เรียนรู้เรื่องความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย จากประวัติศาสตร์อุดมศึกษาไทย 2


ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย จากระบบรวมศูนย์ เพื่อเอกลักษณ์และความแตกต่าง

          ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทยจากระบบราชการที่ถดถอย ที่กล่าวไปแล้วนั้น  ต้องการการจัดการอย่างเร่งดวน

          ยังไม่พอ.........

  • นอกจากอยู่ในระบบราชการแล้ว การบริหารแบบรวมศูนย์ ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆอย่างเดียวกันโดยทบวงฯ หรือ สกอ. ทำให้ไม่ยืดหยุ่น ไม่พอดี ทั้ง
    • เกณฑ์ทางวิชาการ
    • การบริหารงานบุคคล และ

    • การบริหารการเงิน

  • แต่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ยังไม่พร้อมที่จะรับการกระจายอำนาจและดำเนินการด้วยตนเอง

  • การดูแลจากองค์กรส่วนกลาง รวมทั้งการรักษาคุณภาพมาตรฐานยังดำเนินการได้อย่างจำกัด

  • การกระจายอำนาจและการยอมให้มีความแตกต่างหลากหลายเป็นความคล่องตัวที่จำเป็น  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี

  • การดำเนินการที่จะใช้ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาเป็นหลักจะใช้ได้ระดับหนึ่ง  เนื่องจากมหาวิทยาลัยบางแห่ง พยายามเพิ่มจำนวน โดยไม่ดูแลเรื่องคุณภาพ

สิ่งที่ควรพิจารณาในปัจจุบันคือความเป็นอิสระจากการรวมศูนย์
เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพอันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์เฉพาะ


อ้างอิงจาก ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย : จรัส  สุวรรณเวลา   สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

หมายเลขบันทึก: 168548เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แนวคิดที่นำเสนอเป็นแนวคิดแบบ Chaordic Organization  อิอิ

คือว่า จริงๆ แล้ว อ.มาลินี กำลังอ่านจับใจความจากหนังสือ เรื่องความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย ของท่าน อ.จรัส  สุวรรณเวลา  แล้วเขียนย่อให้อ่านกันหน่ะค่ะ

เป็นหนังสือค่อนข้างวิชาการ  กลัวไม่มีใครสนใจ เลยต้องพยายามโฆษณาๆๆ  แหะ ... แหะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท