เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีไร้ระเบียบ
ชั่วผีเสื้อน้อยขยับปีก
โลกทั้งซีกไหวสะท้อนอาจร้อนหนาว
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว
ทุกเรื่องราวโยงใยในเหตุการณ์
เด็กเร่ร่อนขยะคนชายขอบ
ปัญหารอบรุมเร้าเรามองผ่าน
แท้จริงคือตัวเราเมื่อวันวาน
ที่ก่อการกับสังคมโดยหลงลืม
เก็บตกจาก โรงอาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อคราวเดินทางสู่ มรคาแห่งความรู้ (the way of knowledge)
ผู้เขียนเลยลองเอามาแต่งเป็นโคลง ได้ความว่า
ผีเสื้อตัวหนึ่งครั้น
ขยับปีก
ก่อพยุถล่มซีก
โลกกว้าง
ดอกหญ้าเด็ดมาฉีก
สะเทือนทั่ว..พิภพเอย
ปัจจยาการสร้าง
โซ่ห้วงสังสาร
สังคมเสื่อมเพราะน้ำ มือคน
เด็กเร่ร่อนขยะชน-
ยากไร้
วิกฤตทั่วสากล-
ะโลก
แก้กลียุค
ใช้
สติแก้ปัญหา
ในบทความเรื่อง ปรัชญาของความรัก (Love's Philosophy
) จากเรื่อง ซิมโปเซี่ยม (Symposium) ซึ่งอยู่ในหนังสือ
ชุดปรัชญาของเพลโต (Plato) ภาค บทสุนทรพจน์เฟดรัส
เฟดรัส (Phaedrus) ได้ยกบทกวีของ เฮสิออด (Hesiod) กวีกรีกสมัยศตวรรษที่ 8
B.C. (800 ปี ก่อน ค.ศ) ที่ได้เคยบรรยายไว้ใน เทโอโกนี (Theogony)
ซึ่งเป็นบทกวีเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา ความว่า
"First chaos came. and
then broad-bosomed Earth. The everlasting seat of all that is
love."
พินิจ รัตนกุล แปลเป็นสยามพากย์
ไว้ความว่า
อากูล
แรกจรดก้าว มานำ
แผนแผ่นธรณีกาง
กอดอ้อม
เป็นประดิษฐานชีพปวงจำ จึงคลี่
แล้วแหล่ะรักล้ำน้อม
เนื่องมา
นักปรัชญากรีกสมัยก่อน โสเครตีส
(Socrates) ถือว่าทุกอย่างเกิดจาก อากูล (Chaos)
ซึ่งบางคนก็บอกว่าคือความว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุดแต่บางคนก็ว่าเป็นสสารที่ไม่มีรูปร่าง
เทพนิยายกรีกกล่าวว่า แรกเริ่มเกิดความอากูล ต่อมาจึงเกิดโลก บาดาล และความรัก ความรักเป็นพลังที่จัดระเบียบของจักรวาล เกิดภาวะเสถียรภาพ (stable)
กวีกรีกโบราณ เชื่อว่า "ความมีระเบียบมาจากความไร้ะเบียบ" เคออส หรือ คาออส (ภาษาอังกฤษ-Chaos, กรีก Khaos)
ในความคิดของเฮสิออด เคออสเป็นเพียงแค่สภาวะแรกเริ่มของจักรวาลที่มืดมนอนธกาล ไม่มีชีวิต ไม่ได้เป็นเทพแต่อย่างใด
ต่อมาโอวิด (Ovid) กวีชาวโรมัน (50 ปีก่อนคริสตกาล)
ได้เขียนกำเนิดโลกไว้ใน เมททะมอร์โพส์ (Metamorphose)
บรรยายความว่า
เคออส ปฐมเทพ
ซึ่งเกิดก่อนชีวิตทั้งมวล ได้เทวีแห่งราตรี อันมีชื่อว่า นิกส์ (Nyx) บ้างก็ว่าชื่อ น๊อกส์
(Nox)
เป็นคู่ของตน เกิดบุตร คือ เอรีบัส
(Erebus) ซึ่งหมายถึง ความมืดมนอนธกาล
เอรีบัสได้เข้ามาสืบตำแหน่งแทน จนเกิดบุตรอีกสององค์ คือ อีเธอร์ (Aether) กับ เฮเมอรา (Hemera) ซึ่งหมายถึง ความสว่าง และ
กลางวัน ทั้งคู่
อีเธอร์ กับ เฮเมอรา ร่วมกันถอดบิดา กับ มารดา ออกจากตำแหน่ง
แล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่แทน เทพนิยายนี้ เป็นบุคคลาธิษฐาน
(Personification) ซึ่งกวีสื่อความหมายถึง
ก่อนอื่นจะเกิดความมืด ต่อมา ความสว่างเกิดขึ้น และแสงสว่างนั้น
ได้ทำการขับไล่ความมืดออกไปสิ้น
เมื่อแสงสว่างเข้าครอบครองอำนาจในสากลโลกแล้ว จึงเกิด อีรอส (eros) หรือ คิวปิด (Cupid) ตำนานหนึ่งกล่าวว่า คิวปิด
เป็นบุตรของจูปีเตอร์ (Jupiter) กับ วีนัส (Venus) ทั้งอีเธอร์
เฮเมอรา และ อีรอส ได้ร่วมกันเนรมิต แผ่นดิน และน้ำ แล้วอีรอส
จึงแผลงศรให้ลูกธนูไปแทงที่พิภพ เกิดเป็นมวลชีวิต และพืชต่าง ๆ
เกิดมีสัตว์ วิหค และปลา อยู่ทั้งบนบก และในน้ำ ในอากาศทั่วไป
โดยรวมแล้ว เคออส คือ
สภาพแรกเริ่มที่มืดดำ เวิ้งว้างไร้ขอบเขต ไร้ระเบียบหรือสรรพสิ่งใดๆ
ด้วยเหตุนี้ภาษาอังกฤษเลยรับคำ Chaos ไปใช้หมายถึง
สภาพไร้ระเบียบ ยุ่งเหยิง สับสนวุ่นวายไม่มีขื่อแป
และเพราะรากคำนี้เป็นภาษากรีก ตัว Ch เลยออกเสียงเป็น ค(K
)ไม่ใช่เสียง ช (Ch)
สภาวะเคออส นี้สอดคล้องกับแนวความคิดของเล่าจื๊อ ( Lao Zi หรือ Lao Tzu)
นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงชาวจีนที่สุดท่านหนึ่งของชนชาติจีน
ที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 400 ปี ก่อนคริสตศักราช
เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางลัทธิเต๋า นั่นคือ
"เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching)
ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้
เล่าจื๊อ อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ เต๋าเต็กเก็ง ว่า
เต๋ามีลักษณะเป็นแนวความคิดที่ลึกลับ(Mysticism) และได้อธิบายถึง
การกำเนิดของจักรวาลว่า สภาวะดั้งเดิมจริงๆ
ของเต๋านั้นไร้รูปว่างเปล่าและต่อมาจากเต๋าที่ว่างเปล่าที่ไร้รูปนี้ก็กลายมาเป็นเต๋าอีก
นี่จึงเป็นสภาพที่ต่างกันไประหว่างการมี (หยาง) กับการไม่มี
(หยิน)
สำหรับ ในไทย ได้มีการกล่าวถึง กล่าวถึงเหตุการณ์
โลกประลัยด้วยไฟ (จากนั้นโลกจะ คุมรูป รวมตัวเกิดขึ้นมาใหม่) ไว้ใน
ลิลิตโองการแช่งน้ำ ความว่า
นานา อเนกน้าว
เดิมกัลป์
:จะขอกล่าวถึงเรื่องต่างๆ นานา เมื่อครั้ง ปฐมกัป
(เดิมกัลป์)
จักร่ำ จักราพาฬ
เมื่อไหม้ :
จะกล่าวร่ำร้อง บอกถึงคราวเมื่อ จักรวาล ถูกไฟไหม้
กล่าวถึง ตระวันเจ็ด อันพลุ่ง :จะกล่าวถึง ดวงตะวัน
อันลุกพลุ่ง มีเจ็ดดวง
น้ำแล้งไข้ ขอดหาย
ฯ :
น้ำแห้งแล้ง แห้งขอด เหือดหายไปจากโลก
เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า
เป็นไฟ :
ปลาใหญ่เจ็ดตัวต้องตาย ไขมันของปลาลุกเป็นไฟ
วะวาบ จัตุราบาย แผ่นขว้ำ :
ไฟไหม้ลุกวาบๆ ไปถึง จตุระ+อบาย
(อบายภูมิทั้งสี่)
ชักไตรตรึงษ์ เป็นเผ้า
: ไฟทำลายสวรรค์ชั้น ไตรตรึงษ์/ดาวดึงส์ เป็นผงเผ้า
แลบ่ล้ำ สีลอง
ฯ
: แสงแห่งไฟนั้นเรืองลอง บ่มีแสงไฟใด สีสว่างล้ำกว่าแสงนี้
สามรรถญาณ
: ผู้มีญาณอันสามารถ (พระพรหม)
ครอบเกล้าครองพรหม
: ผู้คุ้ม(ครอบ-คลุม)เกล้า(ชาวเทวดา)ครองสวรรค์ชั้นพรหม
ฝูงเทพนองบนปานเบียดแป้ง :
เทวดาจากสวรรค์ชั้นล่างๆ หนีตาย ขึ้นมาอาศัย บนพรหมโลก
สรลมเต็มพระสุธาวาสแห่งหั้น :
เทวดาเบียดเสียดเหมือนผงแป้งสระหลมสลอนเต็มพรหมชั้นสุธาวาส
ฟ้าแจ้งจอดนิโรโธ
ฯ
: ฟ้าเริ่มสว่างแจ้ง(ไม่มีควันไฟแล้วไฟที่เคยไหม้) ดับ (นิโรธ)
ลง
กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาดฟองหาว
: กล่าวถึง ฝนตก เป็นละอองฟาดฟอง ไปทั่วฟากฟ้า
ดับเดโชฉ่ำหล้า
: ดับ ความร้อน (เดโช) ชื่นฉ่ำทั่วหล้า
ปลากินดาวเดือนแอ่น :
ฝนตกทำให้น้ำท่วมปลาว่ายกินดาวและเดือน(จนพุง)แอ่น
ลมกล้าป่วนไปมา
ฯ
: ลมพัด (อย่างแกร่งกล้า) ไปมา
แลเป็นแผ่นเมืองอินทร์
: แผ่นดินเริ่ม คุมรูป เกิดขึ้น
(เมืองอินทร์=เมืองอันยิ่งใหญ่)
เมืองธาดาแรกตั้ง
: เมืองอัน พระพรหม (ธาดา) ก่อตั้งขึ้น
ขุนแผนแรกเอาดินดูที่
: เทวดาวิศวกร(ขุนแผน)ตนแรกออกดูทำเลสร้างเมือง
ทุกยั้งฟ้าก่อคืน
ฯ
:
ทั่วทุกผืนดินและพื้นฟ้าก็ก่อร่างสร้างรูปกลับคืนเหมือนเดิม
แลเป็นสี่ปวงดิน :
แลเกิดเป็นทวีปทั้งสี่
เป็นเขายืนทรง้ำหล้า
: บังเกิดภูเขา สูงทระง้ำ ค้ำแผ่นดิน
เป็นเรือนอินทร์ถาเถือก
: บังเกิดเมืองสวรรค์ขึ้นมาใหม่(เมืองอินทร์)จนดารดาษ
เป็นสร้อยฟ้าคลี่จึ่งบาน
ฯ :
วิมานคลี่คลายเรียงรายเหมือนสร้อยประดับฟากฟ้าชวนเบิกบาน
จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ
: พระพรหมสร้าง เขาไกรลาส
เขาพระสุเมรุ
ผาหอมหวานจึ่งขึ้น
: สร้างเขาคันธมาส ขึ้น
หอมอายดินเลอก่อน
:
กลิ่นดินที่ถูกย่างไฟช่างมีกลิ่นอายอันเลอเลิศกว่ากลิ่นดินสมัยก่อน
สรดึ้นหมู่แมนมา
ฯ
: เทวดาจากเมืองแมนก็สระดิ้นกันลงมา(จะกินดิน)
ตนเขาเรืองร่อนหล้าเลอหาว :
เทวดา มีตัวตนเรืองรองบินร่อนลงมาจากฟากฟ้า
หาวันคืนไป่ได้
: ไม่ตาย (อยู่เหนือเวลาหาวันคืนไป่ได้)
จ้าวชิมดินแสงหล่น
: พอเทวดา ชิม/กิน ดิน แสงสว่างที่มีในร่างก็หล่นหาย
เพียงดับไต้มืดมูล
ฯ
: มืดเหมือนใครดับคบไฟ(คบไฟเรียกว่า ไต้ เช่น
จุดไต้ตำตอ)
ลิลิตโองการแช่งน้ำ
กล่าวถึงเหตุการณ์ โลกประลัยด้วยไฟ เพราะมี ตระวันเจ็ด(ดวง) อัน
(ลุกไหม้) พลุ่ง (พล่าน) ดังนั้น น้ำ จึง แล้ง ไข้ ขอดหาย
(น้ำแล้งและเป็นไข้ เพราะน้ำมีความร้อนสูง น้ำจึงแห้งขอดหายไป)
เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟ (ทวีปทั้ง 7 เกิดโกลาหล เพราะ
หินเหลวร้อนพุ่งปะทุสู่ท้องฟ้า คนโบราณเชื่อว่า ใต้เปลือกโลกมีปลา
ตัวใหญ่ชื่อปลาอานนท์
หนุนเปลือกโลกอยู่ ที่จริงปลาอานนท์
นี้ก็คือเปลือกโลกของทวีปต่างๆนั่นเอง )
จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ ผู้เขียน
จินตนาการว่า เทวาดาผู้มีกายเรืองแสง (โปร่งแสง) ก็คือ จุลชีพ
ในฟากฟ้า ที่ลงมากินดิน (เจริญเติบโตบนพื้นดิน)
นั่นเอง
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเอกภพของเรานั้นเริ่มต้นจากการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang)
คาดกันว่าช่วงเวลา 4 pico-second หรือ 4 ในพันล้านของวินาที
หลังจากบิกแบงนั้น เอกภพจะมีพลังงานสูงมากควาร์กจะมีพลังงานสูงพอ
ที่จะหลุดออกมาจากโปรตรอน และล่องลอยเป็นอิสระ เกิดเป็น
สถานะที่เรียกว่าควาร์ก-กลูออนพลาสม่า
ซึ่งคาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 100000 เท่า
ของอุณหภูมิที่ใจกลางดวงอาทิตย์ หรือหนึ่งแสนล้านองศาเซลเซียส
เมื่อเอกภพเย็นตัวลงในอีกเสี้ยววินาทีให้หลัง
ที่เวลาประมาณหนึ่งในล้านวินาทีหลังจากเกิดการระเบิดครั้งใหญ่
อุณหภูมิของเอกภพจะต่ำลงพอที่จะให้ควาร์กรวมตัวกัน กลายเป็นโปรตอน
นิวตรอนและอนุภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบเป็นสสารต่างๆ ที่เราเห็นในปัจจุบัน
สำหรับ เรื่อง การกำเนิดสรรสิ่ง พุทธศาสนาอธิบายไว้อ้อมๆ ในเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ
12 (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน,
ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ
จึงเกิดมีขึ้น ( the Dependent Origination; conditioned
arising)
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี
ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
ทำให้มีคำถามตามมาว่า "อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย
สังขาร จึงมี"
แล้วอะไรคือสาเหตุที่มำให้เกิด อวิชา ?
อรรถกถาจารย์ ท่านได้อธิบายไว้ว่า อวิชาเกิดเพราะ อาสวสะ ความว่า
กิเลสนี่แหละ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ก็เคยชิน เลยสะสมจมดองอยู่ในจิตตสันดาน
ครั้นจิตประสบกับอารมณ์ใด ด้วยความเคยชินของกิเลสที่หมักหมมจมดองอยู่
ก็ขึ้น มาปรุงแต่งจิตให้น้อมไปตามกิเลสนั้น ๆ
อาการที่หมักหมมจมดองอยู่เช่นนี้ จึงเรียก ว่า อาสวะ
เมื่อยังมีอาสวะอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยังต้องวนเวียนอยู่ใน
สังสารวัฏฏ (chaos)
ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) ที่มาของทฤษฎี มีที่มาจากนักวิทยาศาสตร์ประจำกรมอุตินิยมวิทยาแห่งหนึ่ง ตัดตัวเลขทศนิยมจากหกหลักให้เหลือแค่สามหลัตัวท้ายๆ ทิ้ง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณได้เร็วขึ้น ผลปรากฎว่า ค่าในการคำนวณผิดเพี้ยนไป และเครื่องคอมพิวเตอร์ ประจำกรมอุตินิยม พิมพ์ค่าที่ผิดเพี้ยนนี้ออกมาเป็นกราฟพาราโบลา (Parabola Grapher) รูปคล้ายผีเสื้อ
ทฤษฎีไร้ระเบียบ พยามที่จะ อรรถาธิบายว่า ผลกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น (initial condition) แต่เมื่อเกิดบ่อย ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (feed back) เหตุเล็ก ๆ เพียงเบื้องต้น ทำให้เกิดการพัฒนาของระบบที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง เป็นเส้นทางคดเคียว กวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำนายให้ถูกต้องแม่นยำได้ยาก ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนสัมพันธ์กันหมด การขยับปีกของผีเสื้อ (butterfly effect)อาจทำให้เกิดพายุใหญ่ขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งในอีกหลายเดือนต่อมาก็ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตั้งต้นเล็กน้อย อาจทำให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ นำเจริญ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อรรถาธิบายถึง ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) ไว้ว่า ทฤษฎีไร้ระเบียบบางครั้งเรียกว่า “ทฤษฎีโกลาหล” เป็นทฤษฎีเชิงสหวิทยาการ ต้องเชื่อมโยงความรู้หลายแขนง เชื่อว่าโลกแห่งธรรมชาตินั้น จะมีทั้งสภาวะที่เป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบสลับกันไป
สภาวะไร้ระเบียบ หมายถึง
สภาวะของระบบที่ไร้เสถียรภาพ (unstable)
มีความอ่อนไหวสูงยิ่ง
และอาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเค้าโครงได้ทุกเมื่อ
จุดคานงัด (Social
Fulcrum) หมายถึง
ตำแหน่งสำคัญอันเป็นเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเบื้องต้นเล็กน้อย
ผลกระทบหรือผลกรรมที่ติดตามมาพลิกผันมหาศาลอย่างคาดไม่ถึง
สภาพการดำรงตนอยู่ของระบบ
-
สภาพที่อยู่ในสมดุล
-
สภาพที่อยู่ใกล้สมดุล
-
สภาพที่ห่างไกลความสมดุล
-
ทำนายล่างหน้าได้ยาก
-
ระเบียบถูกซ่อนอยู่ในความไร้ระเบียบ
-
ระเบียบและความไร้ระเบียบอยู่คู่กัน โดยมีทางแพร่งเป็นตัวเชื่อมต่อ
ทางแพร่ง (bifurcation) เกิดขึ้นเมื่อระบบเกิดวิกฤต แยกออกเป็นหลาย ๆ ทางเลือก ผันเปลี่ยนจากระเบียบไปสู่ความไร้ระเบียบ
เมื่อสังคมพบทางแพร่งก็จะเลือกไปทางใดทางหนึ่ง
โอกาสของการเลือกทางแพร่ง อาจเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ
หรืออาจเกิดขึ้นโดยเจตจำนงของมนุษย์ก็ได้
ทางแพร่งบางสายนำไปสู่ดุลยภาพ
บางสายนำไปสู่หายนะ
การจัดตั้งตนเอง (self
organizing) เมื่อระบบเกิดความไร้ระเบียบ
ก็จะพยายามนำพาตนเองเข้าสู่ความเป็นระเบียบอีกครั้ง
คุณสมบัติของการจัดตั้งตนเอง ได้แก่
-
สลับซับซ้อน และมีตัวกำหนดหลายตัว
-
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และมีการย้อนกลับไปมาอย่างเป็นระบบ
-
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำนายได้ยาก
กรอบคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบ
-
สภาพที่เป็นระเบียบ
-
การเคลื่อนไหวช้า ๆ และมีระเบียบ
-
การเคลื่อนไหวที่ยุ่งเหยิง
-
สภาพที่ไร้ระเบียบ
-
สู่ระบบใหม่
สวัสดีค่ะ
-ทบ. ไร้ระเบียบ
นานา อเนกน้าว เดิมกัลป์
จักร่ำ จักราพาฬ เมื่อไหม้
กล่าวถึง ตระวันเจ็ด อันพลุ่ง
น้ำแล้งไข้ ขอดหาย ฯ
เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า เป็นไฟ
วะวาบ จัตุราบาย แผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์ เป็นเผ้า
แลบ่ล้ำ สีลอง ฯ
- ตัวอย่างจากาพย์พระไชยสุริยา
พาราสาวัตถี ไม่มีใครปราณีใคร
ดุดื้อถือแต่ใจ.........
- ท่านท้าวพันตา .... ดวงตาเป็นต้อหินแล้วค่ะ...ใช้งานมากเกินไป