290 ข้าว...


         ข้าว....

 

 

 

 

 

 

ข้าว หายไป จากท้องทุ่ง

ข้าว หายไป จากยุ้งฉาง

ข้าว มากอง อยู่ข้างทาง

มาอยู่กับ นายทุนนายจ้าง ในเมือง

 

ลุงน้อม ต้องขนข้าว ไปใช้หนี้

ป้าสี ต้องขาย ข้าวเปลือกเหลือง

เพราะต้องการเงินสดมาปลดเปลื้อง

ความอัตคัด ขัดเคือง ประจำวัน

 

แม้ว่า ราคา จะต๊ำต่ำ

ตาชั่ง ไม่ยุติธรรม ก็มิหวั่น

หักสิ่ง เจือปน ประจำวัน

ติโน่น ตินั่น กดราคา

 

ใครคือ ผู้เสียภาษี เป็นกลุ่มใหญ่

กลับไม่ได้ถูก เอาใจใส่  ใจสา

ไอ้เม็กกะ โปรเจค ใหญ่คับฟ้า

ก็เอาเงิน  ภาษีข้าฯ ไปใช้คืน(เงินกู้)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168907เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะอาจารย์

- ชีวิตคนไทยเติบใหญ่เพราะข้าว แต่ข้าวราคาแสนต่ำ ราคาแล้วแต่นายทุนจะตกลง คนจนก็จนไม่เลิกสักที 

 

สวัสดีครับ P 1. เพชรน้อย

 

คนที่ไม่เป็นชาวนา หรือไม่ได้สัมผัสชีวิตชาวนา ยากที่จะเข้าใจสภาวะที่อึดอัด ต่างดิ้นกันเอง เท่าที่จะมีช่องทาง มีสภาอุตสาหกรรม มีสภาวิชาชีพต่างๆมากมาย 

แต่ไม่มีสภาชาวนา... 

ขอบคุณครับ

  • ชาวบ้านแถวสุพรรณ กาญจน์ อ่างทองปลูกข้าว
  • แล้วเงินไม่เหลือ
  • ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่แย่ตอนนี้มีค่ารถเกี่ยวข้าวอีก
  • การลงแขกหายไป
  • น่าเศร้าใจ
  • ควายหายไป
  • ชาวบ้านขายหมด เพราะไม่มีเงิน
  • วัวก็ไม่มี เพราะส่งไปให้ควายเรียน อิอิอิๆๆ

ผมมองว่า  ไม่ว่ายุคสมัยใด  วิถีชีวิตชาวนาไทยก็ดูจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก  โดยเฉพาะแถวอีสานนั้นยังคงมีชะตากรรมที่หนักหน่วง

ในสมัยที่ยังเด็ก,  ในท้องนามีน้ำขัง   เคยได้วางเบ็ด  ได้ปลูกผักและเก็บผักที่ขึ้นตามท้องน้ำอยู่หลายชนิด  แต่ยังไม่พ้นมัธยม   ท้องนาก็กลายสภาพอย่างเห็นได้ชัด   น้ำขาดเขิน  ปลาปูก็หายาก ..

มันเป็นภัยธรรมชาติ,  มันเป็นผลพวงของสารเคมีที่ตกค้างในเนื้อดิน  และอื่น ๆ  อีกหลายอย่างที่พ่อเคยเปรยบ่น ... แต่ก็ยังดีครับ,  ในครอบครัวของผมยังคงทำนากันเอง   มีญาติมาช่วย   พอถึงหน้าเกี่ยวก็แบ่งผลผลิตกันตามเห็นสมควร ..

แต่บางครัวเรือน,  รถบรรทุกข้าวเปลือกวิ่งจากทุ่งผ่านหน้าบ้านตัวเองไปสู่ตัวเมืองโดยไม่มีโอกาสได้เลี้ยวขึ้นยุ้งฉาง ...และนั่นคือภาพที่ผมเริ่มเห็นจนชินตา -  แต่ยังไม่ชินหัวใจของตนเองสักเท่าไหร่ ...

...........

น้องขจิตครับP 3. ขจิต ฝอยทอง

  • ชาวบ้านแถวสุพรรณ กาญจน์ อ่างทองปลูกข้าว แล้วเงินไม่เหลือ ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่แย่ตอนนี้มีค่ารถเกี่ยวข้าวอีก
  • การลงแขกหายไป น่าเศร้าใจ ควายหายไป ชาวบ้านขายหมด เพราะไม่มีเงิน วัวก็ไม่มี เพราะส่งไปให้ควายเรียน อิอิอิๆๆ

น่าสนใจเรื่องการปรับตัวของชาวนา นักวชาการทั้งด้านเกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มานุษยศาสตร์ ฯ น่าศึกษาว่า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมใหญ่นั้น มันได้ลากจูงสังคมเกษตรกรตามไปด้วยแบบเดินตามมากกว่าการปรับตัว

เดินทางหมายถึงเขาบริโภคอะไรสังคมชาวนาก็บริโภคอย่างนั้น แต่ไม่สอดคล้องกับสถานภาพของตนเอง

จะว่ากล่าวชาวบ้านว่า "คุณต้องปรับตัวคุณเองซิ" มันก็โยนบาปให้ชาวบ้านมากไปหน่อย รัฐในฐานะเข้ามาปกครองสังคมประเทศ และสังคมชาวนาคือแกนกลางของประชาชนไทย ต้องทุมเทมากกว่านี้ เข้ามาศึกษาและหาทางแก้ไขมากกว่านี้

มิเช่นนั้น รัฐไปทุ่มการพัฒนากระแสหลักก็ลากปัญหาตามมาด้วย และปัญหานี้ก็คือปัญหาสังคมที่นับวันจะใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น

เรานักวิชาการเจ๋งๆมากมายเอางบประมาณให้เขามาศึกษาและมองทางออกหน่อย  นักวิชาการก็พร้อมที่จะทำอยู่นะพี่ว่านะ... 

น้องแผ่นดินครับ P  4. แผ่นดิน

ผมมองว่า  ไม่ว่ายุคสมัยใด  วิถีชีวิตชาวนาไทยก็ดูจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก  โดยเฉพาะแถวอีสานนั้นยังคงมีชะตากรรมที่หนักหน่วง

ในสมัยที่ยังเด็ก,  ในท้องนามีน้ำขัง   เคยได้วางเบ็ด  ได้ปลูกผักและเก็บผักที่ขึ้นตามท้องน้ำอยู่หลายชนิด  แต่ยังไม่พ้นมัธยม   ท้องนาก็กลายสภาพอย่างเห็นได้ชัด   น้ำขาดเขิน  ปลาปูก็หายาก ..

การทำนาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก เมื่อธรรมชาติเปลี่ยนไปชาวนาก็จะต้องปรับ พัฒนา กระบวนการทำนา โดยรัฐต้องลงมาดูแล ศึกษา ค้นหา แนวทางที่เหมาะสมมากขึ้น

เรามีกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยพิเศษอีกหลายหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำนา  จัดสัมมนาระดับชาติระดับท้องถิ่น โดยเอาข้อมูลจากครัวเรือนประจำแต่ละถิ่นแต่ละภาคมาคุยกันซะ 

มิเช่นนั้นชาวนาก็ดิ้นไปตามสภาพของเขาเองซึ่ง ยิ่งดิ้นบ่วงหนี้สินก็ยิ่งรัดตัวเอง....

มันเป็นภัยธรรมชาติ,  มันเป็นผลพวงของสารเคมีที่ตกค้างในเนื้อดิน  และอื่น ๆ  อีกหลายอย่างที่พ่อเคยเปรยบ่น ... แต่ก็ยังดีครับ,  ในครอบครัวของผมยังคงทำนากันเอง   มีญาติมาช่วย   พอถึงหน้าเกี่ยวก็แบ่งผลผลิตกันตามเห็นสมควร ..

สารเคมีเข้ามาเพราะราชการ นัยว่าหวังดี ซึ่งก็เป็นไปตามยุคสมัย สารเคมีตกค้างในดินมากครับ  พี่เคยร่วมการสำรวจคุณภาพน้ำบ่อสร้างในอีสานกับ มหิดล  พบว่าบ่อน้ำสร้างจำนวนไม่น้อยคุณภาพน้ำดื่มไม่ได้ ต้องกลบด้วยซ้ำไป แต่ไม่มีการประกาศเพราะกลัวชาวบ้านตกใจ งุบงิบแก้ไขกันไปเงียบๆ  แต่ชาวบ้านจำนวนมากกินน้ำบ่อสร้างไปมากมายและเป็นสาเหตุโรคภันไข้เจ็บล้นโรงพยาบาล

กรมชลประทานไปสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก แทนที่จะกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อชาวนาชาวไร่ ซึ่งกลายเป็นวัตถุประสงค์รอง ต้องทบทวนกันหนัก

แต่บางครัวเรือน,  รถบรรทุกข้าวเปลือกวิ่งจากทุ่งผ่านหน้าบ้านตัวเองไปสู่ตัวเมืองโดยไม่มีโอกาสได้เลี้ยวขึ้นยุ้งฉาง ...และนั่นคือภาพที่ผมเริ่มเห็นจนชินตา -  แต่ยังไม่ชินหัวใจของตนเองสักเท่าไหร่ ...

เท่าที่ดูรัฐไม่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาชาวนาอย่างจริงจังเหมือนอุตสาหกรรม รัฐควรให้น้ำหนักชาวนาผู้ผลิตข้าวมากกว่านี้ หากปล่อยไปเรื่อยๆ ปัญหาหมักหมมมากไปรัฐก็กลายเป็นปัญหาสังคม แก้กันไม่จบสิ้น ไม่เบาบางลงมา มีแต่จะหนักขึ้น ครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เบิร์ดเดินเข้ามาอย่างมั่นใจ เพราะอยากแลกเปลี่ยนด้วยมากเลยค่ะ

การทำงานที่ผ่านมาและยังทำอยู่ทำให้เบิร์ดพบว่า

สินค้าเกษตร เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำในสายตาคนอื่นๆ
ดังนั้นจึงไม่สามารถขายราคาสูงได้ง่ายๆ เกษตรกรจึงโดนกดราคาสินค้าตามราคาที่คนกลางต้องการ

นอจากนั้นแล้ว สินค้าเกษตร ยังเป็นสินค้าที่มีต้นทุนอื่นๆ สูง เช่น
1.ต้นทุนในการขนส่งสูงมาก เพราะน้ำหนักเยอะ
2.ต้นทุนในการเก็นรักษาสูงเช่นกัน ยิ่งเก็บไว้นานเท่าไรยิ่งต้นทุนสูงขึ้นเท่านั้น
3.ต้นทุนในด้านความเสี่ยงสูง เพราะมันเน่าเสียได้ง่าย ส่งช้าไป วัน 2 วัน ก็เน่าแล้ว

สินค้าเกษตร จึงเป็นสินค้าที่ถูกลูกค้า "กดราคา" ได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องของการดำรงชีวิตโดยตรงน่ะค่ะ ถ้าลูกค้าตรวจพบสิ่งที่เป็นอันตรายในสินค้าสามารถงอแง ยกเลิก
Order หรือ กดราคาสินค้า ได้ง่ายๆ


การที่จะทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร รวย ได้นั้น
เราต้องมีผู้นำที่เข็มแข็ง และ สำคัญมากๆ คือต้อง"หัวหมอ" ค่ะพี่บางทราย..ต้องมีชั้นเชิงในการต่อรองผลประโยชน์สูง และ ต้องเเข็งข้อกับลูกค้าอย่าอ่อนไหวง่าย และ ที่ดีที่สุด คือ พัฒนาให้ประชาชนได้รู้จัก เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สินค้าเกษตร ด้วยตนเอง
ไม่ใช่วนเวียนอยู่แต่ในฐานะ ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้นค่ะ

ถ้าจะให้เกษตรกรรวยเราต้องทำการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยดีมั้ยคะ

เช่นการปลูกมันสำปะหลัง เราต้องสร้างโรงงานที่เกษตรกรเป็นเจ้าของในรูปสหกรณ์ นำมันมาผลิต แป้งมันออร์แกนนิค ราคาแพง ,
สตาร์ค ออร์แกนนิคราคาแพงทำผงชูรส แต่ไม่ต้องขาย นำไปสกัดต่อ เป็น กรดกลูตามิค แอซิด แล้ว ไปสกัดต่ออีกสเตจหนึ่งเป็น แอลกลูตามีน เป็นอาหารเสริมในนักกีฬา ราคากิโลละ สองพันบาท ..
และทำเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนสเตมเซลล์ ราคากิโลละหมื่นบาท..

นำไปสกัดต่อเป็นสารต้านอาการชรา
Anti aging ราคาเข็มละแสนต่อไปอีก ..

ส่วน กากมัน เหง้ามัน นำไปสกัดแอลกอฮอลล์เป็นพลังงานเชื้อเพลิง หลังจากหมักเสร็จกลายเป็นส่า นำไปทำเป็น ไบโอแก็ซ นำก๊าซที่ได้ไปเดินเครื่องปั่นไฟฟ้า โคเจนเนอเรเตอร์ได้ไฟฟ้าและไอน้ำนำมาใช้ภายในโรงงานของตัวเอง ส่วนน้ำหมักที่เหลือจากการหมักไบโอแก๊ซ นำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้ในแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์
ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เป็นวัฏจักรไป..ทำให้เป็นแบบนี้น่ะค่ะพี่บางทราย  ..ทำได้เมื่อไหร่ เกษตรกรรวย ! 

บ่นงึมงำมายืดยาวด้วยความรู้สึกเห็นด้วยอย่างสุดขั้วว่าควรจะมีสภาชาวนา + กองทุนชาวนาสำรองเลี้ยงชีพเพื่อมีอำนาจต่อรองและสามารถพัฒนาต่อยอดผลผลิตต่างๆไปได้จนถึงที่สุดของผลิตภัณฑ์กันไปเลย อิ อิ อิ

สวัสดีน้องสาว P 7. เบิร์ด

เบิร์ดเดินเข้ามาอย่างมั่นใจ เพราะอยากแลกเปลี่ยนด้วยมากเลยค่ะ

การทำงานที่ผ่านมาและยังทำอยู่ทำให้เบิร์ดพบว่า

สินค้าเกษตร เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำในสายตาคนอื่นๆ
ดังนั้นจึงไม่สามารถขายราคาสูงได้ง่ายๆ เกษตรกรจึงโดนกดราคาสินค้าตามราคาที่คนกลางต้องการ

ราคาสินค้าอยู่ในสภาพเช่นนี้มาตลอดอายุโลกแล้ว (เอาเข้านั่น..) นักการเมืองที่ยกมือไหว้ชาวนาตอนหาเสียง ไปไหนกันหมดล่ะ หลังเข้าสภาทรงเกียรติไปแล้ว...(วนเวียน ซ้ำซาก) ไม่เห็นหัว..

จึงไม่อยากพึ่งนักการเมืองเท่าไหร่ ต้องพึ่งกันเองนี่แหละ ซึ่งเพื่อนๆในวงการก็เริ่มทำอะไรกันบ้างแล้ว แต่ใช้แรงบันดลใจมากซักหน่อย


นอจากนั้นแล้ว สินค้าเกษตร ยังเป็นสินค้าที่มีต้นทุนอื่นๆ สูง เช่น
1.ต้นทุนในการขนส่งสูงมาก เพราะน้ำหนักเยอะ
2.ต้นทุนในการเก็บรักษาสูงเช่นกัน ยิ่งเก็บไว้นานเท่าไรยิ่งต้นทุนสูงขึ้นเท่านั้น
3.ต้นทุนในด้านความเสี่ยงสูง เพราะมันเน่าเสียได้ง่าย ส่งช้าไป วัน 2 วัน ก็เน่าแล้ว

สินค้าเกษตร จึงเป็นสินค้าที่ถูกลูกค้า "กดราคา" ได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องของการดำรงชีวิตโดยตรงน่ะค่ะ ถ้าลูกค้าตรวจพบสิ่งที่เป็นอันตรายในสินค้าสามารถงอแง ยกเลิก

Order หรือ กดราคาสินค้า ได้ง่ายๆ

ใช่ครับ อย่างที่เรารู้ๆกันว่า เป็นอาชีพ และได้ผลผลิตที่มีอัตราการเสี่ยงสูงมาก หากไม่คิดพัฒนายกระดับขึ้นไป ที่พี่เรียกการปรับตัว ลำพังชาวบ้านเองจะไปคิดอ่านเรื่องแบบนี้คงยาก ปัญหาวันวันก็ล้นสมองแล้ว...

นอกจากชาวนาต้องการรัฐ(ซึ่งมีหน้าที่ต่อพลเมืองของประเทศ) เข้ามาช่วยมากๆแล้ว การป้องกันการไหลบ่าของวัฒนธรรมบริโภคก็ต้องหาทางลดลดลงมา ซึ่งรัฐมีอำนาจคิดหาทางกลั่นกรอง นอกจากชาวนาจะถูกกดราคาผลผลิตแล้ว มองเข้าไปในครอบครัวก็มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แน่นอนครอบครัวใครครอบครัวมันที่ต้องอบรมสั่งสอนกันเอง แต่รัฐก็สามารถช่วยในหลักการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ อะไรต่ออะไรให้มันมีกรอบจำกัดลงมาด้วยอีกทางหนึ่ง 

พี่เห็นลุงอายุ 65 ไปเป็น แคดดี้ แบกถุงกอล์ฟ หัวแดงทั้งวัน ถามว่าทำไมมาทำ ก็ต้องการเงินเอาไปเลี้ยงดูหลาน แม่มันเอามาทิ้งไว้ให้ 3 คน คนนั้นอยู่ ป. 6 มันจะเอามือถือ ??? ตาย.. ตาย.. น้องเบิร์ด เอ้ย นาข้าวก็ทำ ว่างจากนาก็มาใช้แรงงานเป็นแคดดี้ หาเงินให้หลายซื้อมือถือ..เศร้าจริงๆ  ไม่ให้ก็ไม่ได้มันอาละวาดเอา..? ลุงรักหลาน แม้ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวในครอบครัว แต่ภาพรวมก็มีแบบนี้จำนวนมากไม่ใช่หรือ..

กลับมาที่ผลผลิตเกษตร.. พี่ยังคิดว่า พี่นึกถึงงานที่น้องเบิร์ดทำว่า ราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรต้องทำงานด้าน นี้มากขึ้นรึเปล่า พี่เห็นด้วยและคิดมากขึ้นเรื่องการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร มากกว่าที่จะขายผลผลิตสดๆออกไป


การที่จะทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร รวย ได้นั้น
เราต้องมีผู้นำที่เข็มแข็ง และ สำคัญมากๆ คือต้อง"หัวหมอ" ค่ะพี่บางทราย..ต้องมีชั้นเชิงในการต่อรองผลประโยชน์สูง และ ต้องเเข็งข้อกับลูกค้าอย่าอ่อนไหวง่าย และ ที่ดีที่สุด คือ พัฒนาให้ประชาชนได้รู้จัก เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สินค้าเกษตร ด้วยตนเอง
ไม่ใช่วนเวียนอยู่แต่ในฐานะ ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้นค่ะ

ไม่เป็นเลย ชาวบ้าน ชาวนาน้อยนักที่จะมีคุณสมบัติทางการค้าขาย กลับตรงข้ามเคยเจอะ หลอกลวงกันเองซะนี่  แต่พี่ก็คิดว่าเราไม่ได้ถูกฝึกมาทางนี้ ฝึกแค่ผลิต ผลิตเท่านั้น ซึ่งก็ใช้วิชาการ ความรู้เข้าไปยังน้อยมาก แม้จะมีความรู้มากมายในวงการแต่เกษตรกรยังต้องการพี่เลี้ยงอยู่  เรามี อบต.ที่ใกล้ชิดชาวบ้าน และเป็นชาวบ้านด้วยกันเอง ก็เหลือกำลังลากจริงๆ บางแห่งมันเลียนแบบการเมืองใหญ่ไปหมด

พี่เห็นด้วยเรื่องการเพิ่มมูลค่า  และโครงการพิเศษมีโอกาสทำเช่นของพี่นี้แหละครับ  แต่ในระบบปกติคงไม่ง่ายนัก หากราชการที่เกี่ยวข้องจริงๆไม่ทุ่มเท

 

บ่นงึมงำมายืดยาวด้วยความรู้สึกเห็นด้วยอย่างสุดขั้วว่าควรจะมีสภาชาวนา + กองทุนชาวนาสำรองเลี้ยงชีพเพื่อมีอำนาจต่อรองและสามารถพัฒนาต่อยอดผลผลิตต่างๆไปได้จนถึงที่สุดของผลิตภัณฑ์กันไปเลย อิ อิ อิ

ถ้าจะให้เกษตรกรรวยเราต้องทำการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยดีมั้ยคะ

เช่นการปลูกมันสำปะหลัง เราต้องสร้างโรงงานที่เกษตรกรเป็นเจ้าของในรูปสหกรณ์ นำมันมาผลิต แป้งมันออร์แกนนิค ราคาแพง ,
สตาร์ค ออร์แกนนิคราคาแพงทำผงชูรส แต่ไม่ต้องขาย นำไปสกัดต่อ เป็น กรดกลูตามิค แอซิด แล้ว ไปสกัดต่ออีกสเตจหนึ่งเป็น แอลกลูตามีน เป็นอาหารเสริมในนักกีฬา ราคากิโลละ สองพันบาท ..
และทำเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนสเตมเซลล์ ราคากิโลละหมื่นบาท..
นำไปสกัดต่อเป็นสารต้านอาการชรา
Anti aging ราคาเข็มละแสนต่อไปอีก ..  ส่วน กากมัน เหง้ามัน นำไปสกัดแอลกอฮอลล์เป็นพลังงานเชื้อเพลิง หลังจากหมักเสร็จกลายเป็นส่า นำไปทำเป็น ไบโอแก็ซ นำก๊าซที่ได้ไปเดินเครื่องปั่นไฟฟ้า โคเจนเนอเรเตอร์ได้ไฟฟ้าและไอน้ำนำมาใช้ภายในโรงงานของตัวเอง ส่วนน้ำหมักที่เหลือจากการหมักไบโอแก๊ซ นำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้ในแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เป็นวัฏจักรไป..ทำให้เป็นแบบนี้น่ะค่ะพี่บางทราย  ..ทำได้เมื่อไหร่ เกษตรกรรวย ! 

พี่เห็นด้วย และคิดๆอยู่ครับ ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ไหมครับน้องเบิร์ด เรื่อง มันสำปะหลัง --->ผลิต แป้งมันออร์แกนนิค--->สตาร์ค ออร์แกนนิคราคาแพงทำ ผงชูรส---> นำไปสกัดต่อ เป็น กรดกลูตามิค แอซิด แล้ว---->ไปสกัดต่ออีกสเตจหนึ่งเป็น แอลกลูตามีน และทำเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนสเตมเซลล์ ---->นำไปสกัดต่อเป็นสารต้านอาการชรา Anti aging จะขอคำแนะนำเรื่องแหล่งข้อมูลน่ะครับ น้องเบิร์ด

 

จริงๆมีเพื่อนพี่เป็นนักพัฒนา ทำคล้ายๆที่น้องเบิร์ดแนะนำ พี่ไม่ได้ตามเขาว่าผลเป็นอย่างไรบ้าง ต้องหาเวลาไปตามเรื่องหน่อยแล้วครับ

 

เป็นประโยชน์มากสำหรับพี่ที่ทำงานกับชาวบ้านในเรื่องเหล่านี้

 

ขอบคุณจ๊าดนัก น้องหล้า

วันนี้พี่บางทรายเป็นศิลปินสะท้อนความจริงได้ถึงอารมณ์เชียวค่ะ

นุชว่าเรื่องข้าวนี่หากชาวนาในแต่ละที่สามารถทำตามแนวทางของโรงเรียนชาวนา-มูลนิธิข้าวขวัญได้ อย่างน้อยก็มีความเป็นไทแก่ตนเอง ชีวิตมีความสุขได้อย่างพอเพียงโดยใช้ความรู้รวมทั้งทุนทุกประเภทในถิ่นของตนอย่างมีความเคารพธรรมชาติ

ตราบที่ยังอยู่ในระบบการผลิต การตลาดของระบบทุนใหญ่ภายนอกไม่มีโอกาสยืนได้เลยนะคะ เพราะไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย นึกถึงเรื่องของคุณสินชัย ที่พิจิตรที่นุชเขียนในหนังสือ เขามีความกล้าที่จะไม่เหมือนคนอื่นนะคะชีวิตจึงรอด

หากรัฐบาลเอาไหน มีวิสัยทัศน์นำข้าวอินทรีย์มาวิจัยต่อยอดทำอย่างคุณเบิร์ดเล่าก็ยิ่งดีวิเศษ เราจะได้เห็นในช่วงชีวิตของเราไหมน้อ...

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เบิร์ดส่งไฟล์เกี่ยวกับมันสำปะหลังไปให้พี่บางทรายดูแล้วนะคะ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าเราผลิตอะไรไปบ้าง และมีช่องทางไหนบ้างที่จะเป็นโอกาส...อิ อิ อิ ส่วนข้อมูลที่เบิร์ดเอามาต่อๆกันนั้นเบิร์ดเอามาจากที่โน่นนิดที่นี่หน่อยน่ะค่ะ เพราะสิ่งต่างๆมักจะเริ่มต้นจากวัตถุดิบในธรรมชาติมาก่อนเกือบทั้งนั้น และสกัดเป็นสารต่างๆในแต่ละขั้นตอน   ซึ่งถ้าเรามองเป็นระบบ เรานี่แหละค่ะพี่บางทรายจะมีอำนาจต่อรองมากมายเลยเพราะเรามีทรัพยากรเหลือเฟือที่สามารถทำได้ ใครจะผลิตพืชทำน้ำมันได้แบบเรา ?

แต่เราต้องมีการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบเพราะพืชแต่ละชนิดเค้ามีอายุการใช้งาน อย่างสบู่ดำจะให้ผลได้กี่ปี พอครบอายุก็ต้องตัดทิ้งแล้วมีแปลงไหนที่จะมีผลผลิตป้อนออกมาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องคิดทั้งนั้นเนาะคะพี่บางทราย.. ไม่ใช่เฮตามๆกันและหยุดแค่การเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้นเท่านั้น อย่างข้าวหอมมะลินี่ถ้าเบิร์ดจำไม่ผิดมีคนเอาไปทำสบู่นะคะ เห็นว่าทำให้ผิวนุ่มสวยหรือไงนี่แหละค่ะ  จมูกข้าวเราเอาไปทำอะไรได้บ้าง  ฟางข้าว แกลบ  ตัวข้าวเองมีสารอะไรที่สามารถต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคต่างๆได้บ้าง หรือสกัดทำเครื่องสำอางค์ได้มั้ย ฯลฯ  เหล่านี้ต้องจับมือกันอย่างจริงจังนะคะ

แผนแม่บทชุมชน และการต่อยอดด้วยการวิจัยจะทำให้เรามีผลผลิตที่หลากหลายและไม่ซ้ำกัน อย่างต้นแบบของโอทอปที่ญี่ปุ่นเค้าสามารถผลิตภัณฑ์ต่างๆจากมะนาวได้ตั้ง 500 ชนิด เพราะเค้ามีความรู้จริงในมะนาวและมีการวิจัยต่อยอดออกไปเรื่อยๆจากสิ่งที่เค้ามี..นี่ก็คือเหตุผลหลักอีกอันหนึ่งที่โอทอปของเราพัง เพราะเราไม่ได้ดูว่าเรามีอะไรในพื้นที่บ้างและศึกษาอย่างจริงจังก่อนจะผลิตเพื่อใช้ในพื้นที่ของเราก่อน ไม่ใช่การผลิตเพื่อขายตลาดนอกพื้นที่อย่างที่เป็นมานะคะพี่บางทราย

พี่นุชพูดถูกว่าเราต้องลุกขึ้นเองในแต่ละชุมชน และพี่บางทรายก็พูดถูกว่าในแต่ละชุมชนนั้นกว่าจะทำให้เกิดได้แทบตาย และเค้าต้องการพี่เลี้ยงที่จะเดินเคียงข้างกับเค้าไปตลอดเส้นทางแม้เมื่อเค้าแข็งแรงแล้วก็ตาม...เฮ้อ..ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราๆท่านๆต้องช่วยๆกันทำเนาะคะ

ส่วนข้อมูลต่างๆนั้นมีหลายแหล่งค่ะ ก.วิทย์และเทคโนโลยี่ก็น่าจะช่วยได้ กรมส่งเสริมการเกษตรก็น่าจะมีวิจัยเยอะ  แต่เบิร์ดจะถนัดกับข้อมูลใกล้ตัวก็เลยจะมุ่งไปที่ มหาวิทยาลัยใกล้บ้านค่ะพี่บางทราย ตามคณะหรือภาควิชาต่างๆทั้งอุตสาหกรรมเกษตร เคมี วิทยาศาสตร์ เกษตร ฯลฯ เพื่อจับมือกับอาจารย์ทำวิจัยในพื้นที่น่ะค่ะ  ต่อยอดจากวิสาหกิจชุมชนแบบที่พี่บางทรายทำไงคะ

แล้วจะแว้บเข้ามาคุยอีกค่ะ

สวัสดีเจ้า น้องนุช P 9. คุณนายดอกเตอร์

นุชว่าเรื่องข้าวนี่หากชาวนาในแต่ละที่สามารถทำตามแนวทางของโรงเรียนชาวนา-มูลนิธิข้าวขวัญได้ อย่างน้อยก็มีความเป็นไทแก่ตนเอง ชีวิตมีความสุขได้อย่างพอเพียงโดยใช้ความรู้รวมทั้งทุนทุกประเภทในถิ่นของตนอย่างมีความเคารพธรรมชาติ

ตราบที่ยังอยู่ในระบบการผลิต การตลาดของระบบทุนใหญ่ภายนอกไม่มีโอกาสยืนได้เลยนะคะ เพราะไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย นึกถึงเรื่องของคุณสินชัย ที่พิจิตรที่นุชเขียนในหนังสือ เขามีความกล้าที่จะไม่เหมือนคนอื่นนะคะชีวิตจึงรอด

หากรัฐบาลเอาไหน มีวิสัยทัศน์นำข้าวอินทรีย์มาวิจัยต่อยอดทำอย่างคุณเบิร์ดเล่าก็ยิ่งดีวิเศษ เราจะได้เห็นในช่วงชีวิตของเราไหมน้อ...

  • พี่กลับไปทบทวนเรื่องของคุณสินชัยที่พิจิตร และหาทางสร้างสำนึกเช่นนั้น
  • พี่กลับไปค้นข้อมูลมูลนิธิข้าวขวัญ และเอามาบรรจุในงานที่ต้องทำเพิ่มเติม
  • ข้าวอินทรีย์เราก็มีแผนที่จะเริ่มผลิตครับ แต่คงต้องออกแบบรัดกุมหน่อย เพราะสถานชาวบ้านที่ดงหลวง แค่ พื้นฐานมากๆ เงินน่ะต้องการ แต่อะไรที่ซับซ้อนและหลักการมาก ต้องออกแรงเยอะหน่อย แต่ไม่สิ้นหวังหนอก มีบางคนที่ตั้งใจจริงก็มีอยู่

ขอบคุณมากครับน้องนุช

สวัสดีน้องสาว P  10. เบิร์ด

เมื่อคืนโดนยึดคอมพ์ เพราะเครื่องคอมพ์ของคนข้างกายพัง และเธอมีงานด่วนเลยยึดของพี่ไป  พี่เลยไม่ได้ตอบ หลังจากตอบน้องนุชแล้ว อิ 

 

เบิร์ดส่งไฟล์เกี่ยวกับมันสำปะหลังไปให้พี่บางทรายดูแล้วนะคะ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าเราผลิตอะไรไปบ้าง และมีช่องทางไหนบ้างที่จะเป็นโอกาส...อิ อิ อิ ส่วนข้อมูลที่เบิร์ดเอามาต่อๆกันนั้นเบิร์ดเอามาจากที่โน่นนิดที่นี่หน่อยน่ะค่ะ เพราะสิ่งต่างๆมักจะเริ่มต้นจากวัตถุดิบในธรรมชาติมาก่อนเกือบทั้งนั้น และสกัดเป็นสารต่างๆในแต่ละขั้นตอน   ซึ่งถ้าเรามองเป็นระบบ เรานี่แหละค่ะพี่บางทรายจะมีอำนาจต่อรองมากมายเลยเพราะเรามีทรัพยากรเหลือเฟือที่สามารถทำได้ ใครจะผลิตพืชทำน้ำมันได้แบบเรา ?

พี่ได้รับข้อมูลแล้วด้วยความขอบคุณ คือพี่สนใจเพราะงานในงวด 3 ปีต่อไปนี้จะมีกิจกรรมเรื่องการแปรรูปผลผลิตด้วย จึงอยากศึกษารายละเอียดหลายๆอย่างว่าจะทนับสนุนเกษตรกรทำอะไรได้บ้าง  เรื่องมันสำปะหลังนี่เป็นหนึ่งอย่างเพราะ ชาวบ้านปลูกอยู่แล้วแม้ว่าเราจะไม่ได้ส่งเสริมชาวบ้านเขาก็ปลูกตามราคาตลาด  หากแนวทางที่เราคุยกันเป็นไปได้ และสามารถหาเงินมาทำการทดลองทำการแปรรูปได้ก็จะทำครับ  หากความฝันเป็นจริงเราก็จะก้าวขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งในการผลิตวัตถุดิบจากพื้นบาทมาเพิ่มมูลค่า จะทดลองทำดูครับ

 

แต่เราต้องมีการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบเพราะพืชแต่ละชนิดเค้ามีอายุการใช้งาน อย่างสบู่ดำจะให้ผลได้กี่ปี พอครบอายุก็ต้องตัดทิ้งแล้วมีแปลงไหนที่จะมีผลผลิตป้อนออกมาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องคิดทั้งนั้นเนาะคะพี่บางทราย.. ไม่ใช่เฮตามๆกันและหยุดแค่การเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้นเท่านั้น อย่างข้าวหอมมะลินี่ถ้าเบิร์ดจำไม่ผิดมีคนเอาไปทำสบู่นะคะ เห็นว่าทำให้ผิวนุ่มสวยหรือไงนี่แหละค่ะ  จมูกข้าวเราเอาไปทำอะไรได้บ้าง  ฟางข้าว แกลบ  ตัวข้าวเองมีสารอะไรที่สามารถต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคต่างๆได้บ้าง หรือสกัดทำเครื่องสำอางค์ได้มั้ย ฯลฯ  เหล่านี้ต้องจับมือกันอย่างจริงจังนะคะ

เรื่องแผนการผลิตนี่ก็สำคัญอย่างน้องเบิร์ดกล่าว พี่พอมีประสบการณ์อยู่บ้างในการสนับสนุนเกษตรกรผลิต Contract farming cash crop และมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นนักเกษตรที่มีประสบการณ์ด้านนี้บ้าง

 

แผนแม่บทชุมชน และการต่อยอดด้วยการวิจัยจะทำให้เรามีผลผลิตที่หลากหลายและไม่ซ้ำกัน อย่างต้นแบบของโอทอปที่ญี่ปุ่นเค้าสามารถผลิตภัณฑ์ต่างๆจากมะนาวได้ตั้ง 500 ชนิด เพราะเค้ามีความรู้จริงในมะนาวและมีการวิจัยต่อยอดออกไปเรื่อยๆจากสิ่งที่เค้ามี..นี่ก็คือเหตุผลหลักอีกอันหนึ่งที่โอทอปของเราพัง เพราะเราไม่ได้ดูว่าเรามีอะไรในพื้นที่บ้างและศึกษาอย่างจริงจังก่อนจะผลิตเพื่อใช้ในพื้นที่ของเราก่อน ไม่ใช่การผลิตเพื่อขายตลาดนอกพื้นที่อย่างที่เป็นมานะคะพี่บางทราย

ใช่แล้ว เราขาดงานวิจัยต่อยอดในระดับเพื่อชาวบ้านอย่างจริงจัง ที่มีอยู่ก็เพื่อธุรกิจขนาดใหญ่  อาจจะมีบ้างแต่ข้อมูลเหล่านี้เราเองต้องวิ่นเป็นตาบอดคลำช้างบ้าง เพราะไม่รู้อยู่ไหนบ้าง เราผ่านประสบการมาบ้างก็พอเดาได้ว่าคณะเกษตรศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่างๆ และระบบ Internet ที่เข้าไปตรวจสอบโดยตรงต่อห้องสมุดมุกมหาวิทยาลัยน่าจะทำได้นะ  

พี่นุชพูดถูกว่าเราต้องลุกขึ้นเองในแต่ละชุมชน และพี่บางทรายก็พูดถูกว่าในแต่ละชุมชนนั้นกว่าจะทำให้เกิดได้แทบตาย และเค้าต้องการพี่เลี้ยงที่จะเดินเคียงข้างกับเค้าไปตลอดเส้นทางแม้เมื่อเค้าแข็งแรงแล้วก็ตาม...เฮ้อ..ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราๆท่านๆต้องช่วยๆกันทำเนาะคะ

เรื่องใจน่ะเราให้เขาเกินร้อย แต่เราต้องอดทดมากๆเพราะปัญหาที่เขามาปรึกษาเรามันร้อยแปด เขาไม่มีที่พึ่ง พอเราสนิทสนมกับเขา เขาก็เอาเรื่องร้อยเรื่องพันเรื่องมาปรึกษาเรา จำนวนไม่น้อยที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ต้องแนะนำเขาต่อไป บางทีควักเงินแถมให้อีก ขับรถไปส่งอีก อิอิ 

แน่นอนชาวบ้านรักเรา จะไปจะมาก็เป็นห่วงเป็นใย แต่การยกระดับเขาขึ้นมาอย่างใจต้องการนั้น ใช้เวลามาก ยกเว้นบางจุดบางที่ ที่มีคนที่มีศักยภาพอยู่บ้างก็ถือว่าโชคดีไป อิอิ  

ส่วนข้อมูลต่างๆนั้นมีหลายแหล่งค่ะ ก.วิทย์และเทคโนโลยี่ก็น่าจะช่วยได้ กรมส่งเสริมการเกษตรก็น่าจะมีวิจัยเยอะ  แต่เบิร์ดจะถนัดกับข้อมูลใกล้ตัวก็เลยจะมุ่งไปที่ มหาวิทยาลัยใกล้บ้านค่ะพี่บางทราย ตามคณะหรือภาควิชาต่างๆทั้งอุตสาหกรรมเกษตร เคมี วิทยาศาสตร์ เกษตร ฯลฯ เพื่อจับมือกับอาจารย์ทำวิจัยในพื้นที่น่ะค่ะ  ต่อยอดจากวิสาหกิจชุมชนแบบที่พี่บางทรายทำไงคะ

พอเดาออกครับว่าควรจะติดต่อกับใครบ้าง ในระดับเรา แต่ชาวบ้านคงยากนะที่จะหาข้อมูล ยกเว้นว่าที่นั้นๆจะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สนใจงานและสนับสนุนชาวบ้านเต็มที่ก็พอหวังได้

เอ..พี่ชักสงสัยว่าน้องเบิร์ดนี่ เก่งรอบด้านจริงๆ เจ้านายรักตายเลยเก่งแบบนี้ เป็นนักอะไรกันแน่นี่ อิอิ

ขอบคุณหลายเด้อครับที่ช่วยเรื่องข้อมูล และแลกเปลี่ยนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท