การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้

                                    การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น  เป็นนวัตกรรมที่สถานศึกษาควรบริหารจัดการให้มีการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ  เพื่อให้เป้าหมายในการจัดการความรู้ (Desired  State)  ที่ตั้งไว้บรรลุผล  โดยคณะผู้จัดการความรู้ซึ่งจะต้องมีผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธาน  จะต้องมาร่วมกันกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้  เพื่อให้วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาบรรลุผล  อาจจะเลือกกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้จากยุทธศาสตร์ใด  ยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา  มาพัฒนาและกำหนดเป็นเป้าหมาย  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ  การศึกษาและคุณภาพผู้เรียนในที่สุด  ดังนั้นก่อนที่จะมีการจัดการความรู้  ผู้จัดการความรู้และคณะผู้บริหาร  ครู  อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา  ควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อน  เพื่อให้มองเห็นภาพรวม (Concept) ในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเป็นแนวทางไปสู่การจัดการความรู้ในสถานศึกษาทั้งที่เป็นความรู้แจ้งชัด (Explicit  Knowledge) และความรู้ฝังลึกในตัว

                บุญดี  บุญญากิจและ คณะ อธิบายว่า  จาการศึกษากรอบความคิดของการจัดการความรู้แล้ว  จึงได้สรุปรูปแบบและขั้นตอนหลักๆของกระบวนการความรู้  ไว้ดังนี้

1.       การค้นหาความรู้

2.       การสร้างและแสวงหาความรู้

3.       การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

4.       การประมวลและกลั่นกรองความรู้

         5.       การเข้าถึงความรู้

6.       การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7.       การเรียนรู้

กสท.ได้สรุปการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

1.       การจัดการให้เกิดการเรียนรู้

2.       การจัดการให้เกิดองค์ความรู้

3.       การจัดการให้เกิดการใช้ความรู้

4.       การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.       การจัดการให้เกิดคลังความรู้

การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาและองค์กร ของโรงเรียนบ้านควนชิง  ได้สร้าง  MODEL  การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและองค์การดังนี้

 

ศูนย์จัดการความรู้  KM

โรงเรียนบ้านควนชิง

เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษา

ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

 

1.       ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์

2.       ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

3.       ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย

4.       ศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

5.       ศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต/การใช้ระบบสารบัญอิเล็กทรกนิกส์/การผลิต

สื่อ  CAI

6.       ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษา  พลานามัย

7.       ศูนย์การเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรม

8.       ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น

9.       ศูนย์การเรียนรู้พรุเคร็ง  ลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

10.    ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรม  จริยธรรม

11.    ศูนย์การเรียนรู้ปฐมวัย

12.    ศูนย์เตรียมความพร้อมอนุบาล  3  ขวบ

13.    ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมายเลขบันทึก: 168456เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ขออนุญาตนำบทความไปรวมครับ   รวมตะกอน  ขอบคุณมากครับ

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท