้ด้วยว่าใครเป็นเจ้าของผลงาน และในกรณีของ ยวนพ่าย นั้นนักประวัติศาสตร์ก็มีความคิดในทางเดียวกับ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สังเกตโดยทางสำนวนรู้ได้แน่อย่างหนึ่งว่าผู้แต่งลิลิตยวนพ่ายนี้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในทางภาษาและแบบแผน ขนบธรรมเนียมราชการ คงเป็นกวีที่เป็นคนสำคัญในสมัยเมื่อแต่งหนังสือเรื่องนี้

วินัย พงศ์ศรีเพียร : อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เขียนบทความ ใครเป็นผู้แต่งวรรณกรรมยวนพ่าย ลง วารสารโลกประวัติศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม - กันยายน 2538 ความว่า

หนังสือ ยวนพ่าย นี้จึงเป็นที่นับถือกันว่าเป็นตำราเรื่องหนึ่งทุกสมัยสืบมาจนกาลบัดนี้ผู้ที่สมควรได้รับเกียรติเป็นผู้ค้นพบนามผู้แต่ง ยวนพ่าย คือ พลตรีหม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี กรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ

พลตรีหม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี ท่านอรรถาธิบายไว้ว่า

เนื่องจากผลงานเรื่องลิลิตยวนพ่ายนี้ อุดมไปด้วยศัพท์ยากจึงทำให้ปราชญ์รุ่งหลังหลงทางพยายามแปลศัพท์บาลีสันสกฤตทุกตัวแม้กระทั่งชื่อเฉพาะบุคคล อย่างไรก็ตามนามผู้แต่งจะต้องปรากฎในงานประพันธ์ของท่านและเราจะต้องหาให้พบให้ได้

ในท้ายส่วนที่เรียกว่า อาศิรวาท เราพบข้อความที่ผู้ประพันธ์กล่าวถึงงานประพันธ์ของท่านสำเร็จได้ “เพราะพึ่งพระเจ้าหล้า กล่าวเกลา” หรือพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยเหลือ แล้วกล่าวต่อไปว่า

ใช่แรงข้ารู้กล่าว...........กลบท บอกพ่อ
อัลปเบญโญเยาว์.........ยิ่งผู้
จักแสดงพระยศรื้อ....... ถึงถ่วย ไส้แฮ
นักปราชญ์ใดเรืองรู้ .....เชี่ยวชาญฯ

  • ผู้เขียนถอดความไว้เป็นสำนวนของผู้เขียน ไว้ดังนี้  ใช่ว่าข้าพเจ้านั้นมีแรงความรู้อันแกร่งกล้า เพราะกล่าว กลบท ได้ดอกนาท่าน

  • ตัวข้าพเจ้านั้นปัญญา(อ่อน) เยาว์ ยิ่งกว่าผู้ใด

  • การกล่าวแสดงถึงพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินนี้ ไว้เป็น หมวดหมู่ (ถ่วย/ท่วย/ทวย) นี้ไซร้

  • แม้นักปราชญ์ท่านใดรู้เรื่องเชี่ยวชาญ-



ใดผิดเชอญช่วยรื้อ ...........รอนเสีย
ใดชอบการณ์เชอญเกลา.... กล่าวเข้า
เพียงพระระพีเพงีย .............สบสาธุ
จุ่งพระยศพระเจ้าเรื้อง ......ร่อยกัลป์

  • เห็นว่าที่ใดผิด ก็เชิญช่วยรื้อเอาออกเสีย

  • ส่วนที่ใดเห็นแล้วชอบ ก็เชิญขัดเกลาให้ดียิ่งขึ้นเข้าเถิด

  • ขอให้คำประพันธ์นี้ทอแสงรัศมีเสมอเพียงดวงอาทิตย์ เป็นที่ประสบแต่ความยินดี(สาธุ!)

  • และขอความรุ่งเรืองแห่งพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินจุ่งคงอยู่ตราบสิ้นกัลปาวสาร



สารสยามภาคพร้อง ............กลกานท นี้ฤๅ
คือคู่มาลาสวรรค์ ................ช่อช้อย
เบญญาพิศาลแสดง ............เดิมเกีรยติ พระฤๅ
คือคู่ไหมแส้งร้อย ...............กึ่งกลางฯ

  •  สารสยามพากย์ นี้แต่งเพื่อไว้ใช้ขับร้องพร้องเป็นเพลง

  • อุปมาได้ดั่ง ช่อดอกไม้แห่งสวรรค์อันมี ช่องามงดชดช้อย

  • ข้าผู้มีนามว่า "เบญญาพิศาล" เป็นสื่อกลาง ผู้แสดงบท ยอยศพระเกียรติ

  • ก็เป็นเหมือนดั่งเส้นไหม อุปกรณ์แห่งการเรียงร้อย ภาษาดอกไม้นี้




"อัลปเบญโญเยาว ยิ่งผู้" แปลว่า เป็นผู้มีปัญญาน้อย/ไร้ปัญญา ฉะนั้นจึงดูเป็นการขัดกันด้านบริบท เพราะโคลงข้างต้น ถ่อมตนว่าผู้แต่งมีปัญญาน้อย (อัลปเบญโญเยาว์) โคลงข้างล่างกลับบอกว่าผู้แต่งมี "เบญญาพิศาล" (ปัญญากว้างใหญ่ไพศาล) ได้อย่างไรนอกเสียจากว่า เบญญาพิศาล/ปัญญาพิศาล นี้ต้องเป็น วิสามัญนาม หรือนามเรียกขาน นั่นเอง

โคลงบทหลังนี้แสดงอย่างชัดเจนว่าผู้แต่งยวนพ่ายคือผู้มีนามว่า "เบญญาพิศาล" หรือ "ปัญญาไพศาล" ( ในภาษาไทโบราณสระอะและสระเอ สลับที่กันได้เสมอ เช่น สัชนาไลย เป็นเสชนาไลย หรือมังราย เป็นเม็งราย)

แต่ เบญญาพิศาล ผู้นี้มีภูมิหลังอย่างไร ร่องรอยของ เบญญาพิศาล เท่าที่ผู้เขียนทราบปรากฎ อยู่ในเอกสารชั้นหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชนิพนธ์ เรื่อง วัดสมอราย อันมีนามว่า วัดราชาธิวาส ทรงเล่าโดยทรงหยิบยกทั้งหลักฐานข้อเขียนและพยานบุคคลว่าในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการสถาปนาพระ(มหา)นาค ซึ่งเดิมบวชอยู่ที่วัดโคกแสงหรือโคกมะลิ และเคยหนีไปเขมรหลังเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ขึ้นเป็นพระปัญญาพิศาลเถระ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสมอราย ต่อมาเป็นวัดราชาธิวาส

นาม “ปัญญาพิศาล” นี้คงมิได้คิดขึ้นใหม่แต่คงจะเป็นสมณศักดิ์ในทำเนียบฝ่ายสงฆ์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึงแม้รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะห่างจากสมัยต้นรัตนโกสินทร์มากก็ตาม แต่นี่มิได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด ในทำนองเช่นเดียวกับมรดกนาม “ศรีทวารวดี” ในชื่อกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา

สำหรับเราแล้วความสำคัญอยู่ที่ข้อมูลนี้ทำให้เราสันนิษฐานได้อย่างมั่นใจว่า เบญญาพิศาล ผู้แต่ง ยวนพ่าย เป็นพระภิกษุนักปราชญ์ผู้ทรงภูมิอย่างยิ่งในการใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตความรอบรู้ในกิจการบ้านเมือง ความใกล้ชิดกับราชสำนักของท่าน เดาว่าท่านอาจเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็หมายความว่า ท่านมีอะไรหลาย ๆ อย่างคล้ายกับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้ทรงพระนิพนธ์วรรณกรรมประวัติศาสตร์เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ในสมัยรัชกาลที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หมายเลขบันทึก: 169315เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะ

- เฉลยมาเถอะ

-เดาไมถูก

- เพราะทั้งสองเรื่องอยู่กันคนละยุคสมัย

 

  • สวัสดีครับ
  • ยังไม่กล้าสรุปครับ ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิง
  • เป็นเพียงการสันนิษฐานในแวดวง นักวิชาการ ครับ ผมก็ไม่กล้าฟันธง....

มาเยี่ยม...

เหมือนย้อนยุคไปดูความเก่าแก่ที่น่าชื่นชม..ของโบราณเลย..นะครับ

สวัสดีครับ

  • ตามมาขอบคุณ
  • และแวะมาเยี่ยมที่บันทึกครับ
  • แล้วจะแวะเข้ามาใหม่ครับ
  • ขอบคุณครับ

 

  • P  สวัสดีครับอาจารย์ ยงยุทธ  
  • P  สวัสดีครับอาจารย์ umi

 

ขอบคุณมากค่ะที่ไปทักทายบล็อกเกอร์ใหม่ค่ะ

สวัสดีครับ

การอ่านร้อยกรองนั้น ถ้าได้เป็นเป็นทำนอง จะได้ทั้งความไพเราะ และเนื้อความมากกว่าการอ่านไม่เป็นทำนอง

ในยวนพ่ายมีร่ายไม่กี่บท คั่นระหว่างโคลงดั้น ไม่นับเป็นลิลิตก็ได้ อาจเรียกว่าโคลง มีร่ายคั่น ประมาณนั้น

การใช้ศัพท์บาลีสันสกฤตอย่างมาก ทำให้อ่านยาก เข้าใจยาก แม้แต่คนที่สนใจวรรณคดีครับ

สำหรับการค้นหาคนแต่งจากศัพท์ในคำประพันธ์ ทำให้หลงทางได้เหมือนกัน แต่ก็สนุกที่จะศึกษาครับ

การได้ศึกษาธรรมเนียมในการแต่งคำประพันธ์ และประวัติศาสตร์ รวมทั้งวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ช่วยให้ค้นคว้า และเข้าใจที่ไปที่มาของงานแต่ละชิ้นได้มากครับ

รออ่านเรื่องต่อๆ ไปครับ เขียนสนุกดีครับ

  • สวัสดีครับ อาจารย์ ธ.วั ช ชั ยP ขอเรียกอาจารย์นะครับ เพราะเห็นเขียนหนังสือวิชาการ อิๆ
  • ขอบคุณครับสำหรับทรรศนะดีๆ

สวัสดีครับ

  • แวะเข้ามาเป็นครั้งแรก  ตามมาจากกาพย์ไหว้ครู  เพราะชอบบทกวี  และประวัติศาสตร์อยู่เหมือนกัน (แต่ไม่เก่ง)
  • ขอชมว่าเป็นคนหนุ่มไฟแรง  เนื้อหาถูกใจครูดีจัง  และเรื่องลิลิตยวนพ่าย  ให้ข้อมูลมีมุมมองที่เป็นประโยชน์มาก 
  • ขอให้เขียนต่อไป  จะได้เข้ามาอ่านอีก
  • สวัสดีครับอาจารย์ สมเจตน์ 
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ใหม่แล้วค่ะ

แต่ลิลิตยวนพ่ายศัพท์ยากค่ะ อ่านแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจแจ่มแจ้ง แต่ทรงคุณค่านะคะ

สวัสดีครับคุณ   Sasinanda ขอบคุณนะครับ เห็นด้วยครับ :)

มาแว่อ่านเรื่องยวนพ่ายครับ..

*ในฐานะคนล้านนาคิดว่าเป็นสงครามแข่งบารมีระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ในขณะนั้นครับ  ล้านนาถูกอุบายพระสงฆ์จากอยุธยาเข้ามาทำพิธีข่มนามแต่ที่สุดก็ถูกจับได้

*พระเจ้าติโลกราชก็มีความหมายว่าเจ้าแห่งโลกทั้งสามคล้ายกับบรมไตรโลกนาถครับ

*ผมเคยจะคิดเสนอให้พระเจ้าติโลกราชเป็นมหาราชแห่งล้านนาเพราะแผ่ศาสนาบารมีเหนือสุดถึงเมืองเชียงรุ่งในจีน  อาณาจักรล้านนารุ่งเรืองกว้างขวางมาก ตะวันตกติดน้ำสาละวิน ตะวันออกติดลำโขง  ใต้สุดจรดลำปางแถวสุโขทัยมีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่แปดของโลกที่ วัดเจ็ดยอด พ.ศ.2020   อักษรล้านนาถูกใช้บันทึกพระธรรมเผยแพร่ไปตามเมืองต่างๆจนมีผู้เรียกขานว่า " อักษรธรรม"

*ในสมัยนั้นชาวไตลื้อขานพระนามพระเจ้าติโลกราชว่า " พระเจ้าอโศก "เพราะแผ่ศาสนาพุทธฝังลึกในดินแดนแถวเชียงตุง เมืองไตได้มาก

*ปัจจุบัน ผู้คนชาวเหนือนิยมไปเที่ยวเมืองเชียงตุงเมืองลา   เชียงฮุ้ง(รุ้ง)กันมากเพราะรำลึกถึงอดีตที่ดีงามของบรรพบุรุษ

*เสียดายตอนนั้นล้านนาไม่มีผู้บันทึกหรือมีปราชญ์แต่งยอยศพระเจ้าแผ่นดิน น่าจะมีผู้แต่งกะโลงยอยศพระเจาติโลกราชเอาไว้ให้พวกเราได้อ่านกันมั่ง

*ในความคิดของผมคิดว่าผู้แต่งลิลิตยวนพ่ายน่าจะแต่งสมัยพระบรมไตรโลกนาถเพราะกวีย่อมชื่นชมบารมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเอง

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สวัสดีครับอาจารย์ นิคม NIKHOM ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณมากๆครับ

แล้วกูจะรุ้เร้อออออออออออออออออออออออออ ฟาย

สวัสดีค่ะ

* เห็นบันทึกข้างบน

* นึกขึ้นได้ลูกชายโทร.มาคุย

* มีสัตว์ที่ตัดต่อพันธุกรรมใหม่

* ระหว่างกาสร กับโคธาน

* จากนั้นก็เพิ่มนอให้ด้วย

* รวมเป็น ๓ พันธุกรรม

* ลองให้เด็ก ม. ๑ วิเคราะห์ แล้วเขาบอกว่าตัวที่น่ากลัวมากก็คือ หัวเป็นโคธาน มีตัวเป็นกาสร แต่ถ้ามีนอด้วยต้องเป็นตัวเมียแน่ๆ

* ซะงั้น ๕๕๕๕๕

ขอบคุณครับคุณ jreouogq (ไอพีมันฟ้องนะครับทำอะไร)

สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์พรรณา ขอบคุณครับ เคยได้ยินตลก เอามาทายกัน ควาย+แรด=แควด สงสัยสายพนธ์ใกล้กัน

สวัสดีค่ะ

* กาสร + โคธา เป็น เควี่ย

* กาสร + โคธา + แรด น่าจะเป็น เควียด (เจ้าของยังไม่ตั้งชื่อค่ะ)

* ตลกๆ ก่อยบ่ายคลายเครียด

* กินข้าวให้อร่อยดีกว่า

* สนใจไหมคะ

S6003159

บันทึกของคุณ กวิน ทุกบันทึกมีคุณค่าในวงวรรณกรรมและวงวิชาการภาษาไทยมาก ผมขออนุญาตเก็บไว้ให้เด็กศึกษา เป็นคลังความรู้ของผมและเด็กๆนะครับ

ขอบคุณอาจารย์พรรรณา ครับสำหรับ ไก่ปิ้ง ไข่ปิ้ง ถ้ามีข้าวเหนียวส้มตำด้วยก็จะดีมากๆ นะครับ แต่ก่อนกินอย่าลืมพิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา

ขอบพระคุณท่าอาจารย์  พิสูจน์ ครับยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท