อนุทินส่วนตัว ๓ มี.ค. ๕๑ WB SAREX Workshop


The World Bank
SAREX Indaba

         วันนี้ทั้งวัน ผมไปร่วมการประชุมที่คล้าย retreat ของเจ้าหน้าที่ External Affairs ของธนาคารโลกภูมิภาคเอเซียใต้ ที่เขาเรียกย่อๆ ว่า SAREX (South Asia Regional External Affairs)    ซึ่งจัดที่กรุงเทพระหว่างวันที่ ๒ – ๖ มี.ค.    สิ่งที่เขาต้องการคือ ให้เกิด Knowledge Sharing ระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้ง ๗ ประเทศในภูมิภาค และสำนักงานใหญ่ที่กรุงวอชิงตัน

         เขาเชิญผมให้ไปพูดเรื่อง Why Knowledge Matters in Development : Building Knowledge Economies to Fight Poverty ในวันที่ ๔ มี.ค. คือพรุ่งนี้    โดยเขาบอกว่าถ้าผมสนใจช่วงอื่นๆ ก็ยินดีให้เข้าร่วม    วันนี้ผมจึงไปร่วมค่อนวัน เพราะผมอยากรู้ว่า WB เขามอง KM อย่างไร

         ผมสรุปว่าคนที่มาร่วมประชุม เข้าใจและรู้จัก KM ในระดับที่ไม่ลึกนัก    พวกเราที่ สคส. และภาคี ลึกกว่ามาก

         แต่ที่ผมได้ประโยชน์มาก คือได้เข้าใจเรื่อง ER – External Relations ที่เข้ามาแทนที่ PR – Public Relations   ในมิติใหม่นี้ งาน ER เน้น communications (สื่อสาร) และงานสารสนเทศ    เน้นสื่อสารกับทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร   ที่สำคัญคือเขาเน้นทำงานเชิงรุก    มองว่างาน ER เป็นงานสร้างโอกาส และลดความเสี่ยงขององค์กร

         ต่อไปนี้เป็นบันทึกที่ผมใช้ พีดีเอ บันทึกระหว่างประชุม


Knowledge Sharing
เขาเริ่มต้นด้วย KS Best Practice 4 เรื่อง คือ

อินเดีย : Crisis communication
      WB ถูกกล่าวหา จาก Civil society ว่าเป็นฝ่ายนายทุน    WB ควรอยู่ในอินเดียหรือไม่   มี negative campaign ต่อต้าน WB  ว่าเป็นเครื่องมือของสหรัฐ   นายทุน 
**วิธีแก้คือไม่แก้   แต่สร้างพื้นที่ทำงานร่วมกัน   วิธีทำงานใน complexity  วิธีแสดงความจริงใจ   ความเข้าใจมุมมองอื่น    ไม่ทำงานตอบโต้  
 
เจ้าหน้าที่ External Affairs ดำเนินการเพื่อทำความเข้าใจต่อสาธารณชนหลากหลายด้าน 
• ใช้ website ให้ fact กลางๆ  มี Q&A section  แสดงความ open / transparency
• มี ผอ. Country director ที่ open, Self-criticism in public
• จัด field trip ให้ผู้สื่อข่าว
• ให้ข้อมูล
• มองเป็นโอกาสทำงาน packaging ข้อมูล
• รับฟัง  ยอมรับว่า WB ไม่ได้ทำถูกเสมอไป   ยอมรับว่า civil society criticism is changing the WB

    **ผมนั่งสังเกตทักษะในการ ลปรร. ของ จนท. WB   ดูว่าเขามีทักษะด้าน storytelling แค่ไหน

    เรื่องแบบนี้เกิดในทุกประเทศกำลังพัฒนา

Innovative Campaign against HIV/AIDS  ศรีลังกา
    Portraits of commitment
    ใช้ภาพสื่อสาร  ทำงานร่วมกับสมาคมถ่ายภาพ
    Language of images : powerful & compelling 
    ใช้ตุ๊กตุ๊กเป็น mobile gallery  ให้คนขับตอบคำถาม - HIV Communicators    ถ้าตอบไม่ได้มี mobile phone ถามไปที่ศูนย์
   ให้ชาวบ้าน (คนขับตุ๊กตุ๊ก) ทำ storytelling ด้วยตนเอง 
   ศิลปินเป็น great communicator ชวนมาทำงานที่มีคุณค่าต่อสังคมได้เสมอ
         **ผมตั้งคำถามว่า การสื่อแบบนี้ WB ควร lead/own หรือ empower ให้ local organization เป็น leader/owner  

On-line dissemination of knowledge Erik Nora 
    Thinking process ของ communicator ต่างจากการสื่อสารทั่วไป
"End Povert in a generation" blog
  - JIT Approach 
  - Timing
  - web package + e-mail alert
  - โยงสิ่งที่เกิดในโลก เข้ากับกิจกรรมของ WB  และ package แล้ว call attention ต่อผู้สนใจ ตามที่เขาสนใจ
  - ออกจาก issue/dept silos เปิดสู่โลกแห่งสารสนเทศ  และเอา ค เหล่านั้นมาใช้ ปย ในงานของตน

Afghanistan
    Capturing Results 
   การสื่อสารความสำเร็จในท่ามกลางเรื่องราวของความไม่สงบ   สื่อไปสู่ donors  ให้สาธารณะสื่อ
    เลือกสื่อตามเป้า
    Website : ตาม issue รูปบุคคลน่าเชื่อถือในด้านนั้นๆ   ตัวหนังสือเป็นคำสั้นๆ  link ไปยัง audio clip
   ในอัฟกา มีสถานีวิทยุ ทีวี เกิดมากมายและต้องการขอเงินจาก donors

         **ทำเอง  เป็นเจ้าของเอง  vs  หนุนให้คนอื่น/องค์กรอื่น ทำและเป็นเจ้าของ    เราหันมาทำงานที่กว้าง สร้างสังคมที่เอื้อต่อเป้าหมาย
 

Communications at the ADB

 Ann Quon
  67 member countries  2/3 in the  region
  2,500 staffs, 800 professional
  เพิ่งปีที่แล้วที่ศึกษาภาพลักษณ์ของ ADB   ผลออกมาดีเกินคาด  n = 700 ใน 30 ปท กระจายใน donors และ borrower countries กระจายกลุ่มในสังคม
  เอเซีย 8% annual growth
  2/3 of world's poor - 600m under $1/d
  Rising inequity
  LTSF – Longterm Success Factors
  ADF X Replenishment  ต้องหาทุนเพิ่ม   ทำความเข้าใจต่อ donor community
  more focused, selective
         **WB communication อาจจะเน้นต่อ donors มากกว่าคนทั่วไป
 Public communication policy 2005 to make ADB
1. More open
2. More Accountable
3. More Effective
4. Better recognized
5. Widely respected
  Communicate 2-way communication และ share lessons learned
  Stakeholder trust


         **ปัญหาคือ WB/ADB คำนึงได้แต่ผลต่อตลาด/econ growth ไม่ได้คิดถึง H Impact / Env impact ต่อ local population อย่างรอบคอบ
         **ADB ทำหน้าที่นำเงินไปสู่การพัฒนา
         **DER – Dept of External Relations ไม่ใช่ DPR มุมมองใหม่
         **DER staffs ทำงาน facilitate KS ระหว่างภายนอกและภายใน   ต้องรู้จักทั้งในและนอก   ผ่านการ communicate success stories
         **ต้อง communicate negative info ก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอ่ยขึ้นมา   แสดงความจริงใจ
   www.adb.org
 
  - poverty
  - climate change

         **กลไกการเงินเพื่อพัฒนาควรเลือกอะไรเป็นธงนำ    ยังเอาการต่อสู้ความยากจนเป็นธงหลักอยู่หรือ หรือควรหาธงอื่นที่เหมาะสมกว่า

Q มองบทบาท ปท จีนอย่างไร
A จีน อินเดีย สำคัญ
  จีนไม่ต้องการเงิน  ต้องการ expertise
   จีนมีโอกาสเป็น donor   และต้องการ infrastructure development
Q  joint assessment eg Tsunami
A  pilot test colla
         **ใช้ KM เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
         **มอง communication เป็นเครื่องมือของการดำรงอยู่อย่างดี สุขภาพองค์กรดี  เหมือนร่างกายและจิตใจคน 
Q  เรียนจากความล้มเหลว  experience  sharing
A  silo effect & share experience

     ADB มอง gov เป็น player หลัก  แต่บางรัฐบาลไม่พร้อม    อยากได้ successes sharing

Thomas
     - communicate c K in IT
     - india : gov open up / transparency 
       K leaders
       Scenario planning to do KM for WB not to be criticized
     - Washington DC: innovative enough?
     - GP of using KM Tools

     Managing Talent in the Organization
     Thomas Menkhoff 
     Sociologist 
     Teleos website
     Economist.com  web 2.02
     March 24 - 25 : k architecture for development 
     Singapore's  k4d project
     Virtual team of km
     K : info that enable human to act meaningfully
     KM Pyramid 
     ต้องมี note taker
     Taxonomies โดยคนที่ไม่ใช่ end users

     Siemems sharenet
     Nonaka : interdisciplinary ks
     Eastgate bldg : termite ventilation
     K@Wharton
     K Drivers Questions - K Audit
     From expert culture to network culture
     How to create shared space?
     Virtual teams

AAR ของผม
           ได้เห็นสภาพที่องค์กรดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด โดยการ communicate อย่างซับซ้อน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร     เพื่อแสดงบทบาทและคุณค่าของตน
           WB / ADB มีคุณค่าเป็นองค์กรระหว่างชาติ ที่ทำหน้าที่ระดมทุน และกระจายทุนไปทำกิจการที่ก่อคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติ     องค์กรเหล่านี้ได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องหรือไม่

 
39 ปี วันพระราชทานนาม มหาวิทยาลัยมหิดล
           ตกกลางคืนผมต้องไปออกรายการ ทีวี ช่อง ๑๑  ร่วมกับ ท่านอธิการบดี ๒ ท่าน (คือ ศ. นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล  กับ ศ. ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดีจุฬาฯ) และอดีตอธิการบดี ๑ ท่าน คือ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร   

           เป็นการเสวนาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต่อสังคม”  โดยมี นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ. สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา

             ผมเตรียมไปบอกว่า ในสภาพของการเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สภามหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่เข้มแข็งขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น    ทำหน้าที่กำกับดูแล ที่เรียกว่า Governance หรือ ธรรมาภิบาล ให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่รับใช้สังคมในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่มีจุดเน้นชัดเจน    คือสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่หลากหลายหน้าที่     แต่ละมหาวิทยาลัยต้องกำหนดจุดเน้น หรือตำแหน่ง (positioning) ของตน    สภามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ดูแลให้มีการกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้อง คือมหิดล ทำหน้าที่มหาวิทยาลัยวิจัยระดับนานาชาติให้แก่ประเทศ
 
             เมื่อกำหนดจุดเน้น หรือตำแหน่ง แล้ว ก็ต้องกำหนดกฎระเบียบ และสร้างวัฒนธรรมองค์กร วิธีปฏิบัติ ให้ทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยชั้นยอดในโลกได้     สภามหาวิทยาลัย ก็จะคอยกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารทำพันธกิจตามวิสัยทัศน์นั้นได้    และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่สร้างกลไกตรวจสอบในฐานตัวแทนเจ้าของ    ให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้องเหมาะสม    คอยดูแลความเป็นธรรมให้แก่พนักงาน     ให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม    มีระบบรับการร้องทุกข์
 
             หน้าที่ส่วนนั้นเรียกว่า หน้าที่กำกับดูแล    แต่ยังมีอีก ๒ ส่วน คือหน้าที่ส่งเสริมเกื้อหนุนเชิงยุทธศาสตร์    และหน้าที่ให้ความริเริ่มสร้างสรรค์ จากมุมมองของกลุ่มคนที่ไม่ต้องทำงานบริหารจัดการ     แต่รู้จักมหาวิทยาลัยดีพอ และในขณะเดียวกันก็รู้จักสังคมและสภาพภายนอกดีพอที่จะร่วมใช้ความสร้างสรรค์

             สรุปว่าผมพูดเตรียมไปพูดย่อๆ ตามในหนังสือ
 
             แต่เวลาพูดจริงๆ ไม่ได้เป็นตามสคริปต์เดิม    เพราะผู้ดำเนินรายการต้องการซักว่าประชาชนจะได้ประโยชน์แค่ไหน หรือจะต้องรับเคราะห์จากการที่มหาวิทยาลัยของรัฐกลายไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ    เหตุการณ์นี้ทำให้ผมเข้าใจว่า  จะต้องมีการทำความเข้าใจคุณประโยชน์ของมหาวิทยาลัยต่อสังคมให้เข้าใจกันอย่างลึกกว่าที่เข้าใจกันอยู่

หมายเลขบันทึก: 169308เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท